นักวิทยุสมัครเล่น
"นักวิทยุสมัครเล่น" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "amateur radio operator" หมายถึงบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจากรัฐบาลหรือจากผู้ที่มีอำนาจของแต่ละประเทศ นักวิทยุสมัครเล่นจะใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในสถานีของนักวิทยุสมัครเล่นสำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างนักวิทยุสมัครเล่นที่ได้รับอนุญาตเช่นเดียวกัน รวมทั้งใช้ความถี่ที่กำหนดให้เฉพาะกิจการวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น ซึ่งการใช้งานจะต้องเป็นตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาต นักวิทยุสมัครเล่นจะได้รับการกำหนดสัญญาณเรียกขาน เพื่อระบุตัวตนในการติดต่อสื่อสาร ปัจจุบันมีนักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลกประมาณ 3 ล้านคน
นักวิทยุสมัครเล่นมักเรียกตัวเองว่า "ham" สำหรับที่มาของคำว่า "ham" นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อใด และนักวิทยุสมัครเล่นมักจะเรียกหรือกล่าวถึงนักวิทยุสมัครเล่นที่เสียชีวิตว่า "silent key"
ข้อมูลสถิตินักวิทยุสมัครเล่น
แก้ประเทศ | จำนวนนักวิทยุสมัครเล่น | จำนวนต่อเปอร์เซ็นประชากร | ปีที่รายงาน (ค.ศ.) | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
สหรัฐ | 779,545 | 0.233 | 2021 | [1] |
ญี่ปุ่น | 381,899 | 0.304 | 2021 | [2] |
จีน | 150,000 | 0.010 | 2019 | [3] |
สหราชอาณาจักร | 75,660 | 0.114 | 2018 | [4] |
แคนาดา | 70,198 | 0.187 | 2018 | [5] |
สาธารณรัฐจีน | 68,692 | 0.296 | 1999 | [6] |
ไทย | 65,606 | 0.100 | 2022 | [6] |
เยอรมนี | 63,070 | 0.073 | 2019 | [7] |
สเปน | 58,700 | 0.127 | 1999 | [6] |
เกาหลีใต้ | 42,632 | 0.082 | 2012 | [8] |
รัสเซีย | 38,000 | 0.026 | 1993 | [6] |
บราซิล | 32,053 | 0.016 | 1997 | [6] |
อิตาลี | 30,000 | 0.049 | 1993 | [6] |
อินโดนีเซีย | 27,815 | 0.011 | 1997 | [6] |
ฝรั่งเศส | 13,500 | 0.019 | 2022 | [9] |
ยูเครน | 17,265 | 0.037 | 2000 | [6] |
อาร์เจนตินา | 16,889 | 0.042 | 1999 | [6] |
โปแลนด์ | 13,600 | 0.035 | 2020 | [10] |
ออสเตรเลีย | 15,068 | 0.059 | 2020 | [11] |
อินเดีย | 15,679 | 0.001 | 2000 | [6] |
สวีเดน | 12,859 | 0.114 | 2021 | [12] |
เนเธอร์แลนด์ | 12,582 | 0.07 | 2018 | [13] |
มาเลเซีย | 10,509 | 0.04 | 2016 | [6] |
เดนมาร์ก | 9,079 | 0.152 | 2022 | [14] |
สโลวีเนีย | 6,500 | 0.317 | 2000 | [6] |
ออสเตรีย | 6,930 | 0.077 | 2022 | [15] |
นิวซีแลนด์ | 6,000 | 0.12 | 1994 | [6] |
แอฟริกาใต้ | 6,000 | 0.012 | 1994 | [6] |
นอร์เวย์ | 6,818 | 0.125 | 2022 | [16] |
เช็กเกีย | 5,327 | 0.05 | 2022 | [17] |
ฟินแลนด์ | 5,000 | 0.090 | 2016 | [18] |
เซอร์เบีย | 3,962 | 0.056 | 2020 | [19] |
โรมาเนีย | 3,527 | 0.018 | 2017 | [20] |
ไอร์แลนด์ | 1,945 | 0.039 | 2020 | [21][22] |
เอสโตเนีย | 700 | 0.052 | 2020 |
คุณลักษณะทั่วไปของนักวิทยุสมัครเล่น
แก้มีไม่กี่ประเทศที่ได้บันทึกเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักวิทยุสมัครเล่นไว้ นอกจากจำนวนของนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น นักวิทยุสมัครเล่นส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศเหล่านี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไทย เกาหลีใต้ และสหภาพยุโรป มีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ไม่อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเป็นนักวิทยุสมัครเล่น คือ เยเมน และ เกาหลีเหนือ ในบางประเทศก็เป็นการยากที่ประชาชนทั่วไปจะได้รับอนุญาตเนื่องจากค่าใบอนุญาตที่สูงมาก ในบางประเทศก็อนุญาตให้ชาวต่างชาติด้วย ซึ่งมีจำนวนน้อยที่นักวิทยุสมัครเล่นจะได้รับอนุญาตในหลายๆ ประเทศพร้อมกัน
ธรรมเนียม
แก้ผู้เสียชีวิต
แก้สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นที่เสียชีวิตนั้น ในภาษาของนักวิทยุสมัครเล่นจะใช้คำว่า Silent Key ใช้ตัวย่อคือ SK ในการกล่าวถึงโดยให้ความเคารพ[23]
สำหรับที่มานั้นมาจากในอดีตจะมีการส่งรหัส "SK" (หรือ "VA") ในการส่งสัญญาณเป็นรหัสสุดท้ายก่อนจะสิ้นสุดการส่งสัญญาณจากสถานีและปิดเครื่องส่งสัญญาณ[24] จึงมีการนำมาใช้ต่อท้าสัญญาณเรียกขานของนักวิทยุสมัครเล่นที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว เสมือนกับการได้ส่งสัญญาณครั้งสุดท้ายก่อนจากไป
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "FCC License Counts". arrl.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-24. สืบค้นเมื่อ 2019-11-30.
- ↑ "Hamlife.jp Database Ministry of Communication". สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.
- ↑ "业余电台操作证书核发信息公告(ABC类及香港B类)" [Amateur Radio Operation Certificate Issue Information Announcement (ABC Class and Hong Kong Class B)]. Chinese Radio Amateurs Club. June 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-28.
- ↑ "How many UK radio amateurs are there?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-15. สืบค้นเมื่อ 2023-03-15.
- ↑ "Southgate Amateur Radio News". southgatearc.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-15. สืบค้นเมื่อ 20 November 2020.
- ↑ 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 "Thailand Reported to Have the Third Largest Ham Radio Population". American Radio Relay League (ARRL.org). สืบค้นเมื่อ 2020-11-20.
- ↑ "Amateurfunk". Bundesnetzagentur. 2019.
- ↑ "Triennial Report from KARL". iaru-r3.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-02. สืบค้นเมื่อ 2012-11-04.
- ↑ REF preliminary callsign statistics
- ↑ "UKE Radioamator". amator.uke.gov.pl. สืบค้นเมื่อ 2020-01-21.
- ↑ "ACMA Radiocomms license data". acma.gov.au. สืบค้นเมื่อ 2020-12-29.
- ↑ SSA callsign statistics published in QTC 12/2021
- ↑ Agentschap Telecom - Ministerie van Economische Zaken en Klimaat "Staat van de Ether 2018". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-23.
- ↑ Energistyrelsen Frekvensregister {{cite web |url=https://frekvensregister.ens.dk/Search/Search.aspx?title=Result&scrolling=auto&url=http://frekvensregister.itst.dk:80/Search/Result.aspx เก็บถาวร 2023-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน?
- ↑ "Rufzeichenliste österreichischer Amateurfunkstellen" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2022-02-15.
- ↑ Nkom callsign statistics
- ↑ "Individual licenses and call signs of Radio Amateur Service stations". ctu.cz. สืบค้นเมื่อ 2022-12-15.
- ↑ "Mitä radioamatööritoiminta on?". SRAL.fi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-06-01. สืบค้นเมื่อ 2016-03-06.
- ↑ "YU Amateur Radio Call Book". yu1srs.org.rs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-17. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.
- ↑ "ANCOM Callbook Radioamatori". ancom.org.ro. สืบค้นเมื่อ 11 January 2018.
- ↑ "COMREG Licensing Database". www.comreg.ie. 7 March 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2017. สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
- ↑ "Population and Migration Estimates April 2020 - CSO - Central Statistics Office". www.cso.ie (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
- ↑ "Silent Key Submission Guidelines". www.arrl.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Morse Code Operating Aids". web.archive.org. 2017-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-28. สืบค้นเมื่อ 2023-03-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)