สุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อน
สุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อน (เกาหลี: 조선의 왕릉) เป็นสุสานที่ฝังพระศพของกษัตริย์ พระมเหสี และพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์โชซ็อน ประกอบด้วยสุสานทั้งหมด 40 สุสาน ซึ่งกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 18 แห่ง ตั้งอยู่ในกรุงโซลและจังหวัดคย็องกี สุสานแห่งนี้ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก ใน พ.ศ. 2552
สุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อน * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
สุสาน | |
ประเทศ | เกาหลีใต้ |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (iii) (iv) (vi) |
อ้างอิง | 1319 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2552 (คณะกรรมการสมัยที่ 33) |
พื้นที่ | 1,891.2 ha (4,673 เอเคอร์) |
พื้นที่กันชน | 4,660.1 ha (11,515 เอเคอร์) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
มรดกโลก
แก้สุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อนได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 33 เมื่อ พ.ศ. 2552 ที่เมืองเซบิยา ประเทศสเปน โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
- (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
- (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
- (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
สถาปัตยกรรมในสุสานหลวง
แก้ในสุสานหลวงสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนหลัก ดังนี้
ส่วนของช็องจากัก
แก้เป็นจุดพบกันระหว่างผู้ล่วงลับและคนเป็น โดยพื้นที่บริเวณประตูฮงซัลมุนเป็นบริเวณสำหรับคนเป็น
ส่วนของพื้นที่ซึ่งผ่านประตูไปแล้ว
แก้เป็นบริเวณระหว่างโลกและดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เป็นพื้นที่ซึ่งดวงพระวิญญาณของกษัตริย์และราชินีจะทรงมาพบกับผู้มานมัสการจากโลกมนุษย์ พื้นที่นี้ประกอบไปด้วยศาลช็องจากัก, ซูบกบัง และอาคารซูรากัง
พื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์บริเวณหลุมพระบรมศพ
แก้พื้นที่ที่ประกอบไปด้วยกำแพง และสถาปัตยกรรมจากหินอื่น ๆ[1]
สถาปัตยกรรมอื่น
แก้สถาปัตยกรรมอื่น ๆ ประกอบไปด้วย[1]
- กกจัง เป็นกำแพงสามด้านรอบหลุมพระบรมศพป้องกันพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์
- ซ็อกโฮ เทพเสือ ทำหน้าที่เป็นผู้ปกปักรักษาบงบุน
- ซ็อกยัง รูปปั้นแกะ ซึ่งป้องกันวิญญาณชั่วร้ายจากโลกและยังสวดภาวนาแด่ดวงพระวิญญาณของผู้ล่วงลับ
- มังจูซ็อก เสาหินคู่ สร้างขึ้นไว้ทั้งสองด้านของเนินหลุมพระบรมศพ
- บงบุน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพของกษัตริย์หรือราชินี อาจเรียกว่า นึงชิม หรือ นึงซัง
