พระเจ้าซุกจงแห่งโชซ็อน

พระเจ้าซุกจง (เกาหลี숙종; ฮันจา肅宗; อาร์อาร์Sukjong; เอ็มอาร์Sukchong 7 ตุลาคม ค.ศ. 1661 - 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1720) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 19 แห่งราชวงศ์โชซ็อน ปกครองจากปี ค.ศ. 1674 ถึงปี ค.ศ. 1720 พระองค์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองหลายครั้งตลอดรัชสมัยของพระองค์ โดยสลับไปมาระหว่างกลุ่มการเมือง นัม-อิน (ฝ่ายใต้) ซอ-อิน (ฝ่ายตะวันตก) กลุ่มโซรน และ กลุ่มโนรน

พระเจ้าซุกจงแห่งโชซ็อน
พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน
ครองราชย์ค.ศ. 1674 - ค.ศ. 1720
ก่อนหน้าพระเจ้าฮย็องจง
ถัดไปพระเจ้าคย็องจง
พระราชสมภพ7 ตุลาคม พ.ศ. 2204
พระราชวังคย็องฮี
อี ซุน (이돈, 李焞)
สวรรคต12 กรกฎาคม พ.ศ. 2263 (58 ปี)
พระราชวังคย็องฮี
ฝังพระศพพระราชสุสานมย็องนึง
มเหสีพระนางอินกย็อง
พระนางอินฮย็อน
พระนางอินว็อน
พระราชบุตรพระเจ้าคย็องจงแห่งโชซ็อน
เจ้าชายย็องซู
พระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน
ราชวงศ์โชซ็อน
พระราชบิดาพระเจ้าฮย็องจงแห่งโชซ็อน
พระราชมารดาพระนางมย็องซ็อง
พระเจ้าซุกจงแห่งโชซ็อน
ฮันกึล
숙종
ฮันจา
肅宗
อาร์อาร์Sukjong
เอ็มอาร์Sukchong
ชื่อเกิด
ฮันกึล
이순
ฮันจา
李焞
อาร์อาร์I Sun
เอ็มอาร์I Sun

พระราชประวัติ

แก้

พระเจ้าซุกจงเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1661 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าฮย็องจง กับพระนางมยองซอง ที่ พระราชวังคย็องฮี พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามว่า อี ซุน พระองค์กลายเป็นองค์ชายรัชทายาทมย็องโบเมื่อปี ค.ศ. 1667 ขณะพระชนมายุเพียง 6 พรรษา และในปี ค.ศ. 1674 ขณะพระชนมายุเพียง 13 พรรษา พระองค์กลายเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 19 ของ ราชวงศ์โชซ็อน

พระเจ้าซุกจงเป็นนักปกครองที่เก่งกาจ แต่รัชสมัยของพระองค์ก็มีการต่อสู้โดยกลุ่มการเมืองที่เข้มข้นที่สุดในราชวงศ์โชซ็อน

การต่อสู้ของกลุ่มการเมือง

แก้

ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1674 พระนางอินซอน พระมเหสีของพระเจ้าฮโยจง สวรรคต จึงเกิดข้อถกเถียงกันเรื่องการใส่พระภูษาไว้ทุกข์ของพระนางจางรยอล พระมเหสีของพระเจ้าอินโจ ขึ้นอีกครั้ง เรียกว่า ความขัดแย้งเรื่องพิธีปีคาบิน (갑인예송, 甲寅禮訟) พระเจ้าฮย็องจงทรงเลือกที่จะทำตามข้อเสนอของขุนนางฝ่ายใต้ นำโดยฮอมก (허목, 許穆) ซึ่งเสนอให้นางจางรยอลไว้ทุกข์แบบแทกง (대공, 大功 9 เดือน พระภูษาหยาบ) ทำให้ฝ่ายใต้ขึ้นมามีอำนาจแทนฝ่ายตะวันตก ซึ่งมีอำนาจอยู่ก่อนหน้า[1]

ในปีเดียวกันนั้น พระเจ้าฮย็องจงสวรรคต พระเจ้าซุกจงจึงทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงเวลาที่ฝ่ายใต้มีอำนาจ รัชกาลของพระเจ้าซุกจงเป็นสมัยที่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่างๆของขุนนางดุเดือดที่สุด เรียกได้ว่าไม่มีเลยสักวันเดียวในรัชสมัยของพระองค์ที่จะปราศจากการทุ่มเถียงระหว่างฝ่ายใต้และฝ่ายตะวันตก ขณะที่ฝ่ายใต้มีอำนาจ ฝ่ายตะวันตกก็ถูกกีดกันออกจากราชการกันเป็นส่วนใหญ่ แต่แล้วเมื่อ ค.ศ. 1680 ปรากฏมีขุนนางฝ่ายใต้คิดก่อการกบฏยกให้องค์ชายพงซอน (복선군, 福善君) ขึ้นเป็นกษัตริย์แทนพระเจ้าซุกจง ทำให้ฝ่ายใต้ถูกกวาดล้างหลังจากอยู่ในอำนาจได้เพียงเจ็ดปีและฝ่ายตะวันตกก็เข้ามามีอำนาจแทน เมื่อปีเดียวกันนั้น พระมเหสีของพระเจ้าซุกจงสวรรคต ฝ่ายตะวันตกจึงส่งบุตรสาวจากตระกูลมินแห่งยอฮึงเข้าไปเป็นพระมเหสีองค์ใหม่ ภายหลังได้รับพระนามพระมเหสีอินฮย็อน (인현왕후, 仁顯王后) ในค.ศ. 1683 ซงชียอลเกิดความขัดแย้งกับลูกศิษย์ของตนเอง คือ ยุนจึง (윤증, 尹拯) ทำให้ฝ่ายตะวันตกแตกออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มนักปราชญ์อาวุโส เรียกว่า โนรน (노론, 老論) ของซงชียอล และกลุ่มนักปราชญ์อายุน้อย เรียกว่า โซรน (소론, 少論) ของยุนจึง

แต่ต่อมาพระเจ้าซุกจงกลับไปโปรดปรานจางซังกุง ซึ่งมาจากตระกูลต่ำเดิมเป็นนางรับใช้ของพระนางจางรยอล และเป็นตัวแทนของขุนนางฝ่ายใต้ ภายหลังได้รับการแต่งตั้งขึ้นป็นพระสนมจาง ใน ค.ศ. 1688 ก็มีพระโอรสให้กับพระเจ้าซุกจง ซึ่งพระเจ้าซุกจงหมายจะแต่งตั้งให้เป็นองค์ชายรัชทายาท (ภายหลังเป็น พระเจ้าคย็องจง) สร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างฝ่ายใต้และฝ่ายตะวันตก ฝ่ายตะวันตกพยายามจะคัดค้านขณะที่ฝ่ายใต้ก็สนับสนุนให้แต่งตั้งองค์ชายรัชทายาท พระเจ้าซุกจงทรงแต่งตั้งพระสนมจางเป็นพระสนมฮีบิน (희빈, 禧嬪) ในค.ศ. 1689 ซึ่งเป็นตำแหน่งพระสนมสูงสุด ซงชียอลได้ทูลคัดค้านขอให้พระเจ้าซุกจงทรงล้มเลิกการแต่งตั้งองค์ชายรัชทายาทลงและให้เป็นองค์ชายธรรมดา ขุนนางฝ่ายใต้จึงยุยงให้พระเจ้าซุกจงทรงประหารชีวิตซงชียอล เนรเทศกำจัดขุนนางฝ่ายตะวันตกออกไปจากราชสำนัก รวมทั้งปลดพระมเหสีอินฮย็อนขับไปนอกวัง และตั้งพระสนมฮีบินขึ้นเป็นพระมเหสีแทน เรียกว่า การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองปีคีซา (기사환국, 己巳換局) เหตุการณ์นี้ทำให้ฝ่ายใต้กลับเข้ามามีอำนาจอย่างเต็มทีและฝ่ายตะวันตกถูกกำจัดออกไป องค์ชายรัชทายาทได้รับการแต่งตั้งต่อมาในค.ศ. 1690

แต่ต่อมาพระเจ้าซุกจงกลับรู้สึกผิด ใน ค.ศ. 1694 ขุนนางฝ่ายตะวันตกถวายฎีกาขอให้พระเจ้าซุกจงดูแลอดีตพระมเหสีอินฮย็อนให้ดีขึ้น พระเจ้าซุกจงจึงให้อดีตพระมเหสีอินฮย็อนกลับเข้ามาอยู่ในพระราชวังชางด็อกแล้วก็เปลี่ยนพระทัยคืนตำแหน่งให้กับพระมเหสีอินฮย็อน และให้พระมเหสีจางอ๊กซานกลับไปเป็นพระสนมฮีบินตามเดิมและไปอยู่ที่พระราชวังชางคย็อง เรียกว่า การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองปีคัปซุล (갑술환국, 甲戌換局) และมีพระราชดำริห้ามให้พระสนมมาเป็นมเหสี ขุนนางฝ่ายใต้ถูกกวาดล้างอีกครั้งต่างถูกเนรเทศไปตามที่ต่างๆ โดยที่ฝ่ายตะวันตกกลับขึ้นมามีอำนาจแทน แต่แล้วเมื่อค.ศ. 1701 พระมเหสีอินฮย็อนก็สิ้นพระชนม์ และก็พบว่าพระสนมฮีบินใช้นางร่างทรงเพื่อทำการสาปแช่งพระมเหสีอินฮย็อน พระสนมฮีบินจึงถูกสำเร็จโทษไป

