สหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ

องค์การ

สหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ (อังกฤษ: International Amateur Radio Union: IARU) เป็นสมาพันธ์ระดับนานาชาติขององค์การระดับชาติที่เปิดโอกาสให้มีเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก และเป็นตัวแทนร่วมกันในสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) โดยสหภาพวิทยุสมัครเล่นนานานชาติก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2468 และเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 มีสมาชิกระดับชาติจำนวน 172 สมาคม[2]

สหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ
International Amateur Radio Union
ชื่อย่อIARU
คําขวัญทำงานเพื่ออนาคตของวิทยุสมัครเล่น
อังกฤษ: "Working for the Future of Amateur Radio"[1]
ก่อตั้งพ.ศ. 2468; 99 ปีที่แล้ว (2468)[1]
ประเภทองค์การนอกภาครัฐระหว่างประเทศ (INGO)
วัตถุประสงค์การสนับสนุน
สํานักงานใหญ่นิววิงตัน, รัฐคอนเนทิคัต, สหรัฐ
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ทั่วโลก
สมาชิก
172 สมาชิกระดับชาติ[2]
ภาษาทางการ
อังกฤษ[3]
ประธาน
Tim Ellam, VE6SH[1]
องค์กรแม่
สภาบริหาร[4]
เว็บไซต์www.iaru.org

ประวัติ

แก้

หลังจากการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2467 ผู้แทนจากฝรั่งเศส บริเตนใหญ่ เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี สเปน ลักเซมเบิร์ก แคนาดา และสหรัฐ ได้จัดทำแผนเพื่อจัดการประชุมวิทยุสมัครเล่นนานาชาติขึ้นในปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2468 โดยการประชุมใหญ่นี้จัดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งองค์การวิทยุสมัครเล่นระดับนานาชาติ[5] การประชุมดังกล่าวมีผู้แทนจาก 23 ประเทศ จากทวีปยุโรป อเมริกา และเอเชีย ซึ่งธรรมนูญของสหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ (IARU) ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 17 เมษายน และวันต่อมาการก่อตั้งสหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2468[6] ในปัจจุบันถึงถือว่าวันที่ 18 เมษายน เป็นวันที่จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันวิทยุสมัครเล่นโลก[7]พิธีสารจากการประชุมดังกล่าวถูกเขียนขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเอสเปรันโต[8]

การกำกับดูแล

แก้

สหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ (IARU) มีประธานและรองประธานที่ได้มาจากการเลือกตั้ง ส่วนของเลขานุการจะได้มาจากการแต่งตั้ง และเจ้าหน้าที่ส่วนอื่น ๆ (รวมถึงตัวแทนระดับภูมิภาค) จะเป็นผู้จัดตั้งสภาบริหาร ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งประธานคือ Timothy Ellam, VE6SH (แคนาดา) รองประธานคือ Ole Garpestad, LA2RR (นอร์เวย์) และเลขานุการคือ Joel Harrison, W5ZN (สหรัฐ)[9][4] สำนักเลขาธิการระหว่างประเทศของสหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ (IARU International Secretariat: IARUIS) ดำเนินงานโดยสมาชิกของสมาคมหลังจากการเลือกตั้งโดยสมาชิก ซึ่งปัจจุบัน สมาคมวิทยุสมัครเล่นของอเมริกา (American Radio Relay League: ARRL) เป็นผู้ดำเนินงาน IARUIS จากสำนักงานใหญ่ในเมืองนิววิงตัน รัฐคอนเนทิคัต สหรัฐ[10]

องค์การระดับภูมิภาค

แก้

สหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ (IARU) ได้แบ่งองค์การออกเป็น 3 ภูมิภาค ชื่อว่า ภูมิภาคที่ 1, ภูมิภาคที่ 2 และภูมิภาคที่ 3 ซึ่งภูมิภาคเหล่านี้สอดคล้องกับภูมิภาคที่ประกาศใช้งานตามระเบียบของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ โดยในแต่ละภูมิภาคจะมีคณะกรรมการบริหารเป็นของตนเอง ปกติจะประกอบไปด้วยประธาน รองประธาน เลขานุการ และคณะกรรมการอีกหลายคน เจ้าหน้าที่ระดับภูมิภาคเหล่านี้จะได้รับการเลือกตั้งมาจากตัวแทนสมาคมสมาชิกในการประชุมระดับภูมิภาคทุก 3 ปี ส่วนผู้ประสานงานอาจจะได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารในภูมิภาคนั้น ๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานในพื้นที่เฉพาะในภูมิภาค หรือเพื่อสนับสนุนกิจกรรมวิทยุสมัครเล่นภายในภูมิภาค โดยทั้ง 3 ภูมิภาคได้แต่งตั้งผู้ประสานงานเกี่ยวกับ กีฬาการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุ (ARDF), การสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน การเฝ้าติดตามการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า และการแพร่กระจายของคลื่นวิทยุ

