ฟุตบอลโลก 2014

การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 20
(เปลี่ยนทางจาก 2014 FIFA World Cup)

ฟุตบอลโลก 2014 (อังกฤษ: 2014 FIFA World Cup; โปรตุเกส: Copa do Mundo da FIFA 2014) เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 20 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศบราซิลระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[1] ซึ่งเป็นครั้งที่สองที่บราซิลได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันดังกล่าว โดยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 ทำให้บราซิลกลายเป็นประเทศที่ 5 ที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกสองครั้งต่อจากเม็กซิโก อิตาลี ฝรั่งเศส และเยอรมนี เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้นับตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ที่ประเทศอาร์เจนตินา เป็นครั้งแรกที่มีจัดการแข่งขันนอกทวีปยุโรปสองครั้งติดต่อกัน และยังเป็นครั้งแรกที่มีจัดการแข่งขันในซีกโลกใต้สองครั้งติดต่อกัน (ก่อนหน้านี้ ฟุตบอลโลก 2010 จัดในประเทศแอฟริกาใต้) นอกจากนี้ ฟีฟ่าก็ได้ใช้เทคโนโลยีโกลไลน์เป็นครั้งแรกในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย[2]

ฟุตบอลโลก 2014
Copa do Mundo da FIFA
Brasil 2014
ตราสัญลักษณ์ฟุตบอลโลก 2014
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพบราซิล
วันที่13 มิถุนายน13 กรกฎาคม
ทีม32 (จาก 6 สมาพันธ์)
สถานที่12 (ใน 12 เมืองเจ้าภาพ)
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
ชนะเลิศธงชาติเยอรมนี เยอรมนี (สมัยที่ 4)
รองชนะเลิศธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
อันดับที่ 3ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
อันดับที่ 4ธงชาติบราซิล บราซิล
สถิติการแข่งขัน
จำนวนนัดที่แข่งขัน64
จำนวนประตู171 (2.67 ประตูต่อนัด)
ผู้ชม3,429,873 (53,592 คนต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุดโคลอมเบีย ฮาเมส โรดรีเกซ
(6 ประตู)
ผู้เล่นยอดเยี่ยมอาร์เจนตินา เลียวเนล เมสซี
ผู้รักษาประตูยอดเยี่ยมเยอรมนี มานูเอล นอยเออร์
ผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยมฝรั่งเศส ปอล ปอกบา
2010
2018

ตั๋วของการแข่งขันเปิดขายตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556 จำนวนประมาณ 3.3 ล้านใบ ผ่านเว็บไซต์ของฟีฟ่า[3]

การคัดเลือกเจ้าภาพ

แก้
 
เซพพ์ บลัทเทอร์ ยืนยันการเป็นเจ้าภาพของประเทศบราซิล

วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2546 ฟีฟ่าได้ประกาศว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกจะจัดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้อีกครั้งนับตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลโลก 1978 ในอาร์เจนตินา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่จะหมุนเวียนสิทธิ์ในการจัดการแข่งขันไปตามสหพันธ์ฟุตบอลต่าง ๆ ต่อมาในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2546 สมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ (คอนเมบอล) ได้แจ้งว่าอาร์เจนตินา บราซิล และโคลอมเบียมีความประสงค์จะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2014 รอบสุดท้าย[4] และในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2547 คอนเมบอลได้ลงมติเอกฉันท์ให้บราซิลเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในครั้งนี้[5]

บราซิลได้ประกาศเสนอตัวเป็นเจ้าภาพอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 และโคลอมเบียได้ประกาศในวันถัดมา ส่วนอาร์เจนตินาไม่ได้ประกาศเสนอตัว โดยในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2550 โคลอมเบียได้ขอถอนตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งฟรันซิสโก ซานโตส กัลเดรอน รองประธานาธิบดีโคลอมเบียกล่าวว่าโคลอมเบียจะจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกชุดอายุไม่เกิน 20 ปี ใน พ.ศ. 2554 แทน ทำให้เหลือเพียงบราซิลประเทศเดียวที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันนี้[6]

บราซิลชนะการคัดเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2014 ในฐานะที่เป็นประเทศเดียวที่เสนอชื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โดยงานประกาศนั้นมีขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550[7]

ทีมที่เข้าร่วมอย่างเป็นทางการ

แก้

รอบคัดเลือก

แก้

การแข่งขันรอบคัดเลือก จัดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เพื่อให้เหลือเพียง 32 ทีมในรอบสุดท้าย[8] บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเป็นทีมชาติเดียวที่เข้ารอบสุดท้ายเป็นครั้งแรก ส่วนยูเครนคือทีมที่มีอันดับโลกสูงสุด (อันดับที่ 16) ที่ไม่ผ่านเข้ามาเล่นในรอบสุดท้าย[9]

อนึ่ง เมื่อแข่งขันรอบคัดเลือกเสร็จสิ้น ฟีฟ่ายังกำหนดให้มีการแข่งขันรอบแพ้คัดออก (play-off) เพื่อเลือกทีมชาติเข้ารอบสุดท้ายอีกชั้นหนึ่ง โดยในคราวนี้จัดเป็นสองคู่ แต่ละคู่ใช้ระบบเหย้า-เยือน ประกอบด้วยอันดับที่ 5 จากโซนเอเชียพบกับอันดับที่ 5 จากโซนอเมริกาใต้ซึ่งโซนอเมริกาใต้ชนะ และอีกคู่หนึ่งคืออันดับที่ 4 จากโซนคอนคาแคฟพบกับทีมชนะเลิศจากโซนโอเชียเนียซึ่งโซนคอนคาแคฟชนะ

