ราชวงศ์ธนบุรี
ราชวงศ์ธนบุรี เป็นราชวงศ์ในอดีตที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดคือ 15 ปี ซึ่งปกครองกรุงธนบุรีเพียงราชวงศ์เดียว และมีพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวคือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสถาปนาราชวงศ์นี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2310 - พ.ศ. 2325
พระราชอิสริยยศ |
|
---|---|
ปกครอง | |
เชื้อชาติ | ไทย - แต้จิ๋ว |
สาขา | 10 ราชสกุล |
จำนวนพระมหากษัตริย์ | 2 พระองค์ |
ประมุขพระองค์แรก | สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี |
ประมุขพระองค์สุดท้าย |
|
ช่วงระยะเวลา |
|
สถาปนา | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 |
ล่มสลาย | 6 เมษายน พ.ศ. 2325 |
พระอัครมเหสี พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม
แก้มีพระมเหสีและพระภรรยาเจ้า ดังนี้ [1]
- พระอัครมเหสี
- พระมเหสี
- กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (พระนามเดิมว่าเจ้าหญิงฉิม พระธิดาในพระเจ้านครศรีธรรมราช)
- เจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม
- เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
- เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง (พระธิดาในพระเจ้านครศรีธรรมราช)
- เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงจวน (พระธิดาในพระเจ้านครศรีธรรมราช)
- เจ้าจอมมารดาอำพัน (ธิดาของอุปราชจันทร์แห่งเมืองนครศรีธรรมราช)
- เจ้าจอมมารดาทิม (ธิดาของท้าวทรงกันดารทองมอญ)
- เจ้าจอมมารดาเงิน
- หม่อมบุษบา (พระธิดาในกรมหมื่นจิตรสุนทร)
- หม่อมอุบล (พระธิดาในกรมหมื่นเทพพิพิธ)
- หม่อมประทุม (พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร)
- หม่อมฉิม (พระธิดาในเจ้าฟ้าจีด)
พระราชโอรสและพระราชธิดา
แก้มีพระราชโอรส 21 พระองค์ พระราชธิดา 9 พระองค์ รวมทั้งสิ้น 30 พระองค์ มีรายพระนาม ดังนี้[2]
- สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ (จุ้ย) ประสูติในสมเด็จพระอัครมเหสี กรมหลวงบาทบริจา ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2325 เป็นต้นราชสกุล "สินศุข" และ "อินทรโยธิน"
- สมเด็จเจ้าฟ้าน้อย ประสูติในสมเด็จพระอัครมเหสี กรมหลวงบาทบริจาริกา ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2325
- สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ ประสูติในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) พระธิดาของพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) เป็นต้นราชสกุล "พงษ์สิน"
- สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร ประสูติในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ เป็นต้นราชสกุล "รุ่งไพโรจน์"
- สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภย ประสูติในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2358 ฐานเป็นชู้กับเจ้าจอมในวัง มีพระธิดาคือ เจ้าจอมมารดาน้อยในรัชกาลที่ 4 เป็นต้นราชสกุล นพวงศ์ และ สุประดิษฐ์
- สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ ประสูติในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้รับการสถาปนาในรัชกาลที่ 1 เป็น สมเด็จเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ กรมขุนกระษัตรานุชิต ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2352 ด้วยข้อหากบฏ
- สมเด็จเจ้าฟ้าปัญจปาปี ประสูติในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ เป็นพระชายาของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ต้นราชสกุล อิศรางกูร
- สมเด็จเจ้าฟ้าศิลา (ไม่ทราบนามพระมารดา) โปรดเกล้าฯ ลดพระยศ ได้เข้ารับราชการต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 3 ได้บรรดาศักดิ์เป็นที่ พระยาประชาชีพ ทรงเป็นต้นราชสกุล "ศิลานนท์"
- สมเด็จเจ้าฟ้าโกมล (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- สมเด็จเจ้าฟ้าบุปผา (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- สมเด็จเจ้าฟ้าสิงหรา (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- สมเด็จเจ้าฟ้าเล็ก (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- เจ้าจอมมารดาพระองค์เจ้าสำลีวรรณ ประสูติในเจ้าจอมมารดาอำพัน เป็นพระชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2352 ด้วยข้อหากบฏ เป็นต้นราชสกุล อิศรเสนา