 
ประเทศที่มีสมาคมสังกัดสมาชิกของ IARU
  ภูมิภาคที่ 1 (101 ประเทศ)
  ภูมิภาคที่ 2 (42 ประเทศ)
  ภูมิภาคที่ 3 (29 ประเทศ)

IARU ภูมิภาคที่ 1

แก้

สหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ ภูมิภาคที่ 1 (IARU ภูมิภาคที่ 1) ประกอบด้วยสมาคมสมาชิกที่เป็นตัวแทนของนักวิทยุสมัครเล่นในทวีปแอฟริกา ยุโรป ตะวันออกลาง และตอนเหนือของเอเชีย IARU ภูมิภาคที่ 1 มีสมาชิกมากที่สุดในบรรดาทั้ง 3 ภูมิภาค และเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการระดับนานาชาติหลายโครงการ ความพยายามล็อบบี้ของภูมิภาคที่ 1 นำไปสู่การใช้งานวิทยุสมัครเล่นย่านความถี่ 30 เมตร, 17 เมตร และ 12 เมตร การปรับปรุงมาตรฐานในการออกใบอนุญาตวิทยุระหว่างประเทศ ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุ (ARDF) และเริ่มต้นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน ที่รู้จักกันในชื่อว่า "the Youngsters On the Air project" (YOTA)[11]

เจ้าหน้าที่บริหาร:[12]

