ซน ฮึง-มิน (เกาหลี손흥민; อักษรโรมัน: Son Heung-min) เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 เขาเป็นนักฟุตบอลชาวเกาหลีใต้ ปัจจุบันเขาเล่นในตำแหน่งกองหน้าและปีกซ้าย และเป็นกัปตันทีมของทอตนัมฮอตสเปอร์ และเป็นกัปตันทีมชาติเกาหลีใต้ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่มีฝีเท้าดีที่สุดในโลก รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้เล่นชาวเอเชียที่ดีที่สุดตลอดกาล[3][4][5][6] ซนถือเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ทำได้มากกว่า 100 ประตูในพรีเมียร์ลีก[7] เขาขึ้นชื่อเรื่องความเร็ว การจบสกอร์ และการเลี้ยงบอล 2 เท้า

ซน ฮึง-มิน
ซนเมื่อปี 2018
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ซน ฮึง-มิน[1]
วันเกิด (1992-07-08) 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี)
สถานที่เกิด ชุนช็อน เกาหลีใต้
ส่วนสูง 1.83 m (6 ft 0 in)
ตำแหน่ง กองหน้า
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
ทอตนัมฮอตสเปอร์
หมายเลข 7
สโมสรเยาวชน
2008 เอฟซีโซล[2]
2008–2010 ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2010 ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา 2 6 (1)
2010–2013 ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา 73 (20)
2013–2015 ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน 62 (21)
2015– ทอตนัมฮอตสเปอร์ 296 (117)
ทีมชาติ
2008–2009 เกาหลีใต้ อายุไม่เกิน 17 ปี 18 (7)
2016–2018 เกาหลีใต้ อายุไม่เกิน 23 ปี 10 (3)
2010– เกาหลีใต้ 125 (46)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2023
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2024
ซน ฮึง-มิน
ฮันกึล
손흥민
ฮันจา
孫興慜
อาร์อาร์Son Heung-min
เอ็มอาร์Son Hŭng-min

แต่เดิมเป็นนักเตะของเอฟซีโซล ก่อนที่จะเข้าร่วมกับสโมสรเยาวชนฮัมบูร์เกอร์เอสเฟา เขาลงเล่นในบุนเดิสลีกา เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 2010 และใน ค.ศ. 2013 เขาได้ย้ายเข้าสู่ทีมไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน ด้วยค่าตัว 10 ล้านยูโร ซึ่งเป็นสถิติใหม่ของสโมสร และเล่นให้แก่สโมสรในรายการยูฟ่ายูโรปาลีกและยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก สองปีถัดมาเขาได้เซ็นสัญญากับทอตนัมฮอตสเปอร์ ด้วยค่าตัว 22 ล้านปอนด์ กลายเป็นนักเตะเอเชียที่มีค่าตัวแพงที่สุดในประวัติศาสตร์[8] และในช่วงที่ลงเล่นให้กับสเปอร์ เขาทำสถิติเป็นผู้เล่นเอเชียที่ทำประตูมากที่สุดในพรีเมียร์ลีกและยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[9] และทำลายสถิติของ ชา บอม-กึน ในการเป็นผู้เล่นเอเชียที่ทำประตูมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลยุโรป[10][11] ใน ค.ศ. 2019 เขาเป็นนักเตะเอเชียคนที่สองในประวัติศาสตร์ที่ได้ลงเล่นในรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ต่อจากตำนานรุ่นพี่อย่าง พัก จี-ซ็อง[12] ต่อมาในฤดูกาล 2021–22 ซนสร้างประวัติศาสตร์เป็นนักเตะเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลรองเท้าทองคำ หรือผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก[13]

