นโปเลียน โบนาปาร์ต (ฝรั่งเศส: Napoléon Bonaparte) หรือชื่อเกิดเป็นภาษาอิตาลีคือ นาโปเลโอเน ดิ บูโอนาปาร์เต (อิตาลี: Napoleone di Buonaparte) มีพระนามเล่นว่า "เลอคอร์ส"(ชาวคอร์ซิกา) หรือ "เลอเปอติ กาโปรัล" (นายสิบน้อย) เป็นรัฐบุรุษและผู้นำทหารชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงในฐานะผู้บัญชาการทหารปืนใหญ่ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เขานำการทัพที่ประสบความสำเร็จมากมายในช่วงสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส และปราบดาภิเษกเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศสในพระนามว่า จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ตั้งแต่ปี 1804 จนถึง 1814 และอีกครั้งในช่วงเวลาสั้น ๆ ในปี 1815 ในช่วงสมัยร้อยวัน นโปเลียนครอบงำกิจการในทวีปยุโรปและทั่วโลกนานกว่าทศวรรษ ในขณะที่ได้นำพาฝรั่งเศสเข้าสู้รบกับกลุ่มพันธมิตรประเทศรอบด้านในช่วงสงครามนโปเลียน เขาได้รับชัยชนะในศึกหลายครั้ง และแผ่เขตอิทธิพลกว้างใหญ่ไพศาล เขาก่อตั้งจักรวรรดิขนาดใหญ่ที่ปกครองเกือบทั่วทวีปยุโรปก่อนที่จะล่มสลายในปี 1815 เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ การทำสงครามและการทัพของเขาได้ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนวิชาทหารทั่วโลก มรดกทางการเมืองและวัฒนธรรมของนโปเลียนทำให้เขาเป็นหนึ่งในผู้นำที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1
จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส
ครองราชย์ ครั้งที่ 118 พฤษภาคม 1804 – 6 เมษายน 1814
ราชาภิเษก2 ธันวาคม 1804
ก่อนหน้าพระองค์เอง (ในฐานะกงสุลเอก)
หลุยส์ที่ 16 (ในฐานะกษัตริย์)
ถัดไปนโปเลียนที่ 2 (พิพาท)
หลุยส์ที่ 18 (ในฐานะกษัตริย์)
ครองราชย์ ครั้งที่ 220 มีนาคม – 22 มิถุนายน 1815
ก่อนหน้าหลุยส์ที่ 18 (ในฐานะกษัตริย์)
ถัดไปนโปเลียนที่ 2 (พิพาท)
หลุยส์ที่ 18 (ในฐานะกษัตริย์)
พระมหากษัตริย์แห่งอิตาลี
ครองราชย์17 มีนาคม 1805 – 6 เมษายน 1814
ก่อนหน้าพระองค์เอง (ในฐานะประธานาธิบดี)
คาร์ลที่ 5 (ในฐานะกษัตริย์)
ถัดไปยุบเลิกราชอาณาจักร
วิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 2 (รวมชาติ)
อุปราชเออแฌน เดอ โบอาร์แน
ผู้อารักขาสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์
ครองราชย์12 กรกฎาคม 1806 – 4 พฤศจิกายน 1813
ก่อนหน้าฟรันทซ์ที่ 2 (ในฐานะจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์)
ถัดไปฟรันทซ์ที่ 1 (ในฐานะประธานสมาพันธรัฐเยอรมัน)
เจ้าชายมุขนายกคาร์ล เทโอดอร์ ฟ็อน ดาลแบร์ค
เจ้าชายแห่งเอลบา
ครองราชย์11 เมษายน 1814 – 26 กุมภาพันธ์ 1815
ก่อนหน้าสถาปนาราชรัฐ
ถัดไปยุบรวมราชรัฐเข้ากับจักรวรรดิฝรั่งเศส
กงสุลเฉพาะกาลแห่งฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
10 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม 1799
ก่อนหน้าคณะดีแร็กตัวร์
ถัดไปตนเอง (ในฐานะกงสุลเอก)
กงสุลเอกแห่งฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
13 ธันวาคม 1799 – 18 พฤษภาคม 1804
ก่อนหน้าคณะกงสุลเฉพาะกาล
ถัดไปตนเอง (ในฐานะจักรพรรดิ)
ประธานาธิบดีอิตาลี
ดำรงตำแหน่ง
26 มกราคม 1802 – 18 พฤษภาคม 1805
รองประธานาธิบดีฟรังซิสโก เมลซี เดริล
ก่อนหน้าสถาปนาสาธารณรัฐ
ถัดไปตนเอง (ในฐานะกษัตริย์)
เอนรีโก เด นีโกลา (ในฐานะประธานาธิบดี)
ผู้ไกล่เกลี่ยแห่งสมาพันธรัฐสวิส
ดำรงตำแหน่ง
19 กุมภาพันธ์ 1803 – 29 ธันวาคม 1813
ก่อนหน้าฟื้นฟูสมาพันธรัฐ
ถัดไปคณะรัฐบาลสมาพันธรัฐ
พระราชสมภพ15 สิงหาคม ค.ศ. 1769(1769-08-15)
อาฌักซีโย คอร์ซิกา ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
นโปเลียน โบนาปาร์ต
สวรรคต5 พฤษภาคม ค.ศ. 1821(1821-05-05) (51 ปี)
ลองวูด เซนต์เฮเลนา
ฝังพระศพออแตลเดแซ็งวาลีด
คู่อภิเษก
พระราชบุตร
รายละเอียด
จักรพรรดินโปเลียนที่ 2 แห่งฝรั่งเศส
พระราชบุตรนอกสมรส
ชาร์ล เลอง
อเล็กซานเดอร์ โคลอนนา-วาเลฟสกี
พระราชบุตรบุญธรรม
เออแฌน เดอ โบอาร์แน เจ้าชายแห่งเวนิส
พระนามเต็ม
นโปเลียน โบนาปาร์ต
ราชวงศ์โบนาปาร์ต
พระราชบิดาการ์โล บูโอนาปาร์เต
พระราชมารดาเลตีเซีย โบนาปาร์ต
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย

นโปเลียนเป็นชาวเกาะคอร์ซิกาโดยกำเนิด นโปเลียนเกิดในครอบครัวชาวอิตาลีที่ค่อนข้างจะเรียบง่าย เพียงไม่กี่เดือนภายหลังจากเกาะแห่งนี้จะถูกผนวกรวมเข้ากับราชอาณาจักรฝรั่งเศส เขาได้เข้ารับราชการทหารในฐานะนายทหารปืนใหญ่ในกองทัพหลวงฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสปะทุขึ้นในปี 1789 เขาก็มีตำแหน่งทางทหารสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้รับยศนายพลจากรัฐบาลคณะปฏิวัติในวัยเพียง 24 ปี จนในที่สุดคณะดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศสก็แต่งตั้งให้เขาเป็นผู้บัญชาการกองทัพแห่งอิตาลี ภายหลังจากที่เขาได้เข้าปราบปรามการก่อจลาจลในวันที่ 13 เดือนว็องเดมีแยร์ ซึ่งทำการต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มก่อกบฎฝ่ายนิยมเจ้า เมื่ออายุ 26 ปี เขาได้เข้าร่วมปฏิบัติการทหารเป็นครั้งแรกในการต่อกรกับออสเตรียและราชวงศ์อิตาลีที่อยู่เคียงข้างกับราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค และสามารถเอาชนะการรบเกือบทุกครั้งในการพิชิตคาบสมุทรอิตาลีในหนึ่งปี ในขณะที่ได้ก่อตั้ง "สาธารณรัฐน้องสาว" ด้วยการสนับสนุนในท้องถิ่นและกลายเป็นวีรบุรุษสงครามในฝรั่งเศส

ในปี 1798 เขาได้นำคณะเดินทางทหารไปยังอียิปต์ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอำนาจทางการเมือง เขาได้ก่อรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน 1799 และกลายเป็นกงสุลเอกแห่งสาธารณรัฐ ภายหลังจากสนธิสัญญาอาเมียงในปี 1802 นโปเลียนได้หันไปสนใจในอาณานิคมของฝรั่งเศส เขาได้ขายดินแดนลุยเซียนาให้กับสหรัฐอเมริกาและเขาได้พยายามรื้อฟื้นทาสในดินแดนอาณานิคมทะเลแคริเบียนของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามในขณะที่เขาได้ประสบความสำเร็จในรื้อฟื้นทาสในทางตะวันออกของทะเลแคริเบียน นโปเลียนได้ล้มเหลวในความพยายามที่จะเข้าปราบปรามในเมืองแซ็ง-ดอแม็งก์ และดินแดนอาณานิคมที่ฝรั่งเศสเคยอวดอ้างว่าเป็น "ไข่มุกแห่งแอนทิลลีส" ได้กลายเป็นอิสระจนกลายเป็นประเทศเฮติในปี 1804 ความทะเยอทะยานของนโปเลียนและการยอมรับจากสาธารณชนเป็นแรงบันดาลใจให้เขาก้าวไปให้ไกลกว่านี้และเขาได้กลายเป็นจักรพรรดิองค์แรกของฝรั่งเศสในปี 1804 ความแตกต่างที่ยากจะเข้าใจกับบริติชซึ่งหมายความว่าฝรั่งเศสกำลังเผชิญหน้ากับฝ่ายสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามในปี 1805 นโปเลียนได้ทำลายฝ่ายสหสัมพันธมิตรนี้ลงด้วยชัยชนะที่เด็ดขาดในการทัพอุล์ม และการได้รับชัยชนะครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์เหนือจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรียในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

นโปเลียนได้ก่อตั้งพันธมิตรฝรั่งเศส-เปอร์เซียและต้องการที่จะสร้างพันธมิตรฝรั่งเศส-อินเดียขึ้นมาอีกครั้งกับสุลต่านติปู จักรพรรดิอินเดียชาวมุสลิม โดยจัดหากองทัพที่ได้รับการฝึกฝนจากฝรั่งเศสในช่วงสงครามอังกฤษ-มัยซอร์ ด้วยมีจุดมุ่งหมายอย่างต่อเนื่องในการเปิดทางเพื่อเข้าโจมตีบริติชในอินเดีย ในปี 1806 ฝ่ายสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ได้จับอาวุธปืนลุกขึ้นมาต่อสู้รบกับเขาเพราะปรัสเซียเริ่มกังวลเกี่ยวกับการขยายอิทธิพลทั่วทั้งทวีปของฝรั่งเศส นโปเลียนได้เอาชนะปรัสเซียได้อย่างรวดเร็วในยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท จากนั้นกองทัพใหญ่ของเขาได้กรีฑาทัพเข้าลึกไปในยุโรปตะวันออกและทำลายล้างกองทัพรัสเซียในเดือนมิถุนายน 1807 ในยุทธการที่ฟรีดลันท์ จากนั้นฝรั่งเศสได้บีบบังคับให้ประเทศของฝ่ายสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทำการลงนามในสนธิสัญญาทิลซิทในเดือนกรกฎาคม 1807 ได้นำพาความสงบสุขที่ไม่สบายใจมาสู่ทั่วทั้งทวีป ทิลซิทที่มีความหมายว่า น้ำขึ้น ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของจักรวรรดิฝรั่งเศส ในปี 1809 ออสเตรียและบริติชได้ท้าทายฝรั่งเศสอีกครั้งในช่วงสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า แต่นโปเลียนได้ยึดครองทวีปยุโรปได้อย่างมั่นคง ภายหลังจากได้รับชัยชนะในยุทธการที่วากรัมในเดือนกรกฎาคม

นโปเลียนได้เข้ายึดครองคาบสมุทรไอบีเรีย คาดหวังว่าจะขยายระบบทวีปและขัดขวางการค้าของบริติชกับแผ่นดินใหญ่ในทวีปยุโรป และประกาศให้โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต พระเชษฐาของพระองค์ ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งสเปน ในปี 1808 สเปนและโปรตุเกสได้ก่อการลุกฮือด้วยการสนับสนุนของบริติช สงครามคาบสมุทรได้กินเวลาถึงหกปี โดยมีการรบแบบกองโจรที่กว้างขวาง และจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในปี 1814 ระบบทวีปทำให้เกิดความขัดแย้งทางการทูตขึ้นมาอีกครั้งระหว่างฝรั่งเศสและรัฐบริวาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ รัสเซีย รัสเซียไม่เต็มใจที่จะแบกรับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการค้าที่ลดลงและละเมิดระบบทวีปอยู่เป็นประจำ ทำให้นโปเลียนต้องเข้าสู่สงครามอีกครั้ง ฝรั่งเศสได้เปิดฉากการบุกครองรัสเซียครั้งใหญ่ในช่วงฤดูร้อน ปี 1812 การทัพครั้งนี้ได้ทำลายเมืองต่าง ๆ ของรัสเซีย แต่ไม่ได้รับชัยชนะที่เด็ดขาดอย่างที่นโปเลียนต้องการ ส่งผลทำให้เกิดการล่มสลายของกองทัพใหญ่และเป็นแรงบันดาลใจก่อให้เกิดแรงผลักดันขึ้นมาใหม่เพื่อต่อต้านนโปเลียนโดยศัตรูของพระองค์

ในปี 1813 ปรัสเซียและออสเตรียได้เข้าร่วมกับกองทัพรัสเซียในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หกกับฝรั่งเศส การทัพทางทหารที่ยาวนานได้สิ้นสุดลงด้วยกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรขนาดใหญ่ที่เอาชนะนโปเลียนลงได้ในยุทธการที่ไลพ์ซิช แต่ชัยชนะทางด้านกลยุทธ์ของพระองค์ในยุทธการที่ฮาเนาซึ่งได้อนุญาตให้ล่าถอยกลับไปยังแผ่นดินฝรั่งเศส จากนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกครองฝรั่งเศสและเข้ายึดครองกรุงปารีสในฤดูใบไม้ผลิ ปี 1814 บีบบังคับให้นโปเลียนสละราชบังลังก์ในเดือนเมษายน พระองค์ได้ถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา ด้านนอกชายฝั่งของทัสกานี และราชวงศ์บูร์บงได้รับการฟื้นฟูกลับมาเข้าสู่อำนาจอีกครั้ง นโปเลียนได้หลบหนีออกจากเกาะเอลบาในเดือนกุมภาพันธ์ 1815 และเข้าควบคุมฝรั่งเศสอีกครั้ง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตอบสนองด้วยการก่อตั้งฝ่ายสหสัมพันธมิตรครั้งที่เจ็ดซึ่งได้เอาชนะพระองค์ลงได้ในยุทธการที่วอเตอร์ลู บริติชเนรเทศพระองค์ไปยังเกาะเซนต์เฮเลนาที่ห่างไกลในมหาสมุทรแอตแลนติก พระองค์ป่วยสวรรคตในอีกหกปีต่อมาเมื่อมีพระชน 51 ปีเศษ

อิทธิพลของนโปเลียนที่มีต่อโลกสมัยใหม่ทำให้เกิดการปฏิรูปแบบเสรีนิยมไปสู่ดินแดนจำนวนมากที่พระองค์ได้ยึดครองและเข้าควบคุม เช่น กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ สวิตเซอร์แลนด์ และส่วนขนาดใหญ่ของอิตาลีและเยอรมนีในสมัยใหม่ พระองค์ได้ดำเนินนโยบายเสรีนิยมที่เป็นรากฐานสำคัญในฝรั่งเศสและทั่วยุโรปตะวันตก ประมวลกฎหมายนโปเลียนของพระองค์นั้นมีอิทธิพลต่อระบบกฎหมายของประเทศมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก แอนดริว โรเบิร์ต นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษได้กล่าวว่า"แนวความคิดที่คอยค้ำจุนโลกสมัยใหม่ของเรา - ไม่ว่าจะเป็นคุณธรรมนิยม ความเสมอภาคตามกฎหมาย สิทธิในทรัพย์สิน การยอมรับความต่างทางศาสนา การศึกษาทางโลกสมัยใหม่ การเงินที่ดี และอื่น ๆ - ได้รับการปกป้อง ทำให้เกิดความมั่นคง ประมวลและขยายทางภูมิศาสตร์โดยนโปเลียน" สำหรับพระองค์ที่ได้เพิ่มการบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเหตุผลและมีประสิทธิภาพ เป็นอันยุติในการโจรกรรมในชนบท การส่งเสริมวิทยาศาสตร์และศิลปะ การยกเลิกระบอบศักดินาและประมวลกฎหมายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน

วัยเยาว์และการรับราชการทหาร

แก้

นโปเลียนเกิดที่เมืองอาฌักซีโยหรืออายัชโช ในภาษาอิตาลี บนเกาะคอร์ซิกา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1769 ซึ่งเป็นเวลาเพียง 1 ปี ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ซื้อเกาะนี้ไปจาก สาธารณรัฐเจโนวา 1768 [1] ครอบครัวของเขาเป็นหนึ่งในตระกูลผู้ดีจำนวนน้อยนิดบนเกาะคอร์ซิก้า บิดาของเขาผู้มีนามว่าการ์โล บูโอนาปาร์เต จัดการให้เขาได้เข้ารับการศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส ที่เขาได้เข้าไปตั้งรกรากตั้งแต่อายุ 9 ขวบ[2][3]