  • ประธาน:   Sylvain Azarian, F4GKR
  • รองประธาน:   Hani Raad, OD5TE
  • เลขานุการ:   Mats Espling, SM6EAN
  • เหรัญญิก:   Andreas Thiemann, HB9JOE
ประเทศ สมาคมสมาชิก ชื่อย่อและเว็บไซต์ (หากมี)
  แอลเบเนีย Albanian Amateur Radio Association AARA
  แอลจีเรีย Association of Algerian Radio Amateurs ARA เก็บถาวร 2023-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  อันดอร์รา Andorran Amateur Radio Union URA
  อาร์มีเนีย Federation of Radiosport of the Republic of Armenia FRRA
  ออสเตรีย Austrian Amateur Radio Society OEVSV
  อาเซอร์ไบจาน Federation of Radiosport of the Republic of Azerbaijan FRS
  บาห์เรน Bahrain Amateur Radio Society BARS
  เบลารุส Belarusian Federation of Radioamateurs and Radiosportsmen BFRR
  เบลเยียม Royal Union of Belgian Radio Amateurs UBA
  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา Amateur Radio Association of Bosnia and Hercegovina ARAuBiH
  บอตสวานา Botswana Amateur Radio Society BARS
  บัลแกเรีย Bulgarian Federation of Radio Amateurs BFRA
  บูร์กินาฟาโซ Burkina Faso Amateur Radio Association ARBF
  บุรุนดี Burundian Amateur Radio and Television Association ABART
  แคเมอรูน Cameroon Amateur Radio Association ARTJ
  โกตดิวัวร์ Ivorian Amateur Radio Association ARAI
  โครเอเชีย Croatian Amateur Radio Association HRS
  ไซปรัส Cyprus Amateur Radio Society CARS
  เช็กเกีย Czech Radio Club CRK เก็บถาวร 2023-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก Congolese Amateur Radio Association ARAC
  เดนมาร์ก Danish Amateur Radio Experimenters EDR
  จิบูตี Djibouti Amateur Radio Association ARAD
  อียิปต์ Egyptian Radio Amateurs Society for Development ERASD
  เอสโตเนีย Estonian Radio Amateurs' Union ERAU
  เอสวาตีนี Radio Society of Eswatini RSE
  เอธิโอเปีย Ethiopian Amateur Radio Society EARS
  หมู่เกาะแฟโร Radio Amateurs of the Faroe Islands FRA
  ฟินแลนด์ Finnish Amateur Radio League SRAL
  ฝรั่งเศส Network of French Transmitters REF
  กาบอง Gabonese Amateur Radio Association AGRA
  แกมเบีย Radio Society of The Gambia RSTG
  จอร์เจีย National Association of Radio Amateurs of Georgia NARG
  เยอรมนี German Amateur Radio Club DARC
  กานา Ghana Amateur Radio Society GARS
  ยิบรอลตาร์ Gibraltar Amateur Radio Society GARS
  กรีซ Radio Amateur Association of Greece RAAG
  กินี Guinean Amateur Radio Association ARGUI
  ฮังการี Hungarian Amateur Radio Association MRASZ
  ไอซ์แลนด์ Icelandic Radio Amateurs IRA
  อิรัก Iraqi Amateur Radio Society IARS เก็บถาวร 2023-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  ไอร์แลนด์ Irish Radio Transmitters Society IRTS
  อิสราเอล Israel Amateur Radio Club IARC
  อิตาลี Italian Amateur Radio Association ARI
  จอร์แดน Royal Jordanian Radio Amateur Society RJRAS
  คาซัคสถาน Kazakhstan Federation of Radiosport and Radio Amateur KFRR
  เคนยา Amateur Radio Society of Kenya ARSK
  คอซอวอ Kosovo Amateur Radio Association SHRAK
  คูเวต Kuwait Amateur Radio Society KARS
  คีร์กีซสถาน Amateur Radio Union of the Kyrgyz Republic ARUKR
  ลัตเวีย Latvian Amateur Radio League LRAL
  เลบานอน Radio Amateurs of Lebanon RAL เก็บถาวร 2023-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  เลโซโท Lesotho Amateur Radio Society LARS
  ไลบีเรีย Liberia Radio Amateur Association LRAA
  ลีชเทินชไตน์ Amateur Radio Association of Liechtenstein AFVL
  ลิทัวเนีย Lithuanian Amateur Radio Society LRMD
  ลักเซมเบิร์ก Luxembourg Amateur Radio Society RL
  มาลี Club of Radio Amateurs and Affiliates of Mali CRAM
  มอลตา Malta Amateur Radio League MARL
  มอริเชียส Mauritius Amateur Radio Society MARS
  มอลโดวา Amateur Radio Society of Moldova ARM
  โมนาโก Monegasque Amateur Radio Association ARM
  มองโกเลีย Mongolian Radio Sport Federation MRSF เก็บถาวร 2023-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  มอนเตเนโกร Montenegrin Amateur Radio Pool MARP
  โมร็อกโก Royal Moroccan Amateur Radio Association ARRAM
  โมซัมบิก Mozambique Amateur Radio League LREM
  นามิเบีย Namibian Amateur Radio League NARL
  เนเธอร์แลนด์ Dutch Association for Experimental Radio Research VERON
  ไนจีเรีย Nigeria Amateur Radio Society NARS
  มาซิโดเนียเหนือ Radio Amateur Society of North Macedonia RSM
  นอร์เวย์ Norwegian Radio Relay League NRRL
  โอมาน Royal Omani Amateur Radio Society ROARS
  โปแลนด์ Polish Amateur Radio Union PZK
  โปรตุเกส Network of Portuguese Transmitters REP
  กาตาร์ Qatar Amateur Radio Society QARS
  สาธารณรัฐคองโก Congolese Amateur Radio Union URAC
  โรมาเนีย Romanian Federation of Amateur Radio FRR
  รัสเซีย Russian Amateur Radio Union SRR
  รวันดา Rwanda Amateur Radio Union RARU
  ซานมารีโน Radio Amateur Association of the Republic of San Marino ARRSM
  ซาอุดีอาระเบีย Saudi Amateur Radio Society SARS
  เซเนกัล Senegalese Amateur Radio Association ARAS เก็บถาวร 2021-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  เซอร์เบีย Amateur Radio Union of Serbia SRS
  เซเชลส์ Seychelles Amateur Radio Association SARA
  เซียร์ราลีโอน Sierra Leone Amateur Radio Society SLARS
  สโลวาเกีย Slovak Amateur Radio Association SZR
  สโลวีเนีย Association of Radio Amateurs of Slovenia ZRS
  แอฟริกาใต้ South African Radio League SARL
  สเปน Spanish Amateur Radio Union URE
  ซูดาน Sudan Amateur Radio Union SARU
  สวีเดน Swedish Society of Radio Amateurs SSA
  สวิตเซอร์แลนด์ Union of Swiss Short Wave Amateurs USKA
  ซีเรีย Syrian Scientific Technical Amateur Radio Society SSTARS
  ทาจิกิสถาน Tajik Amateur Radio League TARL
  แทนซาเนีย Tanzania Amateur Radio Club TARC
  ตูนิเซีย Tunisian Amateur Radio Association ARAT
  ตุรกี Turkish Wireless and Radio Amateur Society TRAC
  เติร์กเมนิสถาน League of Radio Amateurs of Turkmenistan LRT
  ยูกันดา Uganda Amateur Radio Society UARS
  ยูเครน Ukrainian Amateur Radio League UARL
  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ Emirates Amateur Radio Society EARS
  สหราชอาณาจักร สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งบริเตนใหญ่ RSGB
  แซมเบีย Radio Society of Zambia (ถอนตัว) RSZ
  ซิมบับเว Zimbabwe Amateur Radio Society ZARS

