ฮาเมส โรดริเกซ

(เปลี่ยนทางจาก ฮาเมส โรดรีเกซ)

ฮาเมส ดาบิด โรดริเกซ รูบิโอ (สเปน: James David Rodríguez Rubio; เกิด 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1991) เป็นนักฟุตบอลชาวโคลอมเบีย ซึ่งเล่นได้ทั้งในตำแหน่งกองกลางตัวรุกและปีก ปัจจุบันเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลอัรร็อยยานในกาตาร์สตาร์สลีกและทีมชาติโคลอมเบีย เขาได้รับการชื่นชมในด้านเทคนิค วิสัยทัศน์ และการสร้างเกม และได้รับการกล่าวว่าเป็นผู้สืบทอดของการ์โลส บัลเดร์รามา เพื่อนร่วมชาติของเขา[2][3]

ฮาเมส โรดริเกซ
โรดริเกซขณะเล่นให้กับไบเอิร์นมิวนิกใน ค.ศ. 2018
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ฮาเมส ดาบิด โรดริเกซ รูบิโอ[1]
วันเกิด (1991-07-12) 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 (32 ปี)
สถานที่เกิด กูกูตา โคลอมเบีย
ส่วนสูง 1.80 m (5 ft 11 in)[1]
ตำแหน่ง กองกลางตัวรุก / ปีก
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
เซาเปาลู
หมายเลข 10
สโมสรเยาวชน
1995–2007 เอนบิกาโด
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2007–2008 เอนบิกาโด 30 (9)
2008–2010 บันฟิลด์ 42 (5)
2010–2013 โปร์ตู 63 (25)
2013–2014 มอนาโก 34 (9)
2014–2020 เรอัลมาดริด 85 (29)
2017–2019ไบเอิร์นมิวนิก (ยืม) 43 (14)
2020–2021 เอฟเวอร์ตัน 26 (6)
2021–2022 อัรร็อยยาน 13 (4)
2022–2023 โอลิมเบียโกส 20 (5)
2023- เซา เปาโล 0 (0)
ทีมชาติ
2007 โคลอมเบีย อายุไม่เกิน 17 ปี 11 (3)
2011 โคลอมเบีย อายุไม่เกิน 20 ปี 5 (3)
2011– โคลอมเบีย 90 (26)
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2022
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2022

ฮาเมสเริ่มต้นอาชีพกับเอนบิกาโดและย้ายไปบันฟิลด์ในอาร์เจนตินา เขาเร่มเป็นที่รู้จักในยุโรปช่วงที่เล่นให้กับโปร์ตูซึ่งเขาพาทีมคว้าแชมป์หลายรายการและเขาก็ได้รับรางวัลส่วนตัวตลอดสามปีที่เล่นให้กับสโมสร ใน ค.ศ. 2014 ฮาเมสย้ายจากมอนาโกไปเรอัลมาดริดด้วยค่าตัว 63 ล้านปอนด์ ซึ่งเป็นค่าตัวที่สูงกว่าราดาเมล ฟัลกาโอ ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นชาวโคลอมเบียที่มีค่าตัวแพงที่สุดและเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่มีค่าตัวแพงที่สุดในโลก ณ ตอนนั้น[4] ในฤดูกาลแรกของเขากับสโมสร เขาติดทีมยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของลาลิกาและได้รับรางวัลกองกลางยอดเยี่ยมของลาลิกา ใน ค.ศ. 2017 เขาถูกปล่อยยืมตัวให้กับไบเอิร์นมิวนิกด้วยสัญญาสองปี

ฮาเมสเริ่มเล่นในระดับทีมชาติกับทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี โดยเขาพาทีมชนะเลิศตูลงทัวร์นาเมนต์ 2011 ต่อมา เขาเป็นกัปตันของทีมชาติรุ่นอายุนี้ในการแข่งขันฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี 2011 ผลงานของเขาในรายการนี้ ทำให้เขาถูกเรียกติดทีมชาติชุดใหญ่ในวัยเพียง 20 ปี เขาได้เล่นให้กับทีมชาติชุดใหญ่ในฟุตบอลโลก 2014 และ 2018 โดยในฟุตบอลโลก 2014 นั้นเอง เขาได้รับรางวัลรองเท้าทองคำและถูกรวมในทีมออลสตาร์ของฟุตบอลโลก[5][6] เขายังเป็นตัวแทนของชาติในการแข่งขันโกปาอาเมริกา 2015, โกปาอาเมริกาเซนเตนาริโอ (2016) และโกปาอาเมริกา 2019 เขาพาโคลอมเบียจบอันดับที่สามในโกปาอาเมริกาเมื่อ ค.ศ. 2016

