พระเจ้าแทจง (เกาหลี태종; ฮันจา太宗; อาร์อาร์Taejong; เอ็มอาร์T'aejong; 13 มิถุนายน ค.ศ. 1367 – 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1422) พระนามเดิม อี บังวอน (เกาหลี이방원; ฮันจา李芳遠) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์โชซ็อนของประเทศเกาหลี เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าเซจงมหาราช[1] ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์มีพระนามว่า เจ้าชายช็องอัน (เกาหลี정안군; ฮันจา靖安君)

พระเจ้าแทจงแห่งโชซ็อน
朝鮮太宗
조선 태종
มกุฎราชกุมารโชซ็อน
ดำรงตำแหน่ง8 มีนาคม ค.ศ. 1400 – 7 ธันวาคม ค.ศ. 1400
ก่อนหน้าพระเจ้าช็องจง
ถัดไปเจ้าชายยังนย็อง
พระมหากษัตริย์โชซ็อน
ครองราชย์7 ธันวาคม ค.ศ. 1400 – 19 กันยายน ค.ศ. 1418
ราชาภิเษกแคซ็อง อาณาจักรโชซ็อน
ก่อนหน้าพระเจ้าช็องจงแห่งโชซ็อน
ถัดไปพระเจ้าเซจงแห่งโชซ็อน
พระเจ้าหลวงแห่งโชซ็อน
ดำรงตำแหน่ง19 กันยายน ค.ศ. 1418 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 1422
ก่อนหน้าพระเจ้าช็องจงแห่งโชซ็อน
ถัดไปพระเจ้าทันจง
ประสูติ13 มิถุนายน ค.ศ. 1367
พระตำหนักส่วนพระองค์ Yi Seong-gye, Gwiju-dong, ฮัมฮึง, อาณาจักรโครยอ
สวรรคตมิถุนายน 8, 1422(1422-06-08) (54 ปี)
หอ Yeonhwabang, พระราชวังชังกย็อง, ฮันซ็อง, อาณาจักรโชซ็อน
ฝังพระศพสุสาน Heonneung, ฮ็อนอินลึง, เขต Seocho, โซล, ประเทศเกาหลีใต้
พระมเหสีพระราชินีว็อนกย็อง
พระราชบุตรพระเจ้าเซจงมหาราช
พระนามหลังสวรรคต
  • กษัตริย์ คงจอง ซองด็อก ซินคง คอนชอน เชกุก แทจอง คเยอู มุนมู เยชอล ซองนยอล ควางฮโยมหาราช
    • 공정성덕신공건천체극대정계우문무예철성렬광효대왕
    • 恭定聖德神功建天體極大正啓佑文武叡哲成烈光孝大王
วัดประจำรัชกาล
  • แทจง (태종, 太宗)
ราชวงศ์สกุลอีแห่งช็อนจู
ราชวงศ์สกุลอี
พระราชบิดาพระเจ้าแทโจแห่งโชซ็อน
พระราชมารดาพระนางชินอึย
ศาสนาพุทธแบบเกาหลี ภายหลังนับถือลัทธิขงจื๊อใหม่
ลายพระอภิไธย
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Taejong
เอ็มอาร์T'aejong
ชื่อเกิด
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์I Bangwon
เอ็มอาร์Yi Pangwŏn

ชีวิต แก้

ก่อตั้งโชซ็อน แก้

พระเจ้าแทจง มีพระนามเดิมว่า “อีบังวอน” (이방원, 李芳遠) พระราชสมภพในปี ค.ศ. 1367 เป็นบุตรชายคนที่ห้าของอี ซ็อง-กเย (태조, 太祖) สอบผ่านเข้ารับราชการในราชวงศ์โครยอในปี ค.ศ. 1382 ในช่วงแรกเขาช่วยบิดาหาการสนับสนุนจากประชาชนและผู้มีอิทธิพลในรัฐบาล และยังมีส่วนช่วยบิดาในการปราบดาภิเษกก่อตั้งราชวงศ์ใหม่โดยลอบสังหารข้าราชการทรงอิทธิพลอย่างจอง มงจู (정몽주, 鄭夢周) ที่ยังคงภักดีกับราชวงศ์โครยอ อีบังวอนก็ได้รับพระยศเป็นเจ้าชายช็องอัน (정안대군, 靖安大君)

