คณะดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศส

คณะดีแร็กตัวร์ (ฝรั่งเศส: Directoire) เป็นคณะกรรมการบริหารแผ่นดินจำนวนห้าคน ซึ่งทำหน้าที่เป็นรัฐบาลสูงสุดของสาธารณรัฐที่ 1 ตั้งแต่ 26 ตุลาคม 1795 จนกระทั่งถูกรัฐประหารเมื่อ 10 พฤศจิกายน 1799

คณะดีแร็กตัวร์บริหาร

Directoire exécutif
ฝ่ายบริหารแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่หนึ่ง
ประวัติ
สถาปนา2 พฤศจิกายน 1795
ยุบ10 พฤศจิกายน 1799
ก่อนหน้าคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม
ถัดมาคณะกงสุลฝรั่งเศส

ภูมิหลัง

แก้

เมื่อเผด็จการรอแบ็สปีแยร์ถูกโค่นลงจากอำนาจในวันที่ 27 กรกฎาคม 1794 ที่ประชุมใหญ่แห่งชาติจัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญและและตั้งคณะรัฐบาลใหม่ ในที่สุดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ถูกตราขึ้นในเดือนสิงหาคม 1795 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยึดหลักการการแยกใช้อำนาจ มีการจัดตั้งสภาห้าร้อยและสภาผู้อาวุโส มีกลไกการป้องกันใหม่ให้อำนาจถูกผูกขาดโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดีแร็กตัวร์ถูกเลือกโดยสัดส่วนสมาชิกสภาห้าร้อย แต่สภาห้าร้อยไม่มีอำนาจถอดถอนดีแร็กตัวร์เว้นแต่ดีแร็กตัวร์กระทำการละเมิดกฎหมาย[1] ดีแร็กตัวร์มีอำนาจบริหารเท่านั้น ไม่มีสิทธิตรากฎหมายและกำหนดภาษี การใช้ระบบดีแร็กตัวร์ทำให้กรุงปารีสเสียอิทธิพลทางการเมืองอย่างมาก

ฝรั่งเศสภายใต้รัฐบาลดีแร็กตัวร์ได้กระทำสงครามกับต่างชาติทั้ง บริเตนใหญ่, ออสเตรีย, ปรัสเซีย, นาโปลี, รัสเซีย และออตโตมัน ต่อมาเมื่อนายพลนโปเลียนสามารถยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ของอิตาลี ฝรั่งเศสก็ปผนวกเบลเยียมและฝั่งซ้ายของแม่น้ำไรน์เป็นส่วนหนึ่งของตนเอง รัฐบาลดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศสได้ขยายระบอบสาธารณรัฐเข้าไปในหลายประเทศ มีการล้มล้างราชรัฐเล็กน้อยมากมายในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ และจัดตั้งเป็นสาธารณรัฐ นอกจากนี้ รัฐบาลดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศสยังบุกยึดครองอียิปต์และเดินทัพไปซีเรีย นำไปสู่กระแสตื่นวัฒนธรรมไอยคุปต์โบราณในฝรั่งเศส

คณะดีแร็กตัวร์หมดอำนาจเมื่อนายพลนโปเลียน โบนาปาร์ต ลงมือก่อรัฐประหารเดือนบรูว์แมร์ ในปี 1799 และถูกแทนที่ด้วยคณะกงสุลฝรั่งเศส

อ้างอิง

แก้
  1. Jean Tulard, Jean-François Fayard, Alfred Fierro, Histoire et dictionnaire de la Révolution française, Robert Laffont, Paris, 1998, pp. 198–199. (In French)