เชาวน์วัศ สุดลาภา
เชาวน์วัศ สุดลาภา (1 มิถุนายน พ.ศ. 2476 - 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2544) อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่7 ที่มาจากการแต่งตั้ง และยังได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครควบตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนับเป็นท่านแรกในทำเนียบผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 สมัย ในรัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรี และในสมัยนายชวน หลีกภัย 1 เป็นนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ (ฯพณฯ ท่าน พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ) เป็นนายกรัฐมนตรีและดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการบริหาร (ฯพณฯ ท่าน บรรหาร ศิลปอาชา) เป็นนายกรัฐมนตรีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทยคนที่2 เคยดำรงตำแหน่ง เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร และเป็นรองหัวหน้าพรรคพรรคกิจสังคม นอกจากด้านการเมืองการแล้วนายเชาวน์วัศ สุดลาภา ยังเป็นอาจารย์สอนพิเศษในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเคยดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมรัฐศาสตร์ คนที่ 2แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ หลังจากเกษียณอายุราชการ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรีได้รับเลือก ชนะการเลือกตั้งได้ที่1ทั้ง 4สมัยซ้อน (ส.ส.จังหวัดลพบุรี) และยังเคยเป็นผู้ที่ปราบซุ้มมือปืนเมืองเพชรบุรีสำเร็จราบคราบ สมัยนั่งดำรงตำแหน่งพ่อเมืองเพชรบุรี
เชาวน์วัศ สุดลาภา | |
---|---|
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 7 | |
ดำรงตำแหน่ง 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 – 16 เมษายน พ.ศ. 2524 (1 ปี 287 วัน) | |
ก่อนหน้า | ชลอ ธรรมศิริ |
ถัดไป | พลเรือเอกเทียม มกรานนท์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 (0 ปี 20 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 15 กันยายน พ.ศ. 2536 (0 ปี 352 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 เมษายน – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (0 ปี 88 วัน) | |
ก่อนหน้า | ธนา เมตตาริกานนท์ ไสว พัฒโน |
ถัดไป | วันมูหะมัดนอร์ มะทา ถวิล ไพรสณฑ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2476 อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (68 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | กิจสังคม |
คู่สมรส | คุณกมลทิพย์ สุดลาภา |
บุตร | 3 คน |
ประวัติ
แก้นายเชาวน์ว้ศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครท่านที่7 ควบตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นับเป็นท่านแรก และ ท่านเดียวใน ทำเนียบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2535 ยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ (ฯพณฯ ท่าน พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ) เป็นนายกรัฐมนตรีและพ.ศ2538 เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการบริหาร (ฯพณฯ ท่าน บรรหาร ศิลปอาชา) เป็นนายกรัฐมนตรี นายเชาวน์วัศ ยังเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรีและอดีตสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายเชาวน์วัศ ยังมีผลงานที่โดดเด่นได้กวาดล้างซุ้มมือปืนจังหวัดเพชรบุรีสำเร็จเมื่อสมัยดำรงตำแหน่งพ่อเมืองจังหวัดเพชรบุรีและยังเคยเป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทยคนที่2 อดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร และเป็นรองหัวหน้าพรรคพรรคกิจสังคม นอกจากด้านการเมืองการแล้วนายเชาวน์วัศ สุดลาภา ยังเป็นอาจารย์สอนพิเศษในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเคยดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมรัฐศาสตร์ คนที่2แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์
ด้านการศึกษา
แก้- ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย
- ระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ระดับปริญญาโท จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ระดับปริญญาโท Diploma ณ กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนี
- ระดับปริญญาโทDiploma institute of Social Studies ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
- ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก ๒ มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา
- สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 28
ด้านการเมือง