ทีมที่ได้ลงแข่งขัน

แก้
ทีมชาติ เข้ารอบลำดับที่ วิธีการเข้ารอบ วันที่เข้ารอบ ครั้งที่เข้ารอบ เข้ารอบครั้งล่าสุด ผลงานที่ดีที่สุด อันดับโลกฟีฟ่า
ก่อนเริ่มการแข่งขัน
  บราซิล 1 เจ้าภาพ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550 20 2010 ชนะเลิศ (1958, 1962, 1970, 1994, 2002) 11
  ญี่ปุ่น 2 ทีมชนะเลิศ กลุ่มบี การคัดเลือกโซนเอเชีย 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 5 2010 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2002, 2010) 44
  ออสเตรเลีย 3 ทีมรองชนะเลิศ กลุ่มบี การคัดเลือกโซนเอเชีย 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556 4 2010 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2006) 57
  อิหร่าน 4 ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอ การคัดเลือกโซนเอเชีย 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556 4 2006 รอบแบ่งกลุ่ม (1978, 1998, 2006) 49
  เกาหลีใต้ 5 ทีมรองชนะเลิศ กลุ่มเอ การคัดเลือกโซนเอเชีย 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556 9 2010 อันดับ 4 (2002) 56
  เนเธอร์แลนด์ 6 ทีมชนะเลิศ กลุ่มดี การคัดเลือกโซนยุโรป 10 กันยายน พ.ศ. 2556 10 2010 รองชนะเลิศ (1974, 1978, 2010) 8
  อิตาลี 7 ทีมชนะเลิศ กลุ่มบี การคัดเลือกโซนยุโรป 10 กันยายน พ.ศ. 2556 18 2010 ชนะเลิศ (1934, 1938, 1982, 2006) 9
  สหรัฐ 8 อันดับ 1 การคัดเลือกโซนคอนคาแคฟ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 10 2010 อันดับ 3 (1930) 13
  คอสตาริกา 9 อันดับ 2 การคัดเลือกโซนคอนคาแคฟ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 4 2006 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1990) 31
  อาร์เจนตินา 10 อันดับ 1 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 16 2010 ชนะเลิศ (1978, 1986) 3
  เบลเยียม 11 ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอ การคัดเลือกโซนยุโรป 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 12 2002 อันดับ 4 (1986) 5
  สวิตเซอร์แลนด์ 12 ทีมชนะเลิศ กลุ่มอี การคัดเลือกโซนยุโรป 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 10 2010 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (1934, 1938, 1954) 7
  เยอรมนี 13 ทีมชนะเลิศ กลุ่มซี การคัดเลือกโซนยุโรป 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 18 2010 ชนะเลิศ (1954, 1974, 1990) 2
  โคลอมเบีย 14 อันดับ 2 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 5 1998 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1990) 4
  รัสเซีย 15 ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอฟ การคัดเลือกโซนยุโรป 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 10 2002 อันดับ 4(1986) 19
  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 16 ทีมชนะเลิศ กลุ่มจี การคัดเลือกโซนยุโรป 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 1 16
  อังกฤษ 17 ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอช การคัดเลือกโซนยุโรป 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 14 2010 ชนะเลิศ (1966) 10
  สเปน 18 ทีมชนะเลิศ กลุ่มไอ การคัดเลือกโซนยุโรป 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 14 2010 ชนะเลิศ (2010) 1
  ชิลี 19 อันดับ 3 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 9 2010 อันดับ 3 (1962) 12
  เอกวาดอร์ 20 อันดับ 4 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 3 2006 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2006) 22
  ฮอนดูรัส 21 อันดับ 3 การคัดเลือกโซนคอนคาแคฟ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 3 2010 รอบแบ่งกลุ่ม (1982, 2010) 34
  ไนจีเรีย 22 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 5 2010 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1994, 1998) 33
  โกตดิวัวร์ 23 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 3 2010 รอบแบ่งกลุ่ม (2006, 2010) 17
  แคเมอรูน 24 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 7 2010 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (1990) 59
  กานา 25 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 3 2010 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (2010) 23
  แอลจีเรีย 26 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 4 2010 รอบแบ่งกลุ่ม (1982, 1986, 2010) 32
  กรีซ 27 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 3 2010 รอบแบ่งกลุ่ม (1994, 2010) 15
  โครเอเชีย 28 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 4 2006 อันดับ 3 (1998) 18
  โปรตุเกส 29 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 6 2010 อันดับ 3 (1966) 14
  ฝรั่งเศส 30 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 14 2010 ชนะเลิศ (1998) 21
  เม็กซิโก 31 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนคอนคาแคฟ - โอเชเนีย 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 15 2010 รอบรองชนะเลิศ (1970, 1986) 24
  อุรุกวัย 32 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนเอเชีย - อเมริกาใต้ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 12 2010 ชนะเลิศ (1930, 1950) 6

วันและสถานที่แข่งขัน

แก้

วันแข่งขัน

แก้

การแข่งขันครั้งนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นสัปดาห์หลังจากที่การแข่งขันฟุตบอลลีกในทวีปยุโรปปิดฤดูกาลลง และยังตรงกับช่วงฤดูหนาวของประเทศในเขตกึ่งร้อนอย่างบราซิลอีกด้วย

สถานที่แข่งขัน

แก้
 
จิลมา รูเซฟ (คนที่ 2 จากขวา) และเปเล่ (คนกลาง) กับการติดตามงานในเมืองเบโลโอรีซอนตี

เมือง 17 เมืองที่สนใจจะเข้ารับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ ได้แก่ เบเลง เบโลโอรีซอนตี บราซีเลีย กัมปูกรันดี กุยาบา กูรีตีบา โฟลเรียนอโปลิส โฟร์ตาเลซา โกยาเนีย มาเนาส์ นาตาล โปร์ตูอาเลเกร เรซีฟี โอลิงดา (สนามจะเป็นสนามที่ใช้ร่วมกัน 2 เมือง) รีโอบรังโก รีโอเดจาเนโร ซัลวาดอร์ และเซาเปาลู[10] ส่วนมาเซโอได้ถอนตัวไปในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552

ตามกฎของฟีฟ่าห้ามมีเมืองที่ใช้แข่งขันเกิน 1 สนาม และจำนวนของเมืองเจ้าภาพต้องอยู่ระหว่าง 8–10 เมือง โดยสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล (เซเบเอฟี) ได้ยื่นคำขอที่จะใช้เมืองเจ้าภาพ 12 เมืองในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายครั้งนี้ ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ฟีฟ่าได้อนุมัติแผนการใช้เมืองเจ้าภาพที่มากถึง 12 เมือง[11]