- นันกางซ็อก เป็นที่หินป้องกันความเสี่ยงและปกป้องบย็องพุงซ็อก
- ฮ็องนยูซ็อก หินสี่เหลี่ยมสร้างขึ้นไว้ทางด้านหน้าของหลุมพระบรมศพ เชื่อว่าเป็นที่เชิญดวงพระวิญญาณออกมา
- มูนินซ็อก รูปปั้นนักปราชญ์ ซึ่งวางไว้ทางด้านซ้ายและขวาของประทีบชังมย็องดึง
- ชังมย็องดึง ประทีบซึ่งอำนวยความสะดวกในการนมัสการและสวดมนต์แด่ดวงพระวิญญาณ
- ซ็องมา รูปปั้นม้า
- มูอินซ็อก รูปปั้นทหาร ซึ่งกล่าวว่าจะปกป้องกษัตริย์ วางอยู่ด้านล่างของมูอินซ็อก
- เยกัม ตั้งอยู่ทางมุมด้านซ้าย ด้านหลังของช็องจากัก ถูกนำมาใช้ในการเผาคำอธิษฐานหลังงานพระบรมศพแล้ว
- บิกัก อาคารซึ่งมีอนุสาวรีย์หินสลักพระนามของกษัตริย์และราชินีไว้ด้านหน้า ส่วนด้านหลังจะสลักรายชื่อพระราชกรณียกิจที่ประสบความสำเร็จของกษัตริย์
- ช็องจากัก เป็นพื้นที่สำหรับใก้บริการในการรำลึก
- ชัมโด เป็นแนวทางเดินหินนำไปสู่งช็องจากัก ทางเดินที่สูงกว่าเรียกว่าชินโด (ทางเดินแห่งพระเจ้า) ขณะที่ทางเดินต่ำกว่าเรียกว่า Eodo (ทางเดินของกษัตริย์) เฉพาะ Eodo เท่านั้นที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชมได้ ตามที่ทางเกาหลีกำหนดไว้
- ซูรากัน เป็นที่ตั้งอาหารเตรียมการสำหรับรำลึก
- ซูบ็อกบัง เป็นพื้นที่สุดท้ายสำหรับเจ้าหน้าที่เฝ้าหลุมพระบรมศพ
- แบวี
- ฮงซัลมุน เป็นประตูสีแดงทรงกระบอก
- บย็องพุงซ็อก เป็นกินซึ่งอยู่ใต้และรอบ ๆ เพื่อปกป้องบงบุน
รายชื่อสุสาน
แก้สุสานหลวงมีการแบ่งระดับของสุสานไว้ 3 ระดับ[2] คือ
- "ลึง" (เกาหลี: 릉, อักษรโรมัน: leung) สำหรับเรียกพระราชสุสานที่ใช้ฝังพระบรมศพของกษัตริย์ และพระศพพระมเหสี รวมถึงพระราชวงศ์ที่ได้รับการสถาปนาพระเกียรติยศเทียบเท่ากษัตริย์หรือพระมเหสี
- "วอน" (เกาหลี: 원, อักษรโรมัน: won) สำหรับเรียกพระสุสานที่ใช้ฝังพระศพพระราชบิดากับพระราชมารดาของกษัตริย์ องค์ชายรัชทายาท และพระชายาในองค์ชายรัชทายาท
- "มโย" (เกาหลี: 묘, อักษรโรมัน: myo) สำหรับเรียกพระสุสานที่ใช้ฝังพระศพพระราชวงศ์ระดับรองลงมา รวมถึงกษัตริย์ พระมเหสี หรือพระสนมที่โดนปลดออกจากตำแหน่งด้วย อนึ่ง สุสานของประชาชนทั่วไปเรียกว่า มโย เช่นกัน
ดงกูลึง (동구릉)
แก้ดงกูลึง: 37°37′11″N 127°07′53″E / 37.61972°N 127.13139°E
กลุ่มพระราชสุสานดงกูรึง (เกาหลี: 동구릉, อักษรโรมัน: Donggureung Tomb Cluster) ตั้งอยู่ในเมืองคูรี จังหวัดคย็องกี เป็นพระราชสุสานที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดในเกาหลีใต้ ประกอบด้วยพระราชสุสาน 9 หลัง โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่พระราชสุสานก็อนว็อลลึง (เกาหลี: 건원릉, อักษรโรมัน: Geonwolleung) ที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าแทโจ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อน และพระราชสุสานอื่น ๆ ที่อยู่ล้อมรอบ ได้แก่ พระราชสุสานมงนึง (เกาหลี: 목릉, อักษรโรมัน: Mongneung) ที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าซ็อนโจ พระศพพระนางอึยอิน และพระนางอินมก พระราชสุสานฮย็อลลึง (เกาหลี: 현릉, อังกฤษ: Hyeolleung) ที่ฝังพระบรมศพพระเจ้ามุนจง และพระศพพระนางฮย็อนด็อก