IARU ภูมิภาคที่ 2

แก้

สหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ ภูมิภาคที่ 2 (IARU ภูมิภาคที่ 2) ประกอบด้วยสมาคมสมาชิกที่เป็นตัวแทนของนักวิทยุสมัครเล่นในทวีปอเมริกา องค์การของ IARU ภูมิภาคที่ 2 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2507 เริ่มต้นจากตัวแทนจากสมาคมวิทยุระดับชาติจำนวน 15 สมาคมได้เข้าร่วมการประชุมวิทยุสมัครเล่นแพนอเมริกาครั้งแรก ในเมืองเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก โดยมี Antonio Pita, XE1CCP เป็นประธานคนแรกของภูมิภาคนี้[13]

เจ้าหน้าที่บริหาร:[14]

  • ประธาน:   Ramón Santoyo, XE1KK
  • รองประธาน:   José Arturo Molina, YS1MS
  • เลขานุการ:   George Gorsline, VE3YV
  • เหรัญญิก:   John Bellows, K0QB
ประเทศ สมาคมสมาชิก ชื่อย่อและเว็บไซต์ (หากมี)
  แองกวิลลา Anguilla Amateur Radio Society AARS
  แอนทีกาและบาร์บิวดา Antigua and Barbuda Amateur Radio Society ABARS
  อาร์เจนตินา Argentine Radio Club RCA
  อารูบา Aruba Amateur Radio Club AARC
  บาฮามาส Bahamas Amateur Radio Society BARS
  บาร์เบโดส Amateur Radio Society of Barbados ARSB
  เบลีซ Belize Amateur Radio Club BARC
  เบอร์มิวดา Radio Society of Bermuda RSB
  โบลิเวีย Radio Club of Bolivia RCB
  บราซิล League of Brazilian Amateur Radio Transmitters LABRE
  หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน British Virgin Islands Radio League BVIRL
  แคนาดา Radio Amateurs of Canada RAC
  หมู่เกาะเคย์แมน Cayman Amateur Radio Society CARS
  ชิลี Chilean Radio Club RCCH
  โคลอมเบีย Colombian Amateur Radio League LCRA
  คอสตาริกา Radio Club of Costa Rica RCCR
  คิวบา Cuban Amateur Radio Federation FRC
  กูราเซา Dutch Caribbean Association for Experimental Radio Research VERONA
  ดอมินีกา Dominica Amateur Radio Club DARCI
  สาธารณรัฐโดมินิกัน Radio Club of the Dominican Republic RCD
  เอกวาดอร์ Guayaquil Radio Club GRC
  เอลซัลวาดอร์ El Salvador Amateur Radio Club CRAS
  กรีเนดา Grenada Amateur Radio Society GARS
  กัวเตมาลา Guatemala Amateur Radio Club CRAG
  กายอานา Guyana Amateur Radio Association (ถูกระงับ) GARA
  เฮติ Haitian Radio Club RCH
  ฮอนดูรัส Radio Club of Honduras RCH
  จาเมกา Jamaica Amateur Radio Association JARA
  เม็กซิโก Mexican Federation of Radio Experimenters FMRE
  มอนต์เซอร์รัต Montserrat Amateur Radio Society MARS
  นิการากัว Nicaraguan Radio Experimenters' Club CREN
  ปานามา Panamanian Amateur Radio League LPRA
  ปารากวัย Radio Club of Paraguay RCP
  เปรู Radio Club of Peru RCP
  เซนต์คิตส์และเนวิส St. Kitts-Nevis-Anguilla Amateur Radio Society SKNAARS
  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ St. Vincent & the Grenadines Amateur Radio Club SVGARC
  ซูรินาม Association of Radio Amateurs of Suriname (ถูกระงับ) VRAS
  ตรินิแดดและโตเบโก Trinidad and Tobago Amateur Radio Society TTARS
  หมู่เกาะเติกส์และเคคอส Turks and Caicos Amateur Radio Society TACARS
  สหรัฐ สมาคมวิทยุสมัครเล่นของอเมริกา (สำนักเลขาธิการระหว่างประเทศของ IARU) ARRL
  อุรุกวัย Radio Club of Uruguay RCU
  เวเนซุเอลา Radio Club of Venezuela RCV