ในตอนแรกเขาถูกมองว่าเป็นชาวต่างชาติคนหนึ่ง[4][5]ภายหลังการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหาร ที่เมืองโอเติง บรีแอนน์ และ โรงเรียนทหารแห่งกรุงปารีส เขาก็ได้เข้าร่วมกองพลปืนใหญ่ ภายใต้กองกำลังของลาแฟร์ ที่เมืองโอซ็อนน์ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นร้อยตรีที่เมืองวาล็องซ์ ในปี 1787 ด้วยอารมณ์ที่ซ่อนเร้น ออกแนว โรแมนติก ในงานที่เขาเขียน ความอยากรู้อยากเห็นไม่มีที่สิ้นสุด บวกกับความทรงจำที่เป็นเลิศ ในปี 1789 นโปเลียนหนุ่มมีความถนัดทางใช้สติปัญญามากกว่าทางใช้กำลัง[6]

เมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสประทุขึ้นในปี 1789 ร้อยโทโบนาปาร์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ที่กรุงปารีส โดยเป็นฝ่ายสังเกตการณ์ เขาได้เฝ้าดูประชาชนบุกพระราชวังตุยเลอรีด้วยความขยะแขยง นโปเลียนเดินทางกลับมายังเกาะคอร์ซิกา[7] ที่ซึ่งการสู้รบระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เริ่มขึ้นอีกครั้ง (โดยมีทางฝ่ายของปาสกาล เปาลี สนับสนุนระบอบกษัตริย์ และทางตระกูลโบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ) นโปเลียนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งชาติ ในปี 1792 โดยการแย่งเอากองกำลังจากคณะกรรมาธิการของรัฐมาส่วนหนึ่ง แต่การประหารกษัตริย์ได้ทำให้เกิดการต่อต้านของฝ่ายอิสระ สงครามกลางเมืองได้ประทุขึ้น และตระกูลของนโปเลียนต้องหลบหนีออกจากเกาะคอร์ซิกา มายังประเทศฝรั่งเศส

โบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ และได้ถูกส่งตัวไปรับตำแหน่งนายร้อยในกองพลปืนใหญ่ ที่ศูนย์บัญชาการเมืองตูลง (Toulon) ในปี 1793 ซึ่งต่อมาได้ถูกมอบให้สหราชอาณาจักรปกครอง แผนการที่นโปเลียนมอบให้ฌาคส์ ฟร็องซัวส์ ดูก็องมิเย ทำให้สามารถยึดเมืองตูลองคืนมาจากกองทัพกลุ่มสนับสนุนระบอบกษัตริย์และพวกอังกฤษได้ มิตรภาพระหว่างเขาพวกฌากอแบ็งทำให้เขาถูกจับในช่วงสั้น ๆ ภายหลังการสิ้นอำนาจของรอแบ็สปีแยร์ ในวันที่ 27 กรกฎาคม 1794

หลังจากได้รับอิสรภาพ เขาก็ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ปราศจากผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นทางการ และต่อมาปอล บารัส อนุญาตให้เขาบดขยี้กลุ่มผู้สนับสนุนราชวงศ์ที่ลุกฮือที่เมืองว็องเดแมร์ เพื่อต่อต้านสมัชชาแห่งชาติ ในปี 1795 ในโอกาสนี้เอง โบนาปาร์ตได้มีนายทหารหนุ่มชื่อฌออากีม มูว์รา เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติการประสบผลสำเร็จด้วยการยิงปืนใหญ่เข้าสลายกลุ่มสนับสนุนราชวงศ์ที่เมืองซังต์โรช์

โบนาปาร์ตมีจิตใจผ่องใส สามารถซึมซับความรู้ทางการทหาร รวมถึงยุทธวิธีในสมัยของเขา มาประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์จริง เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ในกองพลปืนใหญ่ เขาได้คิดค้นการใช้ปืนใหญ่แห่งกริโบวาลเป็นกองทัพเคลื่อนที่ ใช้หนุนกองทหารเดินเท้าอีกทีหนึ่ง

การทัพอิตาลี

แก้

เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบที่สามารถการนำกองพลปืนใหญ่ปราบกบฏนิยมเจ้า นโปเลียนได้รับการเสนอแต่งตั้งโดยลาซาร์ การ์โน ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทัพอิตาลี เพื่อยึดอิตาลีกลับคืนมาจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ออสเตรีย-เยอรมัน) กองกำลังของเขาขาดแคลน ทั้งยุทโธปกรณ์และเสบียงคลัง ซึ่งแม้เขาจะอดมื้อกินมื้อ และแต่งตัวซอมซ่อ แต่ก็ได้ฝึกฝนนายทหารในบังคับบัญชาด้วยความขะมักเขม้น และสามารถนำทัพเข้าปะทะกับกองกำลังของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีจำนวนมากกว่า และมียุทโธปกรณ์พร้อมกว่าได้ ในการรบหลายต่อหลายครั้ง ในยุทธการที่เมือง มองเตอโนต โลดี หรือ อาร์โกล มีนโปเลียนเป็นผู้นำทัพด้วยตนเอง การรบท่ามกลางห่ากระสุนทำให้ มุยร็อง เพื่อนและผู้ช่วยของเขาเสียชีวิต นโปเลียนเป็นนายทหารฝีมือฉกาจ ผู้ซึ่ง อยู่ทุกหนทุกแห่งและมองเห็นทุกอย่าง ว่องไวดุจสายฟ้าแลบและโจมตีดุจสายฟ้าฟาด เขาเป็นที่เคารพนับถือของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยความสามารถในการบัญชาการ ความกล้าหาญและความเลือดเย็น ในบรรดานายทหารหลายนายที่แวดล้อมเขา นโปเลียนได้มองเห็นความสามารถของนายทหารนิรนามคนหนึ่งชื่อว่าฌ็อง ลาน

ตลอดการสู้รบในช่วงเวลานั้น ภาพวาดกองบัญชาการของนโปเลียนในสมัยนั้น ได้แสดงให้เห็นว่า นโปเลียนได้ใช้ระบบสื่อสารทางไกล ระบบแรกของโลกที่เรียกว่าโทรเลขที่คิดค้นโดยโกลด ชาปป์ (เช่นเดียวกับกองบัญชาการรบอื่น ๆ ในสมัยนั้น) นโปเลียนได้ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบัญชาการโดยอาร์ชดยุกคาร์ล ดยุกแห่งเทเชิน จำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาที่เสียเปรียบ ที่มีชื่อว่าสนธิสัญญากัมโป-ฟอร์มิโอ ว่าด้วยเรื่องการให้ฝรั่งเศสเข้าครองเบลเยียม และยืดพรมแดนไปติดแม่น้ำไรน์ ส่วนจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ถือครองแคว้นเวเนโต

เหตุการณ์ที่ราชอาณาจักรอิตาลีนี้เอง ที่ทำให้นโปเลียนได้ตระหนักถึงพลังอำนาจของตน รวมทั้งสถานการณ์ที่เขาเป็นต่อ เขาเป็นจ้าวแห่งสนามรบเช่นเดียวกับในทุก ๆ ที่ นครมิลานเกิดสภาพคล้าย ๆ กับพระราชวังเล็ก ๆ รายล้อมนายพลนโปเลียน ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นผู้กุมชะตาชีวิตของบรรดาเศรษฐีชาวอิตาลีเอาไว้ และได้เปรียบคู่ต่อสู้อยู่มาก แต่เขาก็ยังห่างไกลกับคณะดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศสที่มีอำนาจบริหารจัดการประเทศ ในปี 1797 ด้วยแผนการของนายพลโอเฌอโร นโปเลียนได้จัดการทางการเมืองบางอย่างที่ทำให้เหล่าเชื้อพระวงศ์ที่ยังคงมีอำนาจในกรุงปารีสแตกฉานซ่านเซ็น และสามารถรักษาสาธารณรัฐของพวกฌากอแบ็งเอาไว้ได้

การทัพอียิปต์

แก้
 
นโปเลียนเยือนผู้ป่วยกาฬโรคที่เมืองจาฟฟา วาดโดย อ็องตวน-ฌ็อง โกรส์

ในปี 1798 สภาห้าร้อยมีความกังวลต่อกระแสความนิยมที่ประชาชนมีต่อนโปเลียนที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้บัญชาการให้เขานำทัพบุกอียิปต์ โดยอ้างว่าฝรั่งเศสต้องการเข้าครองครองดินแดนตะวันออกใกล้ และตะวันออกกลางเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของอังกฤษไปยังอินเดีย เนื่องด้วยนโปเลียนชื่นชมยุคแสงสว่างอยู่แล้ว เขาจึงได้ตัดสินใจนำคณะนักวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาร่วมทัพไปกับเขาด้วย และจัดตั้งสถาบันอียิปต์ศึกษา ซึ่งในช่วงนี้ หนึ่งในนายทหารหนุ่มผู้ติดตามนโปเลียนอย่างปีแยร์-ฟร็องซัว บูชาร์ ค้นพบศิลาโรเซตตาที่ทำให้นักอียิปตวิทยาอย่างฌ็อง-ฟร็องซัว ช็องปอลียง สามารถถอดรหัสไฮโรกลิฟในเวลาต่อมา

หลังจากที่มีชัยในยุทธการที่มงตาบอร์ (ฝรั่งเศสต้องการยึดเมืองในอียิปต์คืนจึงรบกับตุรกีที่มีอังกฤษหนุนหลัง) เมื่อวันที่ 16 เมษายน 1799 การเดินทัพต่อไปยังซีเรียของนโปเลียนต้องชะงักเนื่องจากการระบาดของกาฬโรค อันเป็นเหตุให้มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก นโปเลียนได้เข้าจัดการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อกาฬโรคที่เมืองจาฟฟาเท่าที่สามารถทำได้

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 1798 นโปเลียนมีชัยต่อกองกำลังมาเมลุก (ทาสรับใช้กาหลิบของจักรวรรดิออตโตมัน) ในยุทธการที่พีระมิด ในสงครามเอ็มบาเบห์ ทำให้ชื่อของเขาขจรขจายไปไกล แต่การพ่ายแพ้ของเขากลับไม่เป็นที่กล่าวถึง เมื่อวันที่ 1-2 สิงหาคม 1798 กองเรือฝรั่งเศสของนโปเลียนถูกกองเรือของพลเรือโทโฮราชิโอ เนลสัน ทำลายเกือบย่อยยับในการรบที่อ่าวอาบูกีร์

สถานการณ์ระหว่างนโปเลียนกับสมัชชาแห่งชาติดีขึ้น ทำให้เขาสละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารประจำอียิปต์ให้กับฌ็อง-บาติสต์ เกลเบร์ และเดินทางกลับฝรั่งเศส ตลอดเส้นทางกลับกรุงปารีส นโปเลียนได้รับเสียงโห่ร้องชื่นชมจากประชาชนในฐานะวีรบุรุษ อีกด้านหนึ่ง กองทัพฝรั่งเศสในอียิปต์ก็พ่ายแพ้การรบเมื่อ 31 สิงหาคม 1801 หลังจากเสียนายทหารไปกว่า 13,500 นาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหยื่อของโรคระบาด

ก่อรัฐประหาร

แก้

เมื่อนายพลนโปเลียนเดินทางกลับมาถึงกรุงปารีส เขาได้เข้าพบปะสนทนากับชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์ รัฐมนตรีการต่างประเทศ นักการเมืองผู้มีประสบการณ์ และผู้รู้เกมการเมืองเป็นอย่างดี เขาได้ช่วยเตรียมการก่อรัฐประหาร โค่นล้มคณะดีแร็กตัวร์ ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารที่กำลังอ่อนแอและประชาชนเกลียดชัง โดยการโน้มน้าวผู้แทนราษฎรเลือกรัฐบาลใหม่ บีบให้หัวหน้าคณะรัฐบาลเดิมลาออก แล้วเลือกหัวหน้ารัฐบาลใหม่เข้ามาแทน ประกอบด้วยบุคคลสามคนที่ปราศจากมลทิน อันได้แก่ แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส, รอเฌ ดูว์โก (สมาชิกคณะดีแร็กตัวร์สองในจำนวนทั้งหมดห้าคน) และนโปเลียน ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจ ให้มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการ นับตั้งแต่เขายอมไปออกรบที่อียิปต์ และกลับมาในฐานะวีรบุรุษ วัตถุประสงค์ของการก่อรัฐประหารครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คณะปฏิรูปหัวก้าวหน้า ซึ่งต้องการรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ว่าจะยังรักษาความมั่งคั่งไว้ได้ต่อไป และนโปเลียนที่เชื่อในระบอบสาธารณรัฐยอมก็เสี่ยงกับแผนการดังกล่าว เพราะมีกระแสจะนำพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 มาขึ้นครองราชย์และฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ ซึ่งหมายความว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ผ่านมานั้นไร้ผล

หลังจากที่ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าสามารถโน้มน้าวให้สภาสูงเห็นชอบกับการล้มล้างคณะดีแร็กตัวร์ได้แล้ว แผนการของการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 18 เดือนบรูว์แมร์ 1799 (ตามระบบปฏิทินของสาธารณรัฐฝรั่งเศส) ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ นโปเลียนจะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อรักษาความสงบในกรุงปารีสและในรัฐสภา จากนั้นจึงจัดการโยกย้ายที่ทำการรัฐสภาไปยังพระราชวังแซ็ง-กลู บริเวณชานเมืองปารีส เพื่อไม่ให้เกิดการจลาจลในกรุงปารีสขณะก่อรัฐประหาร และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยอ้างเหตุผลว่าลัทธิฌากอแบ็งกำลังเสี่ยงต่อภัยคุกคามถึงขั้นถูกล้มล้างได้ ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น นับตั้งแต่ปั 1789 เป็นต้นมา สภาก็ถูกประชาชนชาวปารีสคุกคามมาโดยตลอด

 
นโปเลียนก่อรัฐประหาร

เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในวันที่ 19 เดือนบรูว์แมร์ ที่พระราชวังแซ็ง-กลู ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าได้เตรียมการเกลี้ยกล่อมให้คณะดีแร็กตัวร์ห้าคน ยกขบวนลาออกจากที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ รวมทั้งให้สภาห้าร้อยเลือกรัฐบาลใหม่ แต่แผนการดำเนินไปอย่างล่าช้าเนื่องจากแนวคิดนี้ไม่ได้รับฉันทามติจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะพวกฌากอแบ็งสองคนไม่ยอมลาออก นโปเลียนเฝ้ารอและตัดสินใจเข้าแทรกแซงในที่สุด

เขาได้นำกำลังทหารกลุ่มเล็กๆเข้าไปในห้องประชุมสภาห้าร้อยที่กำลังถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน และได้พยายามพูดโน้มน้าวให้สภาดังกล่าวยอมรับการโค่นล้มคณะดีแร็กตัวร์แต่ไม่มีผู้แทนคนใดยอมรับฟัง จากการกระทำอุกอาจของนโปเลียนดังกล่าวทำให้มีผู้เสนอญัตติให้ประกาศนโปเลียนเป็นบุคคลนอกกฎหมาย ซึ่งจะทำให้นโปเลียนหลุดจากตำแหน่งทั้งหมด แต่สถานการณ์กลับตาลปัตรเมื่อมีผู้พยายามลอบแทงนโปเลียนในห้องประชุมสภา ภาพของผู้แทนที่โผล่มาจากทางหน้าต่างเพื่อลอบแทงนโปเลียนแพร่กระจายไปทั่ว นโปเลียนเป็นผู้ได้เปรียบในสถานการณ์นี้อย่างมาก เขาอ้างว่าถูกสมาชิกรัฐสภาใส่ร้ายว่าจะก่อรัฐประหารและเกือบจะถูกลอบสังหาร ทำให้นายพลฌออากีม มูว์รา ลูกน้องของนโปเลียน มีข้ออ้างนำกองทัพเข้าล้อมรัฐสภาและก่อรัฐประหารได้สำเร็จในที่สุด

สถาปนาระบอบกงสุล

แก้

แม้จะก่อรัฐประหารสำเร็จ แต่นโปเลียนก็ยังยึดติดกับรูปแบบการปกครองโดยกระบวนการทางกฎหมาย ในคืนวันที่ 19 เดือนบรูว์แมร์ หลังก่อรัฐประหารสำเร็จ คณะผู้แทนยังคงอยู่ที่พระราชวังแซ็ง-กลู เพื่อลงมติเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการสองชุดในการเตรียมร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แสดงให้เห็นได้ว่า นโปเลียนต้องการผลักดันให้มีระบอบการปกครอง ที่กิจการต่าง ๆ ของรัฐผ่านการลงมติจากผู้แทนราษฎร