สโมสรอาชีพ แก้

ฮาเมส โรดริเกซ เกิดที่เมืองกูกูตา ประเทศโคลอมเบีย เป็นบุตรชายของวิลซอน ฮาเมส โรดริเกซ เบดอญญา และมาริอา เดล ปิลาร์ รูบิโอ ชื่อ "ฮาเมส" หรือ "เจมส์" ตามการอ่านออกเสียงแบบสำเนียงอังกฤษ มาจากชื่อเจมส์ บอนด์

โรดริเกซมีแรงบันดาลใจที่อยากจะเป็นนักฟุตบอลจากเหตุการณ์ที่อันเดรส เอสโกบาร์ กองหลังของทีมชาติโคลอมเบียที่ทำเข้าประตูตัวเองในฟุตบอลโลก 1994 ที่สหรัฐอเมริกา ทำให้โคลอมเบียที่ถูกจัดให้หนึ่งในทีมเต็งทีมหนึ่งต้องตกรอบแรก และเมื่อกลับไปที่โคลอมเบีย เอสโกบาร์ก็ถูกยิงเสียชีวิตจากคำสั่งของนักค้ายาเสพติดที่เสียเงินพนัน

โรดริเกซเริ่มต้นการเป็นนักฟุตบอลอาชีพกับสโมสรเอนบิกาโดในโคลอมเบีย และย้ายไปที่อาร์เจนตินากับสโมสรบันฟิลด์ ในปี ค.ศ. 2006 พร้อมทำสถิติเป็นนักฟุตบอลอาชีพที่อายุน้อยที่สุดในอาร์เจนตินา ก่อนจะย้ายมาที่ทวีปยุโรปในประเทศโปรตุเกสกับสโมสรโปร์ตู ด้วยค่าตัว 2.1 ล้านยูโรในปีถัดมา ซึ่งโรดริเกซคว้าแชมป์ลีกกับโปร์ตู 2 ฤดูกาลติดต่อกัน ด้วยวัยเพียงแค่ 21 ปี

ต่อมาได้ย้ายไปอยู่กับอาแอ็ส มอนาโก ในลีกเอิงของฝรั่งเศส ด้วยค่าตัวแพงถึง 45 ล้านยูโร ในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 2013 ทำให้โรดริเกซลกายเป็นนักฟุตบอลโคลอมเบียที่มีค่าตัวแพงที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ รองจากราดาเมล ฟัลกาโอ โดยในมอนาโก ถึงแม้ว่าจะไม่ได้แชมป์ แต่โรดริเกซก็สามารถแสดงผลงานได้อย่างดีเยี่ยม

ฮาเมส โรดริเกซ เคยมีปัญหาอาการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้าในนัดที่เรอัลมาดริดชนะเซบิยา 2-1 ซึ่งใช้เวลา 2 เดือนในการรักษา จนเขาสามารถลงเล่นในนัดที่เรอัลมาดริดถล่มกรานาดาไป 9-1

เอฟเวอร์ตัน แก้

ฮาเมสย้ายร่วมเอฟเวอร์ตันในพรีเมียร์ลีกในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 ด้วยสัญญาสองปีและมีตัวเลือกในการเพิ่มฤดูกาลที่สาม[7][8][9] การย้ายตัวครั้งนี้ทำให้เขาได้กลับมาร่วมงานอีกครั้งกับผู้จัดการทีมอย่างการ์โล อันเชลอตตี[10] เขาลงเล่นนัดแรกในเดือนเดียวกันในนัดที่บุกเอาชนะทอตนัมฮอตสเปอร์ 1–0 ในนัดเปิดสนามพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2020–21[11]

ฮาเมสทำประตูและแอสซิสต์แรกในลีกช่วยให้เอฟเวอร์ตันเปิดบ้านเอาชนะเวสต์บรอมมิชอัลเบียน 5–2 เมื่อวันที่ 19 กันยายน[12]

ทีมชาติ แก้

ในฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล เป็นเจ้าภาพ ฮาเมส โรดริเกซ แสดงผลงานได้อย่างโดดเด่นมาก โดยเป็นนักฟุตบอลแรกคนแรกที่ยิงประตูได้ทุกนัดที่ลงแข่งขันในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายติดต่อกันถึง 4 นัด นับจากกริสเตียน วีเอรี ของอิตาลี ทำได้ในฟุตบอลโลก 1998 ที่ฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกยิงในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ที่โคลอมเบียเอาชนะอุรุกวัยไปได้ 2-0 โดยโรดริเกซกลับตัวยิงด้วยเท้าซ้ายแบบวอลเลย์ ลูกฟุตบอลย้อยเสียบใต้คานเข้าประตูไปอย่างสวยงาม ลูกนี้ทำให้ได้รับคำชมอย่างมาก และต่อมาได้รับการเลือกจากแฟนฟุตบอลให้เป็นลูกที่สวยที่สุดในฟุตบอลโลกครั้งนี้ นอกจากนี้ประตูดังกล่าวยังได้รับรางวัล FIFA Puskas Award 2014 อีกด้วย[13]