พระราชสุสานซูลึง (เกาหลี: 수릉, อักษรโรมัน: Sureung) ที่ฝังพระศพเจ้าชายรัชทายาทฮโยมย็อง รัชทายาทในพระเจ้าซุนโจ และพระศพพระนางซินจ็อง พระราชสุสานฮวีลึง (เกาหลี: 휘릉, อักษรโรมัน: Hwireung) ที่ฝังพระศพพระนางชังรย็อล พระมเหสีในพระเจ้าอินโจ พระราชสุสานคย็องนึง (เกาหลี: 경릉, อักษรโรมัน: Gyeongneung) ที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าฮ็อนจง พระศพพระนางฮโยฮย็อน และพระศพพระนางฮโยจ็อง
พระราชสุสานว็อลลึง (เกาหลี: 원릉, อักษรโรมัน: Wolleung) ที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าย็องโจ และพระศพพระนางจ็องซุน พระราชสุสานฮเยลึง (เกาหลี: 혜릉, อักษรโรมัน: Hyereung) ที่ฝังพระศพพระนางทันอึย พระมเหสีในพระเจ้าคย็องจง และพระราชสุสานซุงนึง (เกาหลี: 숭릉, อักษรโรมัน: Sungneung) ที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าฮย็องจง และพระศพพระนางมย็องซ็อง
กวังนึง (광릉)
แก้กวังนึง: 37°45′08″N 127°10′38″E / 37.75222°N 127.17722°E
พระราชสุสานกวังนึง (เกาหลี: 광릉, อักษรโรมัน: Gwangneung) ตั้งอยู่ในเมืองนัมยางจู จังหวัดคย็องกี เป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าเซโจ และพระศพพระนางช็องฮี
ฮ็อลลึงและอิลลึง(헌릉&인릉)
แก้ฮ็อลลึง: 37°27′58″N 127°04′59″E / 37.46611°N 127.08306°E
อิลลึง: 37°27′58″N 127°04′50″E / 37.46611°N 127.08056°E
พระราชสุสานฮ็อลลึง (เกาหลี: 헌릉, อักษรโรมัน: Heolleung) และพระราชสุสานอิลลึง (เกาหลี: 인릉, อักษรโรมัน: Illeung) ตั้งอยู่ในทางตอนใต้ของโซล ฮ็อลลึงเป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าแทจง และพระศพพระนางว็อนกย็อง ตระกูลมิน ส่วนอิลลึงเป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าซุนโจ และพระศพพระนางซุนว็อน
ฮงนึงและยูลึง (홍릉&유릉)
แก้ฮงนึง: 37°37′52″N 127°12′45″E / 37.63111°N 127.21250°E
ยูลึง: 37°37′50″N 127°12′33″E / 37.63056°N 127.20917°E
ย็องวอน: 37°37′46″N 127°12′56″E / 37.62944°N 127.21556°E
พระราชสุสานฮงนึง (เกาหลี: 홍릉, อักษรโรมัน: Hongneung) และพระราชสุสานยูลึง (เกาหลี: 유릉, อักษรโรมัน: Yureung) ตั้งอยู่ในเมืองนัมยางจู จังหวัดคย็องกี ฮงนึงเป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าโคจง และพระศพจักรพรรดินีมย็องซ็อง ส่วนยูลึงเป็นที่ฝังพระบรมศพจักรพรรดิยุงฮี พระศพจักรพรรดินีซุนมย็อง และพระศพจักรพรรดินีซุนจ็อง พระราชสุสานยูลึงนับเป็นพระราชสุสานลำดับสุดท้ายของราชวงศ์โชซ็อน
