พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (23 มกราคม พ.ศ. 2425 – 14 กันยายน พ.ศ. 2479) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาวาด ดำรงตำแหน่งองคมนตรี แม่ทัพภาคที่ 1 พระองค์แรก จเรทหารช่าง ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทั้งยังทรงริเริ่มการค้นหาปิโตรเลียมในประเทศสยาม และทรงเป็นต้นราชสกุลฉัตรชัย[4]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม | |
ระหว่าง | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (พาณิชย์) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) (คมนาคม) |
ถัดไป | เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) |
แม่ทัพภาคที่ 1 | |
ระหว่าง | พ.ศ. 2454[1] – 2456[2] |
ถัดไป | พระยาเสนาภิมุข (จง ลักษณสุต) |
ผู้บัญชาการรถไฟหลวง | |
ระหว่าง | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2460 – 8 กันยายน พ.ศ. 2471 |
ก่อนหน้า | เฮนรี กิตทินส์ |
ถัดไป | พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์[3] |
ประสูติ | 23 มกราคม พ.ศ. 2425 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 14 กันยายน พ.ศ. 2479 (54 ปี) สิงคโปร์ สเตรตส์เซตเทิลเมนต์ |
พระราชทานเพลิง | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส |
ภรรยา | พระชายา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล หม่อม เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ หม่อมเพี้ยน ฉัตรไชย ณ อยุธยา หม่อมเผือด ฉัตรไชย ณ อยุธยา หม่อมบัวผัด ฉัตรไชย ณ อยุธยา หม่อมจำลอง ฉัตรไชย ณ อยุธยา หม่อมเอื้อม ฉัตรไชย ณ อยุธยา |
พระบุตร |
|
ราชสกุล | ฉัตรชัย |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 5 |
ลายพระอภิไธย | |
ธรรมเนียมพระยศ | |
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | พลเอก นายกองตรี |
พระประวัติ
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยโยธิน ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2425 พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 38 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาวาด ขณะทรงพระเยาว์เริ่มศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
ปี พ.ศ. 2437 เสด็จไปทรงศึกษาต่อด้านโยธาธิการที่โรงเรียนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ และทรงศึกษาต่อวิชาวิศวกรรมที่ทรินิทีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และวิชาทหารช่างที่ แชทแฮม จากนั้นเสด็จศึกษาเพิ่มเติมในประเทศฝรั่งเศส ทรงศึกษาการทำทำนบและขุดคลอง ในประเทศเนเธอร์แลนด์ และเสด็จกลับมาทรงงานและศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จนได้เป็นสมาชิก M.I.C.E. (Member of the Institution of Civil Engineer) (เทียบเท่า วิศวกรรมสถาน)
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2447 ทรงรับราชการทหาร เหล่าทหารช่าง กรมยุทธนาธิการทหารบก จนได้รับพระราชทานสัญญาบัตรองคมนตรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2449[5] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระองค์เจ้าต่างกรม ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฎว่า พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอรรคโยธิน ทรงดำรงตำแหน่งจเรทหารช่างพระองค์แรกในปี พ.ศ. 2451 และทรงดำรงตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลา 17 ปี ทรงนำความรู้ในวิชาการทหารแผนใหม่ตามแบบอย่างประเทศตะวันตกมาปรับปรุงกิจการทหารช่าง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานกิจการทหารช่างแผนใหม่ และกองทัพ ต่อมาปี พ.ศ. 2452 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์[6]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ทรงถือน้ำพระพิพัฒนสัตยาตั้งเป็นองคมนตรีในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453[7] และดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 พระองค์แรก เมื่อปี พ.