ซนติดทีมชาติชุดใหญ่ใน ค.ศ. 2010 และเป็นผู้เล่นตัวหลักของทีมในฟุตบอลโลก 2014 และ 2018 และทำสถิติเป็นผู้เล่นเกาหลีใต้ที่ทำประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายสูงสุดที่ 3 ประตู เท่ากับ พัก จี-ซ็อง และ อัน จ็อง-ฮวัน ซนยังมีส่วนในการพาทีมคว้าเหรียญทองในเอเชียนเกมส์ 2018 รวมถึงลงแข่งขันในเอเชียนคัพ 2011, 2015 และ 2019 ซึ่งเกาหลีใต้ได้รองแชมป์ใน ค.ศ. 2015

ซนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในบุคคลผู้มีชื่อเสียงที่สุดของเกาหลีใต้ และเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของวงการกีฬาเกาหลีใต้ในปัจจุบัน โดยใน ค.ศ. 2022 เขาได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับสามของผู้ทรงอิทธิพลในเกาหลีของฟอร์บ[14][15] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022 ยุน ซ็อก-ย็อล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ได้มอบเหรียญ Cheongnyong ให้แก่ซน ซึ่งถือเป็นเหรียญเกียรติยศขั้นสูงสุดของวงการกีฬาที่มอบให้แก่พลเรือนเกาหลีใต้[16]

สโมสรอาชีพ แก้

ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา แก้

 
ซนขณะเล่นให้แก่ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟาในเกมที่พบกับแวร์เดอร์เบรเมิน

ในปี ค.ศ. 2008 ซนได้ถอนตัวออกจากทีมเอฟซีโซล รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปีของโรงเรียนมัธยมปลายทงบุก[17] และเข้าร่วมกับสโมสรเยาวชนฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟาขณะที่อายุเพียง 16 ปี[18] จนท้ายที่สุดเขาได้ทำประตูได้ 6 เกม[19] หลังจากที่เขาทำประตูในเกมที่พบกับสโมสรฟุตบอลเชลซี ในเดือนสิงหาคม เขาได้มีอาการบาดเจ็บเป็นระยะเวลาสองเดือน และกลับมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ประตูแรกของเขาเกิดขึ้นในนาทีที่ 24 ในเกมที่พบกับแอร์สเทอเอฟเซเคิล์น [20][21]

ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน แก้

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2013 ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินประกาศคว้าตัวซนเข้าสู่ทีมด้วยค่าตัว 10 ล้านยูโร ด้วยสัญญาระยะเวลา 5 ปี ซึ่งค่าตัวของเขากลายเป็นสถิติใหม่ของสโมสรนับตั้งแต่ก่อตั้งมา[22] ในช่วงก่อนฤดูกาลนั้นซนได้ปรับตัวเข้ากับทีมใหม่ได้เร็วมาก เขาทำประตูไปได้ทั้งหมด 3 ประตู ใน 3 เกมแรกที่พบกับ 1860 มิวนิก, อูดีเนเซ และคาอาเอ็ส ออยเพิน[23]

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ซนได้ทำแฮตทริกให้แก่เลเวอร์คูเซินและชนะไปด้วยผล 5–3 ในเกมที่พบกับฮัมบวร์เกอร์ ซึ่งเป็นทีมต้นสังกัดเก่าของเขา[24] จบฤดูกาลนั้นเขาได้ทำประตูไปทั้งหมด 12 ประตู ใน 43 เกม[25]

ซนทำแฮตทริกอีกครั้งในเกมที่พ่ายให้แก่เฟาเอ็ฟเอ็ล ว็อลฟส์บวร์ค ด้วยผล 4–5 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015[26] ในฤดูกาล 2014–15 เขาทำประตูไปได้ทั้งหมด 17 ประตู ใน 42 เกม [27]