วันที่ 20 เดือนบรูว์แมร์ กงสุลสามคนได้รับการแต่งตั้งให้บริหารประเทศ ได้แก่ นโปเลียน, แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส และรอเฌ ดูว์โก นับเป็นจุดเริ่มต้นระบบการปกครองโดยคณะกงสุล นโปเลียนประกาศว่า "สาธารณชนเอ๋ย...การปฏิวัติตามวิถีหลักการที่ได้เริ่มขึ้นมานั้น ได้สิ้นสุดลงแล้ว!"' [8] ระบอบกงสุลเป็นการปกครองที่อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือกงสุลสามคน ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนเรียกว่าเป็น "ระบอบเผด็จการโดยประชามติ"[9] ซึ่งในความเป็นจริงมีเพียงกงสุลเอกที่กุมอำนาจไว้อย่างแท้จริง ฝรั่งเศสเตรียมเข้าสู่ยุคใหม่ที่ประชาชนในชาติจะต้องฝากชะตาไว้ในมือของจักรพรรดิ

จากกงสุลเอกกลายเป็นจักรพรรดิ

แก้
 
จิตรกรรม "นโปเลียนข้ามเทือกเขาแอลป์" โดย ฌัก-หลุยส์ ดาวีด

นโปเลียนได้เริ่มการปฏิรูปนับตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการปกครองในระบอบกงสุล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา กระบวนการยุติธรรม การคลัง และระบบราชการ ประมวลกฎหมายแพ่งที่ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สเป็นผู้เรียบเรียงขึ้นนั้น เป็นที่รู้จักในนามของกฎหมายนโปเลียน แห่งปี 1804 และยังมีผลบังคับใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี กฎหมายแพ่งดังกล่าวนั้นมีรากฐานมาจาก กฎหมายในหมวดต่าง ๆ รวมถึงขนบธรรมเนียมหลากหลายจากระบอบปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งนโปเลียนได้รวบรวมขึ้นใหม่

ผลงานทางราชการของนโปเลียนมีต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปี 1814 เขาได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยม ธนาคารแห่งชาติฝรั่งเศส ระบบเงินฟรังก์แฌร์มินาล ที่ว่าการอำเภอ สภาที่ปรึกษาของรัฐ ริเริ่มการรังวัดพื้นที่ทั่วอาณาจักรฝรั่งเศส และจัดตั้งสมาคมเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติ (L'ordre national de la Légion d'honneur)

ในปี1800 นโปเลียนได้นำทัพบุกออสเตรียและยึดครองได้สำเร็จ ทำให้ออสเตรียที่พ่ายต่อทัพของนโปเลียนที่ยุทธการเมืองมาเร็งโก และต่อทัพของฌ็อง วิคตอร์ มารี โมโรที่เมืองโฮเฮนลินเดอร์ ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาลูเนวิลล์ ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 1801 ซึ่งทำให้อังกฤษยอมลงนามในสนธิสัญญาอาเมียงในเดือนมีนาคม 1801 ในกาลต่อมา ถ้าหากแม้อำนาจของนโปเลียนถูกสั่นคลอนภายหลังก่อรัฐประหาร ชัยชนะในยุทธการที่มาเร็งโกก็ทำให้สถานะของนโปเลียนแข็งแกร่งขึ้นมาก

เขาส่งทหาร 70,000 นายไปยังนิคมแซ็ง-ดอแม็งก์ในทะเลแคริบเบียน ภายใต้การบังคับบัญชาของนาลพล ชาลล์ เลอแคลฺ เพื่อฟื้นฟูอำนาจของฝรั่งเศส หลังจากประสบความสำเร็จมาพอสมควร โดยเฉพาะจากการจับตูแซงต์ ลูแวร์ตูร์ (ผู้ซึ่งเสียชีวิตที่ฟอร์ เดอ จัวย์ ที่อำเภอดูบส์ วันที่ 7 เมษายน 1803) กองทัพของเขาก็ถูกทำลายโดยการระบาดของไข้เหลือง เมื่อเห็นดังนี้ นโปเลียนจึงยอมขายรัฐลุยเซียนาให้แก้สหรัฐอเมริกา ดินแดนขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 1800 (วันคริสต์มาสอีฟ) ได้มีการลอบวางระเบิดนโปเลียนที่ถนนซังต์-นิเคส ในกรุงปารีส ขณะที่ขบวนรถม้าของเขากำลังมุ่งหน้าไปโรงโอเปร่า รถม้าของกงสุลเอกได้ควบผ่านพ้นจุดเกิดเหตุไปอย่างรวดเร็ว ระเบิดเกิดปะทุขึ้นช้ากว่าที่คาดทำให้กระจกรถม้าแตกกระจายเท่านั้น แต่สถานที่เกิดเหตุที่กลายเป็นซากปรักหักพังเต็มไปด้วยความโกลาหล มีผู้เสียชีวิตกว่าสิบคน โฌแซ็ฟ ฟูเช ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทยในสมัยนั้น ได้พิสูจน์ว่าอาชญากรรมดังกล่าวเป็นฝีมือกลุ่มฝักใฝ่กษัตริย์ ในขณะที่นโปเลียนเชื่อว่าเป็นฝีมือของพวกฌากอแบ็ง การประหารดยุกแห่งอ็องแกงเป็นหนึ่งในผลพวงตามมา

ในปี 1802 นโปเลียนรื้อฟื้นระบบทาสในอาณานิคมขึ้นอีกตามคำขอของภริยา อันได้แก่โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน หญิงชาวเบเกจากหมู่เกาะ มาร์ตีนีก การฟื้นฟูดังกล่าวทำให้ระบบเศรษฐกิจที่ล้มเหลวของอาณานิคมโพ้นทะเลทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียกระเตื้องขึ้น ต้องรอถึงปี 1848 กว่าความพยายามในการเลิกทาสอย่างเด็ดขาดจะประสบความสำเร็จ

หลังจากที่นโปเลียนได้ขยายอิทธิพลไปถึงสวิส ที่ได้จัดตั้งสถาบันกระจายอำนาจในปัจจุบัน และไปยังเยอรมนี กรณีพิพาทของมอลตาก็เป็นข้ออ้างให้อังกฤษประกาศสงครามกับฝรั่งเศสอีกครั้งในปี 1803 รวมทั้งหนุนหลังฝ่ายฝักใฝ่ระบอบกษัตริย์ที่ต่อต้านนโปเลียน นโปเลียนได้ตอบโต้ด้วยแนวคิดในการบุกอังกฤษ และเพื่อข่มขวัญฝ่ายฝักใฝ่กษัตริย์ที่อาจจะกำลังลอบวางแผนโค่นล้มเขาอยู่ กงสุลเอกสั่งประหารดยุกแห่งอ็องแกง เจ้าชายแห่งราชวงศ์บูร์บง

 
นโปเลียนยกตัวเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอิตาลี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 1805 ที่นครมิลาน

การประหารเกิดขึ้นที่เมืองแวงแซนน์ชานกรุงปารีส ภายหลังการไต่สวนที่ถูกจัดฉากให้ดูเป็นไปตามกระบวนการ (ซึ่งก็พบว่าเจ้าชายไม่มีความผิด) มีเพียงอังกฤษเท่านั้นที่ทักท้วง ส่วนรัสเซียและออสเตรียนั้น สงวนท่าทีไม่ยอมทัดทาน ทำให้เกิดเสียงเล่าลือเกี่ยวกับนโปเลียนว่าเป็น รอแบ็สปีแยร์บนหลังม้า (ที่เกาะเซนต์เฮเลนา นโปเลียนยอมรับความผิดนี้ แม้ว่าตาแลร็องจะมีส่วนพัวพันด้วยก็ตาม) หลังจากได้ก่อความผิดนี้ต่อสาธารณรัฐ และเพื่อไม่ให้กงสุลเอกขึ้นชื่อว่าก่อคดีสังหารบุคคลในราชวงศ์ซ้ำซ้อน นโปเลียนจึงได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 1804

ถ้าจะว่ากันไปแล้ว จักรวรรดิฝรั่งเศสเกิดขึ้นจากคำขอของวุฒิสภา นักประวัติศาสตร์สตีเฟน อิงลุนด์เชื่อในแนวความคิดที่ว่า การสถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิของนโปเลียนนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ หากนโปเลียนถูกโค่น กลุ่มคนต่างๆ จะล่มสลายไปกับเขาด้วย จักรพรรดิได้กลายมาเป็นสถาบัน ตอกย้ำความยั่งยืนของความเชื่อในการปกครองระบอบสาธารณรัฐ หากนโปเลียนตาย นั่นคือการสูญเสียผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีหน้าที่ปกป้องประเทศจากความโกลาหล และนั่นหมายถึงความสูญเสียของสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส (ความเสมอภาค อิสรภาพ และ ความยุติธรรม) การที่เงินเหรียญของทางการฝรั่งเศสจารึกคำว่า จักรพรรดินโปเลียน - สาธารณรัฐฝรั่งเศส นั้น มิใช่คำพูดเสียดสีแต่อย่างใด

การปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้กลายมาเป็นระบอบจักรวรรดินิยม ในภายหลังเท่านั้น เพื่อปกป้องสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส

ปราบดาภิเษก

แก้
 
จิตรกรรม ปราบดาภิเษกของนโปเลียน โดย ฌัก-หลุยส์ ดาวีด

พิธีปราบดาภิเษกของนโปเลียนถูกจัดขึ้น ภายใต้พระเนตรของสมเด็จพระสันตะปาปา ที่ไม่ได้รับเกียรติให้สวมมหามงกุฎแก่นโปเลียน แต่ถูกลดบทบาทให้แค่มาร่วมอำนวยพรแก่จักรพรรดิฝรั่งเศสเท่านั้น นโปเลียนประกาศในขณะที่สวมมหามงกุฎให้ตัวเองว่า "ข้าพเจ้าพบมหามงกุฎในลำห้วย ข้าพเจ้าเช็ดโคลนออก แล้วข้าพเจ้าก็สวมมันไว้บนหัวข้าพเจ้า"[10]

นี่นับเป็นโอกาสดีในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับวาติกัน การลงนามของกงสุลเอกในปี 1801 นั้นมีเนื้อหายอมรับว่าคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาของชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ศาสนาประจำชาติ นับแต่นั้นเป็นต้นมา นักบวชจะต้องอยู่ในความควบคุมของรัฐ ในการฟื้นฟูนิกายโรมันคาทอลิก ทำให้เกิดความกังขาว่า เป็นไปได้หรือที่จะเกิดการฟื้นฟูนิกายโรมันคาทอลิก ภายในระยะเวลาไม่ถึงสิบปีหลังจากที่หลวงยึดทรัพย์สินของโบสถ์ นโปเลียนสงวนท่าทีต่อหน้าสมเด็จพระสันตะปาปา เขาออกไปต้อนรับพระสันตะปาปาที่ป่าฟงแตนโบล โดยขี่ม้าไปและสวมชุดล่าสัตว์ ทำให้ฉากการพบปะดังกล่าวมีลักษณะเหมือนการพบกันโดยบังเอิญ และเช่นเดียวกัน ในปี 1804 จักรพรรดิมิได้เป็นผู้เดินทางไปประกอบพิธีขึ้นครองราชย์ที่กรุงโรมตามที่จักรพรรดิโรมันเคยกระทำ แต่เป็นพระสันตะปาปาที่ถูกเชิญมายังกรุงปารีสราวกับว่าเป็นนักบวชที่เดินทางมาแสวงบุญ

เราจะเห็นได้ว่า การที่นโปเลียนเข้าหาศาสนจักรนั้น เป็นไปเพื่อผลประโยชน์เฉพาะอย่าง (สร้างสัมพันธ์ระหว่างคาทอลิกกับฝรั่งเศส และทำให้จักรพรรดิมีฐานะเทียบเท่ากับกษัตริย์อย่างถูกต้อง) และเมื่อพระสันตะปาปามีท่าทีกระด้างกระเดื่องต่อคำสั่งของนโปเลียน เขาก็ไม่รอช้าที่จะขังพระสันตะปาปาไว้ในพระราชวังฟงแตนโบล

จักรวรรดิเรืองอำนาจ

แก้

ในปี 1804 ยังไม่ถึงเวลาแห่งการออกรบครั้งใหญ่เพื่อยึดครองดินแดน และจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งยึดติดกับแนวความคิดว่า สันติภาพอย่างถาวรจะมีได้ ต่อเมื่อปราบสหราชอาณาจักรลงได้เท่านั้น ได้ร่วมกับพลเรือเอกลาตุชเชอ-เตรวิลล์ (ผู้ซึ่งเสียชีวิตก่อนจะกระทำการสำเร็จ) วางแผนรุกรานเกาะอังกฤษ ซึ่งเป็นแผนที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จากการรบที่ยุทธนาวีทราฟัลการ์ กองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนที่บัญชาการโดยพลเรือโท วีลเนิฟว์ ถูกพลเรือโท ลอร์ด เนลสัน แห่งราชนาวีอังกฤษตีจนแตกพ่าย ทำให้สหราชอาณาจักร กลายเป็นมหาอำนาจทางทะเล นับแต่นั้นจวบจนในอีกหนึ่งศตวรรษต่อมา

 
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1บนพระราชอาสน์

ในปีเดียวกันนั้นเอง (1805) ได้มีการสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามในยุโรปขึ้นเพื่อต่อต้านจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทำให้จักรพรรดิผู้ซึ่งกำลังบัญชาการ จากเมืองบูลอญในฝรั่งเศส เพื่อเตรียมการบุกบริเตนใหญ่ ต้องเผชิญกับสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นในอีกฟากหนึ่งของทวีปยุโรปอย่างกะทันหัน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้รับสั่งให้ตั้งรับโดยทันที โดยบังคับให้นำทัพใหญ่ออกเดินเท้า และสัญญาว่าจะนำชัยชนะ ต่อพวกออสเตรียและรัสเซียมาให้จากยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ที่ได้ชื่อว่าเป็น "สงครามสามจักรพรรดิ"

ในปี 1806 สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ได้เริ่มต้นขึ้น ปรัสเซียได้ก่อเหตุพิพาทครั้งใหม่ โดยพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย ตัดสินพระทัยที่จะทำสงครามกับกองทัพฝรั่งเศสโดยลำพัง ตามตำนานเล่าว่านายพลคาร์ล ฟ็อน เคลาเซอวิทซ์ นักทฤษฎีทางทหารเคยเสนอแผนการรบที่ชาญฉลาด ซึ่งเป็นแผนการที่จักรพรรดินโปเลียนยังชื่นชม ในความรวดเร็วของการนำแนวคิดเรื่อง "จิตวิญญาณแห่งโลก" ของเฮเกิลมาใช้ แต่แผนรบดังกล่าวไม่ได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบัญชาการของกองทัพปรัสเซีย อย่างไรก็ดีกองทัพใหญ่ของนโปเลียนมีความได้เปรียบมาก เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้ชายแดนปรัสเซีย นโปเลียนจึงทรงลงมือโจมตีก่อนและได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยในยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท โดยกองทัพหลวงของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สามารถกวาดล้างกองทัพปรัสเซียในยุทธการที่เยนาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ในขณะที่จอมพลหลุยส์-นีกอลา ดาวูตีทัพใหญ่ของจอมพลดยุกแห่งเบราน์ชไวค์แตกพ่ายไปในสมภูมิที่เมืองเอาเออร์ชเต็ท แม้ว่าทัพหลวงของปรัสเซียจะมีจำนวนทหารเหนือกว่ากองทัพฝรั่งเศสที่นำโดยจอมพลหลุยส์-นีกอลา มากก็ตาม ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์บาดเจ็บสาหัสในที่รบ ทหารของปรัสเซียที่แตกมาจากยุทธการที่เยนาทะลักเข้ามาสู่ยุทธการที่เอาเออร์ชเต็ท นำไปสู่ความเสียขวัญและความพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด จอมพลดาวูจึงได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ให้เป็น ดยุกแห่งเอาเออร์ชเต็ท เพราะความชอบในครั้งนี้

แต่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ยังไม่หยุดแค่นั้น ในปีถัดมาพระองค์ได้ทรงเดินทัพข้ามโปแลนด์ โดยทรงสถาปนาดัชชีวอร์ซอขึ้นและให้พันธมิตรของฝรั่งเศสปกครอง จากนั้นนโปเลียนได้ยกกองทัพขึ้นเหนือเพื่อเผชิญหน้ากับกองทัพรัสเซีย นโปเลียนรบชนะกองทัพรัสเซียที่ยุทธการที่ฟรีทลันท์ในวันที่ 14 มิถุนายน 1807 ทางฝ่ายรัสเซียต้องขอยอมสงบศึก และนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาเมืองทิลสิทในเดือนกรกฎาคม 1807 กับจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย อันเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการแบ่งดินแดนยุโรปกันระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย สองมหาอำนาจในขณะนั้น เพื่อเป็นการข่มขวัญศัตรู (ฝรั่งเศสครองยุโรปตะวันตก และรัสเซียครองยุโรปตะวันออก โดยมีโปแลนด์อยู่ตรงกลาง)