แก้นาย เชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 ครั้ง ใน 2 สมัย ในรัฐบาลของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และในรัฐบาลนาย ชวน หลีกภัย 1เป็นนายกรัฐมนตรี อดีต ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 7 ที่มาจากการแต่งตั้ง (นับเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครที่ได้ดำรงตำแหน่งควบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในเวลาเดียวกันในตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม.เมื่อปีพ.ศ. 2523) และเป็นอดีตผู้ว่าราชการและนักการเมืองที่มีบทบาททางการเมืองและการปกครอง เจ้าของนโยบายกรุงเทพสีเขียวโดยการปลูกต้นไม้รอบจังหวัดกรุงเทพมหานครในถนนทุกสาย (สมัยเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ผู้ดำเนินการสร้างถนนรัชดาภิเษก ผู้ก่อตั้งศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง (ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น) ขณะเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ก่อตั้งตลาดนัดจตุจักร และยังเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดในอีกหลายจังหวัด เชาวน์วัศได้เข้าสู่วงการการเมืองโดยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพลประภาส จารุเสถียร) ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 ครั้ง ใน 2 สมัย และยังมีผลงานที่โดดเด่นคือการกวาดล้างซุ้มมือปืนจังหวัดเพชรบุรีได้สำเร็จในสมัยเป็นพ่อเมืองเพชรบุรี ได้ทำการปราบปราบแร่เถื่อนที่จังหวัดพังงาสมัยเป็นพ่อเมืองพังงา ปราบปรามโจรเรียกค่าไถ่ในจังหวัดลพบุรีและเชาวน์วัศยังได้รับใด้ดำรงตำแหน่งรองปล้ดกระทรวงมหาดไทยก่อนจะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่7 และยังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[ลิงก์เสีย]จังหวัดลพบุรี ต่อเนื่อง 4 สมัย (สอบได้ที่ 1 ทั้ง 4 สมัยซ้อน) นอกจากนี้ยังเคยได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ (สังข์เงิน) ( ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2522) จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (ทางด้านสาขาการบริหารและการปกครอง) และยังได้รับการก่อตั้งอนุสาวรีย์เชาวน์วัศ สุดลาภา ขึ้นที่ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แห่งผู้ว่าคนดี และที่สำคัญเชาวน์วัศ ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี[1]
เชาวน์วัศ เริ่มเข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรกจากการได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อ พ.ศ. 2515 ต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคณะรัฐมนตรีชุดที่ 41 สมัย พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2523[2] ซึ่งในขณะนั้นเชาวน์วัศยังดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในปี พ.ศ. 2531 เชาวน์วัศได้ลาออกจากราชการเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี และได้รับเลือกตั้ง 4 สมัยต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 - 2538 และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคกิจสังคม โดยในช่วงเวลาดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร และประธานคณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ (พ.ศ. 2531 - 2535) และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 (พ.ศ. 2535) ในปี พ.ศ. 2536 เชาวน์วัศได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคณะรัฐมนตรีชุดที่ 50 สมัยนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี (ชวน หลีกภัย 1) นับเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นครั้งที่ 2
ชีวิตส่วนตัว
แก้นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เกิดวันที่ 1 มิถุนายน 2476 ชีวิตคู่ได้สมรสกับคุณกมลทิพย์ สุดลาภา มีบุตร - ธิดารวม 3 คน ได้แก่
- นายเกรียงยศ สุดลาภา (ชื่อเล่น: เฮ้ก)ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกรุงเทพมหานคร อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร (ดูแลด้านกิจการ กทม.) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยมหาดไทย ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอดึตสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) มีบุตร2คน
- นางพจน์ศิรินทร์ (สุดลาภา) สุวรรณรัฐ (ชื่อเล่น: ปุ้ย) อาชีพ ผู้พิพากษา นักธุรกิจ สมรสกับ พลโทนิมิตต์ สุวรรณรัฐ มีบุตร 1 คน
- นายกาจบดินทร์ สุดลาภา (ชื่อเล่น: กอล์ฟ) อาชีพนักธุรกิจ และอดีตดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์) ในปี พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2544 นายกาจบดินทร์สมรสกับ วิภาดา บุนนาค มีบุตร 2 คน
ตำแหน่งสำคัญ