IARU ภูมิภาคที่ 3

แก้

สหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ ภูมิภาคที่ 3 (IARU ภูมิภาคที่ 3) ประกอบด้วยสมาคมสมาชิกที่เป็นตัวแทนของนักวิทยุสมัครเล่นในออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย และหมู่เกาะแปซิฟิก แม้ว่าจะมีสมาชิกส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาค IARU อื่น ๆ แต่สมาคมวิทยุสมัครเล่นของอเมริกา (American Radio Relay League: ARRL) และ สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งบริเตนใหญ่ (Radio Society of Great Britain: RSGB) ก็เป็นสมาชิกแบบเต็มของ IARU ภูมิภาคที่ 3 โดย ARRL เป็นตัวแทนของนักวิทยุสมัครเล่นในอเมริกันซามัว, กวม, หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และดินแดนในภาวะพึ่งพิงอื่น ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วน RSGB เป็นตัวแทนของนักวิทยุสมัครเล่นในบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี IARU ภูมิภาคที่ 3 ให้ความสำคัญเป็นพิเศษเกี่ยวกับการเชื่อมโยงคุณสมบัติของใบอนุญาตวิทยุสมัครเล่น เพื่อส่งเสริมการออกอากาศร่วมกันของนักวิทยุสมัครเล่นในภูมิภาค[15]

เจ้าหน้าที่บริหาร:[16]

  • ประธาน:   Wisnu Widjaja, YB0AZ
  • เลขานุการ:   Shizuo Endo, JE1MUI
ประเทศ สมาคมสมาชิก ชื่อย่อและเว็บไซต์ (หากมี)
  ออสเตรเลีย Wireless Institute of Australia WIA
  บังกลาเทศ Bangladesh Amateur Radio League BARL
  บรูไน Brunei Darussalam Amateur Radio Association BDARA เก็บถาวร 2010-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  จีน Chinese Radio Amateurs Club CRAC
  สาธารณรัฐจีน Chinese Taipei Amateur Radio League CTARL
  ฟีจี Fiji Association of Radio Amateurs FARA
  เฟรนช์พอลินีเชีย Oceanian Radio and Astronomy Club CORA
  ฮ่องกง Hong Kong Amateur Radio Transmitting Society HARTS
  อินเดีย Amateur Radio Society of India ARSI
  อินโดนีเซีย องค์การวิทยุสมัครเล่นอินโดนีเซีย ORARI
  ญี่ปุ่น Japan Amateur Radio League JARL
  มาเก๊า Macau Amateur Radio Society ARM
  มาเลเซีย สมาคมเครื่องส่งสัญญาณวิทยุสมัครเล่นมาเลเซีย MARTS
  พม่า Burma Amateur Radio Transmitting Society (ถูกระงับ) BARTS
  นิวแคลิโดเนีย New Caledonian Amateur Radio Association ARANC
  นิวซีแลนด์ New Zealand Association of Radio Transmitters NZART
  ปากีสถาน Pakistan Amateur Radio Society PARS
  ปาปัวนิวกินี Papua New Guinea Amateur Radio Society (ถูกระงับ) PNGARS
  ฟิลิปปินส์ สมาคมวิทยุสมัครเล่นฟิลิปปินส์ PARA
  หมู่เกาะพิตแคร์น Pitcairn Island Amateur Radio Association PIARA
  ซามัว Samoa Amateur Radio Club SARC
  สิงคโปร์ สมาคมส่งสัญญาณวิทยุสมัครเล่นสิงคโปร์ SARTS
  หมู่เกาะโซโลมอน Solomon Islands Radio Society SIRS
  เกาหลีใต้ Korean Amateur Radio League KARL
  ศรีลังกา Radio Society of Sri Lanka RSSL
  ไทย สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชุปถัมภ์ RAST
  ตองงา Amateur Radio Club of Tonga ARCOT
  วานูวาตู Vanuatu Amateur Radio Society VARS
  เวียดนาม Vietnam Amateur Radio Club VARC