ก่อนหน้าที่จะมีการคัดเลือกตัดสินเมืองที่จะเป็นเจ้าภาพ มีการคาดการณ์กันว่าสนามที่จะได้จัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศคงเป็นสนามมารากานังในเมืองรีโอเดจาเนโรซึ่งเคยเป็นสนามแข่งขันนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1950 ระหว่างอุรุกวัยกับบราซิลมาแล้ว แต่เดิมสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิลตั้งใจจะจัดการแข่งขันนัดเปิดสนามที่สนามโมรุงบีในเมืองเซาเปาลูซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของบราซิล อย่างไรก็ตาม วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553 สนามโมรุงบีถูกตัดชื่อออกเนื่องจากไม่สามารถวางเงินประกันการปรับปรุงสนามให้เป็นไปตามมาตรฐานได้[12] ต่อมาในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 สมาคมฟุตบอลบราซิลได้ประกาศให้ใช้อาเรนาโกริงชังส์จัดการแข่งขันในเซาเปาลู

เมือง 12 เมืองที่จะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เมืองเบเลง, กัมปูกรันดี, โฟลเรียนอโปลิส, โกยาเนีย และรีโอบรังโกถูกตัดออก เกินครึ่งของเมืองที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องปรับปรุงสนามหรือสร้างสนามขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ในขณะที่สนามในกรุงบราซีเลียจะถูกทุบและสร้างขึ้นใหม่ ส่วนอีกห้าเมืองก็กำลังปรับปรุงสนามของตนเอง

รีโอเดจาเนโร บราซีเลีย เซาเปาลู โฟร์ตาเลซา
สนามกีฬานักหนังสือพิมพ์มารีอู ฟิลยู
(มารากานัง)
สนามกีฬาแห่งชาติบราซีเลีย
(มาเน การิงชา)
อาเรนาโกริงชังส์ สนามกีฬาปลาซีดู อาเดรัลดู กัสเตลู
(กัสเตเลา)
ความจุ : 76,935คน[13] ความจุ : 70,042คน[14] ความจุ : 68,000คน
(สนามใหม่)
ความจุ : 64,846คน[15]
       
เบโลโอรีซอนตี โปร์ตูอาเลเกร
สนามกีฬาผู้ว่าการมากัลไยส์ ปิงตู
(มีเนย์เรา)
สนามกีฬาฌูแซ ปิญเญย์รู บอร์ดา
(เบย์รา-รีอู)
ความจุ : 62,547 คน ความจุ : 51,300 คน[16]
(ปรับปรุงใหม่)
   
ซัลวาดอร์ เรซีฟี
ศูนย์กีฬาศาสตราจารย์โอกตาวีอู มังกาเบย์รา
(อาเรนาฟงชีนอวา)
อาเรนาเปร์นัมบูกู
ความจุ : 56,000 คน[17] ความจุ : 46,154 คน
(สนามใหม่)
   
กุยาบา มาเนาส์ นาตาล กูรีตีบา
อาเรนาปังตานัล อาเรนาอามาโซเนีย อาเรนาดัสดูนัส สนามกีฬาโฌอากิง อาเมรีกู กีมาไรส์
(อาเรนาดาไบชาดา)
ความจุ : 42,968 คน
(สร้างใหม่)
ความจุ : 42,374 คน
(สร้างใหม่)
ความจุ : 42,086 คน
(สร้างใหม่)
ความจุ : 43,900 คน
(ปรับปรุงใหม่)
       

การจับสลากแบ่งกลุ่มรอบสุดท้าย

แก้

การจับสลากแบ่งกลุ่มรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2014 จัดขึ้นที่กอสตาดูเซาอีปีรีสอร์ต เมืองมาตาจีเซาโฌเอา รัฐบาเยีย ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556[18] เวลา 13:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (UTC –3)[19]