หลังจบฟุตบอลโลก 2014 แล้ว โรดริเกซได้ย้ายไปเรอัลมาดริด ในลาลิกา ของสเปน ด้วยค่าตัว 60 ล้านปอนด์ โดยได้สวมเสื้อหมายเลข 10 ซึ่งเป็นหมายเลขเก่าของเมซุท เออซิล[14]

ชีวิตส่วนตัว แก้

ฮาเมส โรดริเกซ ได้สมรสกับดานิเอลา โอสปินา ซึ่งเป็นน้องสาวแท้ ๆ ของดาบิด โอสปินา ผู้รักษาประตูมือหนึ่งของทีมชาติโคลอมเบีย โดยทั้งคู่สมรสกันตั้งแต่ ค.ศ. 2011 และทั้งสองมีลูกสาวด้วยกัน 1 คน มีชื่อว่า ซาโลเม เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2013[15] เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2017 มีการประกาศว่าฮาเมสและดาเนียลาทั้งคู่อยู่ในขั้นตอนการหย่าร้าง [16] และเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2019 ฮาเมสได้ลูกชายคนแรกและลูกคนที่สองของเขา มีชื่อว่า ซามูเอล โดยเกิดจากการอุ้มบุญ ไปรับอุ้มบุญที่เมืองเมเดยิน[17]

เขาได้รับสัญชาติสเปนใน ค.ศ. 2019[18][19]

เกียรติประวัติ แก้

เอนบิกาโด

  • กาเตโกริอาปริเมรา เบ: 2007[20]

บันฟิลด์

โปร์ตู

เรอัลมาดริด[23]

ไบเอิร์นมิวนิก[23]