นโปเลียนผู้ซึ่งได้รับการศึกษาจากโรงเรียนและครูบาอาจารย์ในระบอบเก่า ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายทหารในกองทัพหลวง ได้ทำลายกฎเกณฑ์ดั้งเดิมทางการทหารอย่างสิ้นเชิง ด้วยการไม่ริเริ่มสงครามที่กินเวลานานกว่าหนึ่งศตวรรษในการรบด้วยพลทหาร 30 ถึง 50,000 นาย แต่มองหาการรบที่สามารถเผด็จศึกได้อย่างเด็ดขาด ใช้ทหารกว่า 100,000 นายหากจำเป็น นั่นคือจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ไม่ต้องการจะเป็นผู้นำในยุทธการเท่านั้น แต่ต้องการจะบดขยี้ศัตรูอีกด้วย

ในปี 1808 จักรพรรดินโปเลียนสร้างระบบศักดินาของจักรวรรดิฝรั่งเศสให้แก่กลุ่มชนชั้นสูงที่แวดล้อมพระองค์ ไม่นานต่อมา บรรดานายพันและนายพลของนโปเลียนต่างได้รับยศขุนนาง เคานต์แห่งจักรวรรดิ เจ้าชายแห่งเนอชาแตล ดยุกแห่งเอาเออร์ชเต็ท ดยุกแห่งมองต์เบลโล ดยุกแห่งดันท์ซิช ดยุกแห่งเอลชิงเกน กษัตริย์แห่งนาโปลี ฯลฯ

จากกรุงอัมสเตอร์ดัมถึงกรุงโรม จักรวรรดิของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 70 ล้านคน โดยมีเพียง 30 ล้านคนเท่านั้นที่เป็นชาวฝรั่งเศส

ปฏิบัติการที่คาบสมุทรไอบีเรีย ออสเตรีย และรัสเซีย

แก้

เนื่องด้วยแนวคิดของอังกฤษที่จะกีดกันเรือสินค้าฝรั่งเศส จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เลยพยายามจะบังคับให้เกิดการกีดกันภาคพื้นทวีป โดยมีวัตถุประสงค์จะหยุดยั้งกิจกรรมทางการพาณิชย์ของอุตสาหกรรมอังกฤษ โปรตุเกส อันเป็นประเทศพันธมิตรของอังกฤษมาเป็นเวลาช้านาน ปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญานี้ จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จึงทรงขอความช่วยเหลือจากสเปนในการบุกโปรตุเกส ในที่สุดพระองค์ก็ได้รุกรานประเทศสเปน และตั้งโฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต พี่ชายขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองที่นั่น และโปรตุเกสก็ถูกจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รุกรานเช่นกันในปี 1807 ประชากรส่วนหนึ่งของสเปนที่คลั่งใคล้ในกลุ่มนักบวชได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านชาวฝรั่งเศส ในไม่ช้า กองพลทหารราบฝีมือเยี่ยมของอังกฤษ บัญชาการโดยว่าที่ดยุกแห่งเวลลิงตัน (อาร์เธอร์ เวลสลีย์) ก็ได้เคลื่อนทัพสู่สเปน โดยผ่านโปรตุเกสในปี 1808 และด้วยความช่วยเหลือของกลุ่มผู้รักชาติชาวสเปน ก็ได้ผลักดันกองทัพฝรั่งเศสออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย ในขณะที่กองทหารที่ฝีมือดีที่สุดของฝรั่งเศสกำลังปฏิบัติภารกิจอยู่ในสเปน ออสเตรียก็ได้บุกฝรั่งเศสอีกครั้งจากแถบเยอรมนี และถูกปราบลงอย่างราบคาบในยุทธการวากร็อง จอมพลลานส์ เพื่อนและผู้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ของจักรพรรดิจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมที่เมืองเอสลิง

หลังจากที่ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ได้รับการหนุนหลังจากชนชั้นสูงในรัสเซียที่เข้าข้างฝ่ายอังกฤษ ก็ได้ปฏิเสธที่จะร่วมมือกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในการโจมตีสหราชอาณาจักร จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งเชื่อว่าไม่มีทางหลีกเลี่ยงสงครามกับอังกฤษได้ ได้กรีฑาทัพบุกรัสเซียในปี 1812 กองทัพใหญ่ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ประกอบด้วยกองทัพพันธมิตรอิตาลี เยอรมนี และออสเตรียมีขนาดมหึมา มีทหารกว่า 600,000 นายที่ร่วมเดินทัพข้าม แม่น้ำนีเมน

กองทัพรัสเซียในบัญชาของจอมพลมีฮาอิล คูตูซอฟ ใช้กลยุทธ์ผลาญภพในการต้านการรุกรานของฝรั่งเศส การรบที่มอสโกเมื่อวันที่ 12 กันยายน ไม่มีผู้ใดแพ้ชนะ แม้ว่าพวกรัสเซียจะเป็นฝ่ายทิ้งชัยภูมิ แต่ทั้งสองฝ่ายก็เสียทหารไปในจำนวนพอกัน

วันรุ่งขึ้นหลังจากกองทัพฝรั่งเศสเคลื่อนทัพเข้ากรุงมอสโก ก็พบว่ามอสโกกลายเป็นเมืองร้าง เมื่อฝรั่งเศสตายใจ พวกรัสเซียได้จุดไฟเผากรุงมอสโกในทันที ทำให้จักพรรดินโปเลียนที่ 1 ต้องถอยทัพ ฤดูหนาวอันโหดร้าย กำลังจะมาเยือนดินแดนแถบรัสเซียในอีกเพียงไม่กี่วัน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่คาดว่าจะมีความเคลื่อนไหวจากซาร์ซาร์ได้ชะลอการถอยทัพไปจนถึงนาทีสุดท้าย

กองทัพฝรั่งเศสได้ถอยทัพอย่างทุลักทุเลไปทางเยอรมนี ในช่วงฤดูหนาวของรัสเซีย ผ่านดินแดนที่เคยเป็นทางผ่านตอนขามาและถูกโจมตีเสียย่อยยับ ในจำนวนทหารเกือบ 500,000 นายที่เข้าร่วมรบ มีเพียงหมื่นกว่านายที่สามารถข้ามแม่น้ำเบเรซินากลับมาได้ แถมยังถูกกองทัพรัสเซียดักโจมตี กองทัพใหญ่ของจักพรรดินโปเลียนที่ 1 ต้องถึงกาลล่มสลายเนื่องด้วยไม่รู้จักพื้นที่ดีพอ

หลังจากที่ได้ใจจากข่าวความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในรัสเซีย กษัตริย์ยุโรปหลายพระองค์ได้แปรภักดิ์จากฝ่ายจักพรรดินโปเลียนที่ 1 และยกทัพมารบกับฝรั่งเศส จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งถูกคนในกองทัพของพระองค์เองทรยศ ได้พบกับความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงที่ยุทธการที่ไลพ์ซิจ หรือที่รู้จักในนามของ สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หก ซึ่งกองทัพฝรั่งเศส 200,000 นายปะทะกับกองทัพพันธมิตร 500,000 นาย (รัสเซีย ออสเตรีย เยอรมนี สวีเดน) จอมพลยูแซฟ อันตอญี ปอญาตอฟสกี เจ้าชายแห่งโปแลนด์และพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของโปแลนด์ ได้สิ้นพระชนม์ลงในการรบครั้งนี้ หลังจากพยายามนำทหารของพระองค์ข้ามแม่น้ำเอลสเตอร์ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 100,000 คน

 
อาณาเขตของจักรวรรดิฝรั่งเศสในช่วงปี 1811 สีม่วงหมายถึงฝรั่งเศสแผ่นดินแม่ สีม่วงอ่อนหมายถึง รัฐในอารักขาของฝรั่งเศส

ความพ่ายแพ้ในฝรั่งเศส

แก้

ในปี 1814 สหราชอาณาจักร, รัสเซีย, ปรัสเซีย และออสเตรีย ได้ร่วมเป็นพันธมิตร แม้ว่าจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จะมีชัยอย่างไม่น่าเชื่อในการรบที่ ฌองโปแบร์ และมองต์มิไรล์ ด้วยการนำทัพทหารใหม่ขาดประสบการณ์ (กองทัพมารี หลุยส์ ที่ตั้งชื่อตามจักรพรรดินีมารี หลุยส์ มเหสีในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1) กรุงปารีสถูกตีแตกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม และบรรดาจอมพลรวมตัวโน้มน้าวให้จักรพรรดินโปเลียนสละราชสมบัติ

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงคิดว่าฝ่ายพันธมิตรจะแยกเขาออกจากจักรพรรดินี และนโปเลียนที่ 2 กษัตริย์แห่งโรม พระโอรสของพระองค์ ดังนั้น ในคืนวันที่ 12 และเช้าวันที่ 13 เมษายน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้เสวยยาพิษไปในปริมาณที่จะปลิดชีพพระองค์เอง ยาพิษดังกล่าวคือฝิ่นผสมกับน้ำเล็กน้อย มีคนบอกพระองค์ว่าส่วนผสมดังกล่าวมีพิษมากพอที่จะฆ่าคนได้ถึงสองคน นโปเลียนเลือกที่จะฆ่าตัวตายด้วยวิธีนี้เพราะเชื่อว่าศพของตนจะต้องถูกประจานให้คนฝรั่งเศสดู พระองค์ต้องการให้ข้าราชบริพารของพระองค์จำพระพักตร์ที่เรียบเฉยได้ เช่นเดียวกับที่เคยเห็นพระองค์ในยุทธการ

หลังจากผ่านพ้นเวลาเที่ยงคืนมาอย่างทุกข์ทรมาน จักรพรรดิก็บ่นว่าส่วนผสมฝิ่นของพระองค์ออกฤทธิ์ช้าไป นโปเลียนประกาศต่อหลุยส์ เดอ โกแล็งกูร์ ว่า "ข้าตายด้วยความทุกข์ ข้าทุกข์ที่มีรัฐธรรมนูญที่ยืดชีวิตออกไปและทำให้ข้าจบชีพช้ากว่าเดิม!"

อาการคลื่นเหียนอาเจียนของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รุนแรงขึ้นทุกทีจนไม่อาจกลั้นอาเจียนไว้ได้อีกต่อมา จนกระทั่งอาเจียนออกมาอย่างรุนแรง พระองค์ทรงทุกข์ทรมานอย่างไม่สิ้นสุดจนกระทั่งนายแพทย์อีวองมาถึง จักรพรรดินโปเลียนทรงขอให้แพทย์ถวายยาพิษอีกขนานเพื่อจะได้สวรรคตเสียที แต่นายแพทย์ปฏิเสธโดยกราบทูลว่าเขาไม่ใช่ฆาตกรและเขาจะไม่ยอมทำในสิ่งที่ขัดต่อสามัญสำนึกของตนอย่างเด็ดขาด

ความทรมานของจักรพรรดิยังคงดำเนินต่อไป โกแล็งกูร์ออกจากห้องและบอกให้ข้าราชบริพารเงียบเสียง นโปเลียนเรียกโกแล็งกูร์และบอกว่าพระองค์ยอมตายเสียดีกว่ายอมลงนามในสนธิสัญญา และแล้วยาพิษก็คลายฤทธิ์ลง และพระองค์ก็สามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ในที่สุด แต่ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเหตุใดองค์จักรพรรดิจึงรอดชีวิตมาได้จากการกลืนฝิ่นในปริมาณขนาดนั้น ไม่กระเพาะของพระองค์ขย้อนออกมา ไม่ก็ยาพิษได้เสื่อมฤทธิ์ลงไปเอง

ท้ายที่สุด นโปเลียนเนรเทศตนเองเองไปยังเกาะเอลบาตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาฟงแตนโบล โดยยังทรงดำรงพระยศเป็นจักรพรรดิ และมีอำนาจการปกครองเฉพาะบนเกาะแห่งนี้

คืนสู่อำนาจเป็นเวลาร้อยวัน

แก้

ที่ประเทศฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทรงขับจักรพรรดินโปเลียนที่ 2 และขึ้นครองราชย์แทน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เป็นกังวลเกี่ยวกับชะตากรรมของพระมเหสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งของพระโอรสของพระองค์ที่ตกอยู่ในเงื้อมมือของพวกออสเตรีย รัฐบาลฝรั่งเศสที่ฝักใฝ่ระบอบกษัตริย์ปฏิเสธจะจ่ายค่าเลี้ยงดูให้ตามสัญญาในที่สุด และมีข่าวลือว่าเขากำลังจะถูกส่งตัวไปยังเกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก

ดังนั้น จักรพรรดินโปเลียนที่หลบหนีออกจากการคุมขังบนเกาะเอลบา ได้ขึ้นสู่ฝั่งบนแผ่นดินฝรั่งเศสใกล้กับเมืองคานส์ เมื่อเดือนมีนาคม 1815 กองทัพที่ถูกส่งไปจับกุมตัวเขากลับมาต่างโห่ร้องต้อนรับเยี่ยงวีรบุรุษตลอดเส้นทางจากชายฝั่งริเวียราฝรั่งเศส ขึ้นมายังเมืองลียอง ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถูกเรียกว่า "ถนนสายจักรพรรดินโปเลียนที่ 1" ไปแล้ว จอมพลมิเชล ไนยผู้ซึ่งได้สาบานต่อหน้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ว่าจะนำจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 กลับมาในกรงเหล็ก ก็รู้สึกโอนอ่อนเข้าหาฝ่ายจักรพรรดิเดิมของตน (หลังที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เดินอย่างอุกอาจเข้าไปประกาศต่อฝูงชนว่า "ทหารแห่งกองพล 5 เราคือจักรพรรดิของพวกเจ้า พวกเจ้าก็รู้จักเราดีอยู่แล้วมิใช่หรือ ถ้าหากมีใครในหมู่พวกเจ้าทั้งหลายมาเพื่อที่จะจับจักรพรรดิของเจ้า เราก็อยู่ที่นี่แล้ว") ทำให้เขากลายเป็นจอมพลคนเดียวที่ถูกจับกุมในข้อหาทรราชย์ หลังจากการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ครั้งที่สอง จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เดินทางถึงกรุงปารีสอย่างง่ายดาย ช่วงเวลา"คืนสู่อำนาจเป็นเวลาร้อยวัน" เริ่มต้นขึ้น แต่ความล้มเหลวก็เกิดขึ้นซ้ำรอย กองทัพของเขาพ่ายการรบกับอังกฤษและปรัสเซียที่ยุทธการวอเตอร์ลู ในเบลเยียม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1815 จอมพลกรูชีไม่สามารถต้านทานกองทัพร่วมระหว่างอังกฤษและปรัสเซียได้ เนื่องจากเป็นทัพหลวงที่ยกมา

ถูกเนรเทศไปเกาะเซนต์เฮเลนา และกำเนิดของตำนาน

แก้
 
พระบรมอัฐิของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ถูกฝังไว้ที่สุสานแองวาลีด ในกรุงปารีส

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงถูกขัง และถูกอังกฤษส่งตัวไปยังเกาะเซนต์เฮเลนา ตามบัญชาการของเซอร์ฮัดสัน โลว พร้อมกับนายทหารที่ยังจงรักภักดีบางส่วน รวมถึงเคานต์ลาส กาสด้วย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงใช้เวลาบนเกาะเซนต์เฮเลนา ทรงอุทิศให้กับการเขียนบันทึกความทรงจำของพระองค์ ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเมษายน 1821 พระองค์ได้ทรงเขียนพระราชพินัยกรรม และหมายเหตุพระราชพินัยกรรมหลายฉบับด้วยพระองค์เอง รวมกว่าสี่สิบหน้าด้วยกัน คำพูดสุดท้ายของพระองค์ก่อนสิ้นใจได้แก่ "...ฝรั่งเศส...กองทัพ...โฌเซฟีน" (France, armée, Joséphine) หรือจากที่บันทึกไว้ใน "จดหมายเหตุเกาะเซนต์เฮเลนา" คือ "...ศีรษะ...กองทัพ...พระเจ้า!"