ส่วนพระสุสานอีก 1 หลังที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้วยนั้น คือ พระสุสานย็องวอน (เกาหลี: 영원, อักษรโรมัน: Yeongwon) เป็นที่ฝังพระศพเจ้าชายอุยมิน พระราชโอรสในพระเจ้าโคจง มกุฏราชกุมารองค์สุดท้ายของราชวงศ์โชซ็อน และพระศพพระชายาอี พัง-จา
จังนึง (คิมโพ) (김포 장릉)
แก้จังนึง (คิมโพ): 37°36′47″N 126°42′40″E / 37.61306°N 126.71111°E
พระราชสุสานจังนึง (เกาหลี: 김포 장릉, อักษรโรมัน: Jangneung (Gimpo)) ตั้งอยู่ในเมืองเมืองคิมโพ จังหวัดคย็องกี เป็นที่ฝังพระศพเจ้าชายช็องว็อน และพระนางอินฮ็อน พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระเจ้าอินโจ
จังนึง (พาจู) (파주 장릉)
แก้จังนึง (พาจู): 37°46′25″N 126°42′29″E / 37.77361°N 126.70806°E
พระราชสุสานจังนึง (พาจู) (เกาหลี: 파주 장릉, อักษรโรมัน: Jangneung (Paju)) ตั้งอยู่ในเมืองพาจู จังหวัดคย็องกี เป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าอินโจ และพระศพพระนางอินย็อล ปัจจุบัน พระราชสุสานหลังนี้ไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม[3]
จังนึง (ย็องวอล)(영월 장릉)
แก้จังนึง (ย็องวอล): 37°11′51″N 128°27′11″E / 37.19750°N 128.45306°E
พระราชสุสานจังนึง (ย็องวอล) (เกาหลี: 영월 장릉, อักษรโรมัน: Jangneung (Yeongwol)) ตั้งอยู่ในเมืองย็องวอล จังหวัดคังวอน เป็นที่ฝังพระศพพระเจ้าทันจง เป็นพระราชสุสานที่ไกลจากโซลมากที่สุด
จองนึง (정릉)
แก้จองนึง: 37°36′08″N 127°00′21″E / 37.60222°N 127.00583°E
พระราชสุสานจองนึง (เกาหลี: 정릉, อักษรโรมัน: Jeongneung) ตั้งอยู่ในโซล เป็นที่ฝังพระศพพระนางชินด็อก ตระกูลกัง พระมเหสีในพระเจ้าแทโจ
โอลลึง (온릉)
แก้โอลลึง: 37°43′13″N 126°57′04″E / 37.72028°N 126.95111°E
พระราชสุสานโอลลึง (เกาหลี: 온릉, อักษรโรมัน: Olleung) ตั้งอยู่ในเมืองยังจู จังหวัดคย็องกี เป็นที่ฝังพระศพพระนางทันกย็อง พระมเหสีในพระเจ้าชุงจง ปัจจุบัน พระราชสุสานหลังนี้ไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม[4]
ซัมนึง (พาจู) (파주 삼릉)
แก้กงนึง: 37°44′45″N 126°49′48″E / 37.74583°N 126.83000°E
ซอลลึง: 37°44′37″N 126°50′11″E / 37.74361°N 126.83639°E
ยองนึง: 37°44′33″N 126°50′01″E / 37.74250°N 126.83361°E
กลุ่มพระราชสุสานซัมนึง (พาจู) (เกาหลี: 파주 삼릉, อักษรโรมัน: Paju Samneung Cluster) ตั้งอยู่ในเมืองพาจู จังหวัดคย็องกี ประกอบด้วยพระราชสุสาน 3 หลัง คือ พระราชสุสานกงนึง (เกาหลี: 공릉, อักษรโรมัน: Gongneung) พระราชสุสานซอลลึง (เกาหลี: 술릉, อักษรโรมัน: Sulleung) และพระราชสุสานยองนึง (เกาหลี: 영릉, อักษรโรมัน: Yeongneung) กงนึงเป็นที่ฝังพระศพพระนางชังซุน ตระกูลฮัน พระมเหสีในพระเจ้าเยจง ซอลลึงเป็นที่ฝังพระศพพระนางคงฮเย ตระกูลฮัน พระมเหสีในพระเจ้าซ็องจง ส่วนยองนึงเป็นที่ฝังพระศพเจ้าชายรัชทายาทฮโยจัง พระราชโอรสองค์โตในพระเจ้ายองโจ และพระศพพระชายาฮโยซุน
