ตราแผ่นดินของสิงคโปร์

ตราแผ่นดินของสิงคโปร์ ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 พร้อมกันกับธงชาติและเพลงชาติ ณ ห้องสาบานตนประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ ที่ศาลาว่าการของเมืองสิงคโปร์ ลักษณะของตราแผ่นดินเป็นรูปสิงโตและเสือถือโล่สีแดงซึ่งมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 5 ดวง และพระจันทร์เสี้ยวสีขาว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ใช้บนธงชาติของสิงคโปร์ ด้านล่างของตราแผ่นดินเป็นริบบิ้นสีน้ำเงินจารึกคำขวัญประจำชาติด้วยตัวหนังสือสีทองว่า "Majulah singapura" ซึ่งมีความหมายว่า "สิงคโปร์จงเจริญ"

ตราแผ่นดินของสิงคโปร์
รายละเอียด
ผู้ใช้ตรารัฐบาลสิงคโปร์
เริ่มใช้3 ธันวาคม พ.ศ. 2502
โล่เดือนเสี้ยวและดาวห้าดวงบรรจุภายในโล่พื้นสีแดง
ประคองข้างข้างซ้ายสิงโต และ ด้านขวาเสือโคร่ง
ฐานรองข้างใบปาล์มสีทอง
คำขวัญMajulah Singapura สิงคโปร์จงเจริญ
(เขียนด้วยอักษรโรมัน)
การใช้เอกสารราชการ, สถานที่ราชการ และ ด้านหลังของเหรียญเงินสิงคโปร์

ประวัติ

แก้

เมื่อสิงคโปร์ได้สิทธิการปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักรในปี 2502 นายลี กวน ยู ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ต้องการที่จะทำตราแผ่นดินขึ้นมาใหม่ เพื่อนำมาใช้ทดแทนตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ซึ่งถูกใช้มาตั้งแต่สมัยที่สิงคโปร์ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จึงมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อออกแบบตราแผ่นดินใหม่ นำโดยรองนายกรัฐมนตรี โต ชิน ไชย เพื่อออกแบบตราแผ่นดินที่จะสามารถแสดงถึงสังคมหลากหลายเชื้อชาติของสิงคโปร์ได้

การออกแบบตราแผ่นดินใหม่ใช้เวลาทั้งหมด 2 เดือน และในวันที่ 3 ธันวาคม 2502 จึงประกาศใช้ตราแผ่นดินใหม่พร้อมกับธงชาติและเพลงชาติใหม่ของสิงคโปร์

ความหมายของตราสัญลักษณ์

แก้

บริเวณตรงกลางของตราแผ่นดินเป็นโล่สีแดง มีดาวห้าดวงและพระจันทร์เสี้ยว คล้ายกับสัญลักษณ์บนธงชาติสิงคโปร์ โดยมีความหมายดังนี้

  • สีแดง หมายถึง ภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า
  • สีขาว แทนความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล
  • พระจันทร์เสี้ยว แทนดวงจันทร์ในช่วงข้างขึ้น แสดงถึงสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่ถือกำเนิดขึ้นมาใหม่
  • ดาวทั้งห้าดวง แสดงถึงประชาธิปไตย สันติภาพ ความเท่าเทียม ความยุติธรรม และความก้าวหน้า ซึ่งเป็นอุดมคติ 5 ประการของประเทศสิงคโปร์

ด้านข้างของโล่สีแดงมีเสือและสิงโตถือโล่อยู่ โดยที่เสือนั้นเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความผูกพันใกล้ชิดกับประเทศมาเลเชีย ส่วนสิงโตนั้นเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงประเทศสิงคโปร์

ดูเพิ่ม

แก้

เชิงอรรถ และ อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้