ทอตนัมฮอตสเปอร์ แก้

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2015 ซนได้ตกลงร่วมเซ็นสัญญากับทอตนัมฮอตสเปอร์สโมสรฟุตบอลจากพรีเมียร์ลีกเป็นระยะเวลาสามปีด้วยค่าตัว 22 ล้านปอนด์ (30 ล้านยูโร) และได้รับการอนุมัติในการออกใบอณุญาตทำงาน[28][29] การเซ็นสัญญาครั้งนี้ทำให้เขาได้สถิติใหม่กลายเป็นนักเตะเอเชียที่มีค่าตัวสูงที่สุดในประวัติศาสตร์[8] โดยสถิติเก่านั้นเคยเป็นของฮิเดโตชิ นากาตะ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่นผู้ที่ย้ายจากปาร์มามายังโรมา ด้วยค่าตัว 25 ล้านยูโรในปี ค.ศ. 2001[30] ซนลงเล่นให้แก่ทีมครั้งแรกในเกมที่ออกไปเยือนซันเดอร์แลนด์ โดยลงมาแทนแอนดรอส ทาวน์เซนด์ในนาทีที่ 62 และจบเกมชนะด้วยผล 1–0 [31] ประตูแรกของเขาในพรีเมียร์ลีกเกิดขึ้นในเกมที่พบกับคริสตัลพาเลซ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2015

ในการแข่งขันพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2019–20 กับเบิร์นลีย์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2019 ซนทำประตูที่ 3 ในการแข่งขันในนาทีที่ 32 โดยเลี้ยงลูกคนเดียวจากแดนของสเปอร์ส หลบหลีกผู้เล่นของเบิร์นลีย์ไปจนถึงหน้าประตูของเบิร์นลีย์ก่อนจะยิงเข้าไปอย่างสวยงาม นัดนั้นสเปอร์สเอาชนะเบิร์นลีย์ไปได้ 5–0[32][33]

สถิติอาชีพ แก้

สโมสร แก้

ณ วันที่ 2 มกราคม 2021
สโมสร ฤดูกาล ลีก ฟุตบอลถ้วย ลีกคัพ ยุโรป รวม
ลีก ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
ฮัมบูร์เกอร์ 2010–11[34] บุนเดิสลีกา 13 3 1 0 14 3
2011–12[35] 27 5 3 0 30 5
2012–13[36] 33 12 1 0 34 12
รวม 73 20 5 0 78 20
ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน 2013–14[25] บุนเดิสลีกา 31 10 4 2 8 0 43 12
2014–15[27] 30 11 2 1 10 5 42 17
2015–16[37] 1 0 0 0 1 0 2 0
รวม 62 21 6 3 19 5 87 29
ทอตนัมฮอตสเปอร์ 2015–16[37] พรีเมียร์ลีก 28 4 4 1 1 0 7 3 40 8
2016–17 พรีเมียร์ลีก 34 14 5 6 0 0 8 1 47 21
2017–18[38] พรีเมียร์ลีก 37 12 7 2 2 0 7 4 53 18
2018–19[39] พรีเมียร์ลีก 31 12 1 1 4 3 12 4 48 20
2019–20[40] พรีเมียร์ลีก 30 11 4 2 1 0 6 5 41 18
2020–21[41] พรีเมียร์ลีก 16 12 0 0 1 0 7 3 24 15
รวม 176 65 21 12 9 3 47 20 253 100
รวมทั้งหมด 317 107 32 15 9 3 66 25 424 150

ทีมชาติ แก้

ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2020[42]
ทีมชาติ ปี ลงเล่น ประตู
เกาหลีใต้รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี 2008 10 4
2009 8 3
รวม 18 7
เกาหลีใต้รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2016 4 2
2018 6 1
รวม 10 3
เกาหลีใต้ 2010 1 0
2011 7 1
2012 3 0
2013 11 4
2014 12 2
2015 12 9
2016 6 1
2017 9 3
2018 13 3
2019 13 3
2020 2 0
รวม 89 26
รวมทั้งหมด 117 36