รอบแบ่งกลุ่ม

แก้
 
อาเรนาฟงชีนอวาในเมืองซัลวาดอร์ ขณะที่กำลังก่อสร้างเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตารางการแข่งขันได้รับการประกาศจากสำนักงานใหญ่ฟีฟ่าที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554[20] ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมาธิการจัดการแข่งขันได้ประกาศเวลาที่จะใช้แข่งขันในแต่ละเมือง โดยการแข่งขันนัดเปิดสนามจะจัดขึ้นในวันที่ 12 มิถุนายน ที่เมืองเซาเปาลู เวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และรอบแบ่งกลุ่มจะแข่งขันเวลา 13.00 น., 16.00 น., 17.00 น., 18.00 น., 19.00 น. และ 21.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และรอบแพ้คัดออก (รอบน็อกเอาต์) จะทำการแข่งขันในเวลา 13.00 น. และ 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น รอบรองชนะเลิศจะทำการแข่งขันในเวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และรอบชิงชนะเลิศจะจัดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่สนามกีฬามารากานัง เวลา 16:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น[21]

เวลาทั้งหมดที่ระบุข้างล่างนี้เป็นเวลาท้องถิ่นบราซีเลีย (UTC –3) เป็นเขตเวลาของเมืองเจ้าภาพ 10 เมืองจากทั้งหมด 12 เมือง ซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 10 ชั่วโมง ส่วนเมืองกุยาบาและมาเนาส์นั้นอยู่ในเขตเวลาแอมะซอน (UTC –4) หรือช้ากว่าประเทศไทย 11 ชั่วโมง ดังนั้น ตัวเลขเวลาการแข่งขันที่จัดขึ้นในเมืองทั้งสองจะช้ากว่าเวลาที่ระบุไว้ข้างล่างนี้หนึ่งชั่วโมง[22]

สัญลักษณ์สีในตารางกลุ่ม
ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีม
ทีมที่ไม่สามารถผ่านรอบแบ่งกลุ่มไปได้

กลุ่มเอ

แก้
ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
  บราซิล 3 2 1 0 7 2 +5 7
  เม็กซิโก 3 2 1 0 4 1 +3 7
  โครเอเชีย 3 1 0 2 6 6 0 3
  แคเมอรูน 3 0 0 3 1 9 -8 0
12 มิถุนายน 2557 นัดที่ 1บราซิล  3–1  โครเอเชียเซาเปาลู
17:00 เนย์มาร์   29'71' (จุดโทษ)
โอสการ์   90+1'
รายงาน มาร์เซลู วีเอรา   11' (เข้าประตูทีมตัวเอง) สนามกีฬา: อาเรนาโกริงชังส์
ผู้ชมในสนาม: 62,103 คน[23]
ผู้ตัดสิน: ยูอิจิ นิชิมุระ (ญี่ปุ่น)[24]
17 มิถุนายน 2557 นัดที่ 17บราซิล  0–0  เม็กซิโกโฟร์ตาเลซา
16:00 รายงาน สนามกีฬา: กัสเตเลา
ผู้ชมในสนาม: 60,342 คน
ผู้ตัดสิน: จือเนย์ต ชากือร์ (ตุรกี)

กลุ่มบี

แก้
ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
  เนเธอร์แลนด์ 3 3 0 0 10 3 +7 9
  ชิลี 3 2 0 1 5 3 +2 6
  สเปน 3 1 0 2 4 7 -3 3
  ออสเตรเลีย 3 0 0 3 3 9 -6 0

กลุ่มซี

แก้
ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
  โคลอมเบีย 3 3 0 0 9 2 +7 9
  กรีซ 3 1 1 1 2 4 -2 4
  โกตดิวัวร์ 3 1 0 2 4 5 -1 3
  ญี่ปุ่น 3 0 1 2 2 6 -4 1
19 มิถุนายน 2557 นัดที่ 22ญี่ปุ่น  0–0  กรีซนาตาล
19:00 รายงาน สนามกีฬา: อาเรนาดัสดูนัส
ผู้ชมในสนาม: 39,485 คน
ผู้ตัดสิน: โยเอล อากีลาร์ (เอลซัลวาดอร์)