สามัคคีเภทของเจ้าชาย แก้

หลังช่วยบิดาโค่นล้มราชวงศ์เก่าและก่อตั้งโชซอนได้แล้ว พระองค์ก็คาดว่าจะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สืบราชสมบัติ ทว่าพระราชบิดาและอัครเสนาบดีช็อง โด-จ็อนกลับเลือกอีบังซอก (이방석, 李芳碩) พระราชโอรสพระองค์ที่ 8 ที่พระราชสมภพแด่พระราชินีชินด็อก (신덕왕후, 神德王后) พระมเหสีพระองค์ที่สองในพระเจ้าแทโจ เป็นมกุฎราชกุมารแทน เหตุผลหลักของความขัดแย้งนี้เป็นเพราะช็อง โด-จ็อน ผู้วางรากฐานทางอุดมการณ์ สถาบันและกฎหมายคนสำคัญของราชวงษ์ใหม่ เห็นควรให้โชซอนเป็นอาณาจักรที่มีเสนาบดีบริหารราชการโดยมีพระมหากษัตริย์แต่งตั้ง ขณะที่อี บังวอนเห็นควรว่าพระมหากษัตริย์ควรปกครองโดยตรงแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ความแตกต่างนี้จึงนำไปสู่บรรยากาศความตึงเครียดทางการเมือง หลังพระราชินีซินด็อกเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหันใน ค.ศ. 1398 อี บังวอนเป็นผู้นำรัฐประหารระหว่างที่พระเจ้าแทโจกำลังไว้ทุกข์ให้กับพระมเหสี เหตุการณ์นี้ทำให้ช็อง โด-จ็อนและผู้สนับสนุนเสียชีวิต รวมทั้งพระโอรสของพระราชินีซินด็อกสองพระองค์กับมกุฎราชกุมาร เหตุการณ์ดังกล่าวมีคำเรียกว่า "สามัคคีเภทของเจ้าชายครั้งที่หนึ่ง" (First Strife of Princes)

พระเจ้าแทโจทรงหวาดกลัวเมื่อพระราชโอรสเข่นฆ่ากันเองเพื่อแย่งชิงบัลลังก์ อีกทั้งยังหน่ายพระทัยหลังพระมเหสีสวรรคต จึงทรงสละราชบัลลังก์และแต่งตั้งพระโอรสพระองค์ที่สอง อี บังกวา (เป็นพระโอรสที่มีพระชนมายุมากที่สุดที่ยังทรงพระชนม์ชีพ) หรือพระเจ้าช็องจง เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อมา พระราชกรณียกิจแรก ๆ ของพระเจ้าช็องจง กคือการย้ายเมืองหลวงกลับไปยังแคซ็อง เพราะทรงเชื่อว่าสะดวกสบายมากกว่า แต่อี บังวอนเป็นผู้กุมอำนาจที่แท้จริง และไม่ช้าก็กลับมาขัดแย้งกับอี บังกัน (이방간, 李芳幹) หรือเจ้าชายฮวีอัน (회안대군, 懷安大君) พระเชษฐาอีกพระองค์หนึ่ง ที่ใฝ่อำนาจเช่นกัน ใน ค.ศ. 1400 แม่ทัพพักโบ ซึ่งผิดหวังที่อี บังวอนไม่มอบบำเหน็จให้แก่เขาจากการกระทำในสามัคคีเภทของเจ้าชายครั้งที่หนึ่ง เข้ากับอี บังกันและก่อกบฏในเหตุการณ์ที่เรียกว่า "สามัคคีเภทของเจ้าชายครั้งที่สอง" อี บังวอนเป็นฝ่ายชนะ จึงประหารชีวิตพักโบ และเนรเทศอี บังกัน ฝ่ายพระเจ้าช็องจงทรงหวาดกลัวพระอนุชาที่มีอำนาจมากมายของพระองค์ จึงทรงตั้งอี บังวอนเป็นมกุฎราชกุมารและสละราชสมบัติในปีเดียวกัน อี บังวอนจึงสืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าแทจง พระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามของราชวงศ์โชซ็อน