โคลอมเบีย

รางวัลส่วนตัว

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "2018 FIFA World Cup Russia: List of players: Colombia" (PDF). FIFA. 10 June 2018. p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-02. สืบค้นเมื่อ 11 June 2018.
  2. "Rodriguez: I've got a lot to learn". FIFA. 20 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-08. สืบค้นเมื่อ 19 January 2013.
  3. Richards, Alex (28 June 2014). "World Cup 2014: Chief conductor James Rodriguez looking to lead as Colombia face Uruguay". The Mirror. สืบค้นเมื่อ 9 April 2018.
  4. "James Rodriguez: Real Madrid sign Monaco forward". BBC Sport. 2 July 2014. สืบค้นเมื่อ 9 April 2018.
  5. "Messi, Neuer heralded as Brazil 2014's best". FIFA. 13 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-06. สืบค้นเมื่อ 9 April 2018.
  6. 6.0 6.1 "2018 FIFA World Cup Russia ". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2014.
  7. "James Rodriguez: Everton sign Colombia attacking midfielder from Real Madrid". BBC Sport. 7 September 2020.
  8. "Everton Complete Signing Of James Rodriguez". Everton F.C. 7 September 2020. สืบค้นเมื่อ 7 September 2020.
  9. "Official Announcement: James Rodríguez". Real Madrid C.F. 7 September 2020. สืบค้นเมื่อ 7 September 2020.
  10. "Everton sign James Rodriguez: Can Carlo Ancelotti bring best out of Colombian?". BBC Sport. 7 September 2020.
  11. "Calvert-Lewin earns Everton win at Spurs". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
  12. "Everton 5–2 West Bromwich Albion". BBC Sport. 19 September 2020.
  13. "ลูกยิงของ โรดริเกวซ เป็นประตูยอดเยี่ยม ศึกฟุตบอลโลก 2014". ครอบครัวข่าว 3. 22 July 2014. สืบค้นเมื่อ 23 July 2014.[ลิงก์เสีย]
  14. "ชุดขาวเปิดตัว "โรดริเกวซ" รับเสื้อเบอร์ 10". ผู้จัดการออนไลน์. 23 July 2014. สืบค้นเมื่อ 23 July 2014.[ลิงก์เสีย]
  15. "Daniela Ospina – Colombian Soccer Player James Rodriguez' Wife". Fabwags. 19 June 2014. สืบค้นเมื่อ 9 April 2018.
  16. "James Rodriguez and wife Daniela Ospina announce separation". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 4 July 2019.
  17. "Conoce los detalles más íntimos del nacimiento de Samuel, el hijo de James Rodríguez". Caracol TV (ภาษาสเปน). 9 November 2019. สืบค้นเมื่อ 18 July 2021.
  18. Garcia, Adriana (8 April 2019). "Reports: Bayern's James becomes Spanish citizen". ESPN. สืบค้นเมื่อ 10 June 2019.
  19. Abberley, Ryan (8 April 2019). "James Rodriguez gains Spanish citizenship, making Real Madrid return more likely". Marca. Spain. สืบค้นเมื่อ 10 June 2019.
  20. "James Rodriguez, the young guide to Colombia – Conmebol.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-29. สืบค้นเมื่อ 2020-09-16.
  21. "The James Rodríguez story – Real Madrid CF".
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 "Real Madrid Transfer News (2015–2016) – Real Madrid CF".
  23. 23.0 23.1 "J. Rodríguez". Soccerway. สืบค้นเมื่อ 4 June 2016.
  24. "Real Madrid win 2019/20 LaLiga Santander". LaLiga. 16 July 2020. สืบค้นเมื่อ 17 July 2020.
  25. "Real Madrid win the Supercopa from the spot". Marca. Spain. 12 January 2020. สืบค้นเมื่อ 12 January 2020.
  26. "FIFA U-20 World Cup Colombia 2011 - Statistics - Players - Top goals". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-16. สืบค้นเมื่อ 22 October 2017.
  27. "Tournoi Espoirs de Toulon – Official Player Awards". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 30 May 2013. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
  28. "Liga Portugal".
  29. "Liga NOS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 8 October 2012.
  30. "Record elege o onze de 2012" [Record elects the eleven of 2012]. A Bola (ภาษาโปรตุเกส). 1 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2013. สืบค้นเมื่อ 1 January 2013.
  31. "João Moutinho e mais dez craques" [João Moutinho and ten aces]. O Jogo (ภาษาโปรตุเกส). 31 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-07. สืบค้นเมื่อ 12 February 2013.
  32. "O melhor onze da I Liga". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-09-16.
  33. "French Ligue 1 Stats: Assists Leaders – 2013–14". ESPN FC. สืบค้นเมื่อ 20 May 2014.
  34. "Ibrahimovic mejor jugador de Francia; James Rodríguez tercero". Mundodeportivo.com. สืบค้นเมื่อ 24 June 2014.
  35. "Sondages | Communauté | AS Monaco FC". Asm-fc.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2014. สืบค้นเมื่อ 24 June 2014.
  36. "World Cup 2014: James Rodriguez wins Golden Boot". BBC Sport. 13 July 2014. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
  37. "The Dream Team". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-15. สืบค้นเมื่อ 21 September 2014.
  38. "Rodriguez volley named Goal of the Tournament". FIFA. 21 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-13. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.
  39. "FIFA Puskás award 2014 – results" (PDF). FIFA. 12 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 30 July 2015.
  40. "THE WORLD'S BEST PLAYMAKER 2014". IFFHS. 18 January 2015. สืบค้นเมื่อ 1 December 2017.
  41. "FIFA FIFPro World XI: the reserve teams – FIFPro World Players' Union". FIFPro.org. 15 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2019. สืบค้นเมื่อ 1 October 2017.
  42. "2015 World XI: the Reserve Teams – FIFPro World Players' Union". FIFPro.org. 11 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2019. สืบค้นเมื่อ 1 October 2017.
  43. "The 2014/15 Liga BBVA Ideal XI". LFP. 15 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2018. สืบค้นเมื่อ 17 June 2015.
  44. "James Rodriguez, 2014/15 Liga BBVA Best Midfielder". LFP. 30 November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
  45. "UEFA Champions League Squad of the Season". UEFA. 27 May 2018.
  46. "CONFIRMED 2017/18 Bundesliga FIFA 18 Team of the Season". Bundesliga. สืบค้นเมื่อ 5 June 2018.
  47. "Five madridistas pick up prizes at the Facebook Football Awards". Madrid, Spain: Real Madrid C.F. 12 May 2016. สืบค้นเมื่อ 13 July 2016. Ronaldo (best striker and best player), James (best goal), Modric (best midfielder), Marcelo (best defender) and Navas (best goalkeeper) were the winners at the ceremony which took place at Facebook's offices in Madrid. The Real Madrid fans were also chosen as the best supporters in La Liga.
  48. "Spanish Copa del Rey Statistics". ESPN FC. สืบค้นเมื่อ 22 October 2017.
  49. Herrera, Santiago; Shank, Timothy M. (1 July 2016). "RAD sequencing enables unprecedented phylogenetic resolution and objective species delimitation in recalcitrant divergent taxa". Molecular Phylogenetics and Evolution. 100: 70–79. doi:10.1016/j.ympev.2016.03.010. PMID 26993764.
  50. "El equipo ideal de la CONMEBOL Copa América Brasil 2019" (ภาษาสเปน). CONMEBOL.com. 9 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-09. สืบค้นเมื่อ 2020-09-16.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้