กลุ่มดี

แก้
ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
  คอสตาริกา 3 2 1 0 4 1 +3 7
  อุรุกวัย 3 2 0 1 4 4 0 6
  อิตาลี 3 1 0 2 2 3 -1 3
  อังกฤษ 3 0 1 2 2 4 -2 1
20 มิถุนายน 2557 นัดที่ 24อิตาลี  0–1  คอสตาริกาเรซีฟี
13:00 รายงาน บรายัน รุยซ์   44' สนามกีฬา: อาเรนาเปร์นัมบูกู
ผู้ชมในสนาม: 40,285 คน
ผู้ตัดสิน: เอนรีเก โอเซส (ชิลี)
24 มิถุนายน 2557 นัดที่ 39อิตาลี  0–1  อุรุกวัยนาตาล
13:00 รายงาน เดียโก โกดิน   81' สนามกีฬา: อาเรนาดัสดูนัส
ผู้ชมในสนาม: 39,706 คน
ผู้ตัดสิน: มาร์โก โรดรีเกซ (เม็กซิโก)

กลุ่มอี

แก้
ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
  ฝรั่งเศส 3 2 1 0 8 2 +6 7
  สวิตเซอร์แลนด์ 3 2 0 1 7 6 +1 6
  เอกวาดอร์ 3 1 1 1 3 3 0 4
  ฮอนดูรัส 3 0 0 3 1 8 -7 0
15 มิถุนายน 2557 นัดที่ 10ฝรั่งเศส  3–0  ฮอนดูรัสโปร์ตูอาเลเกร
16:00 การีม แบนเซมา   45' (จุดโทษ)72'
โนเอล บายาดาเรส   48' (เข้าประตูทีมตัวเอง)
รายงาน สนามกีฬา: เบย์รา-รีอู
ผู้ชมในสนาม: 43,012 คน
ผู้ตัดสิน: ซังดรู รีชี (บราซิล)
25 มิถุนายน 2557 นัดที่ 42เอกวาดอร์  0–0  ฝรั่งเศสรีโอเดจาเนโร
17:00 รายงาน สนามกีฬา: มารากานัง
ผู้ชมในสนาม: 73,749 คน
ผู้ตัดสิน: นูม็องดีเย ดูเอ (โกตดิวัวร์)

กลุ่มเอฟ

แก้
ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
  อาร์เจนตินา 3 3 0 0 6 3 +3 9
  ไนจีเรีย 3 1 1 1 3 3 0 4
  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 3 1 0 2 4 4 0 3
  อิหร่าน 3 0 1 2 1 4 -3 1
16 มิถุนายน 2557 นัดที่ 12อิหร่าน  0–0  ไนจีเรียกูรีตีบา
16:00 รายงาน สนามกีฬา: อาเรนาดาไบชาดา
ผู้ชมในสนาม: 39,081 คน
ผู้ตัดสิน: การ์โลส เบรา (เอกวาดอร์)

กลุ่มจี

แก้
ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
  เยอรมนี 3 2 1 0 7 2 +5 7
  สหรัฐ 3 1 1 1 4 4 0 4
  โปรตุเกส 3 1 1 1 4 7 -3 4
  กานา 3 0 1 2 4 6 -2 1
16 มิถุนายน 2557 นัดที่ 13เยอรมนี  4–0  โปรตุเกสซัลวาดอร์
13:00 โทมัส มึลเลอร์   12' (จุดโทษ)45+1'78'
มัทส์ ฮุมเมิลส์   32'
รายงาน สนามกีฬา: อาเรนาฟงชีนอวา
ผู้ชมในสนาม: 51,081 คน
ผู้ตัดสิน: มีลอรัด มาชิช (เซอร์เบีย)
26 มิถุนายน 2557 นัดที่ 46โปรตุเกส  2–1  กานาบราซีเลีย
13:00 จอห์น บอย   31' (เข้าประตูทีมตัวเอง)
คริสเตียโน โรนัลโด   80'
รายงาน อะซาโมอาห์ จยาน   57' สนามกีฬา: สนามกีฬาแห่งชาติบราซีเลีย
ผู้ชมในสนาม: 67,540 คน
ผู้ตัดสิน: นะวาฟ ชุกรัลลอฮ์ (บาห์เรน)