- พระองค์เจ้าชายอรนิกา ประสูติในเจ้าจอมมารดาอำพัน จันทโรจวงศ์ ธิดาเจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์) ต้นสกุล "จันทโรจวงศ์" ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2352
- พระองค์เจ้าอัมพวัน ประสูติในเจ้าจอมมารดาทิมธิดาในท้าวทรงกันดารทองมอญ
- พระองค์เจ้าประไพพักตร์ ประสูติในเจ้าจอมมารดาเงิน
- พระองค์เจ้าสุมาลี (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- พระองค์เจ้าธำรง (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- พระองค์เจ้าละมั่ง (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- พระองค์เจ้าจามจุรี (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- พระองค์เจ้าสังวาลย์ (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- พระองค์เจ้าคันธวงศ์ (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- พระองค์เจ้าเมฆินทร์ (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- พระองค์เจ้าอิสินธร (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- พระองค์เจ้าบัว (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- พระองค์เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม ไม่ทราบนามพระมารดา)
- พระองค์เจ้าหนูแดง (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- พระองค์เจ้าสุดชาตรี (ไม่ทราบนามพระมารดา)
- พระองค์เจ้าน้อย ประสูติในเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง พระธิดาของพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) (พระขนิษฐาในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์) ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ถูกลดพระอิสริยยศเป็น "เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)" เป็นต้นราชสกุล "ณ นคร"
- พระองค์เจ้าทองอินทร์ ประสูติในเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงจวน พระธิดาของพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) (พระขนิษฐาในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์) ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ถูกลดพระอิสริยยศเป็น "เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์)" ต้นราชสกุล "ณ ราชสีมา"
สถาปนา
แก้หลังจากพระยาวชิรปราการทรงกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2 ได้สำเร็จ ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 พระยาวชิรปราการได้ทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แล้วได้ย้ายเมืองหลวงจาก กรุงศรีอยุธยา มายังภาคกลางตอนล่าง แล้วสถาปนาใหม่ว่า กรุงธนบุรี แล้วสถาปนาราชวงศ์ธนบุรีเป็นราชวงศ์ที่ปกครองกรุงธนบุรี
การสิ้นสุด
แก้ในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี พระยาสรรค์ได้ต้งตัวเป็นกบฏบังคับให้พระองค์ผนวช สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกซึ่งในขณะนั้นทำศึกอยู่ที่กัมพูชาได้ทราบข่าวจึงเสด็จกลับมาที่ กรุงธนบุรีและสืบสวนความจริงได้นำพวกพระยาสรรค์บุรีไปประหารชีวิต แลวได้สืบสวนหารือว่าควรสำเร็จโทษ (โดยข้อกล่าวหาว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีมีสติวิปลาส) และได้สำเร็จโทษในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และเสด็จสวรรคต ต่อมาทางอาณาประชาราษฎร์ได้ทูลเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกให้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 แล้วสถาปนาราชวงศ์จักรี ขึ้นเป็นราชวงศ์ใหม่ แทนราชวงศ์ธนบุรี และสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งใหม่แทน กรุงธนบุรี พระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคต จึงเป็นเหตุให้สิ้นสุดกรุงธนบุรี
อ้างอิง
แก้- ↑ 53 พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ครองใจไทยทั้งชาติ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543. หน้า 247. (ISBN 974-277-751-9)
- ↑ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. Bangkok: สำนักพิมพ์บรรณกิจ. p. 490. ISBN 974-222-648-2.
ก่อนหน้า | ราชวงศ์ธนบุรี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (ปกครองกรุงศรีอยุธยา) |
ราชวงศ์ที่ปกครองกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2310 - พ.ศ. 2325) |
ราชวงศ์จักรี (ปกครองกรุงรัตนโกสินทร์) |