แก้- พ.ศ. 2500 – 2501 ปลัดอำเภอตรี อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
- พ.ศ. 2501 - 2505 ปลัดอำเภอตรี อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2502 – 2504 หัวหน้าหน่วยปราบปราบพิเศษจังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2504 – 2505 ปลัดอำเภอโท อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
- พ.ศ. 2506 – 2509 หัวหน้าแผนกการเมือง สำนักเลขานุการกระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ. 2507 - 2511 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพลประภาส จารุเสถียร)
- พ.ศ. 2508 -2513 เลขาธิการสันนิบาตเสรีชนแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2508 -2513 หัวหน้ากองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย[ลิงก์เสีย]
- พ.ศ. 2509 - 2509 นายอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี[3]
- พ.ศ. 2510 - 2512 ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย[4]
- พ.ศ. 2515 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พ.ศ. 2512 - 2516 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพลประภาส จารุเสถียร) ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2516 - 2518 รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษและหัวหน้ากองกิจการพลเรือน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
- พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีเป็นเลขานุการคณะกรรมการปราบปรามอาชญากรรมแห่งชาติ
- พ.ศ. 2519 - 2520 ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ปราบปรามแร่เถื่อน อิทธิพลเถื่อนจนราบคาบ
- พ.ศ. 2520 - 2522 ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีขณะที่โจรเรียกค่าไถ่กำลังอาละวาดหนัก และสามารถปราบปรามได่เรียกความสงบมาได้จนถึงปัจจุบัน
- พ.ศ. 2522 รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ. 2522 - 2524 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (แต่งตั้ง)ควบตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นับเป็นคนแรกในตำแหน่งผู้ว่า กทม.) ย้ายตลาดนัดสนามหลวงไปสวนจตุจักร สร้างตลาดนัดสวนจตุจักร และยกป่าคอนกรีตกรุงเทพฯด้วยโครงการกรุงเทพฯสีเขียว
- ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยครั้งที่ 1
- พ.ศ. 2525 ผู้ตรวจราชการระดับ 10 กระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ. 2525 - 2527 ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร
- พ.ศ. 2527 - 2530 ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
- พ.ศ. 2531 รองหัวหน้าพรรคกิจสังคม
- พ.ศ. 2531 - 2535 ประธานคณะกรรมการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎรสภาผู้แทนราษฎรไทย
- พ.ศ. 2531 - 2539 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี 4 สมัย (สอบได้ที่1 ทั้ง 4 สมัยซ้อน)
- พ.ศ. 2535 รองประธานสภาผู้แทนราษฏรไทย
- พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ (ฯพณฯ ท่าน พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ) เป็นนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2535 - 2536 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยครั้งที่ 2[5]
- พ.ศ. 2538 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการบริหาร (ฯพณฯ ท่าน บรรหาร ศิลปอาชา)
- พ.ศ. 2538 เป็นกรรมาธิการอุตสาหากรรม สภาผู้แทนราษฎร
ผลงานสำคัญ
แก้- พ.ศ. 2513 ริเริ่มจัดตั้งวิทยาลัยการปกครอง
- พ.ศ. 2515 ริเริ่มให้มีการพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ต่อท้ายต้นร่างหนังสือราชการ
- พ.ศ. 2515 ริเริ่มจัดตั้งสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย
- สมัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครได้ดำเนินนโยบาย "ทำกรุงเทพให้เป็นสีเขียว" โดยการปลูกต้นราชพฤกษ์รอบกรุงเทพมหานครเพื่อลดมลภาวะ
- เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งตลาดนัดจตุจักรย้ายสนามหลวงไปจตุจักรและสร้างตลาดนัดจตุจักรขึ้น[6]
- ก่อตั้งถนนรัชดาภิเษก
- ก่อตั้งศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง ในขณะเป็นผู้ว่าราชการก.ท.ม
- ปราบปราบแร่เถื่อน อิทธิพลเถื่อนจนสำเร็จราบคาบ สมัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาจนชาวบ้านที่รักท่านเชาวน์วัศได้มีการก่อตั้งอนุสาวรีย์เชาวน์วัศ สุดลาภา ขึ้นที่อำเภอกะปงจังหวัดพังงา
- ผู้ร่วมก่อตั้งอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา[7]
- ผู้ก่อตั้งงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[ลิงก์เสีย] สมัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี[8]
- ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยชาวบ้านจังหวัดลพบุรี [9]
- ปราบปรามโจรผู้ร้าย (ขณะที่โจรเรียกค่าไถ่กำลังอาละวาดหนักที่จังหวัดลพบุรี และสามารถปราบปรามเรียกความสงบกลับคืนมาได้จนถึงปัจจุบัน
- ริเริ่มจัดตั้งธนาคารข้าว ธนาคารประชาชน และโรงสีสีชาวนาเพื่อแก้ไขปัญหายากจนของชาวจังหวัดลพบุรี
- สร้างเหรียญหลวงพ่อเขาตระเครา วัดโพธิ์ชราราม จังหวัดลพบุรี [10]
- ผู้ก่อตั้งและพัฒนาสวนรุกชาตินำตกวังก้าน อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
- ผู้ก่อตั้งงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร และงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟจวบจนถึงในสมัยปัจจุบันนี้
- ผู้ก่อตั้งพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
- ก่อตั้งสร้างศาลพระอิศวร สถานที่เที่ยวสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร
- ผู้ก่อตั้งประเพณี "นบพระเล่นเพลง" กระบวนพยุหยาตราพญาลิไท ขึ้นเป็นประเพณีประจำจังหวัดกำแพงเพชร ขณะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร[11]
- ริเริ่มจัดตั้งศาลหมู่บ้าน หรือศาลประนอมข้อพิพาทและตุลาการหมู่บ้านที่จังหวัดกำแพงเพชร
- ปราบ "ซุ้มมือปืนเมืองเพชร" สำเร็จราบคราบ สมัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
- ผู้ก่อตั้ง "งานพระนครคีรี เทิดทูนราชจักรีวงศ์" เพื่อระลึกถึงพระมหากษัตย์ไทยในสมัยทวาราวดีขณะเป็นพ่อเมืองเพชรบุรี[12]
ผลงานด้านอื่น ๆ
แก้- กรรมการร่าง พรบ กรุงเทพมหานครฉบับแรก
- ผู้เสนอและก่อตั้งสำนักนโยบายและงานวางแผนมหาดไทย
- ผู้เสนอให้สอนวิชาฝ่ายอำนวยการ และเสนาธิการในวิทยาลัยการปกครอง
- อาจารย์พิเศษในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ได้รับการแต่งตั้งให่ดำรงค์ตำแหน่งนายกสมาคมรัฐศาตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นคนที่2
- เขียนหนังสือทางการปกครองชื่อ “พรรคการเมือง” และ “สภาตำบล” และเปิดผนึกความลี้ลับการเลือตั้ง
เกียรติยศที่ได้รับ
แก้- รางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ (สังข์เงิน) ( ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2522) จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (ด้านสาขาการบริหารและการปกครอง)
- ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี[13]
- ได้รับการจัดสร้างอนุสาวรีย์เชาวน์วัศน์ สุดลาภาขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณงามความดีที่ประชาชนชาวอำเภอกะปง จังหวัดพังงาสร้างไว้ให้เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู่ว่าราชการจังหวัดพังงาท่านนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[16]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- พ.ศ. 2520 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ บุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี เก็บถาวร 2009-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ นายอำเภอศรีประจันต์ เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ทำเนียบรายชื่อผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ ประวัติ ตลาดนัดสวนจตุจักร.เก็บถาวร 2009-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (จากเว็บไซต์ chillisiam.com)
- ↑ อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เก็บถาวร 2009-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เว็บไซต์หมูหินดอตคอม)
- ↑ งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์
- ↑ "ก่อตั้งวิทยาลัยชาวบ้านจังหวัดลพบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-26. สืบค้นเมื่อ 2009-02-26.
- ↑ สร้างเหรียญหลวงพ่อเขาตระเครา
- ↑ รูปแบบและกระบวนพยุหยาตราพญาลิไท วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2548
- ↑ การจัดงาน พระนครคีรี - เมืองเพชร ครั้งที่ 15. (ข่าวจาก ryt9.com วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
- ↑ "บุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-26. สืบค้นเมื่อ 2009-02-26.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย (๕ ธันวาคม ๒๕๓๐)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 2014-11-24.
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2017-12-13.
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๐ จากเว็บไชต์ thaiscouts
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- หนังสือประวัติ เชาวน์วัศ สุดลาภา
ก่อนหน้า | เชาวน์วัศ สุดลาภา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นายชลอ ธรรมศิริ | ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 - 16 เมษายน พ.ศ. 2524) |
พลเรือเอกเทียม มกรานนท์ |