นับแต่นั้นมาความขัดแย้งระหว่างฝ่ายใต้และฝ่ายตะวันตกจึงจบลง ปลายรัชสมัยของพระเจ้าซุกจงนั้นค่อนข้างสงบสุข แต่พร้อมที่จะปะทุในเวลาอันใกล้เพราะขุนนางกลุ่มโนรนและโซรนกำลังจะเผชิญหน้ากัน ด้วยเรื่องการสืบราชสมบัติ กลุ่มโซรนสนับสนุนองค์ชายรัชทายาท ขณะที่กลุ่มโนรนยังคงยืนกรานความคิดเห็นของฝ่ายตะวันตกในทีแรกว่า ไม่ควรตั้งพระโอรสที่เกิดแต่พระสนมฮีบินเป็นรัชทายาท จึงหันไปสนับสนุนองค์ชายยอนอิง (연잉군, 延礽君 ซึ่งเป็นพระโอรสกับพระสนมซุกบินแห่งตระกูลชเว ภายหลังเป็น พระเจ้าย็องโจ) ซึ่งพระสนมซุกบินเป็นที่โปรดปรานทั้งพระเจ้าซุกจงและพระมเหสีอินฮย็อน ทำให้พระสนมซุกบินเป็นที่รักใคร่ของคนทั้งวัง

เมื่อ ค.ศ. 1718 พระเจ้าซุกจงตั้งองค์ชายรัชทายาทเป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระเจ้าซุกจงสวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1720

พระนามเต็ม

แก้

สมเด็จพระราชา ซุกจง แทโจ ฮย็อนอึย ควางยุน เยซ็อง ยองรยอล ยูโม ยอนกุน ฮงอิน จุนด็อก แบชอน แฮบโด คเยฮยู ด๊กคย็อง จองจุง ฮยอปกุก ซินอึย แดฮุน จางมุน ฮอนมู คย็องมยอง วอนฮโย แห่งเกาหลี

พระบรมวงศานุวงศ์

แก้
  • พระราชบิดา: พระเจ้าฮย็องจง (현종, 顯宗)
  • พระราชมารดา: พระนางมย็องซ็อง ตระกูลคิม แห่งชองพุง (명성왕후 김씨) หรือ พระนางฮยอนรยอง สมเด็จพระพันปีหลวง (현렬왕대비, 顯烈王大妃)

พระนางชังรยอล ตระกูลโช สมเด็จพระปัยยิกา (ย่าทวดเลี้ยง)

พระมเหสี

พระสนม

  • พระนางอ๊กซาน ตระกูลจาง แห่งอินดง (희빈 장씨, 禧嬪 張氏) พระสนมฮีบิน
  • พระนางฮวากย็อง ตระกูลชเว แห่งแฮจู (숙빈 최씨, 淑嬪 崔氏) พระสนมซุกบิน
  • พระสนมมยองบิน ตระกูลปาร์ค แห่งมิลยาง (명빈 박씨, 明嬪 朴氏)
  • พระสนมยองบิน ตระกูลคิม แห่งอันดง (영빈 김씨 , 寧嬪 金氏)
  • พระสนมควีอิน ตระกูลคิม แห่งคย็องจู (귀인 김씨, 貴人 金氏)
  • พระสนมโซอึย ตระกูลยู แห่งคังรึง (소의 유씨, 昭儀 劉氏)

พระราชโอรส

พระราชธิดา

  • เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม พระราชธิดาของพระนางอินกย็อง ตระกูลคิม แห่งควางจู
  • เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม พระราชธิดาของพระนางอินกย็อง ตระกูลคิม แห่งควางจู

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Jae Un-Kang, Jae Eun-Kang. The land of scholars: two thousand years of Korean Confucianism.
ก่อนหน้า พระเจ้าซุกจงแห่งโชซ็อน ถัดไป
พระเจ้าฮย็องจง   กษัตริย์แห่งโชซ็อน
(พ.ศ. 2217 - พ.ศ. 2263)
  พระเจ้าคย็องจงแห่งโชซ็อน