ในปี 1995 จดหมายเหตุของเคานต์ลุยส์ มาร์ชองด์ ข้ารับใช้ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ถูกตีพิมพ์ เขาได้เขียนเล่าเหตุการณ์ ช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายก่อนจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จะสวรรคต และหลายคนเชื่อว่าพระองค์ถูกลอบวางยาพิษด้วยสารหนู ในปี 2001 ปาสคาล คินท์ แห่งสถาบันกฎหมายเมืองสทราซบูร์ได้ทำการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ ด้วยการศึกษาหาระดับสารหนูในเส้นพระเกศา (ผม) ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ภายหลังจากที่พระองค์สวรรคต ซึ่งก็พบว่ามีสารหนูอยู่เกินกว่าระดับปกติ 7 ถึง 38 เท่า การวิเคราะห์ของนิตยสาร วิทยาศาสตร์และชีวิต ได้แสดงให้เห็นว่า สามารถพบสารหนูในระดับความเข้มข้นเท่ากันจากตัวอย่างที่เก็บได้มาจากปี 1805, 1814 และ 1821 ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึง ธรรมเนียมในสมัยนั้นที่นิยมสวมวิกผมพ่นทับด้วยแป้งผง ยิ่งไปกว่านั้น เราอาจเชื่อในการวิเคราะห์ของนักวิจัยชาวสวิสที่บอกว่า จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สวรรคตจากพระโรคมะเร็งในกระเพาะ แม้ว่าจักรพรรดิจะมีพระวรกายค่อนข้างเจ้าเนื้อก่อนสวรรคต (น้ำหนัก 75.5 ก.ก. ส่วนสูง 167 ซ.ม.) นักวิจัยยังได้สำรวจกางเกงที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สวมใส่ในสมัยนั้น และสามารถระบุได้ว่าพระองค์มีน้ำหนักลดลงถึง 11 ก.ก. ภายในเวลา 5 เดือนก่อนการสวรรคต สมมติฐานดังกล่าวเคยถูกกล่าวว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีพระวรกายใหญ่เกินกว่าที่จะเป็นคนป่วยด้วยโรคมะเร็ง

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ทรงขอให้ฝังพระบรมศพของพระองค์ไว้ริมฝั่งแม่น้ำแซน แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1821 พระบรมศพของพระองค์ได้ถูกปลงที่เกาะเซนต์เฮเลนา ในปี 1840 พระบรมอัฐิได้ถูกเชิญกลับมายังประเทศฝรั่งเศสด้วยการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ และได้ถูกฝังไว้ที่ออแตลเดแซ็งวาลีดในกรุงปารีส โดยใส่ไว้ในโถที่ทำด้วยหินเนื้อดอก (อันเป็นของขวัญที่รัสเซียมอบให้แก่ฝรั่งเศส)

มุมมองร่วมสมัยที่มีต่อนโปเลียน

แก้
  • ชัปตาล: นโปเลียนได้ใช้พระองค์เองเป็นจดหมายเหตุเพื่อทำสงครามกับศัตรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพวกอังกฤษ พระองค์ได้ทรงเขียนบันทึกทุกฉบับด้วยพระองค์เอง สำหรับให้ลงในหนังสือพิมพ์ le Moniteur เพื่อตอบโต้บทวิจารณ์ที่ขมขื่นและข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นจริงที่ได้ถูกตีพิมพ์ไว้ในหนังสือพิมพ์อังกฤษ เมื่อพระองค์ได้ทรงตีพิมพ์บันทึกฉบับหนึ่ง พระองค์ทรงเชื่อว่าสามารถโน้มน้ามผู้อ่านได้แล้ว เราคงจำกันได้ว่าบันทึกส่วนใหญ่ไม่ใช่ต้นแบบที่ดีของงานเขียน หรือตัวอย่างที่ดีของวรรณกรรม แต่พระองค์ก็มิได้ทรงตีพิมพ์อะไรที่แสดงให้เห็นถึงบุคลิกของพระองค์ หรือความสามารถที่พระองค์มีเอาไว้เลย

ผลงานของนโปเลียน โบนาปาร์ต

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส
 
พระราชลัญจกร
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลยัว อิมพีเรียล มาเจสตี
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้านโปเลียนแห่งอิตาลี
 
พระราชลัญจกร
การทูลยัว มาเจสตี

ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งกงสุลเอก

แก้

ในช่วงที่เป็นจักรพรรดิ

แก้

ครอบครัว

แก้

การสมรสและโอรสธิดา

แก้

นโปเลียนสมรสสองครั้ง :

  • เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 1796 (เมื่อครั้งยังเป็นนายพลก่อนออกปฏิบัติการในอียิปต์) ได้เข้าพิธีสมรสกับนางโฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน แม่ม่ายลูกติดชาวฝรั่งเศสเชื้อสายเบเก จากหมู่เกาะมาร์ตีนีก ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสในพิธีขึ้นครองราชย์ของนโปเลียน เนื่องจากนางมีอายุมากแล้วจึงไม่สามารถมีโอรสธิดาให้กับนโปเลียนได้ ซึ่งการที่องค์จักรพรรดิไร้ซึ่งผู้สืบทอดบัลลังก์ดังกล่าวถูกมองว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของจักรวรรดิ การสมรสครั้งนี้จึงจบลงด้วยการหย่าร้าง
  • เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 1810 ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรส (โดยฉันทะ) กับอาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย เพื่อเป็นการสานสัมพันธไมตรีและหลีกเลี่ยงสงครามกับ อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์ได้ให้กำเนิดพระราชโอรสหนึ่งพระองค์ ได้แก่ นโปเลียนที่ 2 ทรงได้รับการแต่งตั้งจากนโปเลียนให้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์แห่งกรุงโรม ดยุกแห่งไรช์ชตาดท์ แต่เรามักจะเรียกพระองค์ว่านโปเลียนที่ 2 เสียมากกว่า แม้ว่าพระองค์จะไม่เคยขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสอย่างแท้จริงเลยก็ตาม ถ้าจะว่ากันตามทฤษฎีแล้ว รัชสมัยของพระองค์กินระยะเวลาเพียง 15 วัน ระหว่างวันที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ถูกบังคับให้สละพระราชบัลลังก์ครั้งแรก จนกระทั่งมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง พระฉายานามว่า เหยี่ยวน้อย นั้นมาจากบทกวีของวิคเตอร์ มารี อูโก ที่ประพันธ์ขึ้นในปี 1852

นโปเลียนยังมีบุตรนอกสมรสอีกอย่างน้อยสองคน ซึ่งทั้งสองคนนั้นต่างก็มีทายาทสืบต่อมา:

และจากแหล่งข้อมูลที่ยังเป็นที่ถกเถียงกัน:

  • เอมิลลี ลุยส์ มารี ฟร็องซวส โฌซฟีน เปลลาปรา บุตรสาวของฟร็องซัวส-มารี เลอรัว
  • คาร์ล ยูจัง ฟอน มูห์ลเฟลด์ บุตรชายของวิคตอเรีย โครส์
  • เอเลน นโปเลโอน โบนาปาร์ต บุตรสาวของเค้าน์เตสมองโตลอง
  • จูลส์ บาร์เธเลมี-ซังต์-ติแลร์ (ชาตะ 19 สิงหาคม 1805 มรณะ 24 พฤศจิกายน 1895) โดยไม่ทราบว่ามารดาของเขาเป็นใคร

พี่น้องของนโปเลียน

แก้

หลานชาย-หญิง

แก้

เชื้อสายของนโปเลียนที่โด่งดัง

แก้

หนังสือชีวประวัติเกี่ยวกับนโปเลียน

แก้

ภาพยนตร์เกี่ยวกับนโปเลียน

แก้

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. McLynn 1998, p.6
  2. McLynn 1998, p.2
  3. Cronin 1994, p.20–21
  4. Cronin 1994, p.27
  5. Roberts 2001, p.xvi
  6. Asprey 2000, p.13
  7. McLynn 1998, p.55
  8. ต้นฉบับในภาษาฝรั่งเศส: "Citoyen,la Révolution est fixée aux principe qui l'avait commencée elle est finie!"
  9. Lyons 1994, p. 111
  10. ต้นฉบับในภาษาฝรั่งเศศ: "J'ai trouvé une couronne dans le ruisseau, j'ai essuyé la boue qui la couvrait, je l'ai mise sur ma tête."

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ถัดไป
สาธารณรัฐที่ 1
ลำดับก่อนหน้าโดย
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ในฐานะกษัตริย์
   
จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส
(18 พฤษภาคม 1804 – 11 เมษายน 1814)
  พระเจ้าหลุยส์ที่ 18
ในฐานะกษัตริย์
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18
ในฐานะกษัตริย์
   
จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส
(สมัยร้อยวัน)

(20 มีนาคม – 22 มิถุนายน 1815)
  นโปเลียนที่ 2
ไม่เสวยราชย์
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18
ในฐานะกษัตริย์
จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์    
กษัตริย์แห่งอิตาลี
(17 มีนาคม 1805 – 11 เมษายน 1814)
  พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2
ราชอาณาจักรอิตาลียุคใหม่

วัยเยาว์และการรับราชการทหาร

แก้

นโปเลียนเกิดที่เมืองอาฌักซีโยหรืออายัชโช ในภาษาอิตาลี บนเกาะคอร์ซิกา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1769 ซึ่งเป็นเวลาเพียง 1 ปี ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ซื้อเกาะนี้ไปจาก สาธารณรัฐเจโนวา 1768 [1] ครอบครัวของเขาเป็นหนึ่งในตระกูลผู้ดีจำนวนน้อยนิดบนเกาะคอร์ซิก้า บิดาของเขาผู้มีนามว่าการ์โล บูโอนาปาร์เต จัดการให้เขาได้เข้ารับการศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส ที่เขาได้เข้าไปตั้งรกรากตั้งแต่อายุ 9 ขวบ[2][3]

ในตอนแรกเขาถูกมองว่าเป็นชาวต่างชาติคนหนึ่ง[4][5]ภายหลังการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหาร ที่เมืองโอเติง บรีแอนน์ และ โรงเรียนทหารแห่งกรุงปารีส เขาก็ได้เข้าร่วมกองพลปืนใหญ่ ภายใต้กองกำลังของลาแฟร์ ที่เมืองโอซ็อนน์ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นร้อยตรีที่เมืองวาล็องซ์ ในปี 1787 ด้วยอารมณ์ที่ซ่อนเร้น ออกแนว โรแมนติก ในงานที่เขาเขียน ความอยากรู้อยากเห็นไม่มีที่สิ้นสุด บวกกับความทรงจำที่เป็นเลิศ ในปี 1789 นโปเลียนหนุ่มมีความถนัดทางใช้สติปัญญามากกว่าทางใช้กำลัง[6]

เมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสประทุขึ้นในปี 1789 ร้อยโทโบนาปาร์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ที่กรุงปารีส โดยเป็นฝ่ายสังเกตการณ์ เขาได้เฝ้าดูประชาชนบุกพระราชวังตุยเลอรีด้วยความขยะแขยง นโปเลียนเดินทางกลับมายังเกาะคอร์ซิกา[7] ที่ซึ่งการสู้รบระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เริ่มขึ้นอีกครั้ง (โดยมีทางฝ่ายของปาสกาล เปาลี สนับสนุนระบอบกษัตริย์ และทางตระกูลโบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ) นโปเลียนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งชาติ ในปี 1792 โดยการแย่งเอากองกำลังจากคณะกรรมาธิการของรัฐมาส่วนหนึ่ง แต่การประหารกษัตริย์ได้ทำให้เกิดการต่อต้านของฝ่ายอิสระ สงครามกลางเมืองได้ประทุขึ้น และตระกูลของนโปเลียนต้องหลบหนีออกจากเกาะคอร์ซิกา มายังประเทศฝรั่งเศส

โบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ และได้ถูกส่งตัวไปรับตำแหน่งนายร้อยในกองพลปืนใหญ่ ที่ศูนย์บัญชาการเมืองตูลง (Toulon) ในปี 1793 ซึ่งต่อมาได้ถูกมอบให้สหราชอาณาจักรปกครอง แผนการที่นโปเลียนมอบให้ฌาคส์ ฟร็องซัวส์ ดูก็องมิเย ทำให้สามารถยึดเมืองตูลองคืนมาจากกองทัพกลุ่มสนับสนุนระบอบกษัตริย์และพวกอังกฤษได้ มิตรภาพระหว่างเขาพวกฌากอแบ็งทำให้เขาถูกจับในช่วงสั้น ๆ ภายหลังการสิ้นอำนาจของรอแบ็สปีแยร์ ในวันที่ 27 กรกฎาคม 1794

หลังจากได้รับอิสรภาพ เขาก็ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ปราศจากผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นทางการ และต่อมาปอล บารัส อนุญาตให้เขาบดขยี้กลุ่มผู้สนับสนุนราชวงศ์ที่ลุกฮือที่เมืองว็องเดแมร์ เพื่อต่อต้านสมัชชาแห่งชาติ ในปี 1795 ในโอกาสนี้เอง โบนาปาร์ตได้มีนายทหารหนุ่มชื่อฌออากีม มูว์รา เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติการประสบผลสำเร็จด้วยการยิงปืนใหญ่เข้าสลายกลุ่มสนับสนุนราชวงศ์ที่เมืองซังต์โรช์

โบนาปาร์ตมีจิตใจผ่องใส สามารถซึมซับความรู้ทางการทหาร รวมถึงยุทธวิธีในสมัยของเขา มาประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์จริง เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ในกองพลปืนใหญ่ เขาได้คิดค้นการใช้ปืนใหญ่แห่งกริโบวาลเป็นกองทัพเคลื่อนที่ ใช้หนุนกองทหารเดินเท้าอีกทีหนึ่ง

การทัพอิตาลี

แก้

เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบที่สามารถการนำกองพลปืนใหญ่ปราบกบฏนิยมเจ้า นโปเลียนได้รับการเสนอแต่งตั้งโดยลาซาร์ การ์โน ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทัพอิตาลี เพื่อยึดอิตาลีกลับคืนมาจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ออสเตรีย-เยอรมัน) กองกำลังของเขาขาดแคลน ทั้งยุทโธปกรณ์และเสบียงคลัง ซึ่งแม้เขาจะอดมื้อกินมื้อ และแต่งตัวซอมซ่อ แต่ก็ได้ฝึกฝนนายทหารในบังคับบัญชาด้วยความขะมักเขม้น และสามารถนำทัพเข้าปะทะกับกองกำลังของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีจำนวนมากกว่า และมียุทโธปกรณ์พร้อมกว่าได้ ในการรบหลายต่อหลายครั้ง ในยุทธการที่เมือง มองเตอโนต โลดี หรือ อาร์โกล มีนโปเลียนเป็นผู้นำทัพด้วยตนเอง การรบท่ามกลางห่ากระสุนทำให้ มุยร็อง เพื่อนและผู้ช่วยของเขาเสียชีวิต นโปเลียนเป็นนายทหารฝีมือฉกาจ ผู้ซึ่ง อยู่ทุกหนทุกแห่งและมองเห็นทุกอย่าง ว่องไวดุจสายฟ้าแลบและโจมตีดุจสายฟ้าฟาด เขาเป็นที่เคารพนับถือของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยความสามารถในการบัญชาการ ความกล้าหาญและความเลือดเย็น ในบรรดานายทหารหลายนายที่แวดล้อมเขา นโปเลียนได้มองเห็นความสามารถของนายทหารนิรนามคนหนึ่งชื่อว่าฌ็อง ลาน

ตลอดการสู้รบในช่วงเวลานั้น ภาพวาดกองบัญชาการของนโปเลียนในสมัยนั้น ได้แสดงให้เห็นว่า นโปเลียนได้ใช้ระบบสื่อสารทางไกล ระบบแรกของโลกที่เรียกว่าโทรเลขที่คิดค้นโดยโกลด ชาปป์ (เช่นเดียวกับกองบัญชาการรบอื่น ๆ ในสมัยนั้น) นโปเลียนได้ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบัญชาการโดยอาร์ชดยุกคาร์ล ดยุกแห่งเทเชิน จำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาที่เสียเปรียบ ที่มีชื่อว่าสนธิสัญญากัมโป-ฟอร์มิโอ ว่าด้วยเรื่องการให้ฝรั่งเศสเข้าครองเบลเยียม และยืดพรมแดนไปติดแม่น้ำไรน์ ส่วนจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ถือครองแคว้นเวเนโต

เหตุการณ์ที่ราชอาณาจักรอิตาลีนี้เอง ที่ทำให้นโปเลียนได้ตระหนักถึงพลังอำนาจของตน รวมทั้งสถานการณ์ที่เขาเป็นต่อ เขาเป็นจ้าวแห่งสนามรบเช่นเดียวกับในทุก ๆ ที่ นครมิลานเกิดสภาพคล้าย ๆ กับพระราชวังเล็ก ๆ รายล้อมนายพลนโปเลียน ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นผู้กุมชะตาชีวิตของบรรดาเศรษฐีชาวอิตาลีเอาไว้ และได้เปรียบคู่ต่อสู้อยู่มาก แต่เขาก็ยังห่างไกลกับคณะดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศสที่มีอำนาจบริหารจัดการประเทศ ในปี 1797 ด้วยแผนการของนายพลโอเฌอโร นโปเลียนได้จัดการทางการเมืองบางอย่างที่ทำให้เหล่าเชื้อพระวงศ์ที่ยังคงมีอำนาจในกรุงปารีสแตกฉานซ่านเซ็น และสามารถรักษาสาธารณรัฐของพวกฌากอแบ็งเอาไว้ได้