การรวบรวมอำนาจ แก้

พระราชกรณียกิจแรก ๆ ของพระเจ้าแทจงคือการยกเลิกอภิสิทธิ์ของขุนนางผู้ใหญ่และชนชั้นอภิชนในการมีกองทัพส่วนตัว ซึ่งเป็นการลดทอนอำนาจของกลุ่มคนเหล่านี้ในการก่อกบฏขนาดใหญ่ และเพิ่มจำนวนทหารในกองทัพประจำชาติอย่างมาก ต่อมาทรงทบทวนกฎหมายภาษีที่ดินและการจดบันทึกคนในบังคับ ผลทำให้ค้นพบที่ดินที่ถูกเบียดบังไว้และรายได้ของอาณาจักรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า[2] นอกจากนี้ยังทรงริเริ่มระบบโฮเป (호패) ซึ่งเป็นแผ่นป้ายระบุชื่อและภูมิลำเนา เพื่อควบคุมการเดินทางของประชาชน[3]

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ แก้

รัชกาลของพระองค์มีการตั้งระบบราชการรวมศูนย์ที่เข้มแข็งและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ใน ค.ศ. 1399 พระเจ้าแทจงทรงมีบทบาทสำคัญในการยุบเลิกสมัชชาโดพยอง (Dopyeong Assembly) อันเป็นสภาบริหารราชการแผ่นดินแบบเดิมที่มีอำนาจผูกขาดในราชสำนักในช่วงปลายราชวงศ์โครยอ แล้วตั้งสภาอีจอง (의정부, 議政府) เป็นองค์การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลางใหม่ที่พระมหากษัตริย์และพระราชกฤษฎีกามีอำนาจสูงสุด หลังผ่านกฎหมายเกี่ยวกับเอกสารของคนในบังคับและกฎหมายภาษีแล้ว พระเจ้าแทจงยังออกกฤษฎีกาใหม่ให้การตัดสินใจของสภาอีจองต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์เสียก่อนจึงมีผล นับเป็นคราวสิ้นสุดของประเพณีที่เสนาบดีและที่ปรึกษาตัดสินใจโดยถกเถียงและเจรจากันเอง และทำให้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เพิ่มมากขึ้นมาก ต่อมาพระเจ้าแทจงทรงตั้งสำนักงานซินมุนเพื่อรับฟ้องคดีความที่คนในบังคับร้องทุกข์ต่อข้าราชการหรืออภิชนที่ล่วงละเมิดหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

พระเจ้าแทจงยังทรงแบ่งอาณาจักรโจซอนออกเป็นแปดมณฑล รัชสมัยของพระเจ้าแทจงเป็นสมัยแห่งการวางรากฐานของอาณาจักร ในค.ศ. 1401 ทรงนำเงินกระดาษมาใช้เป็นครั้งแรกในเกาหลี พระเจ้าแทจงทรงดำเนินนโยบายส่งเสริมลัทธิขงจื้อใหม่ (Neo-Confucianism) ซึ่งเข้ามาในเกาหลีตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 และกดขี่ศาสนาพุทธ ทรงปิดวัดวาอารามไปหลายร้อยแห่ง ทรงยึดที่ดินและทรัพย์ของสถาบันพระพุทธศาสนามาใช้จ่ายในการบริหารบ้านเมือง[ต้องการอ้างอิง]

สละบัลลังก์ แก้

พ.ศ. 1961 พระเจ้าแทจงก็สละบัลลังก์ ให้เจ้าชายชุงนยอง (วังเซจา) ครองราชย์เป็นพระเจ้าเซจงมหาราช แม้ทรงสละบัลลังก์แล้ว แต่ก็ทรงจัดการกิจการบ้านเมืองอยู่ในฐานะพระเจ้าหลวง (太上王 태상왕) คอยตัดสินพระทัยในกิจการสำคัญ ๆ พระองค์ตัดสินประหารชีวิตหรือเนรเทศอดีตผู้สนับสนุนพระองค์ขึ้นสู่อำนาจบางคนที่ต้องการความชอบ เพื่อเสริมสร้างพระราชอำนาจและลดการฉ้อราษฎร์บังหลวง เพื่อจำกัดอิทธิพลของครอบครัวพระมเหสีและตระกูลสำคัญ พระองค์ยังทรงประหารชีวิตพระสัสสุระ (พ่อตา) และญาติพี่น้องของพระมเหสีรวมสี่คน หลังพระเจ้าแทจงทรงพบว่าพระราชินีและตระกูลกำลังแทรกแซงการเมือง

