สเตรตส์เซตเทิลเมนต์

สเตรตส์เซตเทิลเมนต์ หรือ อาณานิคมช่องแคบ (อังกฤษ: Straits Settlements; จีน: 海峡殖民地 Hǎixiá zhímíndì) คืออาณานิคมของจักรวรรดิบริติชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยดินแดนที่เป็นรัฐปีนัง ดินดิง (ส่วนหนึ่งของรัฐเปรัก) รัฐมะละกา สิงคโปร์ และลาบวนในปัจจุบัน

สเตรตส์เซตเทิลเมนต์

Straits Settlements
1826–1942
ญี่ปุ่นยึดครองระหว่าง 1942–45
1945–1946
มาลายาในค.ศ. 1922:
สถานะอาณานิคมของบริเตน
เมืองหลวงปีนัง
(1826–32)

สิงคโปร์
(1832–1946)
ภาษาทั่วไป
การปกครอง
พระมหากษัตริย์ 
• 1826–30
พระเจ้าจอร์จที่ 4
• 1830–37
พระเจ้าวิลเลียมที่ 4
• 1837–1901
พระนางเจ้าวิกตอเรีย
• 1901–10
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7
• 1910–36
พระเจ้าจอร์จที่ 5
• 1936
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8
• 1936–42; 1945–46
พระเจ้าจอร์จที่ 6
ผู้ว่าราชการ 
• 1826–30 (คนแรก)
Robert Fullerton
• 1934–46 (สุดท้าย)
Shenton Thomas
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดิบริติช
17 มีนาคม 1824
• จัดตั้งขึ้นโดย
    บริษัทอินเดียตะวันออก
ค.ศ. 1826
• เป็น
    คราวน์โคโลนี

1 เมษายน 1867
• รวมกับนิคมลาบวน
1 มกราคม 1907
15 กุมภาพันธ์ 1942
• ญี่ปุ่นยอมจำนน


12 กันยายน 1945



1 เมษายน 1946

15 July 1946
สกุลเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐสุลต่านยะโฮร์
Founding of modern Singapore
ดัตช์มะละกา
ดินดิง
สหภาพมาลายา
อาณานิคมสิงคโปร์
อาณานิคมมะละกา
อาณานิคมปีนัง
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ มาเลเซีย
 สิงคโปร์

อาณานิคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2369 โดยในตอนแรกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของดินแดนที่อยู่ในความควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2410 ได้กลายเป็นอาณานิคมอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลสหราชอาณาจักรอย่างเต็มตัว และได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ประวัติศาสตร์และการปกครอง

แก้

อาณานิคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2367 ซึ่งเป็นข้อตกลงในการแบ่งเขตอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งเขตของอังกฤษจะอยู่ทางเหนือ และเขตของเนเธอร์แลนด์จะอยู่ทางใต้ โดยมีการและเปลี่ยนดินแดนระหว่างกัน คืออังกฤษจะต้องยกนิคมในเบงคูเลน (Bencoolen) ทางภาคตะวันตกของเกาะสุมาตราให้กับเนเธอร์แลนด์ โดยแลกกับมะละกาและสิงคโปร์ ทำให้เมืองหลวงของอาณานิคมย้ายจากเกาะปีนังมาสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2375

ในปี พ.ศ. 2410 นิคมดังกล่าวก็ได้กลายเป็นอาณานิคมอย่างเต็มตัว โดยอยู่ภายใต้การปกครองของสำนักงานอาณานิคมในกรุงลอนดอน แทนที่จะขึ้นตรงกับรัฐบาลประจำอินเดียในกัลกัตตา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ รัฐบาลอังกฤษได้ตราธรรมนูญประจำอาณานิคม โดยให้อำนาจแก่ข้าหลวงแห่งนิคม ซึ่งบริหารกิจการของอาณานิคมโดยได้รับความช่วยเหลือจากสภาบริหารและสภานิติบัญญัติ

ดินดิงและพรอวินซ์เวลส์ลีย์

แก้

ดินดิงซึ่งเป็นดินแดนที่ประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่งและหมู่เกาะทางตะวันตกของรัฐเปรัก ได้กลายเป็นของอังกฤษตามสนธิสัญญาปังโกร์ในปีพ.ศ. 2417 แต่ดินแดนดังกล่าวก็ไม่ได้มีทำประโยชน์ให้แก่อังกฤษมากนัก

พรอวินซ์เวลส์ลีย์ซึ่งเป็นพื้นที่ทางชายฝั่งตะวันตกของรัฐเกอดะห์ที่อยู่ตรงกันข้ามกับเกาะปีนังและมีอาณาเขตทางใต้ติดต่อกับรัฐเปรัก ได้กลายเป็นของอังกฤษในปี พ.ศ. 2341 โดยเขตแดนทางเหนือและทางตะวันออกที่ติดต่อกับรัฐเกอดะห์นั้นได้กำหนดตามข้อตกลงที่ทำกับสยามในปี พ.ศ. 2410 ดินแดนแห่งนี้ถูกปกครองโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งขึ้นตรงต่อหน่วยงานในเกาะปีนัง พื้นที่ส่วนใหญ่ของพรอวินซ์เวลส์ลีย์เป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์ โดยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู โดยมีชาวจีนและชาวทมิฬซึ่งเป็นแรงงาน รวมทั้งผู้คนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมการเกษตรอื่น ๆ อาศัยอยู่จำนวนหนึ่ง พื้นที่ประมาณหนึ่งในสิบเป็นเนินเตี้ย ๆ ซึ่งเต็มไปด้วยป่าทึบ พื้นที่นี้ผลิตข้าวเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

บทบาทที่เพิ่มขึ้นของผู้สำเร็จราชการ

แก้

แต่เดิมหมู่เกาะโคโคสและเกาะคริสต์มาสขึ้นตรงกับซีลอน แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2429 ก็ได้มาขึ้นตรงกับนิคมช่องแคบ และในปี พ.ศ. 2449 ลาบวนก็ถูกผนวกเข้ามาเพิ่มอีก

ผู้สำเร็จราชการแห่งนิคมช่องแคบยังเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำสหพันธรัฐมลายูและบอร์เนียวเหนือของอังกฤษ รัฐสุลต่านบรูไน และรัฐสุลต่านซาราวัก และต่อมายังดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการแห่งลาบวนเพิ่มขึ้นอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

ประชากร

แก้

ตารางแสดงอาณาเขตพื้นที่และประชากรเชื้อชาติต่าง ๆ ที่อาศัยในนิคมช่องแคบ แสดงข้อมูลเมื่อ ค.ศ. 1901:

พื้นที่ (ตรางไมล์) จำนวนประชากร ค.ศ. 1891 จำนวนประชากร ค.ศ. 1901
รวม ชาวยุโรป ยูเรเชีย ชาวจีน ชาวมลายู ชาวอินเดีย อื่น ๆ
สิงคโปร์ 206 184,554 228,555 3,824 4,120 164,041 36,080 17,823 2,667
ปีนัง ดินดิง และพรอวินซ์เวลส์ลีย์ 381 235,618 248,207 1,160 1,945 98,424 106,000 38,051 2,627
มะละกา 659 92,170 95,487 74 1,598 19,468 72,978 1,276 93
รวม 1,246 512,342 572,249 5,058 7,663 281,933 215,058 57,150 5,387

การคลัง

แก้

คมนาคม

แก้

การศึกษา

แก้

วัฒนธรรม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "National Anthem". Official web site of the British Royal Family. 15 January 2016. สืบค้นเมื่อ 4 June 2016.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/> ที่สอดคล้องกัน