มาจูละฮ์ซีงาปูรา
เพลงชาติสิงคโปร์ มีชื่อเฉพาะว่า มาจูละฮ์ซีงาปูรา (มลายู: Majulah Singapura)[a] เป็นคำภาษามลายู แปลว่า สิงคโปร์จงเจริญ ชื่อของเพลงนี้มีที่มาจากคำขวัญประจำชาติ ซึ่งเป็นข้อความเดียวกันกับที่ปรากฏอยู่ในตราประจำรัฐ มีเนื้อหาของเพลงที่สะท้อนถึงจิตวิญญาณของชาวสิงคโปร์ในการคาดหวังอย่างอดทนถึงความก้าวหน้าของชาติ และเรียกร้องให้ทุกคนร่วมมือกันทำความหวังดังกล่าวให้เป็นความจริง
คำแปล: สิงคโปร์จงเจริญ | |
---|---|
Majulah Singapura | |
สกอร์ดนตรีเพลงชาติสิงคโปร์ ที่จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์ โดยสกอร์ดนตรีต้นฉบับจัดแสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมชาวมลายู | |
เนื้อร้อง | ซูบีร์ ซาอิด, พ.ศ. 2499 |
ทำนอง | ซูบีร์ ซาอิด, พ.ศ. 2499 |
รับไปใช้ | พ.ศ. 2500 |
ตัวอย่างเสียง | |
มาจูละฮ์ซีงาปูรา (บรรเลง) |
ตามกฎหมาย เพลงชาตินี้ต้องร้องตามเนื้อร้องภาษามลายู แต่มีการแปลเนื้อเพลงของเพลงชาติเป็นภาษาราชการโดยได้รับอนุญาตอีกสามภาษาของประเทศสิงคโปร์ คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนมาตรฐาน และภาษาทมิฬ[1][2]
ประวัติ
แก้เพลงมาจูละฮ์ซีงาปูราได้เขียนขึ้นในช่วงการตื่นตัวในเรื่องแนวคิดชาตินิยมของชาวสิงคโปร์ช่วง พ.ศ. 2499 - 2500 โดยซูบีร์ ซาอิด ได้ประพันธ์เพลงนี้ขึ้นโดยได้รับบันดาลใจจากคำว่า "มาจูละฮ์ซีงาปูรา" ซึ่งหมายถึง "สิงคโปร์จงเจริญ" เพลงนี้ได้บรรเลงครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 พร้อมกันกับธง และ ตราประจำรัฐ ณ ศาลาว่าการเมืองสิงคโปร์ ในพิธีแต่งตั้งตั้งประมุขแห่งรัฐคนใหม่ คือ ยังดีเปอร์ตวนเนอการาเอินจิก ยูซอฟ บิน อิสฮะก์ ต่อมาเมื่อสิงคโปร์ได้รับเอกราชและออกจากสหพันธรัฐมาลายาในปี พ.ศ. 2508 เพลงมาจูละฮ์ซีงาปูราก็ได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติของประเทศสิงคโปร์ตราบเท่าทุกวันนี้
การใช้งาน
แก้สถานีโทรทัศน์ในการกำกับของมีเดียคอร์ป ใช้เพลงชาตินี้เป็นสัญญาณการเปิดและปิดสถานี โดยช่อง 5 (ภาษาอังกฤษ) และ ช่อง 8 (ภาษาจีน) ออกอากาศในเวลา 06:00 น. ส่วนช่องสุเรียอะห์ (ภาษามาเลย์) ช่องวสันธัม (ภาษาทมิฬ) และ ช่องออคโต (เด็ก,เยาวชน และกีฬา) ออกอากาศในเวลาแล้วแต่การเปิดปิดสถานี โดยเนื้อร้องที่ขึ้นบนจอจะเป็นภาษาต่าง ๆ แล้วแต่ช่องนั้น ๆ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บทร้อง
แก้ฉบับราชการ
แก้ภาษามลายูทางการ[3] | อักษรจีนตัวย่อ[3] | อักษรจีนตัวเต็ม[3] | ภาษาทมิฬ[3] | แปลอังกฤษ[3] | แปลไทย |
---|---|---|---|---|---|
Mari kita rakyat Singapura |
来吧,新加坡人民 |
來吧,新加坡人民, |
சிங்கப்பூர் மக்கள் நாம் |
Come, fellow Singaporeans |
มาเถิด เราชาวสิงคโปร์ทั้งหลาย |
บทร้องต้นฉบับ
แก้บทร้องดั้งเดิม ใช้เป็นเพลงประจำเทศบาลเมืองสิงคโปร์ เขียนไว้ดังนี้:
เนื้อร้องต้นฉบับ (ก่อนรูปสะกดมลายู ค.ศ. 1972)[4] | เนื้อร้องต้นฉบับ (รูปสะกดมลายู ค.ศ. 1972)[5] | แปลอังกฤษ[6] | แปลไทย |
---|---|---|---|
Mari kită ra'yat Singapura, |
Mari kita rakyat Singapura |
Come, fellow Singaporeans |
มาเถิด เราชาวสิงคโปร์ทั้งหลาย |
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "National Anthem". singapore.sg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2014.
- ↑ Constitution of the Republic of Singapore (1985 Rev. Ed., 1999 Reprint), Art. 153A: "Malay, Mandarin, Tamil and English shall be the 4 official languages in Singapore."
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "National Anthem". Government of Singapore (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-06.
- ↑ Abidin, Rasheed Zainul; Norshahril, Saat (2016). Majulah!: 50 Years of Malay/muslim Community in Singapore. World Scientific. ISBN 9789814759892. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ Orchestra of the Music Makers (2015-08-08). "Zubir Said – The Singapore City Council Song and National Anthem: "Majulah Singapura"". YouTube. สืบค้นเมื่อ 2022-03-07.
- ↑ Abidin, Rasheed Zainul; Norshahril, Saat (2016). Majulah!: 50 Years of Malay/muslim Community in Singapore. World Scientific. ISBN 9789814759892. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Official recordings of "Majulah Singapura" (2001, 2019 variants) on The National Heritage Board of Singapore website
- Earlier Version of Majulah Singapura, Recorded on 1959
- Digitised National Anthem from the original CD, Released on 2000-01-01
- National anthem page, Access to Archives Online (a2o), National Archives of Singapore
- Singapore National Anthem information page at Singapore Infopedia
- Majulah Singapura: Zubir Said and the National Anthem 9 August 2020 Majulah Singapura – Zubir Said and the National Anthem