ที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ[หมายเหตุ ก] (ฝรั่งเศส: Convention nationale) เป็นรัฐสภาของคณะปฏิวัติฝรั่งเศสสืบต่อจากสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติที่มีอายุ 2 ปี และสภานิติบัญญัติที่มีอายุ 1 ปี ที่ประชุมใหญ่แห่งชาติจัดตั้งขึ้นหลังจากเกิดกบฏ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1792 และถือเป็นคณะปกครองประเทศฝรั่งเศสคณะแรกภายใต้ระบอบสาธารณรัฐ และเป็นจุดสิ้นสุดของระบอบกษัตริย์ในประเทศฝรั่งเศส ที่ประชุมใหญ่แห่งชาติทำหน้าที่เป็นองค์กรนิติบัญญัติที่มีสภาเดียวตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 ถึงวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1795 (อันตรงกับวันที่ 4 เดือนบูรว์แมร์ ปี 4 ตามปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศส) สมาชิกที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ เรียกว่า ผู้แทน (ฝรั่งเศส: député)
ที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ | |
---|---|
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 | |
Autel de la Convention nationale | |
ประเภท | |
ประเภท | สภาเดียว |
ประวัติ | |
สถาปนา | 20 กันยายน ค.ศ. 1792 |
ยุบ | 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1795 |
สมาชิก | 850 คน |
ที่ประชุม | |
พระราชวังตุยเลอรี กรุงปารีส |
ที่ประชุมใหญ่แห่งชาติเกิดขึ้นเมื่อสภานิติบัญญัติประกาศระงับสถานะของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไว้เป็นการชั่วคราว และเปิดการประชุมใหญ่แห่งชาติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แบบที่ไม่มีกษัตริย์ สภานิติบัญญัติยังประกาศให้ผู้แทนฯมาจากการเลือกตั้งของประชาชนชาวฝรั่งเศสทั้งปวงที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ของตนมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งปี และดำรงชีพด้วยผลแห่งแรงงานของตน ดังนั้น ที่ประชุมใหญ่แห่งชาติจึงเป็นสภาแห่งแรกของประเทศฝรั่งเศสที่มาจากการเลือกตั้งแบบถ้วนหน้าโดยไม่มีแบ่งแยกชนชั้น[1]
แม้ว่าที่ประชุมใหญ่แห่งชาติจะดำรงอยู่จนถึง ค.ศ. 1795 แต่ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 1793 เป็นต้นมา อำนาจที่แท้จริงนั้นถูกดึงมาจากบรรดาผู้แทนและไปรวมศูนย์อยู่ที่คณะกรรมาธิการความปลอดภัยสาธารณะ ตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1793 ไปจนถึงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1794 อันเป็นช่วงที่มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ และพวกเข้ามามีอำนาจเหนือคณะกรรมการดังกล่าวนั้น เป็นช่วงเวลาแห่งความรุนแรงและนองเลือดที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์การปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งรู้จักกันว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ต่อมาเมื่อรอแบ็สปีแยร์ถูกโค่นจากอำนาจ ที่ประชุมใหญ่แห่งชาติก็ดำรงอยู่ต่อมาอีกหนึ่งปี จนมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่นำไปสู่ระบอบการปกครองของคณะดีแร็กตัวร์
หมายเหตุ
แก้หมายเหตุ ก ในภาษาไทยมีการแปลหลายอย่าง เช่น สภาแห่งชาติ[2] และ สภาแห่งประชาชาติ[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ Anchel 1911.
- ↑ ไชยันต์ ไชยพร (2564-08-05). ""ไชยันต์ ไชยพร " ไขคำตอบ! ทำไม "ม็อบสามนิ้ว" ต้องนัดบุกวัง 7 สิงหา". สยามรัฐ. กรุงเทพฯ: บริษัท สยามรัฐ จำกัด. สืบค้นเมื่อ 2565-10-02.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อาทิตย์ทิพอาภา, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (2477). ประวัติศาสตร์สมัยการปฏิวัตร์ฝรั่งเศส และสมัยนโปเลียนโบนาปารฺต ภาคที่ 1. พระนคร: โรงพิมพ์เจตนาผล. p. 229.