ใน พ.ศ. 1962 สลัดญี่ปุ่นจากเกาะสึชิมะไปบุกปล้นจีน ระหว่างทางไปจีนก็ได้บุกปล้นมณฑลชุงชองและฮวางแฮของโชซ็อน ทำให้พระเจ้าแทจงทรงส่งลีจองมูไปบุกยึดเกาะซึชิมา และล้อมเกาะไว้จนในพ.ศ. 1965 ตระกูลโซเจ้าปกครองเกาะซึชิมาก็ยอมจำนน และใน พ.ศ. 1986 ก็ได้ให้เอกสิทธิ์ในการค้ากับโชซ็อนให้แก่ตระกูลโซ โดยต้องส่งบรรณาการเป็นการแลกเปลี่ยน (แต่เกาะซึชิมานั้นเป็นท่าเรือให้สองชาติเสมอมา ปัจจุบันเป็นของญี่ปุ่น แต่เกาหลีใต้ก็ได้อ้างสิทธิ ปัจจุบันจึงเป็นปัญหาขัดแย้งกันอยู่)

พระเจ้าแทจงทรงเป็นบุคคลที่เป็นที่ถกเถียง เพาะฆ่าคู่แข่งไปหลายคน แต่ทรงปกครองอย่างมีประสิทธิภาพช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎร ทำให้การป้องกันประเทศเข้มแข็งขึ้น และวางรากฐานให้แก่พระเจ้าเซจงสืบต่อมา[4]

