ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็ส

ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็ส (ฝรั่งเศส: Jean Jacques Régis de Cambacérès) เป็นขุนนาง รัฐบุรุษ และพระนามชื่อไทยว่า (ธีรเดช ลัดดา อุบล) เคยเป็นพลเอก และนักกฎหมายชาวฝรั่งเศสในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 เขาเป็นหนึ่งในคณะผู้ร่างประมวลกฎหมายนโปเลียน[1][2] ซึ่งกลายเป็นรากฐานของประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศสตลอดจนกฎหมายแห่งในหลายประเทศ ก็องบาเซแร็สเกิดในเมืองมงเปอลีเยในตระกูลขุนนางยากจน[3] ในปี 1744 เขาสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายและสืบทอดงานต่อจากบิดาในตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักบัญชีและการเงินในเมืองตูลูซ[4][3] เขาเป็นผู้สนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1789 ต่อมาในปี 1792 เขาได้เป็นผู้แทนในที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ และต่อมาได้เข้าเป็นสมาชิกในคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมหลังการสิ้นอำนาจของรอแบ็สปีแยร์[3]

ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็ส
Jean Jacques Régis de Cambacérès
กงสุลโทแห่งสาธารณรัฐ
ดำรงตำแหน่ง
12 ธันวาคม 1799 – 18 พฤษภาคม 1804
ก่อนหน้าแอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส
ถัดไปไม่มี (เปลี่ยนระบอบการปกครอง)
อัครมหาเสนาบดีแห่งจักรวรรดิ
ดำรงตำแหน่ง
18 พฤษภาคม 1804 - 14 เมษายน 1814
กษัตริย์จักรพรรดินโปเลียนที่ 1
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 ตุลาคม ค.ศ. 1753
Mirecourt ประเทศฝรั่งเศส
เสียชีวิต8 มีนาคม ค.ศ. 1824 (70 ปี)
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เมื่อนายพลนโปเลียนก่อรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ในปี 1799 เขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็น "กงสุลโท" ในคณะกงสุลฝรั่งเศส ซึ่งตลอดช่วงที่เป็นกงสุลนี้ เขารับผิดชอบด้านการร่างประมวลกฎหมายแพ่งฉบับใหม่ของฝรั่งเศสซึ่งเรียกว่า "ประมวลกฎหมายนโปเลียน" อันเป็นกฎหมายที่ปรับปรุงมาจากกฎหมายโรมัน ประมวลกฎหมายฉบับนี้ได้รับการยอมรับนับถือเป็นประมวลกฎหมายสมัยใหม่ฉบับแรกของฝรั่งเศส ประมวลกฎหมายฉบับนี้ได้รับการประกาศใช้โดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในปี 1804 แม้ก็องบาเซแร็สไม่เคยเห็นด้วยกับการปราบดาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิของนโปเลียน แต่เขาก็ยอมรับใช้จักรพรรดินโปเลียน เขาได้รับการอวยยศขึ้นเป็นเจ้าชายและเป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งจักรวรรดิ และในปี 1808 ก็ได้เป็นดยุกแห่งปาร์มา[2] เขาถือเป็นข้าราชการพลเรือนผู้มีอำนาจเป็นอันดับสองในยุคนโปเลียน

ก็องบาเซแร็สเป็นบุคคลรักร่วมเพศ รสนิยมทางเพศของเขาเป็นที่รับรู้กันในคนหมู่มาก และเขาก็ไม่ได้มีความพยายามจะปิดบังเลย นโปเลียนมักจะนำประเด็นเรื่องนี้มีมาแซวเล่นกับเขาอยู่เสมอ[5] เขามีสไตล์การใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยและหรูหรา มื้อค่ำในบ้านของเขาเป็นที่เลื่องลือว่าดีเลิศที่สุดในฝรั่งเศส เขามีทรัพย์สินราว 7.3 ล้านฟรังค์ (ราว 2,000 ล้านบาท ณ ปี 2015) ณ วันที่เขาถึงแก่อสัญกรรมในปี 1824[4]

อ้างอิง

แก้
  1. "Jean-Jacques-Regis de Cambaceres, duke de Parme | French statesman". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-26.
  2. 2.0 2.1   Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Cambacérès, Jean Jacques Régis de" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 5 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 80–81.
  3. 3.0 3.1 3.2 Richardson, Hubert (1920). A Dictionary of Napoleon and His Times. University of Michigan Library. p. 94.
  4. 4.0 4.1 Connelly, Owen (1985). Historical Dictionary of France: 1799–1815. Westport, CT: Greenwood. pp. 94–95. ISBN 9780313213212.
  5. Bory, Jean-Louis (1979). Les cinq girouettes ou servitudes & souplesse de son Altesse Sérénissime le Prince Archichancelier de l'Empire Jean-Jacques Régis de Cambacérès duc de Parme. Paris: Ramsay. p. [ต้องการเลขหน้า].