การทัพอียิปต์

แก้
 
นโปเลียนเยือนผู้ป่วยกาฬโรคที่เมืองจาฟฟา วาดโดย อ็องตวน-ฌ็อง โกรส์

ในปี 1798 สภาห้าร้อยมีความกังวลต่อกระแสความนิยมที่ประชาชนมีต่อนโปเลียนที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้บัญชาการให้เขานำทัพบุกอียิปต์ โดยอ้างว่าฝรั่งเศสต้องการเข้าครองครองดินแดนตะวันออกใกล้ และตะวันออกกลางเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของอังกฤษไปยังอินเดีย เนื่องด้วยนโปเลียนชื่นชมยุคแสงสว่างอยู่แล้ว เขาจึงได้ตัดสินใจนำคณะนักวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาร่วมทัพไปกับเขาด้วย และจัดตั้งสถาบันอียิปต์ศึกษา ซึ่งในช่วงนี้ หนึ่งในนายทหารหนุ่มผู้ติดตามนโปเลียนอย่างปีแยร์-ฟร็องซัว บูชาร์ ค้นพบศิลาโรเซตตาที่ทำให้นักอียิปตวิทยาอย่างฌ็อง-ฟร็องซัว ช็องปอลียง สามารถถอดรหัสไฮโรกลิฟในเวลาต่อมา

หลังจากที่มีชัยในยุทธการที่มงตาบอร์ (ฝรั่งเศสต้องการยึดเมืองในอียิปต์คืนจึงรบกับตุรกีที่มีอังกฤษหนุนหลัง) เมื่อวันที่ 16 เมษายน 1799 การเดินทัพต่อไปยังซีเรียของนโปเลียนต้องชะงักเนื่องจากการระบาดของกาฬโรค อันเป็นเหตุให้มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก นโปเลียนได้เข้าจัดการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อกาฬโรคที่เมืองจาฟฟาเท่าที่สามารถทำได้

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 1798 นโปเลียนมีชัยต่อกองกำลังมาเมลุก (ทาสรับใช้กาหลิบของจักรวรรดิออตโตมัน) ในยุทธการที่พีระมิด ในสงครามเอ็มบาเบห์ ทำให้ชื่อของเขาขจรขจายไปไกล แต่การพ่ายแพ้ของเขากลับไม่เป็นที่กล่าวถึง เมื่อวันที่ 1-2 สิงหาคม 1798 กองเรือฝรั่งเศสของนโปเลียนถูกกองเรือของพลเรือโทโฮราชิโอ เนลสัน ทำลายเกือบย่อยยับในการรบที่อ่าวอาบูกีร์

สถานการณ์ระหว่างนโปเลียนกับสมัชชาแห่งชาติดีขึ้น ทำให้เขาสละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารประจำอียิปต์ให้กับฌ็อง-บาติสต์ เกลเบร์ และเดินทางกลับฝรั่งเศส ตลอดเส้นทางกลับกรุงปารีส นโปเลียนได้รับเสียงโห่ร้องชื่นชมจากประชาชนในฐานะวีรบุรุษ อีกด้านหนึ่ง กองทัพฝรั่งเศสในอียิปต์ก็พ่ายแพ้การรบเมื่อ 31 สิงหาคม 1801 หลังจากเสียนายทหารไปกว่า 13,500 นาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหยื่อของโรคระบาด

ก่อรัฐประหาร

แก้

เมื่อนายพลนโปเลียนเดินทางกลับมาถึงกรุงปารีส เขาได้เข้าพบปะสนทนากับชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์ รัฐมนตรีการต่างประเทศ นักการเมืองผู้มีประสบการณ์ และผู้รู้เกมการเมืองเป็นอย่างดี เขาได้ช่วยเตรียมการก่อรัฐประหาร โค่นล้มคณะดีแร็กตัวร์ ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารที่กำลังอ่อนแอและประชาชนเกลียดชัง โดยการโน้มน้าวผู้แทนราษฎรเลือกรัฐบาลใหม่ บีบให้หัวหน้าคณะรัฐบาลเดิมลาออก แล้วเลือกหัวหน้ารัฐบาลใหม่เข้ามาแทน ประกอบด้วยบุคคลสามคนที่ปราศจากมลทิน อันได้แก่ แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส, รอเฌ ดูว์โก (สมาชิกคณะดีแร็กตัวร์สองในจำนวนทั้งหมดห้าคน) และนโปเลียน ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจ ให้มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการ นับตั้งแต่เขายอมไปออกรบที่อียิปต์ และกลับมาในฐานะวีรบุรุษ วัตถุประสงค์ของการก่อรัฐประหารครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คณะปฏิรูปหัวก้าวหน้า ซึ่งต้องการรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ว่าจะยังรักษาความมั่งคั่งไว้ได้ต่อไป และนโปเลียนที่เชื่อในระบอบสาธารณรัฐยอมก็เสี่ยงกับแผนการดังกล่าว เพราะมีกระแสจะนำพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 มาขึ้นครองราชย์และฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ ซึ่งหมายความว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ผ่านมานั้นไร้ผล

หลังจากที่ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าสามารถโน้มน้าวให้สภาสูงเห็นชอบกับการล้มล้างคณะดีแร็กตัวร์ได้แล้ว แผนการของการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 18 เดือนบรูว์แมร์ 1799 (ตามระบบปฏิทินของสาธารณรัฐฝรั่งเศส) ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ นโปเลียนจะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อรักษาความสงบในกรุงปารีสและในรัฐสภา จากนั้นจึงจัดการโยกย้ายที่ทำการรัฐสภาไปยังพระราชวังแซ็ง-กลู บริเวณชานเมืองปารีส เพื่อไม่ให้เกิดการจลาจลในกรุงปารีสขณะก่อรัฐประหาร และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยอ้างเหตุผลว่าลัทธิฌากอแบ็งกำลังเสี่ยงต่อภัยคุกคามถึงขั้นถูกล้มล้างได้ ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น นับตั้งแต่ปั 1789 เป็นต้นมา สภาก็ถูกประชาชนชาวปารีสคุกคามมาโดยตลอด

 
นโปเลียนก่อรัฐประหาร

เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในวันที่ 19 เดือนบรูว์แมร์ ที่พระราชวังแซ็ง-กลู ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าได้เตรียมการเกลี้ยกล่อมให้คณะดีแร็กตัวร์ห้าคน ยกขบวนลาออกจากที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ รวมทั้งให้สภาห้าร้อยเลือกรัฐบาลใหม่ แต่แผนการดำเนินไปอย่างล่าช้าเนื่องจากแนวคิดนี้ไม่ได้รับฉันทามติจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะพวกฌากอแบ็งสองคนไม่ยอมลาออก นโปเลียนเฝ้ารอและตัดสินใจเข้าแทรกแซงในที่สุด

เขาได้นำกำลังทหารกลุ่มเล็กๆเข้าไปในห้องประชุมสภาห้าร้อยที่กำลังถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน และได้พยายามพูดโน้มน้าวให้สภาดังกล่าวยอมรับการโค่นล้มคณะดีแร็กตัวร์แต่ไม่มีผู้แทนคนใดยอมรับฟัง จากการกระทำอุกอาจของนโปเลียนดังกล่าวทำให้มีผู้เสนอญัตติให้ประกาศนโปเลียนเป็นบุคคลนอกกฎหมาย ซึ่งจะทำให้นโปเลียนหลุดจากตำแหน่งทั้งหมด แต่สถานการณ์กลับตาลปัตรเมื่อมีผู้พยายามลอบแทงนโปเลียนในห้องประชุมสภา ภาพของผู้แทนที่โผล่มาจากทางหน้าต่างเพื่อลอบแทงนโปเลียนแพร่กระจายไปทั่ว นโปเลียนเป็นผู้ได้เปรียบในสถานการณ์นี้อย่างมาก เขาอ้างว่าถูกสมาชิกรัฐสภาใส่ร้ายว่าจะก่อรัฐประหารและเกือบจะถูกลอบสังหาร ทำให้นายพลฌออากีม มูว์รา ลูกน้องของนโปเลียน มีข้ออ้างนำกองทัพเข้าล้อมรัฐสภาและก่อรัฐประหารได้สำเร็จในที่สุด

สถาปนาระบอบกงสุล

แก้

แม้จะก่อรัฐประหารสำเร็จ แต่นโปเลียนก็ยังยึดติดกับรูปแบบการปกครองโดยกระบวนการทางกฎหมาย ในคืนวันที่ 19 เดือนบรูว์แมร์ หลังก่อรัฐประหารสำเร็จ คณะผู้แทนยังคงอยู่ที่พระราชวังแซ็ง-กลู เพื่อลงมติเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการสองชุดในการเตรียมร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แสดงให้เห็นได้ว่า นโปเลียนต้องการผลักดันให้มีระบอบการปกครอง ที่กิจการต่าง ๆ ของรัฐผ่านการลงมติจากผู้แทนราษฎร

วันที่ 20 เดือนบรูว์แมร์ กงสุลสามคนได้รับการแต่งตั้งให้บริหารประเทศ ได้แก่ นโปเลียน, แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส และรอเฌ ดูว์โก นับเป็นจุดเริ่มต้นระบบการปกครองโดยคณะกงสุล นโปเลียนประกาศว่า "สาธารณชนเอ๋ย...การปฏิวัติตามวิถีหลักการที่ได้เริ่มขึ้นมานั้น ได้สิ้นสุดลงแล้ว!"' [8] ระบอบกงสุลเป็นการปกครองที่อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือกงสุลสามคน ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนเรียกว่าเป็น "ระบอบเผด็จการโดยประชามติ"[9] ซึ่งในความเป็นจริงมีเพียงกงสุลเอกที่กุมอำนาจไว้อย่างแท้จริง ฝรั่งเศสเตรียมเข้าสู่ยุคใหม่ที่ประชาชนในชาติจะต้องฝากชะตาไว้ในมือของจักรพรรดิ

จากกงสุลเอกกลายเป็นจักรพรรดิ

แก้
 
จิตรกรรม "นโปเลียนข้ามเทือกเขาแอลป์" โดย ฌัก-หลุยส์ ดาวีด

นโปเลียนได้เริ่มการปฏิรูปนับตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการปกครองในระบอบกงสุล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา กระบวนการยุติธรรม การคลัง และระบบราชการ ประมวลกฎหมายแพ่งที่ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สเป็นผู้เรียบเรียงขึ้นนั้น เป็นที่รู้จักในนามของกฎหมายนโปเลียน แห่งปี 1804 และยังมีผลบังคับใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี กฎหมายแพ่งดังกล่าวนั้นมีรากฐานมาจาก กฎหมายในหมวดต่าง ๆ รวมถึงขนบธรรมเนียมหลากหลายจากระบอบปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งนโปเลียนได้รวบรวมขึ้นใหม่

ผลงานทางราชการของนโปเลียนมีต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปี 1814 เขาได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยม ธนาคารแห่งชาติฝรั่งเศส ระบบเงินฟรังก์แฌร์มินาล ที่ว่าการอำเภอ สภาที่ปรึกษาของรัฐ ริเริ่มการรังวัดพื้นที่ทั่วอาณาจักรฝรั่งเศส และจัดตั้งสมาคมเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติ (L'ordre national de la Légion d'honneur)

ในปี1800 นโปเลียนได้นำทัพบุกออสเตรียและยึดครองได้สำเร็จ ทำให้ออสเตรียที่พ่ายต่อทัพของนโปเลียนที่ยุทธการเมืองมาเร็งโก และต่อทัพของฌ็อง วิคตอร์ มารี โมโรที่เมืองโฮเฮนลินเดอร์ ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาลูเนวิลล์ ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 1801 ซึ่งทำให้อังกฤษยอมลงนามในสนธิสัญญาอาเมียงในเดือนมีนาคม 1801 ในกาลต่อมา ถ้าหากแม้อำนาจของนโปเลียนถูกสั่นคลอนภายหลังก่อรัฐประหาร ชัยชนะในยุทธการที่มาเร็งโกก็ทำให้สถานะของนโปเลียนแข็งแกร่งขึ้นมาก

เขาส่งทหาร 70,000 นายไปยังนิคมแซ็ง-ดอแม็งก์ในทะเลแคริบเบียน ภายใต้การบังคับบัญชาของนาลพล ชาลล์ เลอแคลฺ เพื่อฟื้นฟูอำนาจของฝรั่งเศส หลังจากประสบความสำเร็จมาพอสมควร โดยเฉพาะจากการจับตูแซงต์ ลูแวร์ตูร์ (ผู้ซึ่งเสียชีวิตที่ฟอร์ เดอ จัวย์ ที่อำเภอดูบส์ วันที่ 7 เมษายน 1803) กองทัพของเขาก็ถูกทำลายโดยการระบาดของไข้เหลือง เมื่อเห็นดังนี้ นโปเลียนจึงยอมขายรัฐลุยเซียนาให้แก้สหรัฐอเมริกา ดินแดนขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 1800 (วันคริสต์มาสอีฟ) ได้มีการลอบวางระเบิดนโปเลียนที่ถนนซังต์-นิเคส ในกรุงปารีส ขณะที่ขบวนรถม้าของเขากำลังมุ่งหน้าไปโรงโอเปร่า รถม้าของกงสุลเอกได้ควบผ่านพ้นจุดเกิดเหตุไปอย่างรวดเร็ว ระเบิดเกิดปะทุขึ้นช้ากว่าที่คาดทำให้กระจกรถม้าแตกกระจายเท่านั้น แต่สถานที่เกิดเหตุที่กลายเป็นซากปรักหักพังเต็มไปด้วยความโกลาหล มีผู้เสียชีวิตกว่าสิบคน โฌแซ็ฟ ฟูเช ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทยในสมัยนั้น ได้พิสูจน์ว่าอาชญากรรมดังกล่าวเป็นฝีมือกลุ่มฝักใฝ่กษัตริย์ ในขณะที่นโปเลียนเชื่อว่าเป็นฝีมือของพวกฌากอแบ็ง การประหารดยุกแห่งอ็องแกงเป็นหนึ่งในผลพวงตามมา

ในปี 1802 นโปเลียนรื้อฟื้นระบบทาสในอาณานิคมขึ้นอีกตามคำขอของภริยา อันได้แก่โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน หญิงชาวเบเกจากหมู่เกาะ มาร์ตีนีก การฟื้นฟูดังกล่าวทำให้ระบบเศรษฐกิจที่ล้มเหลวของอาณานิคมโพ้นทะเลทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียกระเตื้องขึ้น ต้องรอถึงปี 1848 กว่าความพยายามในการเลิกทาสอย่างเด็ดขาดจะประสบความสำเร็จ

หลังจากที่นโปเลียนได้ขยายอิทธิพลไปถึงสวิส ที่ได้จัดตั้งสถาบันกระจายอำนาจในปัจจุบัน และไปยังเยอรมนี กรณีพิพาทของมอลตาก็เป็นข้ออ้างให้อังกฤษประกาศสงครามกับฝรั่งเศสอีกครั้งในปี 1803 รวมทั้งหนุนหลังฝ่ายฝักใฝ่ระบอบกษัตริย์ที่ต่อต้านนโปเลียน นโปเลียนได้ตอบโต้ด้วยแนวคิดในการบุกอังกฤษ และเพื่อข่มขวัญฝ่ายฝักใฝ่กษัตริย์ที่อาจจะกำลังลอบวางแผนโค่นล้มเขาอยู่ กงสุลเอกสั่งประหารดยุกแห่งอ็องแกง เจ้าชายแห่งราชวงศ์บูร์บง

 
นโปเลียนยกตัวเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอิตาลี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 1805 ที่นครมิลาน

การประหารเกิดขึ้นที่เมืองแวงแซนน์ชานกรุงปารีส ภายหลังการไต่สวนที่ถูกจัดฉากให้ดูเป็นไปตามกระบวนการ (ซึ่งก็พบว่าเจ้าชายไม่มีความผิด) มีเพียงอังกฤษเท่านั้นที่ทักท้วง ส่วนรัสเซียและออสเตรียนั้น สงวนท่าทีไม่ยอมทัดทาน ทำให้เกิดเสียงเล่าลือเกี่ยวกับนโปเลียนว่าเป็น รอแบ็สปีแยร์บนหลังม้า (ที่เกาะเซนต์เฮเลนา นโปเลียนยอมรับความผิดนี้ แม้ว่าตาแลร็องจะมีส่วนพัวพันด้วยก็ตาม) หลังจากได้ก่อความผิดนี้ต่อสาธารณรัฐ และเพื่อไม่ให้กงสุลเอกขึ้นชื่อว่าก่อคดีสังหารบุคคลในราชวงศ์ซ้ำซ้อน นโปเลียนจึงได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 1804