ซารึง (사릉)
แก้ซารึง: 37°38′50″N 127°11′51″E / 37.64722°N 127.19750°E
พระราชสุสานซารึง (เกาหลี: 사릉, อักษรโรมัน: Sareung) ตั้งอยู่ที่ในเมืองนัมยางจู จังหวัดคย็องกี เป็นที่ฝังพระศพพระนางช็องซุน ตระกูลซง พระมเหสีในพระเจ้าทันจง
ซ็อลลึงและจ็องนึง (선릉&정릉)
แก้ซ็อลลึง: 37°30′32″N 127°02′44″E / 37.50889°N 127.04556°E
จ็องนึง: 37°30′32″N 127°03′07″E / 37.50889°N 127.05194°E
พระราชสุสานซ็อลลึง (เกาหลี: 선릉, อักษรโรมัน: Seolleung) และพระราชสุสานจ็องนึง (เกาหลี: 정릉, อักษรโรมัน: Jeongneung) ตั้งอยู่ในตอนใต้ของโซล ซ็อลลึงเป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าซ็องจง และพระศพพระนางช็องฮย็อน ตระกูลยุน ส่วนจ็องนึงเป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าชุงจง
ในเอกสารของทางการ มีการเรียกชื่อพระราชสุสาน 2 หลังนี้รวมกันว่า "ซ็อนจ็องนึง" (เกาหลี: 선정릉, อักษรโรมัน: Seonjeongneung)
ซอโอลึง (서오릉)
แก้คย็องนึง: 37°37′47″N 126°53′38″E / 37.62972°N 126.89389°E
ชังนึง: 37°38′09″N 126°53′42″E / 37.63583°N 126.89500°E
อิงนึง: 37°37′47″N 126°54′02″E / 37.62972°N 126.90056°E
มย็องนึง: 37°37′31″N 126°54′04″E / 37.62528°N 126.90111°E
ฮงนึง: 37°37′58″N 126°53′38″E / 37.63278°N 126.89389°E
ซุนชังวอน: 37°37′45″N 126°53′50″E / 37.62917°N 126.89722°E
ซูคย็องวอน: 37°37′38″N 126°54′02″E / 37.62722°N 126.90056°E
แดบินมโย: 37°37′49″N 126°53′32″E / 37.63028°N 126.89222°E
กลุ่มพระราชสุสานซอโอลึง (เกาหลี: 서오릉, อักษรโรมัน: Seo-oreung Cluster) ตั้งอยู่ในเมืองโกยาง จังหวัดคย็องกี ประกอบด้วยพระราชสุสาน 5 หลัง ได้แก่ พระราชสุสานคย็องนึง (เกาหลี: 경릉, อักษรโรมัน: Gyeongneung) เป็นที่ฝังพระศพองค์ชายอึยคย็อง องค์ชายรัชทายาทในพระเจ้าเซโจ และพระศพพระชายาโซฮเย พระราชสุสานชังนึง (เกาหลี: 창릉, อักษรโรมัน: Changneung) เป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าเยจง และพระศพพระนางอันซุน ตระกูลฮัน พระราชสุสานอิงนึง (เกาหลี: 익릉, อักษรโรมัน: Ingneung) เป็นที่ฝังพระศพพระนางอินกย็อง พระมเหสีในพระเจ้าซุกจง พระราชสุสานมย็องนึง (เกาหลี: 명릉, อักษรโรมัน: Myeongneung) เป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าซุกจง พระศพพระนางอินฮย็อน และพระศพพระนางอินว็อน และพระราชสุสานฮงนึง (เกาหลี: 홍릉, อักษรโรมัน: Hongneung) เป็นที่ฝังพระศพพระนางช็องซ็อง พระมเหสีในพระเจ้ายองโจ
