ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์

(เปลี่ยนทางจาก ยุทธนาวีทราฟัลการ์)

ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ (อังกฤษ: Battle of Trafalgar, 21 ตุลาคม ค.ศ. 1805) เป็นการกระทำยุทธนาวีระหว่าง ราชนาวีอังกฤษกับกองเรือผสมของกองทัพเรือฝรั่งเศสร่วมกับกองทัพเรือสเปน ในช่วงสงครามประสานมิตรครั้งที่สาม (สิงหาคม-ธันวาคม 1805) ใน สงครามนโปเลียน (1803–1815)

ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์
ส่วนหนึ่งของ สงครามประสานมิตรครั้งที่สามในสงครามนโปเลียน

ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์
วันที่21 ตุลาคม ค.ศ. 1805
สถานที่
ผล ชัยชนะของอังกฤษ
นโปเลียนเดินทัพไปทางตะวันออก
คู่สงคราม
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศส
สเปน จักรวรรดิสเปน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร โฮราชิโอ เนลสัน  
สหราชอาณาจักร คุทเบิร์ท คอลลิงวูด
ฝรั่งเศส ปีแยร์-ชาร์ล วีลเนิฟว์ (เชลย)
สเปน เฟเดริโก กราบินา (บาดเจ็บตาย)
กำลัง
33 เรือรบ
(27 ลำในกระบวนรบ)
18,500 นาย
41 เรือรบ
(33 ลำในกระบวนรบ)
26,000 นาย
ความสูญเสีย

458 เสียชีวิต
1,208 บาดเจ็บ


ทั้งหมด: 1,666[1]

ฝรั่งเศส:
10 เรือถูกยึด,
1 เรืออัปปาง,
2,218 ตาย,
1,155 บาดเจ็บ,
4,000 ถูกจับกุม[2]

สเปน:
11 เรือถูกยึด,
1,025 ตาย,
1,383 บาดเจ็บ,
4,000 ถูกจับกุม[2]

ผลพวง:
เชลยราว 3,000 คน จมน้ำจากพายุหลังจากการสู้รบ


ทั้งหมด: 13,781

กองเรือราชนาวีอังกฤษที่มีเรือรบแนวเส้นประจัญบาน 27 ลำภายใต้บัญชาการของพลเรือโทลอร์ดเนลสัน สามารถมีชนะเหนือกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปน 33 ลำ ภายใต้บัญชาการของ พลเรือโท ปีแยร์-ชาร์ล วีลเนิฟว์ แห่งกองทัพเรือฝรั่งเศส ที่ชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของสเปน ทางตะวันตกของแหลมตราฟัลการ์ ซึ่งกองเรือฝรั่งเศสสูญเสียเรือรบไปถึง 22 ลำโดยที่ไม่สามารรถจมเรือรบอังกฤษแม้แต่ลำเดียว

ชัยชนะที่งดงามของอังกฤษครั้งนี้เป็นการยืนยันฐานะของราชนาวีอังกฤษที่ได้สั่งสมมาตลอดศตวรรษที่ 18 ในฐานะกองทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพที่สุด

จุดเริ่มต้น

แก้

หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ภายใต้การนำของ จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต กลายเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการทหารโดดเด่นไปทั่วทวีปยุโรป นโปเลียนต้องการจะบุกเกาะอังกฤษเนื่องด้วยเชื่อว่าอังกฤษนั้นมีกองทัพบกที่อ่อนแอ และอังกฤษถือเป็นภัยคุกคามที่น่าเกรงสำหรับฝรั่งเศส เพราะอังกฤษมีกองทัพเรือที่ขึ้นชื่อว่าทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก ที่กองเรือฝรั่งเศสเคยพ่ายแพ้มาแล้วอย่างหมดท่า ซึ่งด้วยราชนาวีอังกฤษนี้เองทำให้อังกฤษมีศักยภาพพอที่จะโจมตีฝรั่งเศสรวมไปถึงประเทศใกล้เคียงได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นแล้วฝรั่งเศสจึงหันไปร่วมมือกับสเปนที่เป็นพันธมิตร ซึ่งกองทัพเรือสเปนก็จัดว่าน่าเกรงขาม

เหตุการณ์

แก้

ก่อนการปะทะ

แก้

ราชนาวีอังกฤษสามารถปิดล้อมทะเลของฝรั่งเศสได้ ซึ่งนั่นเองส่งผลกระทบต่อการพาณิชย์ของฝรั่งเศสอย่างมาก ฝรั่งเศสเองก็เร่งระดมทรัพยากรป้อนกองทัพเรืออย่างมหาศาล กองทัพเรือฝรั่งเศสสามารถฝ่าวงล้อมของราชนาวีอังกฤษไปรวมกับกองเรือสเปนที่คาดิซได้ ในขณะที่นโปเลียนซ้อมกองทัพบกรออยู่ที่ชายฝั่งทางเหนือของฝรั่งเศส เตรียมยกพลขึ้นบกที่เกาะอังกฤษ

พลเรือโทลอร์ดเนลสัน นำกองเรืออังกฤษไล่ตามกองเรือฝรั่งเศสที่ฝ่าวงล้อมมาได้ จนมาถึงคาดิซ ที่นั่นราชนาวีอังกฤษสามารถโอบล้อมกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนไว้ได้ กองเรือผสมสามารถที่จะฝ่าวงล้อมหลวมๆของเนลสันมาได้ และมุ่งหน้าไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อที่กองเรือผสมจะไปรวมกับกองเรือฝรั่งเศสอีก 8 ลำ ซึ่งนั่นมากพอที่จะทลายแนวป้องกันช่องแคบอังกฤษ ลอร์ดเนลสัน นำกองเรืออังกฤษตามกองเรือผสมมาทัน ที่ตราฟัลการ์ โดยที่อังกฤษมีเรือรบ 27 ลำ และกองเรือผสมมี 33 ลำ

แผนของลอร์ดเนลสัน

แก้
 
แผนภาพแสดงสถานการณ์ราวเที่ยงวัน
  กองเรืออังกฤษ
  เรือรบฝรั่งเศส
  เรือรบสเปน

โดยทั่วไปแล้ว การกระทำยุทธนาวีของยุโรปสมัยนั้น จะทำใช้การแปรขบวนแบบ แนวเส้นประจัญบาน (อังกฤษ: line of battle, ↑↓) ที่กองเรือของทั้งสองฝั่งจะแล่นสวนกันในทางขนาน และแต่ละฝ่ายจะระดมยิงปืนใหญ่กราบเรือใส่กัน กองเรือทั้งสองจะแล่นเป็นเส้นขนานกันไปยิงปืนใหญ่แลกกันไป

คืนก่อนการรบ ลอร์ดเนลสัน ได้ร่วมวางแผนกับเหล่าผู้บัญชาการเรือ และเขาไม่ยอมใช้วีธีการรบแบบที่ว่านี้ เพราะกองเรือฝ่ายตรงข้ามมีเรือมากกว่า และเรือหลายลำของกองเรือฝ่ายตรงข้ามนั้นมีขนาดและปริมาณปืนมากกว่าของกองเรืออังกฤษด้วย เนลสันจึงตัดสินใจจะแบ่งกองเรือของเขาออกเป็นสองกระบวน โดยที่กองเรือทั้งสองกระบวนนี้จะพุ่งไปตัดกับกระบวนของกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนจากด้านข้าง ซึ่งการกระทำเช่นนั้นเป็นการบีบให้กองเรือผสมต้องสู้ ไม่สามารถแล่นหนีได้ แต่แผนนี้มีจุดด้อยตรงที่ว่า ระหว่างพุ่งเข้าหากองเรือผสม กองเรืออังกฤษจะถูกระดมยิงใส่โดยที่ไม่สามารถตอบโต้ได้เลย ซึ่งแน่นอนว่าเรือที่นำกระบวนกองเรืออังกฤษนั้นจะเสียหายมากที่สุด มีโอกาสสูงที่จะอัปปางก่อนถึงกองเรือผสม