ศ. 2454 ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 โปรดให้เลื่อนเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอรรคโยธิน[8] และวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 โปรดให้เลื่อนเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน[9]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ยุบรวมกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคม จึงโปรดให้กรมหลวงกำแพงเพ็ชรฯ รับตำแหน่งผู้รั้งสนาบดีกระทรวงคมนาคมและพาณิชยการตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2468[10] จนถึงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 จึงทรงตั้งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และทำการในตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟหลวงแห่งกรุงสยามด้วย[11] ต่อมาวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 โปรดให้เลื่อนเป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ประชาธิบดินทรเจษฎภาดา ปิยมหาราชวงศ์วิศิษฎ์ อเนกยนตรวิจิตรกฤตยโกศล วิมลรัตนมหาโยธาธิบดี ราชธุรันธรีมโหฬาร พาณิชยการคมนาคม อุดมรัตนตรัยสรณธาดา มัททวเมตตาชวาศรัย ฉัตรชัยดิลกบพิตร ทรงศักดินา 15000[12] และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นอภิรัฐมนตรีในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2474[13] ทรงเป็นองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 7 จนถึงปี พ.ศ. 2475[14]
การสิ้นพระชนม์
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงลาออกจากราชการและเสด็จไปประทับ ณ ประเทศสิงคโปร์ พร้อมกับครอบครัวเมื่อ พ.ศ. 2476 ต่อมาประชวรจนกระทั่งวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2479 จึงสิ้นพระชนม์ที่โรงพยาบาลในประเทศสิงคโปร์ สิริพระชันษาได้ 55 ปี พระชายาได้เชิญพระศพกลับกรุงเทพฯ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลโปรดให้ประดิษฐานพระศพ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร แล้วประกอบการพระราชกุศลทักษิณานุปทานในวันที่ 8–9 ตุลาคม[15] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[16]
สาเหตุการประชวรจนสิ้นพระชนม์นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงระบุไว้ใน สาส์นสมเด็จ ว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงกินเลี้ยงขนานใหญ่ทั้งวันจนประชวรพระนาภี (ท้องเสีย) รักษาถึงสามวัน พระอาการไม่ทุเลา วันที่สี่ แพทย์จึงเชิญเสด็จไปโรงพยาบาล เสด็จไปได้สองชั่วโมง พระหทัยก็หยุดเต้น[17]
พระกรณียกิจ
แก้ด้านการรถไฟไทย
แก้การดำเนินกิจการรถไฟในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงให้ชาวต่างประเทศเป็นผู้ควบคุมการบริหารกิจการทั้งหมด กระทั่งปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร รักษาการตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ ในปี พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมรถไฟหลวง" และให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และทรงบุกเบิกพัฒนากิจการต่างๆ ของกรมรถไฟหลวง ขยายเส้นทางเดินรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน สายตะวันออกเฉียงเหนือทรงสร้างทางรถไฟจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี สายตะวันออกจากฉะเชิงเทราถึงอรัญประเทศ และในปี พ.ศ. 2471 พระองค์ยังได้ทรงสั่งซื้อรถจักรดีเซล จำนวน 2 คัน (หมายเลข 21 และ 22) จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยมีกำลัง 180 แรงม้า เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่า รถจักรไอน้ำลากจูงขบวนรถไม่สะดวก และไม่ประหยัด อีกทั้งลูกไฟที่กระจายออกมาเป็นอันตรายต่อผู้โดยสาร และอาจทำให้เกิดไฟไหม้ไม้หมอนอีกด้วย ซึ่งรถจักรดีเซลทั้งสองคันดังกล่าว เป็นรถจักรดีเซลคันแรกในทวีปเอเชีย และถือว่าประเทศไทยนำรถจักรดีเซลเข้ามาใช้งานเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียด้วย[18]
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมกรมทางไปขึ้นกับกรมรถไฟหลวง โดยให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงรับผิดชอบงานสร้างถนนและสะพานทั่วประเทศ เช่น สะพานกษัตริย์ศึก เป็นสะพานลอยข้ามทางรถไฟแห่งแรก และสะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง สะพานพุทธ สะพานพระราม 6
ในปี พ.ศ. 2464 ขณะทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ได้ทรงริเริ่มนำเอาเครื่องเจาะมาทำการเจาะสำรวจหาน้ำมันดิบ ในบริเวณที่มีผู้พบน้ำมันดิบไหลขึ้นมาบนผิวดินที่บ่อหลวง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทรงว่าจ้างนักธรณีวิทยาชาวอเมริกันเข้ามาสำรวจทางธรณีวิทยา เพื่อค้นหาน้ำมันดิบและถ่านหินในประเทศไทย
ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร
แก้พระองค์ทรงริเริ่มนำวิทยาการด้านการสื่อสารเข้ามาใช้การพัฒนาประเทศ ทรงตั้งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงทดลองขนาดเล็ก และสั่งเครื่องวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลอง ทรงเปิดการกิจการส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2473 ใช้ชื่อสถานีว่า "สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท" และถือว่าเป็นบุคคลแรกของสยาม ที่ต้องการให้ประเทศสยาม มีการส่ง เทเลวิชั่น หรือ วิทยุโทรทัศน์ขึ้นครั้งแรกในประเทศสยาม แต่ความคิดที่จะต้องการส่งแพร่ภาพโทรทัศน์ เมื่อขณะดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในขณะนั้น ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากสยามได้เปลื่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ทำให้การกำเนิดโทรทัศน์จึงล้มเลิกไปในระยะหนึ่ง (หากประสบความสำเร็จ ประเทศสยาม อาจเป็นประเทศแรกของเอเชีย ที่มีการส่งโทรทัศน์)
ด้านการสื่อสาร ทรงให้ความสำคัญการสื่อสาร โดยจัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขทั่วประเทศ ให้บริการรับส่งจดหมาย พัสดุ ไปรษณีย์ ธนาณัติ และโทรเลข รวมทั้งการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์และวิทยุโทรเลขภายในและภายนอกประเทศ
ด้านการคมนาคม ทรงสนพระทัยกิจการบิน โดยทรงทดลองขับเครื่องบินสาธิต จนได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นคนไทยคนแรกที่มีโอกาสขึ้นเครื่องบิน และทรงวางรากฐานกิจการการบินขึ้นในประเทศไทย และการจัดการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ จัดตั้งบริษัทเดินอากาศและเปิดเส้นทางพาณิชย์
ด้านอื่น ๆ
แก้1 เมษายน พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคมเข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน และให้ นายพลเอก กรมหลวงกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (พระอิสริยยศในขณะนั้น) รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และเป็นนายกสภาเผยแผ่พาณิชย์
21 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีสภา ทำหน้าที่ปรึกษาราชการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรงปฏิบัติราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานพระราชพิธีเป็นครั้งคราว
17 กันยายน พ.ศ. 2473 ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบในอุดมการณ์ของโรตารี จึงได้รับการก่อตั้งสโมสรโรตารีแห่งแรกในประเทศไทยขึ้น เรียกชื่อว่า "สโมสรโรตารีกรุงเทพ" มีสมาชิกก่อตั้งรวม 69 ท่าน ซึ่งมีสัญชาติต่างๆ อยู่ถึง 15 ชาติด้วยกัน โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดานายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทยเป็นสมาชิกก่อตั้งท่านหนึ่ง การประชุมก่อตั้งได้จัดทำขึ้น ณ พระราชวังพญาไท (ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ถนนราชวิถี กรุงเทพมหานคร) โดยเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงรับเป็นนายกก่อตั้งสโมสร
ทรงริเริ่มการค้นหาปิโตรเลียมในประเทศสยามเป็นครั้งแรก
พระชายาและหม่อม
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นต้นราชสกุล "ฉัตรชัย ณ อยุธยา" มีพระชายาหนึ่งพระองค์คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล (พ.ศ. 2428–2506) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ กับหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม ศิริวงศ์) อภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 นอกนั้นเป็นนางห้าม ได้แก่ เจ้าลดาคำ (สกุลเดิม ณ เชียงใหม่; พ.ศ. 2439–2527) หม่อมเพี้ยน (สกุลเดิม สุรคุปต์; พ.ศ. 2442–2481) หม่อมเผือด (สกุลเดิม พึ่งรักวงศ์; พ.ศ. 2449–2527) หม่อมบัวผัด (สกุลเดิม อินทรสูต; พ.ศ. 2454–ไม่ทราบปี) หม่อมจำลอง (สกุลเดิม ชลานุเคราะห์; พ.ศ. 2456–2511) และหม่อมเอื้อม (สกุลเดิม อรุณทัต; พ.ศ. 2452–2491) มีพระโอรส พระธิดารวม 11 องค์ ดังนี้[19][20][21]
ลำดับ | พระนาม | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | มารดา | เสกสมรส | พระนัดดา |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร | 7 มีนาคม พ.ศ. 2449 | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2513 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล | หม่อมเจ้าโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์ | หม่อมราชวงศ์พรรธนภณ สวัสดิวัตน์ |
2. | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 | หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม สารสาส) |
||
3. | ท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 | เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ | หม่อมเจ้ารวิพรรณไพโรจน์ รพีพัฒน์ วรงค์ วงศ์ทองศรี |
หม่อมราชวงศ์พัฒนฉัตร รพีพัฒน์ ฉัตรชัย วงศ์ทองศรี ดนัยฉัตร วงศ์ทองศรี ธนฉัตร วงศ์ทองศรี |
4. | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล | หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย | หม่อมราชวงศ์เฉลิมฉัตร วุฒิชัย หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ |
5. | หม่อมเจ้ากาญจนฉัตร สุขสวัสดิ์ | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2464 | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 | หม่อมเพี้ยน ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุรคุปต์) |
หม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ | หม่อมราชวงศ์อดิศรฉัตร สุขสวัสดิ์ หม่อมราชวงศ์อรฉัตร ซองทอง หม่อมราชวงศ์ประกายฉัตร สุขสวัสดิ์ หม่อมราชวงศ์ไชยฉัตร สุขสวัสดิ์ |
6. | หม่อมเจ้าภัทรลดา ดิศกุล | 21 มีนาคม พ.ศ. 2467 | 29 มีนาคม พ.ศ. 2551 | เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ | หม่อมเจ้าพิริยดิศ ดิศกุล | หม่อมราชวงศ์รมณียฉัตร แก้วกิริยา หม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล |
7. | หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2472 | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536 | หม่อมเผือด ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม พึ่งรักวงศ์) |
หม่อมรัชดา ฉัตรชัย ณ อยุธยา (ราชสกุลเดิม อิศรเสนา ณ อยุธยา) หม่อมราชวงศ์เรืองรำไพ ฉัตรชัย (ราชสกุลเดิม ชุมพล) |
หม่อมราชวงศ์รพิฉัตร ฉัตรชัย หม่อมราชวงศ์ปิยฉัตร ฉัตรชัย |
8. | เฟื่องฉัตร ดิศกุล | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 | หม่อมบัวผัด ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม อินทรสูต) |
หม่อมราชวงศ์พิพัฒนดิศ ดิศกุล | หม่อมหลวงธีรฉัตร บุรฉัตร หม่อมหลวงพิพัฒนฉัตร ดิศกุล หม่อมหลวงพิชยฉัตร ดิศกุล หม่อมหลวงฉัตรฏิปปีญา ดิศกุล |
9. | หิรัญฉัตร เอ็ดเวิดส์ | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2476 | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2541 | หม่อมจำลอง ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชลานุเคราะห์) |
แอลเฟรด ฟิททิง เบเวน เอ็ดเวิดส์ |
ฉัตราภรณ์ คอรา ฟิททิง ฉัตราภา ออรอรา ฟิททิง ปีติฉัตร เบเวอร์ลี เอ็ดเวิดส์ ภัทรฉัตร เบเวน เอ็ดเวิดส์ |
10. | หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2477 | 13 มกราคม พ.ศ. 2553 | หม่อมเอื้อม ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม อรุณทัต) |
หม่อมจารุศรี ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม รัตนวราหะ) หม่อมมัณฑนา ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) หม่อมอรศรี ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม ลีนะวัต) |
หม่อมราชวงศ์ลักษมีฉัตร วรวรรณ หม่อมราชวงศ์กมลฉัตร บุญพราหมณ์ หม่อมราชวงศ์ธิดาฉัตร จันทร์ตรี หม่อมราชวงศ์ปิยฉัตร ฉัตรชัย หม่อมราชวงศ์มณฑิรฉัตร ฉัตรชัย หม่อมราชวงศ์เอื้อมทิพย์ เศวตศิลา หม่อมราชวงศ์ฉัตรทิพย์ ฉัตรชัย หม่อมราชวงศ์เอิบทิพย์ ฉัตรชัย |
11. | หม่อมเจ้าพิบูลฉัตร ฉัตรชัย | 12 กันยายน พ.ศ. 2478 | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 | หม่อมบัวผัด ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม อินทรสูต) |
มิได้สมรส |
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ |
พระอิสริยยศ
แก้- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (23 มกราคม พ.ศ. 2424 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449)
- พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอรรคโยธิน (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอรรคโยธิน (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอรรคโยธิน (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 14 กันยายน พ.ศ. 2479)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
แก้- พ.ศ. 2447 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[22]
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[23]