ประเทศที่ไม่มีสมาคมสังกัดสมาชิก IARU

แก้

* = ไม่มีการออกใบอนุญาตวิทยุสมัครเล่นในประเทศนี้

Region 1 Region 2 Region 3
  แองโกลา
  เบนิน
  กาบูเวร์ดี
  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
  ชาด
  คอโมโรส
  อิเควทอเรียลกินี
  เอริเทรีย
  กินี-บิสเซา
  ลิเบีย
  มาดากัสการ์
  มาลาวี
  มอริเตเนีย
  ไนเจอร์
  ปาเลสไตน์
  โซมาเลีย
  ซูดานใต้
  ซูดาน
  โตโก
  อุซเบกิสถาน
  นครรัฐวาติกัน
  เยเมน*
  กรีนแลนด์


  เซนต์ลูเชีย

  อัฟกานิสถาน
  ภูฏาน
  กัมพูชา
  หมู่เกาะคุก
  ไมโครนีเชีย
  อิหร่าน
  คิริบาส
  ลาว
  มัลดีฟส์
  หมู่เกาะมาร์แชลล์
  นาอูรู
  เนปาล
  นีวเว
  เกาหลีเหนือ*
  ปาเลา
  ติมอร์-เลสเต
  ตูวาลู

การประชุมการสื่อสารเหตุฉุกเฉินทางวิทยุสมัครเล่นระดับโลก

แก้

การประชุมการสื่อสารเหตุฉุกเฉินทางวิทยุสมัครเล่นระดับโลก (Global Amateur Radio Emergency Communications Conference: GAREC) เป็นการประชุมประจำปีที่จัดขึ้นโดยสหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ (IARU) เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของวิทยุสมัครเล่นระหว่างที่เกิดภัยธรรมชาติและเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ โดยมีคำขวัญว่า "่ช่วยชีวิตผ่านการสื่อสารฉุกเฉิน" (Saving lives through emergency communications)[17] การประชุม GAREC จัดขึ้นครั้งแรก ณ เมืองตัมเปเร ประเทศฟินแลดน์ เมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งสอดคล้องกับอนุสัญญาตัมเปเรในปี พ.ศ. 2541[18] ในการประชุมครั้งต่อ ๆ มา IARU ได้พยายามจัดการประชุมสัญจรไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ใน IARU (โดยไม่ได้เรียงลำดับภูมิภาคที่จะไป)

กีฬาทางวิทยุ

แก้

สหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ (IARU) ส่งเสริมการจัดการแข่งขันกีฬาทางวิทยุ (radiosport) ทั่วโลก โดยได้ประกาศใช้กฎสำหรับโทรเลขความเร็วสูงและสนับสนุนการแข่งขันชิงแชมป์ระดับภูมิภาคและระดับโลก IARU ยังประกาศใช้กฎที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุ (ARDF) ส่วนใหญ่ รวมไปถึงสนับสนุนการแข่งขันชิงแชมป์ในระดับภูมิภาคและในระดับโลก สนับสนุนการแข่งขัน IARU HF World Championship ในการแข่งขันวิทยุสมัครเล่น ซึ่ง IARU ไม่ได้เป็นผู้จัดหรือผู้บริหารการแข่งขันกีฬาเหล่านี้โดยตรง แต่ให้การสนับสนุนและการอนุญาตผ่านองค์การเจ้าภาพที่จัดแข่งขัน[19]