ประตูในนามทีมชาติ แก้

ณ วันที่ 26 มีนาคม 2024[42]
ลำดับ วันที่ สนาม นัดที่ คู่แข่ง ประตู ผล รายการแข่งขัน
1 18 มกราคม 2011 สนามกีฬาอัลเฆาะรอฟะฮ์ โดฮา ประเทศกาตาร์ 3   อินเดีย 4–1 4–1 เอเชียนคัพ 2011
2 26 มีนาคม 2013 โซลเวิลด์คัปสเตเดียม โซล ประเทศเกาหลีใต้ 13   กาตาร์ 2–1 2–1 ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก
3 6 กันยายน 2013 สนามฟุตบอลอินช็อน อินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ 17   เฮติ 1–0 4–1 เกมกระชับมิตร
4 4–1
5 15 ตุลาคม 2013 สนามกีฬาชอนัน ชอนัน ประเทศเกาหลีใต้ 20   มาลี 2–1 3–1
6 5 มีนาคม 2014 สนามกีฬาการาอิสกากิ เอเธนส์ ประเทศกรีซ 23   กรีซ 2–0 2–0
7 22 มิถุนายน 2014 เอสตาจีอูเบย์รา-รีอู โปร์ตูอาแลกรี ประเทศบราซิล 27   แอลจีเรีย 1–3 2–4 ฟุตบอลโลก 2014
8 22 มกราคม 2015 สนามกีฬาเมลเบิร์น เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย 37   อุซเบกิสถาน 1–0 2–0 เอเชียนคัพ 2015
9 2–0
10 31 มกราคม 2015 สนามกีฬาออสเตรเลีย ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย 39   ออสเตรเลีย 1–1 1–2 เอเชียนคัพ 2015 นัดชิงชนะเลิศ
11 16 มิถุนายน 2015 ราชมังคลากีฬาสถาน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 43   พม่า 2–0 2–0 ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก
12 3 กันยายน 2015 สนามกีฬาฮวาซ็อง ฮวาซ็อง ประเทศเกาหลีใต้ 44   ลาว 2–0 8–0
13 5–0
14 7–0
15 17 พฤศจิกายน 2015 สนามกีฬาแห่งชาติลาว หลัก 16 เวียงจันทน์ ประเทศลาว 46   ลาว 3–0 5–0
16 5–0
17 6 ตุลาคม 2016 ซูว็อนเวิลด์คัพสเตเดียม ซูว็อน ประเทศเกาหลีใต้ 50   กาตาร์ 3–2 3–2
18 10 ตุลาคม 2017 สนามกีฬาตีโซ บีล/บีแยน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 59   โมร็อกโก 1–3 1–3 เกมกระชับมิตร
19 10 พฤศจิกายน 2017 ซูว็อนเวิลด์คัพสเตเดียม ซูว็อน ประเทศเกาหลีใต้ 60   โคลอมเบีย 1–0 2–1
20 2–0
21 28 พฤษภาคม 2018 แทกูสเตเดียม แทกู ประเทศเกาหลีใต้ 64   ฮอนดูรัส 1–0 2–0
22 23 มิถุนายน 2018 รอสตอฟอะเรนา รอสตอฟ-นา-โดนู ประเทศรัสเซีย 69   เม็กซิโก 1–2 1–2 ฟุตบอลโลก 2018
23 27 มิถุนายน 2018 คาซันอะเรนา คาซัน ประเทศรัสเซีย 70   เยอรมนี 2–0 2–0
24 26 มีนาคม 2019 โซลเวิลด์คัปสเตเดียม โซล ประเทศเกาหลีใต้ 79   โคลอมเบีย 1–0 2–1 เกมกระชับมิตร
25 10 ตุลาคม 2019 สนามกีฬาฮวาซ็อง ฮวาซ็อง ประเทศเกาหลีใต้ 84   ศรีลังกา 1–0 8–0 ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก
26 5–0
27 13 June 2021 Goyang Stadium, Goyang, South Korea 91   เลบานอน 2–1 2–1 2022 FIFA World Cup qualification
28 7 October 2021 Ansan Wa~ Stadium, Ansan, South Korea 93   ซีเรีย 2–1 2–1 2022 FIFA World Cup qualification
29 12 October 2021 Azadi Stadium, Tehran, Iran 94   อิหร่าน 1–0 1–1 2022 FIFA World Cup qualification
30 16 November 2021 Thani bin Jassim Stadium, Doha, Qatar 96   อิรัก 2–0 3–0 2022 FIFA World Cup qualification
31 24 March 2022 Seoul World Cup Stadium, Seoul, South Korea 97   อิหร่าน 1–0 2–0 2022 FIFA World Cup qualification
32 6 June 2022 Daejeon World Cup Stadium, Daejeon, South Korea 100   ชิลี 2–0 2–0 Friendly
33 10 June 2022 Suwon World Cup Stadium, Suwon, South Korea 101   ปารากวัย 1–2 2–2 Friendly
34 23 September 2022 Goyang Stadium, Goyang, South Korea 103   คอสตาริกา 2–2 2–2 Friendly
35 27 September 2022 Seoul World Cup Stadium, Seoul, South Korea 104   แคเมอรูน 1–0 1–0 Friendly
36 24 March 2023 Ulsan Munsu Football Stadium, Ulsan, South Korea 109   โคลอมเบีย 1–0 2–2 Friendly
37 2–0
38 17 October 2023 Suwon World Cup Stadium, Suwon, South Korea 114   เวียดนาม 4–0 6–0 Friendly
39 16 November 2023 Seoul World Cup Stadium, Seoul, South Korea 115   สิงคโปร์ 3–0 5–0 ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก
40 21 November 2023 Shenzhen Universiade Sports Centre, Shenzhen, China 116   จีน 1–0 3–0 ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก
41 2–0
42 20 January 2024 Al Thumama Stadium, Doha, Qatar 119   จอร์แดน 1–0 2–2 2023 AFC Asian Cup
43 25 January 2024 Al Janoub Stadium, Al Wakrah, Qatar 120   มาเลเซีย 3–2 3–3 2023 AFC Asian Cup
44 2 February 2024 Al Janoub Stadium, Al Wakrah, Qatar 122   ออสเตรเลีย 2–1 2–1
(ต่อเวลา)
2023 AFC Asian Cup
45 21 March 2024 โซลเวิลด์คัปสเตเดียม, โซล, เกาหลีใต้ 124   ไทย 1–0 1–1 ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก
46 26 March 2024 ราชมังคลากีฬาสถาน, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย 125   ไทย 2–0 3–0 ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก

เกียรติประวัติ แก้

สโมสร แก้

ทอตนัมฮอตสเปอร์

ทีมชาติ แก้

เกาหลีใต้ เยาวชน

เกาหลีใต้

รางวัลส่วนตัว แก้

อ้างอิง แก้

  1. "FIFA World Cup Qatar 2022: List of Players: Korea Republic" (PDF). FIFA. 29 November 2022. p. 17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 November 2022.
  2. "Son Heung-min". bundesliga.com (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2014-06-01.
  3. published (2021-04-15). "Ranked! The 10 best forwards in the world". fourfourtwo.com (ภาษาอังกฤษ).
  4. "Ballon d'Or 2019: Son Heung-min of South Korea gets highest-ever rank by an Asian". The Statesman (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-12-03.
  5. "Poll: Who is the League's best-ever Asian player?". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
  6. "Best of Asia: Asia's all-time greatest XI". SoccerGator (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-02-26.
  7. "Son makes history for Asia with milestone goal". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
  8. 8.0 8.1 Long, Sam (31 August 2015). "Tottenham's Son Heung-min vows to justify £22m price tag after becoming the most expensive Asian player in history". London Evening Standard. สืบค้นเมื่อ 3 September 2015.
  9. Team, Resonate (2019-04-18). "Son Heung-min breaks record as top Asian scorer in Champions League history". Resonate (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  10. "Son Heung-min Sets European Soccer Korean Scoring Record". world.kbs.co.kr (ภาษาอังกฤษ).
  11. Rice, Simon (2017-11-05). "Man Utd star has record broken by Tottenham's Son Heung-min". Metro (ภาษาอังกฤษ).
  12. UEFA.com (2021-02-12). "Minamino, Azmoun, Son Heung-Min, Hee-Chan Hwang: who are Asia's top UEFA Champions League performers?". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  13. "Son Heung-min becomes first Asian to win Premier League's Golden Boot, shares award with Mohamed Salah". ThePrint (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-05-22.
  14. CNN, Ben Church. "How Son Heung-Min 'Sonsation' gripped South Korea". CNN.
  15. "Son Heung-Min: How 'Little Seoul' fell in love with its favorite son". www.cnn.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  16. "Internationals - Sonny awarded Order of Sport Merit, Dejan on target". Tottenham Hotspur (ภาษาอังกฤษ).
  17. 손흥민 10대1 인터뷰①"하트브레이커 춤? 내가 워낙 몸치라" (ภาษาเกาหลี). The Sports Chosun. 22 March 2013.
  18. Pröpping, Andreas (6 October 2008). "Abenteuer in einer anderen Welt" (ภาษาเยอรมัน). Hamburger Abendblatt. สืบค้นเมื่อ 21 January 2011.
  19. "Son ist Vehs Sturmjuwel" (ภาษาเยอรมัน). Hamburger Morgenpost. 11 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-17. สืบค้นเมื่อ 21 January 2011.
  20. 손흥민 놓칠라 ... 함부르크 감독 부랴부랴 "계약 늘리자". Yahoo! Korea (ภาษาเกาหลี). 6 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-19. สืบค้นเมื่อ 6 November 2010.
  21. "# 123년 함부르크 역사상 '최연소골' 손흥민 "이제 시작"" (ภาษาเกาหลี). Sports Seoul. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-04. สืบค้นเมื่อ 6 November 2010.
  22. [오피셜] 레버쿠젠, 손흥민 공식 이적 발표 , 최신뉴스, 해외축구 : 네이버 스포츠. Sports.news.naver.com (13 June 2013). Retrieved on 2015-09-29. (เกาหลี)
  23. "Werkself fail to press home advantage". Bayer04.de. 23 July 2013.
  24. "Son shines as Leverkusen put five past Hamburg".
  25. 25.0 25.1 "Heung-Min Son". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). kicker. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015.
  26. "Wolfsburg win thriller at Bayer Leverkusen thanks to Bas Dost's four-goal haul". The Guardian. Reuters. 14 February 2015. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
  27. 27.0 27.1 "Heung-Min Son". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). kicker. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015.
  28. "Tottenham sign Heung-Min Son from Bayer Leverkusen". Sky Sports. 28 August 2015. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
  29. "Son Heung-min: Tottenham sign forward from Leverkusen". BBC Sport. 28 August 2015. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
  30. "Koreans hit the big time". Korea Joongang Daily. 30 August 2015. สืบค้นเมื่อ 3 September 2015.
  31. Chowdhury, Saj (13 September 2015). "Sunderland 0–1 Tottenham". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 13 September 2015.