วันปะทะ

แก้
 
พลเรือโท ลอร์ดเนลสัน (ล่างขวา) ถูกยิงขณะที่บัญชาการอยู่บนดาดฟ้าเรือ HMS Victory

เช้าวันรุ่งขึ้นกองเรืออังกฤษทำตามแผน ลอร์ดเนลสัน นำเรือธงของตนชื่อ เรือหลวงวิกตอรี (HMS Victory) มาเป็นเรือหัวกระบวนในแถวแรก คอลลิงวูด รองแม่ทัพของเนลสันก็นำเรือของตน HMS Royal Sovereign มานำหัวกระบวนในแถวที่สอง กองเรืออังกฤษพุ่งฝ่าดงกระสุนเข้าหากองเรือผสม ก่อนเข้าปะทะเนลสันให้ธงสัญญาณของเรือหลวงวิคตอรีแปรสัญญาณว่า "อังกฤษหวังว่าทุกนายจะทำตามหน้าที่" (England expects that every man will do his duty)

เนื่องจากวันนั้นกระแสลมอ่อน กองเรืออังกฤษใช้เวลาเกือบชั่วโมงในการฝ่าเข้าหากองเรือผสม เรืออังกฤษบางลำโดนยิงเสากระโดงหักแล่นไปไหนไม่ได้ แต่เนื่องจากกองเรืออังกฤษเข้าปะทะเป็นเส้นตรง กองเรือผสมจึงยิงได้แต่เรืออังกฤษลำหน้าๆเท่านั้น เมื่อกระบวนเรืออังกฤษสามารถทะลวงกระบวนทัพของกองเรือผสมได้ ก็เปิดฉากระดมยิงปืนใหญ่ทั้งสองกราบใส่กองเรือผสม โดยที่เรืออังกฤษลำหลังๆซึ่งไม่ได้รับความเสียหายเลยก็รีบเข้ามาช่วยระดมยิงกองเรือผสม ผลก็คือกระบวนทัพของกองเรือผสมส่วนกลางกับส่วนหลังนั้นโดนกองเรืออังกฤษเข้าโจมตีโดยที่กองเรือผสมส่วนหน้าไม่สามารถช่วยเหลือได้ เพราะการจะช่วยกองเรือส่วนหลังจะต้องกลับไปอ้อมเรือมาซึ่งเสียเวลามากและคงจะไม่ทันการ ดังนั้นแล้ว กองเรือส่วนหน้าจึงตัดสินใจหนีไป ระหว่างการรบนี้ ลอร์ดเนลสันถูกยิงเข้ากระทบหัวไหล่ทะลุตัดกระดูกสันหลัง เขาถูกนำพาตัวลงไปห้องใต้ดาดฟ้าทันที การรบดำเนินไปจนชัยชนะมาเยือนราชนาวีอังกฤษ หลังเนลสันทราบผลการรบ เขาก็ถึงแก่กรรมราว 16.30 น. ราวสามชั่วโมงหลังถูกยิง[3]

หลังการปะทะ

แก้

ภายหลังข่าวชัยชนะไปถึงกรุงลอนดอน ชาวอังกฤษปลาบปลื้มยินดีในชัยชนะครั้งนี้เป็นอย่างมาก อังกฤษไม่ต้องกลัวการยกพลขึ้นบกของนโปเลียนอีก เนื่องด้วยกองเรือที่เหลือของฝรั่งเศสนั้นไม่มากพอที่จะพิชิตอังกฤษอีกต่อไป

เมื่อนโปเลียนสูญเสียกองเรือผสมนี้ไป ทำให้ความหวังของนโปเลียนที่จะยึดเกาะอังกฤษก็ล่มไปด้วย กองทัพของนโปเลียนที่รอบุกอังกฤษ ซึ่งตอนแรกตั้งชื่อว่า Armée de l'Angleterre (กองทัพแห่งอังกฤษ) ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Grande Armée (กองทัพใหญ่) แล้วนำทัพนี้เดินทางไปทางตะวันออก ซึ่งกองทัพของนโปเลียนนี้สามารถพิชิตดินแดนต่างๆได้อย่างไพศาล จนกลายเป็นที่หวั่นเกรงไปทั้งทวีป

อ้างอิง

แก้
  1. Adkin 2007, p. 524.
  2. 2.0 2.1 Adkins 2004, p. 190.
  3. Hibbert 1994, p. 376.