สถานีปฏิบัติการและรางวัล WAC

แก้

สหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ (IARU) มีสถานีวิทยุอยู่ที่สำนักงานใหญ่ในเมืองนิววิงตัน รัฐคอนเนตทิคัต มีสัญญาณเรียกขานว่า NU1AW เนื่องจากสถานีวิทยุสมัครเล่นดังกล่าวได้รับอนุญาตในการตั้งจากคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารของสหรัฐ (FCC) หมายเลข "1" จึงมาจากสถานที่ตั้งในพื้นที่นิวอิงแลนด์ และ "NU" ถูกนำมาใช้งานจากช่วงยุคก่อนปี พ.ศ. 2471 ที่นักวิทยุสมัครเล่นขณะนั้นใช้ตัวอักษรอย่างไม่เป็นทางการในการระบุว่าเขาอยู่ใน "North America—USA" (อเมริกาเหนือ สหรัฐ) คำต่อท้าย "AW" แสดงความเชื่อมโยงถึงสมาคมวิทยุสมัครเล่นของอเมริกา (ARRL) ที่ใช้สัญญาณเรียกขานของสถานีตนเองว่า W1AW ซึ่งสถานี NU1AW มีกิจกรรมบนความถี่บ่อยครั้งโดยเฉพาะในช่วงระหว่างการแข่งขันวิทยุสมัครเล่น[20]

หลายปีมาแล้วที่ IARU ได้ออกหนังสือรับรอง Worked All Continents (WAC) ให้กับนักวิทยุสมัครเล่นที่สามารถติดต่อครบได้ทั้ง 6 ทวีปทั่วโลกที่มีประชากรอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังมีรางวัลพิเศษและหนังสือรับรองสำหรับโหมดการออกอากาศในย่านต่าง ๆ อีกด้วย

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 International Amateur Radio Union (2007). "The International Amateur Radio Union". Feb. 1, 2020.
  2. 2.0 2.1 International Amateur Radio Union (2019). "Member Societies". Nov. 6, 2019.
  3. IARU Constitution เก็บถาวร 2008-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. 4.0 4.1 International Amateur Radio Union (2005). "Constitution of the International Amateur Radio Union" เก็บถาวร 2008-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Jan. 11, 2005.
  5. Clinton B. DeSoto (1936). 200 meters & Down — The Story of Amateur Radio. W. Hartford, CT: The American Radio Relay League. pp. 106–109. ISBN 0-87259-001-1.
  6. Sumner, David (2000). "IARU 75th Anniversary, 18 April 2000" เก็บถาวร 14 เมษายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Calendar, International Amateur Radio Union, No. 180, March 15, 2000.
  7. "World Amateur Radio Day". iaru.org.
  8. editeur Etienne Chiron 40 rue de Seine Paris 1925
  9. "About Us | IARU". www.iaru.org. สืบค้นเมื่อ 2020-07-13.
  10. International Amateur Radio Union (2005). "The IARU International Secretariat" เก็บถาวร 2008-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. January 11, 2005.
  11. International Amateur Radio Union Region 1 (2008). "About IARU and IARU Region 1" เก็บถาวร 2008-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved August 5, 2008.
  12. "Executive Committee | International Amateur Radio Union (IARU)".
  13. International Amateur Radio Union (2008). "IARU-R2 History". Retrieved Aug. 5, 2008.
  14. "International Amateur Radio Union (IARU) | Executive Committee".
  15. International Amateur Radio Union Region 3 (2008). "Directory" เก็บถาวร 2013-04-15 ที่ archive.today. Retrieved Aug. 5, 2008.
  16. "IARU R3 Directors & Officers | International Amateur Radio Union (IARU)".
  17. "GAREC 2010 Saving lives through Emergency Communications". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-09-24.
  18. The Tampere Convention on the Provision of Telecommunication Resources for Disaster Mitigation and Relief Operations. "The Tampere Convention on the Provision of Telecommunication Resources for Disaster Mitigation and Relief Operations". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-11. สืบค้นเมื่อ 2008-05-13.. Accessed 13 August 2007.
  19. International Amateur Radio Union (2007). "IARU Contests". Jul. 23, 2007. เก็บถาวร มกราคม 3, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  20. International Amateur Radio Union (1996). NU1AW: IARU's Club Station เก็บถาวร 2009-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved November 30, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้