  32. "Son scores SENSATIONAL goal as Spurs thrash Burnley! | Tottenham 5-0 Burnley | EPL Highlights - YouTube". สกายสปอร์ต. 7 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  33. "ALL ANGLES | HEUNG-MIN SON'S SENSATIONAL BURNLEY SOLO STRIKE". สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์. 7 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  34. "Heung-Min Son". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). kicker. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015.
  35. "Heung-Min Son". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). kicker. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015.
  36. "Heung-Min Son". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). kicker. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015.
  37. 37.0 37.1 "Heung-min Son » Club matches". World Football. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
  38. "Games played by Heung-Min Son in 2017/2018". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 15 May 2018.
  39. "Games played by Heung-Min Son in 2018/2019". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  40. "Games played by Heung-Min Son in 2019/2020". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  41. "Games played by Heung-Min Son in 2020/2021". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 13 September 2020.
  42. 42.0 42.1 "7. 손흥민 Son Heungmin". Korea Football Association. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  43. McNulty, Phil (1 June 2019). "Tottenham Hotspur 0–2 Liverpool". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 1 June 2019.
  44. "Men's Gold Medal Match: South Korea 2–1 Japan". asiangames2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2018. สืบค้นเมื่อ 1 September 2018.
  45. http://stats.the-afc.com/tournaments/37
  46. Weiner, David (1 February 2015). "Asian Cup final: Socceroos v South Korea at Stadium Australia in Sydney". Fox Sports. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
  47. "손흥민 축구협회 선정 올해의 선수" (ภาษาเกาหลี). Yonhap. 24 January 2014.
  48. 손흥민 2년 연속 대한축구협회 올해의 선수 (ภาษาเกาหลี). Yonhap. 23 December 2014.
  49. "Son Heung-min wins third Korea Republic Male Player of the Year award". AFC. 20 December 2017.
  50. "2014亚洲金球奖:韩国锋线巨星封王 中国0人" (ภาษาจีน). Tencent Sports. 28 November 2014.
  51. "热刺锋霸获2015年亚洲金球奖 特邀孙继海颁奖" (ภาษาจีน). Tencent Sports. 24 February 2016.
  52. "Son Heung-min wins Best Footballer in Asia 2017". FOX Sports Asia. 5 January 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-20. สืบค้นเมื่อ 2019-10-01.
  53. "Son Heung-min, the Best Footballer in Asia 2018". FOX Sports Asia. 4 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-04. สืบค้นเมื่อ 2019-10-01.
  54. "AC2015 DREAM TEAM". AFC Asian Cup. 1 February 2015.
  55. "Top ten goals of the 2014/15 Champions League". UEFA. 14 September 2015.
  56. "AFC Asian International Player of the Year 2015: Son Heung-min". AFC. 29 November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-02. สืบค้นเมื่อ 2019-10-01.
  57. Ooi Kin Fai (29 November 2017). "Son Heung-Min wins 2017 AFC Asian International Player of the Year". Goal.com.
  58. "[KFA 시상식] 손흥민 호주전 동점골, 2015년 올해의 베스트골" (ภาษาเกาหลี). Sportalkorea. 23 December 2015.
  59. "손흥민, 축구팬이 뽑은 올해 최고의 공격수·최고의 골 선정" (ภาษาเกาหลี). SBS. 19 December 2016.
  60. "축구팬들이 뽑은 '올해의 골'은 손흥민의 독일전 쐐기골" (ภาษาเกาหลี). KFA. 13 December 2018.
  61. "Son Heung-Min: Overview". Premier League. สืบค้นเมื่อ 29 September 2018.
  62. "FA Cup Top Scorers". BBC Sport. 27 May 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2017.
  63. "Son Heung-min voted the PFA Bristol Street Motors Player of the Month". ThePFA.com. 7 February 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2018. สืบค้นเมื่อ 4 April 2018.
  64. "Hamburg's all-time top XI, featuring Jerome Boateng, Heung-Min Son and Rafael van der Vaart". Bundesliga. 26 February 2018.
  65. "SPURS GOAL OF THE SEASON 2017/2018". Tottenham Hotspur F.C. 9 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 9 June 2018.
  66. "Sonny collects his Goal of the Season award". Tottenham Hotspur F.C. 12 May 2019. สืบค้นเมื่อ 12 May 2019.
  67. "Son wins Carling Goal of the Month for November". Premier League. 14 December 2018. สืบค้นเมื่อ 14 December 2018.
  68. "Mauricio and Son triumph at London Football Awards". Tottenham Hotspur F.C. 28 February 2019. สืบค้นเมื่อ 1 March 2019.
  69. "Sonny wins Player of the Season!". Tottenham Hotspur F.C. 12 May 2019. สืบค้นเมื่อ 12 May 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้