ถ้าจะว่ากันไปแล้ว จักรวรรดิฝรั่งเศสเกิดขึ้นจากคำขอของวุฒิสภา นักประวัติศาสตร์สตีเฟน อิงลุนด์เชื่อในแนวความคิดที่ว่า การสถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิของนโปเลียนนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ หากนโปเลียนถูกโค่น กลุ่มคนต่างๆ จะล่มสลายไปกับเขาด้วย จักรพรรดิได้กลายมาเป็นสถาบัน ตอกย้ำความยั่งยืนของความเชื่อในการปกครองระบอบสาธารณรัฐ หากนโปเลียนตาย นั่นคือการสูญเสียผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีหน้าที่ปกป้องประเทศจากความโกลาหล และนั่นหมายถึงความสูญเสียของสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส (ความเสมอภาค อิสรภาพ และ ความยุติธรรม) การที่เงินเหรียญของทางการฝรั่งเศสจารึกคำว่า จักรพรรดินโปเลียน - สาธารณรัฐฝรั่งเศส นั้น มิใช่คำพูดเสียดสีแต่อย่างใด

การปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้กลายมาเป็นระบอบจักรวรรดินิยม ในภายหลังเท่านั้น เพื่อปกป้องสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส

ปราบดาภิเษก

แก้
 
จิตรกรรม ปราบดาภิเษกของนโปเลียน โดย ฌัก-หลุยส์ ดาวีด

พิธีปราบดาภิเษกของนโปเลียนถูกจัดขึ้น ภายใต้พระเนตรของสมเด็จพระสันตะปาปา ที่ไม่ได้รับเกียรติให้สวมมหามงกุฎแก่นโปเลียน แต่ถูกลดบทบาทให้แค่มาร่วมอำนวยพรแก่จักรพรรดิฝรั่งเศสเท่านั้น นโปเลียนประกาศในขณะที่สวมมหามงกุฎให้ตัวเองว่า "ข้าพเจ้าพบมหามงกุฎในลำห้วย ข้าพเจ้าเช็ดโคลนออก แล้วข้าพเจ้าก็สวมมันไว้บนหัวข้าพเจ้า"[10]

นี่นับเป็นโอกาสดีในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับวาติกัน การลงนามของกงสุลเอกในปี 1801 นั้นมีเนื้อหายอมรับว่าคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาของชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ศาสนาประจำชาติ นับแต่นั้นเป็นต้นมา นักบวชจะต้องอยู่ในความควบคุมของรัฐ ในการฟื้นฟูนิกายโรมันคาทอลิก ทำให้เกิดความกังขาว่า เป็นไปได้หรือที่จะเกิดการฟื้นฟูนิกายโรมันคาทอลิก ภายในระยะเวลาไม่ถึงสิบปีหลังจากที่หลวงยึดทรัพย์สินของโบสถ์ นโปเลียนสงวนท่าทีต่อหน้าสมเด็จพระสันตะปาปา เขาออกไปต้อนรับพระสันตะปาปาที่ป่าฟงแตนโบล โดยขี่ม้าไปและสวมชุดล่าสัตว์ ทำให้ฉากการพบปะดังกล่าวมีลักษณะเหมือนการพบกันโดยบังเอิญ และเช่นเดียวกัน ในปี 1804 จักรพรรดิมิได้เป็นผู้เดินทางไปประกอบพิธีขึ้นครองราชย์ที่กรุงโรมตามที่จักรพรรดิโรมันเคยกระทำ แต่เป็นพระสันตะปาปาที่ถูกเชิญมายังกรุงปารีสราวกับว่าเป็นนักบวชที่เดินทางมาแสวงบุญ

เราจะเห็นได้ว่า การที่นโปเลียนเข้าหาศาสนจักรนั้น เป็นไปเพื่อผลประโยชน์เฉพาะอย่าง (สร้างสัมพันธ์ระหว่างคาทอลิกกับฝรั่งเศส และทำให้จักรพรรดิมีฐานะเทียบเท่ากับกษัตริย์อย่างถูกต้อง) และเมื่อพระสันตะปาปามีท่าทีกระด้างกระเดื่องต่อคำสั่งของนโปเลียน เขาก็ไม่รอช้าที่จะขังพระสันตะปาปาไว้ในพระราชวังฟงแตนโบล

จักรวรรดิเรืองอำนาจ

แก้

ในปี 1804 ยังไม่ถึงเวลาแห่งการออกรบครั้งใหญ่เพื่อยึดครองดินแดน และจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งยึดติดกับแนวความคิดว่า สันติภาพอย่างถาวรจะมีได้ ต่อเมื่อปราบสหราชอาณาจักรลงได้เท่านั้น ได้ร่วมกับพลเรือเอกลาตุชเชอ-เตรวิลล์ (ผู้ซึ่งเสียชีวิตก่อนจะกระทำการสำเร็จ) วางแผนรุกรานเกาะอังกฤษ ซึ่งเป็นแผนที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จากการรบที่ยุทธนาวีทราฟัลการ์ กองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนที่บัญชาการโดยพลเรือโท วีลเนิฟว์ ถูกพลเรือโท ลอร์ด เนลสัน แห่งราชนาวีอังกฤษตีจนแตกพ่าย ทำให้สหราชอาณาจักร กลายเป็นมหาอำนาจทางทะเล นับแต่นั้นจวบจนในอีกหนึ่งศตวรรษต่อมา

 
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1บนพระราชอาสน์

ในปีเดียวกันนั้นเอง (1805) ได้มีการสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามในยุโรปขึ้นเพื่อต่อต้านจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทำให้จักรพรรดิผู้ซึ่งกำลังบัญชาการ จากเมืองบูลอญในฝรั่งเศส เพื่อเตรียมการบุกบริเตนใหญ่ ต้องเผชิญกับสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นในอีกฟากหนึ่งของทวีปยุโรปอย่างกะทันหัน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้รับสั่งให้ตั้งรับโดยทันที โดยบังคับให้นำทัพใหญ่ออกเดินเท้า และสัญญาว่าจะนำชัยชนะ ต่อพวกออสเตรียและรัสเซียมาให้จากยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ที่ได้ชื่อว่าเป็น "สงครามสามจักรพรรดิ"

ในปี 1806 สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ได้เริ่มต้นขึ้น ปรัสเซียได้ก่อเหตุพิพาทครั้งใหม่ โดยพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย ตัดสินพระทัยที่จะทำสงครามกับกองทัพฝรั่งเศสโดยลำพัง ตามตำนานเล่าว่านายพลคาร์ล ฟ็อน เคลาเซอวิทซ์ นักทฤษฎีทางทหารเคยเสนอแผนการรบที่ชาญฉลาด ซึ่งเป็นแผนการที่จักรพรรดินโปเลียนยังชื่นชม ในความรวดเร็วของการนำแนวคิดเรื่อง "จิตวิญญาณแห่งโลก" ของเฮเกิลมาใช้ แต่แผนรบดังกล่าวไม่ได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบัญชาการของกองทัพปรัสเซีย อย่างไรก็ดีกองทัพใหญ่ของนโปเลียนมีความได้เปรียบมาก เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้ชายแดนปรัสเซีย นโปเลียนจึงทรงลงมือโจมตีก่อนและได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยในยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท โดยกองทัพหลวงของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สามารถกวาดล้างกองทัพปรัสเซียในยุทธการที่เยนาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ในขณะที่จอมพลหลุยส์-นีกอลา ดาวูตีทัพใหญ่ของจอมพลดยุกแห่งเบราน์ชไวค์แตกพ่ายไปในสมภูมิที่เมืองเอาเออร์ชเต็ท แม้ว่าทัพหลวงของปรัสเซียจะมีจำนวนทหารเหนือกว่ากองทัพฝรั่งเศสที่นำโดยจอมพลหลุยส์-นีกอลา มากก็ตาม ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์บาดเจ็บสาหัสในที่รบ ทหารของปรัสเซียที่แตกมาจากยุทธการที่เยนาทะลักเข้ามาสู่ยุทธการที่เอาเออร์ชเต็ท นำไปสู่ความเสียขวัญและความพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด จอมพลดาวูจึงได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ให้เป็น ดยุกแห่งเอาเออร์ชเต็ท เพราะความชอบในครั้งนี้

แต่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ยังไม่หยุดแค่นั้น ในปีถัดมาพระองค์ได้ทรงเดินทัพข้ามโปแลนด์ โดยทรงสถาปนาดัชชีวอร์ซอขึ้นและให้พันธมิตรของฝรั่งเศสปกครอง จากนั้นนโปเลียนได้ยกกองทัพขึ้นเหนือเพื่อเผชิญหน้ากับกองทัพรัสเซีย นโปเลียนรบชนะกองทัพรัสเซียที่ยุทธการที่ฟรีทลันท์ในวันที่ 14 มิถุนายน 1807 ทางฝ่ายรัสเซียต้องขอยอมสงบศึก และนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาเมืองทิลสิทในเดือนกรกฎาคม 1807 กับจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย อันเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการแบ่งดินแดนยุโรปกันระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย สองมหาอำนาจในขณะนั้น เพื่อเป็นการข่มขวัญศัตรู (ฝรั่งเศสครองยุโรปตะวันตก และรัสเซียครองยุโรปตะวันออก โดยมีโปแลนด์อยู่ตรงกลาง)

นโปเลียนผู้ซึ่งได้รับการศึกษาจากโรงเรียนและครูบาอาจารย์ในระบอบเก่า ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายทหารในกองทัพหลวง ได้ทำลายกฎเกณฑ์ดั้งเดิมทางการทหารอย่างสิ้นเชิง ด้วยการไม่ริเริ่มสงครามที่กินเวลานานกว่าหนึ่งศตวรรษในการรบด้วยพลทหาร 30 ถึง 50,000 นาย แต่มองหาการรบที่สามารถเผด็จศึกได้อย่างเด็ดขาด ใช้ทหารกว่า 100,000 นายหากจำเป็น นั่นคือจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ไม่ต้องการจะเป็นผู้นำในยุทธการเท่านั้น แต่ต้องการจะบดขยี้ศัตรูอีกด้วย

ในปี 1808 จักรพรรดินโปเลียนสร้างระบบศักดินาของจักรวรรดิฝรั่งเศสให้แก่กลุ่มชนชั้นสูงที่แวดล้อมพระองค์ ไม่นานต่อมา บรรดานายพันและนายพลของนโปเลียนต่างได้รับยศขุนนาง เคานต์แห่งจักรวรรดิ เจ้าชายแห่งเนอชาแตล ดยุกแห่งเอาเออร์ชเต็ท ดยุกแห่งมองต์เบลโล ดยุกแห่งดันท์ซิช ดยุกแห่งเอลชิงเกน กษัตริย์แห่งนาโปลี ฯลฯ

จากกรุงอัมสเตอร์ดัมถึงกรุงโรม จักรวรรดิของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 70 ล้านคน โดยมีเพียง 30 ล้านคนเท่านั้นที่เป็นชาวฝรั่งเศส

ปฏิบัติการที่คาบสมุทรไอบีเรีย ออสเตรีย และรัสเซีย

แก้

เนื่องด้วยแนวคิดของอังกฤษที่จะกีดกันเรือสินค้าฝรั่งเศส จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เลยพยายามจะบังคับให้เกิดการกีดกันภาคพื้นทวีป โดยมีวัตถุประสงค์จะหยุดยั้งกิจกรรมทางการพาณิชย์ของอุตสาหกรรมอังกฤษ โปรตุเกส อันเป็นประเทศพันธมิตรของอังกฤษมาเป็นเวลาช้านาน ปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญานี้ จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จึงทรงขอความช่วยเหลือจากสเปนในการบุกโปรตุเกส ในที่สุดพระองค์ก็ได้รุกรานประเทศสเปน และตั้งโฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต พี่ชายขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองที่นั่น และโปรตุเกสก็ถูกจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รุกรานเช่นกันในปี 1807 ประชากรส่วนหนึ่งของสเปนที่คลั่งใคล้ในกลุ่มนักบวชได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านชาวฝรั่งเศส ในไม่ช้า กองพลทหารราบฝีมือเยี่ยมของอังกฤษ บัญชาการโดยว่าที่ดยุกแห่งเวลลิงตัน (อาร์เธอร์ เวลสลีย์) ก็ได้เคลื่อนทัพสู่สเปน โดยผ่านโปรตุเกสในปี 1808 และด้วยความช่วยเหลือของกลุ่มผู้รักชาติชาวสเปน ก็ได้ผลักดันกองทัพฝรั่งเศสออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย ในขณะที่กองทหารที่ฝีมือดีที่สุดของฝรั่งเศสกำลังปฏิบัติภารกิจอยู่ในสเปน ออสเตรียก็ได้บุกฝรั่งเศสอีกครั้งจากแถบเยอรมนี และถูกปราบลงอย่างราบคาบในยุทธการวากร็อง จอมพลลานส์ เพื่อนและผู้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ของจักรพรรดิจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมที่เมืองเอสลิง

หลังจากที่ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ได้รับการหนุนหลังจากชนชั้นสูงในรัสเซียที่เข้าข้างฝ่ายอังกฤษ ก็ได้ปฏิเสธที่จะร่วมมือกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในการโจมตีสหราชอาณาจักร จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งเชื่อว่าไม่มีทางหลีกเลี่ยงสงครามกับอังกฤษได้ ได้กรีฑาทัพบุกรัสเซียในปี 1812 กองทัพใหญ่ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ประกอบด้วยกองทัพพันธมิตรอิตาลี เยอรมนี และออสเตรียมีขนาดมหึมา มีทหารกว่า 600,000 นายที่ร่วมเดินทัพข้าม แม่น้ำนีเมน

กองทัพรัสเซียในบัญชาของจอมพลมีฮาอิล คูตูซอฟ ใช้กลยุทธ์ผลาญภพในการต้านการรุกรานของฝรั่งเศส การรบที่มอสโกเมื่อวันที่ 12 กันยายน ไม่มีผู้ใดแพ้ชนะ แม้ว่าพวกรัสเซียจะเป็นฝ่ายทิ้งชัยภูมิ แต่ทั้งสองฝ่ายก็เสียทหารไปในจำนวนพอกัน

วันรุ่งขึ้นหลังจากกองทัพฝรั่งเศสเคลื่อนทัพเข้ากรุงมอสโก ก็พบว่ามอสโกกลายเป็นเมืองร้าง เมื่อฝรั่งเศสตายใจ พวกรัสเซียได้จุดไฟเผากรุงมอสโกในทันที ทำให้จักพรรดินโปเลียนที่ 1 ต้องถอยทัพ ฤดูหนาวอันโหดร้าย กำลังจะมาเยือนดินแดนแถบรัสเซียในอีกเพียงไม่กี่วัน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่คาดว่าจะมีความเคลื่อนไหวจากซาร์ซาร์ได้ชะลอการถอยทัพไปจนถึงนาทีสุดท้าย

กองทัพฝรั่งเศสได้ถอยทัพอย่างทุลักทุเลไปทางเยอรมนี ในช่วงฤดูหนาวของรัสเซีย ผ่านดินแดนที่เคยเป็นทางผ่านตอนขามาและถูกโจมตีเสียย่อยยับ ในจำนวนทหารเกือบ 500,000 นายที่เข้าร่วมรบ มีเพียงหมื่นกว่านายที่สามารถข้ามแม่น้ำเบเรซินากลับมาได้ แถมยังถูกกองทัพรัสเซียดักโจมตี กองทัพใหญ่ของจักพรรดินโปเลียนที่ 1 ต้องถึงกาลล่มสลายเนื่องด้วยไม่รู้จักพื้นที่ดีพอ

หลังจากที่ได้ใจจากข่าวความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในรัสเซีย กษัตริย์ยุโรปหลายพระองค์ได้แปรภักดิ์จากฝ่ายจักพรรดินโปเลียนที่ 1 และยกทัพมารบกับฝรั่งเศส จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งถูกคนในกองทัพของพระองค์เองทรยศ ได้พบกับความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงที่ยุทธการที่ไลพ์ซิจ หรือที่รู้จักในนามของ สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หก ซึ่งกองทัพฝรั่งเศส 200,000 นายปะทะกับกองทัพพันธมิตร 500,000 นาย (รัสเซีย ออสเตรีย เยอรมนี สวีเดน) จอมพลยูแซฟ อันตอญี ปอญาตอฟสกี เจ้าชายแห่งโปแลนด์และพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของโปแลนด์ ได้สิ้นพระชนม์ลงในการรบครั้งนี้ หลังจากพยายามนำทหารของพระองค์ข้ามแม่น้ำเอลสเตอร์ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 100,000 คน

 
อาณาเขตของจักรวรรดิฝรั่งเศสในช่วงปี 1811 สีม่วงหมายถึงฝรั่งเศสแผ่นดินแม่ สีม่วงอ่อนหมายถึง รัฐในอารักขาของฝรั่งเศส

ความพ่ายแพ้ในฝรั่งเศส

แก้

ในปี 1814 สหราชอาณาจักร, รัสเซีย, ปรัสเซีย และออสเตรีย ได้ร่วมเป็นพันธมิตร แม้ว่าจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จะมีชัยอย่างไม่น่าเชื่อในการรบที่ ฌองโปแบร์ และมองต์มิไรล์ ด้วยการนำทัพทหารใหม่ขาดประสบการณ์ (กองทัพมารี หลุยส์ ที่ตั้งชื่อตามจักรพรรดินีมารี หลุยส์ มเหสีในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1) กรุงปารีสถูกตีแตกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม และบรรดาจอมพลรวมตัวโน้มน้าวให้จักรพรรดินโปเลียนสละราชสมบัติ

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงคิดว่าฝ่ายพันธมิตรจะแยกเขาออกจากจักรพรรดินี และนโปเลียนที่ 2 กษัตริย์แห่งโรม พระโอรสของพระองค์ ดังนั้น ในคืนวันที่ 12 และเช้าวันที่ 13 เมษายน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้เสวยยาพิษไปในปริมาณที่จะปลิดชีพพระองค์เอง ยาพิษดังกล่าวคือฝิ่นผสมกับน้ำเล็กน้อย มีคนบอกพระองค์ว่าส่วนผสมดังกล่าวมีพิษมากพอที่จะฆ่าคนได้ถึงสองคน นโปเลียนเลือกที่จะฆ่าตัวตายด้วยวิธีนี้เพราะเชื่อว่าศพของตนจะต้องถูกประจานให้คนฝรั่งเศสดู พระองค์ต้องการให้ข้าราชบริพารของพระองค์จำพระพักตร์ที่เรียบเฉยได้ เช่นเดียวกับที่เคยเห็นพระองค์ในยุทธการ

หลังจากผ่านพ้นเวลาเที่ยงคืนมาอย่างทุกข์ทรมาน จักรพรรดิก็บ่นว่าส่วนผสมฝิ่นของพระองค์ออกฤทธิ์ช้าไป นโปเลียนประกาศต่อหลุยส์ เดอ โกแล็งกูร์ ว่า "ข้าตายด้วยความทุกข์ ข้าทุกข์ที่มีรัฐธรรมนูญที่ยืดชีวิตออกไปและทำให้ข้าจบชีพช้ากว่าเดิม!"