พระบรมวงศานุวงศ์ แก้

พระมเหสี พระสนม พระโอรสและพระธิดา

  1. พระราชินีว็อนกย็อง (원경왕후 민씨, 元敬王后 閔氏, 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1365 – 10 กรกฎาคม ค.ศ.1420)
    1. เจ้าชายไม่ทราบพระนาม (ค.ศ.1389)
    2. เจ้าชายไม่ทราบพระนาม (ค.ศ.1390)
    3. เจ้าชายไม่ทราบพระนาม (ค.ศ.1392)
    4. อี แจ, เจ้าชายยังนย็อง (ค.ศ.1394)
    5. อี โบ, เจ้าชายฮโยรย็อง (ค.ศ.1396)
    6. อี โด, เจ้าชายชุงนยอง - พระเจ้าเซจงมหาราช (ค.ศ.1397)
    7. อี จง, เจ้าชายซองนยอง (ค.ศ.1405-1418)
      1. อี ยัง, เจ้าชายอันพยอง - พระโอรสบุญธรรม
      2. อี ยง, เจ้าชายวอนชอน - พระโอรสบุญธรรม
    8. เจ้าหญิงจองซุน
    9. เจ้าหญิงคยองจอง (경정공주, ค.ศ.1387 - ค.ศ.1455)
    10. เจ้าหญิงคยองอัน (경안공주, ค.ศ.1393 - ค.ศ.1415)
    11. เจ้าหญิงจองซอน (정선공주, ค.ศ.1404 - 25 มกราคม ค.ศ.1424)
    12. เจ้าชายไม่ทราบพระนาม (ค.ศ.1412)
  2. พระสนมเอกฮโยบิน ตระกูลคิม แห่งชองพุง (孝嬪 金氏)
    1. อี บี, เจ้าชายคยองนยอง (이비, 경녕군, ค.ศ.1395 - ค.ศ.1458)
  3. พระสนมเอกชินบิน ตระกูลชิน แห่งยองวอล (신빈 신씨 ,信嬪 辛氏, ? - ค.ศ.1435)
    1. อี อิน, เจ้าชายฮัมนยอง (이인 함녕군, 1402–1467)
    2. อี จอง, เจ้าชายอนนยอง (이정 온녕군, 1407–1453)
    3. เจ้าหญิงจองชิน (정신옹주)
    4. เจ้าหญิงจองจอง (정정옹주)
    5. เจ้าหญิงซุกจอง (숙정옹주)
    6. เจ้าหญิงซุกนยอง (숙녕옹주)
    7. เจ้าหญิงซุกคยอง (숙경옹주)
    8. เจ้าหญิงซุกกึน (숙근옹주, ? - ค.ศ.1450)
    9. เจ้าหญิงโซชิน (소신옹주)
  4. พระสนมเอกซอนบิน ตระกูลอัน (선빈 안씨, 善嬪 安氏 ? - ค.ศ.1468)
    1. อี จี, เจ้าชายอิกนยอง (이치 익녕군, ค.ศ.1422 - ค.ศ.1464)
    2. เจ้าหญิงโซซุก (소숙옹주, ? - ค.ศ.1456)
    3. เจ้าหญิงคยองชิน (경신옹주, ไม่รู้วันที่)
    4. เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม
  5. พระสนมเอกอึยบิน ตระกูลควอน แห่งอันดง (의빈 권씨, 懿嬪 權氏)
    1. เจ้าหญิงจองฮเย (정혜옹주, ? - ค.ศ.1424)
  6. พระสนมเอกโซบิน ตระกูลโน (소빈 노씨, 昭嬪盧氏, ? - ค.ศ.1479)
    1. เจ้าหญิงซุกฮเย (숙혜옹주, ? - ค.ศ.1464)
  7. พระสนมเอกมยองบิน ตระกูลคิม แห่งอันดง (명빈 김씨, 明嬪金氏)
    1. เจ้าหญิงซุกอัน (숙안옹주, ? - ค.ศ.1464)
  8. พระสนมซุกอึย ตระกูลแช (숙의 최씨, 淑儀 崔氏)
    1. อี ทะ, เจ้าชายฮวีรยอง (이타 희령군, ? - ค.ศ.1465)
    2. เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม
  9. เจ้าหญิงท็อกซุก ตระกูลลี (덕순옹주 이씨 ,德淑翁主 李氏)
    1. อี กัน, เจ้าชายฮูรยอง (이간 후령군, ? - ค.ศ.1465)
    2. องค์หญิงซุกซุน (숙순옹주)
  10. พระสนามเอกอัน ตระกูลอัน (안씨)
    1. อี จี, เจ้าชายฮยอรยอง (이지 혜령군, ค.ศ.1407 - ค.ศ.1440)
  11. พระนางซุกกง ตระกูลคิม (숙공궁주 김씨 , ? - ค.ศ.1421)
  12. พระนางอึยจอง ตระกูลโจ (의정궁주 조씨 , ? - ค.ศ.1454)
  13. พระนางฮเยซุน ตระกูลลี (혜순궁주 이씨 , ? - ค.ศ.1438)
  14. พระนางชินซุน ตระกูลลี (신순궁주 이씨)
  15. เจ้าหญิงฮเยซอน ตระกูลฮง (혜선옹주 홍씨)
  16. เจ้าหญิงซุนฮเย ตระกูลจาง (순혜옹주 장씨)
  17. กึมยอง, เจ้าหญิงซอคยอง ไม่ทราบตระกูล (금영 서경옹주)
  18. พระสนม ตระกูลโก (정빈 고씨 后宮 高氏 , ? - ค.ศ.1426)
    1. อี นง, เจ้าชายกึนนยอง (이농 근녕군, ค.ศ.1411 - ค.ศ.1462)

พระปรมาภิไธย แก้

  • พระเจ้าแทจง คงจอง ซองด็อก ซินคง คอนชอน เชกุก แทจอง คเยอู มุนมู เยชอล ซองนยอล ควางฮโย
  • King Taejong Gongjeong Seongdeok Sin-gong Geoncheon Chegeuk Daejeong Gye-u Munmu Yecheol Seongnyeol Gwanghyo the Great
  • 태종공정성덕신공건천체극대정계우문무예철성렬광효대왕
  • 太宗恭定聖德神功建天體極大正啓佑文武叡哲成烈光孝大王

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. "탐라 성주시대 413년 ~ 탐라 성주시대 464년". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-11-08.
  2. 최양진 (2008-07-04). "한비자의 냉정한 정치로 승부수 띄운 '태종'". 한국경제. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.
  3. Grayson, James Huntley (2002). Korea: A Religious History. United Kingdom: Routledge. ISBN 0-7007-1605-X. (p108)
  4. 편집부 (1963-01-18). "창경궁(昌慶宮), 문화재정보". 위키트리IT/과학. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-19. สืบค้นเมื่อ 2012-02-10.
ก่อนหน้า พระเจ้าแทจง ถัดไป
พระเจ้าช็องจง   กษัตริย์แห่งโชซ็อน
(พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 1961)
  พระเจ้าเซจง