กลุ่มเอช

แก้
ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
  เบลเยียม 3 3 0 0 4 1 +3 9
  แอลจีเรีย 3 1 1 1 6 5 +1 4
  รัสเซีย 3 0 2 1 2 3 -1 2
  เกาหลีใต้ 3 0 1 2 3 6 -3 1
22 มิถุนายน 2557 นัดที่ 31เบลเยียม  1–0  รัสเซียรีโอเดจาเนโร
13:00 ดีว็อก โอรีกี   88' รายงาน สนามกีฬา: มารากานัง
ผู้ชมในสนาม: 73,819 คน
ผู้ตัดสิน: เฟลิกซ์ บรึช (เยอรมนี)

รอบแพ้คัดออก

แก้
รอบ 16 ทีม
รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบรองชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศ
                           
28 มิถุนายน – เบโลโอรีซอนตี            
   บราซิล (ลูกโทษ)  1 (3) 
4 กรกฎาคม – ฟอร์ตาเลซา
   ชิลี  1 (2)   
   บราซิล  2
28 มิถุนายน – รีโอเดจาเนโร
     โคลอมเบีย  1  
   โคลอมเบีย  2
8 กรกฎาคม – เบโลโอรีซอนตี
   อุรุกวัย  0  
   บราซิล  1
30 มิถุนายน – บราซีเลีย
     เยอรมนี  7  
   ฝรั่งเศส  2
4 กรกฎาคม – รีโอเดจาเนโร
   ไนจีเรีย  0  
   ฝรั่งเศส  0
30 มิถุนายน – โปร์ตูอาเลเกร
     เยอรมนี  1  
   เยอรมนี (หลังต่อเวลาพิเศษ)  2
13 กรกฎาคมรีโอเดจาเนโร
   แอลจีเรีย  1  
   เยอรมนี (หลังต่อเวลาพิเศษ)  1
29 มิถุนายน – ฟอร์ตาเลซา
     อาร์เจนตินา  0
   เนเธอร์แลนด์  2
5 กรกฎาคม – ซัลวาดอร์
   เม็กซิโก  1  
   เนเธอร์แลนด์ (ลูกโทษ)  0 (4) 
29 มิถุนายน – เรซีฟี
     คอสตาริกา  0 (3)   
   คอสตาริกา (ลูกโทษ)  1 (5) 
9 กรกฎาคม – เซาเปาลู
   กรีซ  1 (3)   
   เนเธอร์แลนด์  0 (2) 
1 กรกฎาคม – เซาเปาลู
     อาร์เจนตินา (ลูกโทษ)  0 (4)    อันดับที่ 3
   อาร์เจนตินา (หลังต่อเวลาพิเศษ)  1
5 กรกฎาคม – บราซีเลีย 12 กรกฎาคม – บราซีเลีย
   สวิตเซอร์แลนด์  0  
   อาร์เจนตินา  1    บราซิล  0
1 กรกฎาคม – ซัลวาดอร์
     เบลเยียม  0      เนเธอร์แลนด์  3
   เบลเยียม (หลังต่อเวลาพิเศษ)  2
   สหรัฐ  1  

รอบ 16 ทีม

แก้
30 มิถุนายน 2557 นัดที่ 53ฝรั่งเศส  2–0  ไนจีเรียบราซีเลีย
13:00 ปอล ปอกบา   79'
โจเซฟ โยโบ   90+1' (เข้าประตูทีมตัวเอง)
รายงาน สนามกีฬา: สนามกีฬาแห่งชาติบราซีเลีย
ผู้ชมในสนาม: 67,882 คน
ผู้ตัดสิน: มาร์ก ไกเกอร์ (สหรัฐอเมริกา)