เจ้าชายยังนย็อง

เจ้าชายยังนย็อง (เกาหลี: 양녕대군, 1394 — 7 กันยายน 1462) เจ้าชายแห่ง ราชวงศ์โชซ็อน พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน พระเจ้าแทจงแห่งโชซ็อน รัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายช็องอัน กับพระนางว็อนกย็อง พระมเหสีและเป็นพระเชษฐาของ พระเจ้าเซจงมหาราช และบรรพบุรุษของ อี ซึง-มัน นักเรียกร้องอิสรภาพชาวเกาหลีและประธานาธิบดีคนแรกของ เกาหลีใต้

ยังนย็อง
이제
มกุฎราชกุมารแห่งโชซ็อน
ดำรงพระยศค.ศ. 1403 – 1417[1]
ก่อนหน้าพระเจ้าแทจง
ถัดไปพระเจ้าเซจงมหาราช
ประสูติค.ศ. 1394
ฮันซ็อง, อาณาจักรโชซ็อน
สิ้นพระชนม์7 กันยายน พ.ศ. 1462
ฝังพระศพSangdo-dong, เขตทงจัก, โซล, ประเทศเกาหลีใต้
มเหสีเจ้าหญิงพระชายา Suseong แห่งสกุล Gwangsan Kim
ราชวงศ์อีแห่งช็อนจู
ราชวงศ์สกุลอี
พระราชบิดาพระเจ้าแทจงแห่งโชซ็อน
พระราชมารดาพระนางว็อนกย็อง แห่งสกุล Yeoheung Min
ศาสนาลัทธิขงจื๊อใหม่
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Yangnyeong Daegun
เอ็มอาร์Yangnyŏng Taegun
ชื่อเกิด
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Yi Je
เอ็มอาร์Yi Che
ชื่อสุภาพ
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Hubaek
เอ็มอาร์Hupaek
ชื่อมรณกรรม
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Gangjeong
เอ็มอาร์Kangjŏng
บทความนี้อักษรเกาหลีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถามหรือสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลอักษรฮันกึลและอักษรฮันจาได้อย่างถูกต้อง

พระประวัติ

แก้

พระองค์มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า ลีเจ หรือ อี เจ ใน ค.ศ. 1394 พระองค์มีพระปรีชาสามารถทางด้าน วรรณกรรม และ อักษรวิจิตร พระองค์เห็นว่าพระองค์เองไม่มีความสามารถในการเป็นกษัตริย์และเชื่อว่าน่าจะเป็นเจ้าชายชุงนย็องพระอนุชาพระองค์เล็กที่มีความเหมาะสม พระองค์จึงตัดสินพระทัยสร้างความอับอายให้กับราชสำนักทำให้สูญเสียตำแหน่งเจ้าชายและอภิเษกกับหญิงสาวสามัญชนทำให้พระองค์ถูกเนรเทศอย่างเป็นทางการออกจากฮันยังในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1418 เจ้าชายฮโยรย็อง พระอนุชาพระองค์รองของเจ้าชายยังนย็องซึ่งรับตำแหน่งรัชทายาทสืบต่อมา มีความเห็นเช่นเดียวกันว่าเจ้าชายชุงนยองเหมาะสมที่จะเป็นกษัตริย์มากกว่า จึงตัดสินพระทัยออกผนวชเป็นพระภิกษุ ซึ่งแผนการนี้ส่งผลให้เจ้าชายชุงนยองได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นพระเจ้าเซจงมหาราช ต่อมาเจ้าชายยังนย็องกลายเป็นนักเดินทางที่เร่ร่อนและพำนักอยู่บนภูเขา

พระราชวงศ์

แก้

พระชายา พระโอรส พระธิดา

แก้
  • พระชายาซูซ็อง ตระกูลคิม (수성군부인 김씨)
    • เจ้าหญิงชังรย็อง (재령군주)
    • อี เก, เจ้าชายซุนซอง (이개 순성군)
    • เจ้าหญิงยังช็อน (영천군주)
    • อี โพ, เจ้าชายฮัมยาง (이포 함양군)
    • อี ฮเย, เจ้าชายซอซาน (이혜 서산군)
    • เจ้าหญิงยองพย็อง (영평현주)

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ในปฏิทินจันทรคติ, 6 สิงหาคม ค.ศ. 1404 - 3 มิถุนายน ค.ศ. 1418

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

บรรณานุกรม

แก้
  • Kim Haboush, JaHyun and Martina Deuchler (1999). Culture and the State in Late Chosŏn Korea. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 9780674179820; OCLC 40926015
  • Lee, Peter H. (1993). Sourcebook of Korean Civilization, Vol. 1. New York: Columbia University Press. ISBN 9780231079129; ISBN 9780231079143; ISBN 9780231104449; OCLC 26353271
  • Lee Bae-yong (2008). Women in Korean History. Seoul: Ewha Womans University Press. ISBN 9788973007721