ในบริเวณใกล้เคียงกัน มีพระสุสานอีก 3 หลังที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแต่มีชื่อเสียง ได้แก่ ซุนชังวอน (เกาหลี: 순창원, อักษรโรมัน: Sunchangwon) เป็นที่ฝังพระศพเจ้าชายซุนโฮ รัชทายาทในพระเจ้ามย็องจง และพระศพพระชายากงฮโยบิน ตระกูลยุน ซูคย็องวอน (เกาหลี: 수경원, อักษรโรมัน: Sugyeongwon) เป็นที่ฝังพระศพพระสนมยอง จากตระกูลลี พระสนมในพระเจ้าย็องโจและพระราชมารดาของเจ้าชายรัชทายาทซาโด และแดบินมโย (เกาหลี: 대빈묘, อักษรโรมัน: Daebinmyo) เป็นที่ฝังพระศพพระสนมฮีบิน ตระกูลจาง พระสนมในพระเจ้าซุกจง
ซอซัมนึง (서삼릉)
แก้ฮุยลึง: 37°39′49″N 126°52′14″E / 37.66361°N 126.87056°E
ฮโยลึง: 37°39′53″N 126°51′51″E / 37.66472°N 126.86417°E
เยลึง: 37°39′56″N 126°52′07″E / 37.66556°N 126.86861°E
ฮอยมโย: 37°39′58″N 126°51′32″E / 37.66611°N 126.85889°E
ฮโยชังวอน: 37°39′50″N 126°52′02″E / 37.66389°N 126.86722°E
อึยรย็องวอน : 37°39′50″N 126°52′02″E / 37.66389°N 126.86722°E
กลุ่มพระราชสุสานซอซัมนึง (เกาหลี: 서삼릉, อักษรโรมัน: Seosamneung Cluster) ตั้งอยูในเมืองโกยาง จังหวัดคย็องกี ประกอบด้วยพระราชสุสาน 3 หลัง คือ พระราชสุสานฮุยลึง (เกาหลี: 휘릉, อักษรโรมัน: Huireung) พระราชสุสานฮโยลึง (เกาหลี: 효릉, อักษรโรมัน: Hyoreung) และพระราชสุสานเยลึง (เกาหลี: 예릉, อักษรโรมัน: Yereung) ฮุยลึงเป็นที่ฝังพระศพพระนางชังกย็อง พระมเหสีในพระเจ้าชุงจง ฮโยลึงเป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าอินจง และพระศพพระนางอินซ็อง ส่วนเยลึงเป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าช็อลจง และพระศพพระนางชอริน
นอกจากนี้ยังมีพระสุสานอีก 50 หลังอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เป็นที่ฝังพระศพของพระราชวงศ์พระองค์อื่น ๆ พระสุสานที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ฮโยชังวอน (เกาหลี: 효창원, อักษรโรมัน: Hyochangwon) เป็นที่ฝังพระศพเจ้าชายรัชทายาทมุนฮโย รัชทายาทในพระเจ้าช็องโจ อึยรย็องวอน (เกาหลี: 의령원, อักษรโรมัน: Uiryeongwon) เป็นที่ฝังพระศพองค์ชายอึยโซ พระราชนัดดาพระองค์แรกในพระเจ้าย็องโจ[5] และฮเวมโย (เกาหลี: 회묘, อักษรโรมัน: Hoemyo) เป็นที่ฝังพระศพอดีตพระมเหสีเชฮ็อน ตระกูลยุน พระมเหสีในพระเจ้าซ็องจง
แทลึงและกังนึง (태릉&강릉)
แก้แทลึง: 37°38′05″N 127°05′49″E / 37.63472°N 127.09694°E
กังนึง: 37°38′24″N 127°06′19″E / 37.64000°N 127.10528°E
พระราชสุสานแทลึง (เกาหลี: 태릉, อักษรโรมัน: Taereung) และพระราชสุสานกังนึง (เกาหลี: 강릉, อักษรโรมัน: Gangneung) ตั้งอยู่ทางตะวันออกของโซล แทลึงเป็นที่ฝังพระศพพระนางมุนจ็อง พระมเหสีในพระเจ้าชุงจง ส่วนกังนึงเป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้ามย็องจง และพระศพพระนางอินซุน
อึยลึง (의릉)
แก้อึยลึง: 37°36′13″N 127°03′25″E / 37.60361°N 127.05694°E