- พ.ศ. 2448 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[24]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[25]
- พ.ศ. 2471 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[26]
- พ.ศ. 2449 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[27]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[28]
- พ.ศ. 2460 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[29]
- พ.ศ. 2448 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[30]
- พ.ศ. 2460 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[31]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[32]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[33]
- พ.ศ. 2459 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[34]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[35]
- พ.ศ. 2425 – เหรียญสตพรรษมาลา (ส.ม.)
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 1[36]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 1[36]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[36]
- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา[37]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2464 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 1[38]
- อิตาลี :
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นสูงสุดประดับดอกคิริ[41]
พระสมัญญา
แก้- พระบิดาแห่งกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย[42][43]
- พระบิดาแห่งการรถไฟไทย[44][45]
- พระบิดาแห่งโรตารีไทย[46]
- ผู้วางรากฐานกิจการทหารช่างแผนใหม่และกองทัพ[47]
พระยศ
แก้พระยศทหาร
แก้- นายพลตรี
- 11 เมษายน พ.ศ. 2455: นายพลโท[48]
- นายพลเอก
พระยศเสือป่า
แก้- นายหมู่ใหญ่
- 30 กันยายน พ.ศ. 2454: นายกองตรี[49]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง
- ↑ สิ้นสุดดำรงตำแหน่ง
- ↑ ประกาศตั้งผู้รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟหลวง
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 24. 9 มิถุนายน 2472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรองคมนตรี
- ↑ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- ↑ "บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 2275. 1 มกราคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรม พระพุททธศักราช ๒๔๕๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (0 ก): 228–230. 11 พฤศจิกายน 2459. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศเลื่อนกรมตั้งพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 305–309. 19 พฤศจิกายน 2465. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศ เรื่อง ตั้งผู้รั้งเสนาบดีกระทรวงคมนาคมและพาณิชยการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 418. 28 มีนาคม 2468. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยกับเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมและนายกสภาเผยแผ่พาณิชย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 188. 16 พฤษภาคม 2469. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้าและเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 181–183. 10 พฤศจิกายน 2471. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอภิรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 366. 25 ตุลาคม 2474. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ทรงเป็นองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 7
- ↑ "หมายกำหนดการ ที่ ๑๑/๒๔๗๙ พระราชกุศลทักษิณานุปทานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 1767–1769. 11 ตุลาคม 2479. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการ ที่ ๑๕/๒๔๗๙ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๔๗๙ เล่ม 53, ตอน ๐ ง, 17 มกราคม พ.ศ. 2479, หน้า 2640
- ↑ กรมศิลปากร (ผู้รวบรวม). (2497). สาสน์สมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาค 15). พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. (พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพนายแขก ศรีพยัคฆ์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2497). หน้า 28–29.
- "อาการที่ประชวรนั้น หม่อมฉันเพิ่มทราบพิสดารว่า วันหนึ่ง เธอมีการเลี้ยงอาหารลาวไทยฝรั่ง (หรือจีน) รวมกันทั้งเวลากลางวันและเวลาเย็น เป็นเหตุให้พระนาภีเสีย เรียกหมอมา หมอวางยาระบาย เลยลงพระนาภีเกินไป เกิดปวดเจ็บแน่นในพระนาภี หมอตกใจ ไปเรียกหมอมาปรึกษาอีกคนหนึ่ง รักษาถึง 3 วัน พระอาการก็ไม่คลายขึ้น วันที่ 4 เมื่อพระอาการเพียบแล้ว หมอจึงให้เชิญเสด็จไปโรงพยาบาล พระองค์เธอเองก็ไม่อยากไป พอไปถึงโรงพยาบาลได้ 2 ชั่วโมง ก็สิ้นพระชนม์ด้วยพระหทัยหยุด"
- ↑ รถจักรดีเซล จาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 4[ลิงก์เสีย]
- ↑ สืบสันติวงศ์
- ↑ "พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-13. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรกรีบรมราชวงษ์, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๘๐๓, ๒๙ มกราคม ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๔๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๗๖๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๑๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๕๘, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๗, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๖๗๙, ๓๐ กันยายน ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดรแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๑, ๒ ธันวาคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มราชการแผ่นดิน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๘, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๕๙๙, ๑ ตุลาคม ๑๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๗๐, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๙, ๒๘ มกราคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ 36.0 36.1 36.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๒๒, ๒๗ มีนาคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๕๕, ๒๘ กันยายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๐๕, ๑๐ กันยายน ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๘๗, ๔ ธันวาคม ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๘๓๑, ๔ มกราคม ๒๔๗๓
- ↑ 25 กุมภาพันธ์ วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ
- ↑ น้อมรำลึก พระบิดาแห่งการรถไฟไทย!! วันคล้ายวันประสูติ "พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร" กับตราจารึกพระนาม "บุรฉัตร" สัญลักษณ์ข้างรถไฟ ที่น้อยคนจะรู้
- ↑ "พระบิดาแห่งการรถไฟไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-24. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
- ↑ 23 ม.ค. วันคล้ายวันประสูติ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระบิดากิจการรถไฟสมัยใหม่
- ↑ ๑๔ ก.ย. รำลึกถึง พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร !!! บุคคลที่มีบทบาท ในด้านการพัฒนาประเทศไทย มากที่สุดคนหนึ่ง #แต่ทำไมน้อยคนที่รู้จัก
- ↑ ๑๔ ก.ย. รำลึกถึง พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร !!! บุคคลที่มีบทบาท ในด้านการพัฒนาประเทศไทย มากที่สุดคนหนึ่ง #แต่ทำไมน้อยคนที่รู้จัก
- ↑ "พระราชทานยศนายพลโท" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-27. สืบค้นเมื่อ 2021-05-27.
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- บรรณานุกรม
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 258-259. ISBN 974-221-818-8
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 57. ISBN 978-974-417-594-6
ดูเพิ่ม
แก้ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ |
เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม คนที่ 2 (15 พฤษภาคม 2469 – 10 ธันวาคม 2475) |
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) | ||
สถาปนาตำแหน่ง | แม่ทัพภาคที่ 1 คนที่ 1 (2453 – 2456) |
พระยาเสนาภิมุข (จง ลักษณะสุต) | ||
ลูอิส ไวเลอร์ (เจ้ากรมรถไฟสายเหนือ) เฮนรี กิตตินส์ (เจ้ากรมรถไฟสายใต้) |
ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง คนที่ 5 (5 มิถุนายน 2460 – 8 กันยายน 2471) |
พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ (สรรเสริญ สุขยางค์) |