อาการคลื่นเหียนอาเจียนของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รุนแรงขึ้นทุกทีจนไม่อาจกลั้นอาเจียนไว้ได้อีกต่อมา จนกระทั่งอาเจียนออกมาอย่างรุนแรง พระองค์ทรงทุกข์ทรมานอย่างไม่สิ้นสุดจนกระทั่งนายแพทย์อีวองมาถึง จักรพรรดินโปเลียนทรงขอให้แพทย์ถวายยาพิษอีกขนานเพื่อจะได้สวรรคตเสียที แต่นายแพทย์ปฏิเสธโดยกราบทูลว่าเขาไม่ใช่ฆาตกรและเขาจะไม่ยอมทำในสิ่งที่ขัดต่อสามัญสำนึกของตนอย่างเด็ดขาด

ความทรมานของจักรพรรดิยังคงดำเนินต่อไป โกแล็งกูร์ออกจากห้องและบอกให้ข้าราชบริพารเงียบเสียง นโปเลียนเรียกโกแล็งกูร์และบอกว่าพระองค์ยอมตายเสียดีกว่ายอมลงนามในสนธิสัญญา และแล้วยาพิษก็คลายฤทธิ์ลง และพระองค์ก็สามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ในที่สุด แต่ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเหตุใดองค์จักรพรรดิจึงรอดชีวิตมาได้จากการกลืนฝิ่นในปริมาณขนาดนั้น ไม่กระเพาะของพระองค์ขย้อนออกมา ไม่ก็ยาพิษได้เสื่อมฤทธิ์ลงไปเอง

ท้ายที่สุด นโปเลียนเนรเทศตนเองเองไปยังเกาะเอลบาตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาฟงแตนโบล โดยยังทรงดำรงพระยศเป็นจักรพรรดิ และมีอำนาจการปกครองเฉพาะบนเกาะแห่งนี้

คืนสู่อำนาจเป็นเวลาร้อยวัน

แก้

ที่ประเทศฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทรงขับจักรพรรดินโปเลียนที่ 2 และขึ้นครองราชย์แทน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เป็นกังวลเกี่ยวกับชะตากรรมของพระมเหสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งของพระโอรสของพระองค์ที่ตกอยู่ในเงื้อมมือของพวกออสเตรีย รัฐบาลฝรั่งเศสที่ฝักใฝ่ระบอบกษัตริย์ปฏิเสธจะจ่ายค่าเลี้ยงดูให้ตามสัญญาในที่สุด และมีข่าวลือว่าเขากำลังจะถูกส่งตัวไปยังเกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก

ดังนั้น จักรพรรดินโปเลียนที่หลบหนีออกจากการคุมขังบนเกาะเอลบา ได้ขึ้นสู่ฝั่งบนแผ่นดินฝรั่งเศสใกล้กับเมืองคานส์ เมื่อเดือนมีนาคม 1815 กองทัพที่ถูกส่งไปจับกุมตัวเขากลับมาต่างโห่ร้องต้อนรับเยี่ยงวีรบุรุษตลอดเส้นทางจากชายฝั่งริเวียราฝรั่งเศส ขึ้นมายังเมืองลียอง ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถูกเรียกว่า "ถนนสายจักรพรรดินโปเลียนที่ 1" ไปแล้ว จอมพลมิเชล ไนยผู้ซึ่งได้สาบานต่อหน้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ว่าจะนำจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 กลับมาในกรงเหล็ก ก็รู้สึกโอนอ่อนเข้าหาฝ่ายจักรพรรดิเดิมของตน (หลังที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เดินอย่างอุกอาจเข้าไปประกาศต่อฝูงชนว่า "ทหารแห่งกองพล 5 เราคือจักรพรรดิของพวกเจ้า พวกเจ้าก็รู้จักเราดีอยู่แล้วมิใช่หรือ ถ้าหากมีใครในหมู่พวกเจ้าทั้งหลายมาเพื่อที่จะจับจักรพรรดิของเจ้า เราก็อยู่ที่นี่แล้ว") ทำให้เขากลายเป็นจอมพลคนเดียวที่ถูกจับกุมในข้อหาทรราชย์ หลังจากการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ครั้งที่สอง จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เดินทางถึงกรุงปารีสอย่างง่ายดาย ช่วงเวลา"คืนสู่อำนาจเป็นเวลาร้อยวัน" เริ่มต้นขึ้น แต่ความล้มเหลวก็เกิดขึ้นซ้ำรอย กองทัพของเขาพ่ายการรบกับอังกฤษและปรัสเซียที่ยุทธการวอเตอร์ลู ในเบลเยียม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1815 จอมพลกรูชีไม่สามารถต้านทานกองทัพร่วมระหว่างอังกฤษและปรัสเซียได้ เนื่องจากเป็นทัพหลวงที่ยกมา

ถูกเนรเทศไปเกาะเซนต์เฮเลนา และกำเนิดของตำนาน

แก้
 
พระบรมอัฐิของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ถูกฝังไว้ที่สุสานแองวาลีด ในกรุงปารีส

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงถูกขัง และถูกอังกฤษส่งตัวไปยังเกาะเซนต์เฮเลนา ตามบัญชาการของเซอร์ฮัดสัน โลว พร้อมกับนายทหารที่ยังจงรักภักดีบางส่วน รวมถึงเคานต์ลาส กาสด้วย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงใช้เวลาบนเกาะเซนต์เฮเลนา ทรงอุทิศให้กับการเขียนบันทึกความทรงจำของพระองค์ ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเมษายน 1821 พระองค์ได้ทรงเขียนพระราชพินัยกรรม และหมายเหตุพระราชพินัยกรรมหลายฉบับด้วยพระองค์เอง รวมกว่าสี่สิบหน้าด้วยกัน คำพูดสุดท้ายของพระองค์ก่อนสิ้นใจได้แก่ "...ฝรั่งเศส...กองทัพ...โฌเซฟีน" (France, armée, Joséphine) หรือจากที่บันทึกไว้ใน "จดหมายเหตุเกาะเซนต์เฮเลนา" คือ "...ศีรษะ...กองทัพ...พระเจ้า!"

ในปี 1995 จดหมายเหตุของเคานต์ลุยส์ มาร์ชองด์ ข้ารับใช้ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ถูกตีพิมพ์ เขาได้เขียนเล่าเหตุการณ์ ช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายก่อนจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จะสวรรคต และหลายคนเชื่อว่าพระองค์ถูกลอบวางยาพิษด้วยสารหนู ในปี 2001 ปาสคาล คินท์ แห่งสถาบันกฎหมายเมืองสทราซบูร์ได้ทำการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ ด้วยการศึกษาหาระดับสารหนูในเส้นพระเกศา (ผม) ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ภายหลังจากที่พระองค์สวรรคต ซึ่งก็พบว่ามีสารหนูอยู่เกินกว่าระดับปกติ 7 ถึง 38 เท่า การวิเคราะห์ของนิตยสาร วิทยาศาสตร์และชีวิต ได้แสดงให้เห็นว่า สามารถพบสารหนูในระดับความเข้มข้นเท่ากันจากตัวอย่างที่เก็บได้มาจากปี 1805, 1814 และ 1821 ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึง ธรรมเนียมในสมัยนั้นที่นิยมสวมวิกผมพ่นทับด้วยแป้งผง ยิ่งไปกว่านั้น เราอาจเชื่อในการวิเคราะห์ของนักวิจัยชาวสวิสที่บอกว่า จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สวรรคตจากพระโรคมะเร็งในกระเพาะ แม้ว่าจักรพรรดิจะมีพระวรกายค่อนข้างเจ้าเนื้อก่อนสวรรคต (น้ำหนัก 75.5 ก.ก. ส่วนสูง 167 ซ.ม.) นักวิจัยยังได้สำรวจกางเกงที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สวมใส่ในสมัยนั้น และสามารถระบุได้ว่าพระองค์มีน้ำหนักลดลงถึง 11 ก.ก. ภายในเวลา 5 เดือนก่อนการสวรรคต สมมติฐานดังกล่าวเคยถูกกล่าวว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีพระวรกายใหญ่เกินกว่าที่จะเป็นคนป่วยด้วยโรคมะเร็ง

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ทรงขอให้ฝังพระบรมศพของพระองค์ไว้ริมฝั่งแม่น้ำแซน แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1821 พระบรมศพของพระองค์ได้ถูกปลงที่เกาะเซนต์เฮเลนา ในปี 1840 พระบรมอัฐิได้ถูกเชิญกลับมายังประเทศฝรั่งเศสด้วยการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ และได้ถูกฝังไว้ที่ออแตลเดแซ็งวาลีดในกรุงปารีส โดยใส่ไว้ในโถที่ทำด้วยหินเนื้อดอก (อันเป็นของขวัญที่รัสเซียมอบให้แก่ฝรั่งเศส)

มุมมองร่วมสมัยที่มีต่อนโปเลียน

แก้
  • ชัปตาล: นโปเลียนได้ใช้พระองค์เองเป็นจดหมายเหตุเพื่อทำสงครามกับศัตรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพวกอังกฤษ พระองค์ได้ทรงเขียนบันทึกทุกฉบับด้วยพระองค์เอง สำหรับให้ลงในหนังสือพิมพ์ le Moniteur เพื่อตอบโต้บทวิจารณ์ที่ขมขื่นและข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นจริงที่ได้ถูกตีพิมพ์ไว้ในหนังสือพิมพ์อังกฤษ เมื่อพระองค์ได้ทรงตีพิมพ์บันทึกฉบับหนึ่ง พระองค์ทรงเชื่อว่าสามารถโน้มน้ามผู้อ่านได้แล้ว เราคงจำกันได้ว่าบันทึกส่วนใหญ่ไม่ใช่ต้นแบบที่ดีของงานเขียน หรือตัวอย่างที่ดีของวรรณกรรม แต่พระองค์ก็มิได้ทรงตีพิมพ์อะไรที่แสดงให้เห็นถึงบุคลิกของพระองค์ หรือความสามารถที่พระองค์มีเอาไว้เลย

ผลงานของนโปเลียน โบนาปาร์ต

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส
 
พระราชลัญจกร
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลยัว อิมพีเรียล มาเจสตี
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้านโปเลียนแห่งอิตาลี
 
พระราชลัญจกร
การทูลยัว มาเจสตี

ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งกงสุลเอก

แก้

ในช่วงที่เป็นจักรพรรดิ

แก้

ครอบครัว

แก้

การสมรสและโอรสธิดา

แก้

นโปเลียนสมรสสองครั้ง :

  • เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 1796 (เมื่อครั้งยังเป็นนายพลก่อนออกปฏิบัติการในอียิปต์) ได้เข้าพิธีสมรสกับนางโฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน แม่ม่ายลูกติดชาวฝรั่งเศสเชื้อสายเบเก จากหมู่เกาะมาร์ตีนีก ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสในพิธีขึ้นครองราชย์ของนโปเลียน เนื่องจากนางมีอายุมากแล้วจึงไม่สามารถมีโอรสธิดาให้กับนโปเลียนได้ ซึ่งการที่องค์จักรพรรดิไร้ซึ่งผู้สืบทอดบัลลังก์ดังกล่าวถูกมองว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของจักรวรรดิ การสมรสครั้งนี้จึงจบลงด้วยการหย่าร้าง
  • เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 1810 ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรส (โดยฉันทะ) กับอาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย เพื่อเป็นการสานสัมพันธไมตรีและหลีกเลี่ยงสงครามกับ อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์ได้ให้กำเนิดพระราชโอรสหนึ่งพระองค์ ได้แก่ นโปเลียนที่ 2 ทรงได้รับการแต่งตั้งจากนโปเลียนให้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์แห่งกรุงโรม ดยุกแห่งไรช์ชตาดท์ แต่เรามักจะเรียกพระองค์ว่านโปเลียนที่ 2 เสียมากกว่า แม้ว่าพระองค์จะไม่เคยขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสอย่างแท้จริงเลยก็ตาม ถ้าจะว่ากันตามทฤษฎีแล้ว รัชสมัยของพระองค์กินระยะเวลาเพียง 15 วัน ระหว่างวันที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ถูกบังคับให้สละพระราชบัลลังก์ครั้งแรก จนกระทั่งมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง พระฉายานามว่า เหยี่ยวน้อย นั้นมาจากบทกวีของวิคเตอร์ มารี อูโก ที่ประพันธ์ขึ้นในปี 1852

นโปเลียนยังมีบุตรนอกสมรสอีกอย่างน้อยสองคน ซึ่งทั้งสองคนนั้นต่างก็มีทายาทสืบต่อมา:

และจากแหล่งข้อมูลที่ยังเป็นที่ถกเถียงกัน:

  • เอมิลลี ลุยส์ มารี ฟร็องซวส โฌซฟีน เปลลาปรา บุตรสาวของฟร็องซัวส-มารี เลอรัว
  • คาร์ล ยูจัง ฟอน มูห์ลเฟลด์ บุตรชายของวิคตอเรีย โครส์
  • เอเลน นโปเลโอน โบนาปาร์ต บุตรสาวของเค้าน์เตสมองโตลอง
  • จูลส์ บาร์เธเลมี-ซังต์-ติแลร์ (ชาตะ 19 สิงหาคม 1805 มรณะ 24 พฤศจิกายน 1895) โดยไม่ทราบว่ามารดาของเขาเป็นใคร

พี่น้องของนโปเลียน

แก้

หลานชาย-หญิง

แก้

เชื้อสายของนโปเลียนที่โด่งดัง

แก้

หนังสือชีวประวัติเกี่ยวกับนโปเลียน

แก้

ภาพยนตร์เกี่ยวกับนโปเลียน

แก้

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. McLynn 1998, p.6
  2. McLynn 1998, p.2
  3. Cronin 1994, p.20–21
  4. Cronin 1994, p.27
  5. Roberts 2001, p.xvi
  6. Asprey 2000, p.13
  7. McLynn 1998, p.55
  8. ต้นฉบับในภาษาฝรั่งเศส: "Citoyen,la Révolution est fixée aux principe qui l'avait commencée elle est finie!"
  9. Lyons 1994, p. 111
  10. ต้นฉบับในภาษาฝรั่งเศศ: "J'ai trouvé une couronne dans le ruisseau, j'ai essuyé la boue qui la couvrait, je l'ai mise sur ma tête."

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ถัดไป
สาธารณรัฐที่ 1
ลำดับก่อนหน้าโดย
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ในฐานะกษัตริย์
   
จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส
(18 พฤษภาคม 1804 – 11 เมษายน 1814)
  พระเจ้าหลุยส์ที่ 18
ในฐานะกษัตริย์
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18
ในฐานะกษัตริย์
   
จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส
(สมัยร้อยวัน)

(20 มีนาคม – 22 มิถุนายน 1815)
  นโปเลียนที่ 2
ไม่เสวยราชย์
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18
ในฐานะกษัตริย์
จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์    
กษัตริย์แห่งอิตาลี
(17 มีนาคม 1805 – 11 เมษายน 1814)
  พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2
ราชอาณาจักรอิตาลียุคใหม่