พระราชสุสานอึยลึง (เกาหลี: 의릉, อักษรโรมัน: Uireung) ตั้งอยู่ในโซล เป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าคย็องจง และพระศพพระนางซอนอึย ตระกูลออ
ย็องนึงและนย็องนึง (영릉&영릉)
แก้ย็องนึง: 37°18′29″N 127°36′11″E / 37.30806°N 127.60306°E
นย็องนึง: 37°18′50″N 127°36′32″E / 37.31389°N 127.60889°E
พระราชสุสานย็องนึง (เกาหลี: 영릉, อักษรโรมัน: Yeongneung) และพระราชสุสานนย็องนึง (เกาหลี: 녕릉, อักษรโรมัน: Nyeongneung) ตั้งอยู่ในเมืองยอจู จังหวัดคย็องกี ย็องนึงเป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าเซจงมหาราช และพระศพพระนางโซฮ็อน ส่วนนย็องนึงเป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าฮโยจง และพระศพพระนางอินซ็อน
อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งมีการเรียกพระราชสุสานนย็องนึงว่า "พระราชสุสานย็องนึง" เช่นกัน[6]
ยุงนึงและก็อนลึง (융릉&건릉)
แก้ยุงนึง: 37°12′42″N 126°59′38″E / 37.21167°N 126.99389°E
ก็อนลึง: 37°12′50″N 126°59′17″E / 37.21389°N 126.98806°E
พระราชสุสานยุงนึง (เกาหลี: 융릉, อักษรโรมัน: Yungneung) และพระราชสุสานก็อนลึง (เกาหลี: 건릉, อักษรโรมัน: Geolleung) ตั้งอยู่ในเมืองฮวาซ็อง จังหวัดคย็องกี ยุงนึงเป็นที่ฝังพระศพเจ้าชายรัชทายาทซาโด กับพระนางฮเยกย็อง ส่วนก็อนลึงเป็นที่ฝังพระบรมศพพระเจ้าช็องโจ กับพระนางฮโยอึย
ในเอกสารของทางการมีการเรียกชื่อพระราชสุสาน 2 หลังนี้รวมกันว่า "ยุงก็อนลึง" (เกาหลี: 융건릉, อักษรโรมัน: Yunggeolleung)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 A Trip to Royal Tombs of the Joseon Dynasty : Public Gardens for the Living and the Dead in the Vicinity of Seoul เก็บถาวร 2015-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. English.visitkorea.or.kr. Retrieved on 2013-07-12.
- ↑ "What are the differences between neung, won and myo?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-25. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Jangneung (長陵) (Located in Paju, Gyeonggi-do) [UNESCO World Heritage] 파주 장릉 [유네스코 세계문화유산]". สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Olleung [UNESCO World Heritage] (양주 온릉 [유네스코 세계문화유산])". สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Tomb of Hyochangwon and Uiryeongwon". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Yeongneung / Nyeongneung Royal Tomb [UNESCO World Heritage] (여주 영릉(英陵)과 영릉(寧陵))". สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
http://jikimi.cha.go.kr/english/royal_palaces_new/royal_tombs.jsp?mc=EN_05_02 เก็บถาวร 2013-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน