อี ซึง-มัน
อี ซึง-มัน (อักษรโรมัน: Yi Seung-man แต่เจ้าของชื่อเลือกสะกดเป็นอักษรโรมันว่า Syngman Rhee; เกาหลี: 이승만; ฮันจา: 李承晩; 26 มีนาคม พ.ศ. 2418 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2508) เป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 จนถึงเมษายน พ.ศ. 2503 ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีความตึงเครียดของสงครามเย็น ในคาบสมุทรเกาหลี
อี ซึง-มัน | |
---|---|
이승만 | |
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 – 26 เมษายน พ.ศ. 2503 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ยุน โบซอน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 มีนาคม พ.ศ. 2418 แฮจู ฮวังแฮ อาณาจักรโชซ็อน |
เสียชีวิต | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 (90 ปี) โฮโนลูลู รัฐฮาวาย สหรัฐ |
ศาสนา | ศาสนาคริสต์-เมทอดิสต์[2] |
พรรคการเมือง | เสรีนิยม |
คู่สมรส | พัก ซึงซอน (2433-2453) ฟรันซิสกา ดอเนอร์ (2474-2503) [1] |
ลายมือชื่อ | |
อีนั้นเป็นพวกมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ และเป็นเผด็จการ เขายังนำเกาหลีใต้เข้าสู่สงครามเกาหลี ความเป็นประธานาธิบดีของเขาสิ้นสุดลงเมื่อเขาลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากมีการประท้วงใหญ่อันเนื่องมาจากมีข้อสงสัยว่าเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใส และถึงแก่อสัญกรรมขณะลี้ภัยที่รัฐฮาวาย
ประวัติ
แก้ชีวประวัติเริ่มแรก
แก้อี ซึง-มันเกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2418 เกิดในครอบครัวชนชั้นปกครองที่มีทรัพย์สินพอประมาณที่จังหวัดฮวังแฮ ประเทศเกาหลี เขาเป็นน้องคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งห้าคน แต่อย่างไรก็ตามบรรดาพี่ของเขาก็เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย โดยครอบครัวของอีนั้นสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าแทจง กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โชซ็อน โดยสืบเชื้อสายมาจากเจ้าชายยังนย็อง เมื่อเขาอายุได้ 2 ปี ครอบครัวของเขาก็ย้ายมายังโซล การศึกษาในช่วงเริ่มแรกของเขายังเป็นแบบธรรมเนียมโบราณคือเรียน วรรณกรรมจีน ถึงแม้ว่าเขาจะพยายามสอบเพื่อที่จะเข้ารับราชการ แต่เขาก็ไม่สามารถที่จะสอบเข้ารับราชการได้ เมื่อมีการปฏิรูปโดยยกเลิกระบบการศึกษาแบบโบราณ อีจึงเข้าไปเรียนในโรงเรียนเพเจ ซึ่งเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นโดยมิชันนารีชาวสหรัฐอเมริกา[3] อีเริ่มฝึกเรียนภาษาอังกฤษ และได้ทำหนังสือพิมพ์ของโรงเรียนคือหนังสือพิมพ์ เมอิล ซินมัน[4]
อีได้ไปเข้าชมรมเพื่อเอกราช เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปการเมืองในปี 2439 ในผลที่ตามมาจากการที่เขาประท้วงญี่ปุ่นที่เข้ามาแทรกแซงคาบสมุทรเกาหลี อีจึงถูกจับกุมด้วบข้อหาการปลุกระดมฝูงชนให้ต่อต้านรัฐบาลในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2442 อีล้มเหลวในการพยายามหลบหนีออกจากคุกและถูกทรมานและถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต ระหว่างถูกจำคุกนั้นอีได้ศึกษาหาความรู้จากหนังสือที่ลักลอบนำไปให้โดยเพื่อนหรือพวกทูต และต่อมาอีก็ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ขณะที่อยู่ภายในคุก และเริ่มต้นนำคัมภีร์ใบเบิลเข้ามาศึกษาในคุกกับเพื่อนที่อยู่ในเรือนจำด้วยกัน และเขายังเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ และเริ่มต้นโครงการห้องสมุดสำหรับนักโทษซึ่งมีจำนวนหนังสือ 500 เล่ม อียังเขียนแถลงการณ์การเมืองอีกด้วยในชื่อว่า จิตวิญญาณของความเป็นเอกราช[4]
การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช
แก้จากการประทุขึ้นของสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ทำให้การเมืองในเกาหลีมีการเปลี่ยนแปลง และอีก็ถูกปล่อยออกจากเรือนจำในปี พ.ศ. 2447 และหลังจากนั้นก็เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา เป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นพระบรมราชโองการ สู่การประชุมสันติภาพและยุติสงคราม อีไปถึงวอชิงตัน ดี.ซี. ในเดือนธันวาคมในปีนั้น ไปพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จอห์น เฮย์ และประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาธีโอดอร์ โรสเวลต์ ในการพูดคุยเพื่อสันติภาพในพอร์ทเมาท์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ และพยายามที่จะโน้มน้าวสหรัฐฯเข้ามาแทรกแซงและยอมรับสถานความมีอำนาจอธิปไตยของเกาหลี[5] แต่การเจรจาครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จและเกาหลีก็กลายเป็นรัฐในอารักขาของญี่ปุ่นในปี 2448[4]ด้วยความช่วยเหลือของมิชชันนารี อียังคงอาศัยอยู่ในสหรัฐฯเพื่อศึกษาต่อ และได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ในปี 2450 และศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปี 2453 และ ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในปีเดียวกัน สาขาที่อีศึกษาประกอบไปด้วย การเมือง,ประวัติศาสตร์,ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ,เทววิทยาและกฎหมาย และอีเริ่มเขียนชื่อของเขาถามวิธีแบบตะวันตก โดยเอาชื่อตัวไว้ก่อนชื่อสกุล[6]
อี ซีงมันกลับมายังเกาหลีในช่วงปลายปี 2453 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการของสมาคมคนรุ่นใหม่คริสเตียนในโซล อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นพึ่งผนวกเกาหลีและเริ่มต้นปราบปรามอย่างรุนแรงกับชุมชนชาวคริสต์ในเกาหลี อีก 15 เดือนถัดมาอีได้ออกจากเกาหลีไปยังสหรัฐอเมริกาโดยอ้างว่าไปเข้าร่วมการประชุมเมทอดิสต์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการถูกปราบปรามอย่างรุ่นแรง อีไปถึงฮาวายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2455 และเริ่มต้นเปิดโรงเรียนสำหรับชาวคริสเตียนเพื่อผู้อพยพชาวเกาหลีและกลายเป็นมีส่วนร่วมในชุมชุนชาวเกาหลีอเมริกันในท้องถิ่นนั้น ซึ่งทำให้เกิดผู้อพยพขึ้นเปนจำนวนมากอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากการเมืองภายในประเทศ[6]
ในปี 2454 อีได้กลับมายังเกาหลี (ซึ่งตอนนั้นถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นแล้ว) ในฐานะเป็นผู้ประสานงานของวายเอ็มซีเอและมิชชันนารี[7][8] การเคลื่อนไหวทางการเมืองของเขาเป็นจุดสนใจที่ไม่น่ายินดีนักของทหารญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2462 บรรดาบุคคลสำคัญในขบวนการสนับสนุนการเป็นเอกราชได้ก่อตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีขึ้นที่เซี่ยงไฮ้ และอีก็ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี และอยู่ในตำแหน่งนาน 6 ปี จนกระทั่งถูกถอดถอนออกตามการกล่าวหา (อิมพีชเมนท์) โดยสภาเฉพาะกาลสำหรับการใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบ
อีได้ลี้ภัยโดยไปใช้ชีวิตที่สหรัฐอเมริกาในนิวยอร์กและวอชิงตัน ดี.ซี. และต่อจากนั้นก็ไปฮาวาย ซึ่งมีชุมชนชาวเกาหลีที่ลี้ภัยเนื่องจากกิจกรรมทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุด ดอนเนอร์นั้นทำงานอยู่ในอเมริกาโดยมีตำแหน่งเป็นเลขนุการของอี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเตรียมหนังสือ "รู้นอกในญี่ปุ่น"(2483)
ภายหลังจากการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองของญี่ปุ่น อีได้กลับไปยังเกาหลีจากการสนับสนุนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
ประธานาธิบดี
แก้การขึ้นสู่ตำแหน่ง
แก้ภายหลังจากเกาหลีได้รับเอกราชในปี 2488 อีได้กลับไปยังโซลก่อนหน้าผู้นำการต่อสู้เพื่อเอกราชคนอื่นๆ ด้วยการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา อีได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำของรัฐบาลเกาหลีในปี 2488 โดยอีได้เริ่มต้นนโยบาย "โค่นล้มคอมมิวนิสต์" อย่างไรก็ตาม ในสุนทรพจน์ของเขาในปีต่อๆมาหลังจากที่เขาเป็นประธานาธิบดี เขามักเปรียบเทียบคู่แข่งทางการเมืองของเขากับคอมมิวนิสต์อยู่บ่อยๆ[9]
อีชนะการเลือกตั้งสภาสมัชชาแห่งชาติครั้งแรกของเกาหลีใต้ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 โดยเป็นการเลือกตั้งเฉพาะในเขตของเกาหลีทางใต้ ซึ่งแต่เดิมตั้งใจว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วทั้งคาบสมุทรเกาหลีแต่ถูกทางเกาหลีที่อยู่ฝั่งทางเหนือคัดค้านการเลือกตั้งในครั้งนี้ ฉะนั้นการเลือกตั้งในครั้งนี้จึงเลือกตั้งโดย "การเลือกตั้งโดยสภาเดียว" และอีก็ได้รับเลือกให้เป็นโฆษกของสภาสมัชชาแห่งชาติในวันที่ 31 พฤษภาคม ต่อมาอีก็ลงสมัครเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และอีก็เอาชนะ คิม กู ประธานาธิบดีรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีคนสุดท้ายไปด้วยคะแนน 82-13 ได้เป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนแรก ในวันที่ 20 กรกฎาคม โดยอีได้รับมอบอำนาจอย่างเป็นทางการจากทหารอเมริกาที่ประจำการอยู่ที่นั้นและเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐเอกราชแล้ว
การปราบปรามทางการเมือง
แก้ไม่นานหลังจากเข้ารับตำแหน่ง อีได้ออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อลดจำนวนผู้ที่ไม่เห็นด้วย นักการเมืองฝ่ายซ้ายหลายคนถูกจับ และในบางกรณีก็ถูกสังหาร และในไม่ช้าลักษณะการบริหารงานเข้าลักษณะของระบอบเผด็จการ[10] เขาอนุญาตให้หน่วยรักษาความมั่นคงภายใน (มีคิม ยางรยอง มือขวาของเขาเป็นหัวหน้า) ในการกักขังและทรมานผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์และสายลับของเกาหลีเหนือ รัฐบาลของเขายังเป็นผู้ควบคุมในการฆาตกรรมหมู่หลายครั้งด้วย โดยครั้งที่มีชื่อมากที่สุดคือที่เกาะเชจู มีผู้ประท้วงกว่า 30,000 ถูกสังหารด้วยน้ำมือของตำรวจ[11]
สงครามเกาหลี
แก้ภายหลังจากที่สงครามเกาหลีปะทุขึ้นในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ชาวเกาหลีใต้ที่อาศัยอยู่ เส้นขนานที่ 38 รู้สึกถึงจำนวนผู้บุกรุกจากทางฝั่งเกาหลีเหนืออย่างมากมายภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง โดยวันที่ 26 มิถุนายน กองทัพเกาหลีเหนือก็กำลังจะเข้ายึดโซล อีเกรงกลัวความโกลาหลครั้งใหญ่ในโซล ได้ห้ามทหารห้ามเปิดเผยถึงสถานการณ์ และไม่หลบหนีพร้อมกับบุคคลส่วนใหญ่ในรัฐบาลในวันที่ 27 มิถุนายน ตอนเที่ยงคืนของวันที่ 28 มิถุนายนทหารของเกาหลีใต้ได้ทำลายสะพานข้ามแม่น้ำฮัน ด้วยวิธีที่จะขัดขวางผู้คนจำนวนนับพันที่จะหลบหนี และวันที่ 28 มิถุนายน ทหารเกาหลีเหนือก็ยึดโซลได้ทั้งหมด
ระหว่างที่เกาหลีเหนือยึดโซล อีได้ตั้งรัฐบาลขึ้นมาใหม่ที่ปูซานและได้สร้างแนวรับแถวรอบบริเวณแม่น้ำนักดง เป็นการสู้รบที่มีความสำคัญกับความอยู่รอดของเกาหลีใต้ และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ ยุทธการแม่น้ำนักดง
ภายหลังจากยึดโซลคืนได้ในเดือนตุลาคม อีได้ฟื้นฟูตำแหน่งผู้นำของเขาอีกครั้ง ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกากลายเป็นตึงเครียดเมื่อเขาปฏิเสธที่จะยืนยันจำนวนข้อเสนอในการหยุดยิง ซึ่งอาจจะทำให้ยุติสงครามเกาหลี โดยอีต้องกลายเป็นผู้นำในการรวมชาติเกาหลี ดังนั้นเขาจึงคัดค้านข้อเสนอในการหยุดยิงทั้งหมด แต่ความหวังของอีก็ถูกพังทลายลงโดย คิม อิลซอง อีต้องการใช้วิธีที่แข็งกร้าวในการต่อต้านรัฐบาลของเหมา เจ๋อตง ซึ่งสร้างความรำคาญอย่างยิ่งต่อสหรัฐฯ เพราะอเมริกาต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์ถล่มจีน
การเลือกตั้งใหม่
แก้เพราะความไม่พอใจที่ขยายวงกว้างออกไปเพราะการคอรัปชันและการปราบปรามทางการเมืองในรัฐบาลของอี ไม่น่าเชื่อว่าว่าอีจะได้รับการเลือกตั้งกลับขึ้นมาอีกครั้งโดยสภาแห่งชาติ ในสถานการณ์นี้ อีพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้เขาได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน เมื่อสภาแห่งชาติปฏิเสธการแก้ไข อีก็ได้มีคำสั่งให้จับกุมนักการเมืองฝ่ายค้านอย่างมากมาย และหลังจากนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญของอีก็ทำได้อย่างสำเร็จสมความปรารถนา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2495 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ อีได้คะแนนเสียงไปถึง 74%[12]
ลาออกจากตำแหน่งและลี้ภัย
แก้อีชนะการเลือกตั้งอย่างง่ายดายและเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีช่วงสุดท้ายในปี พ.ศ. 2499 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2491 จำกัดให้เป็นประธานาธิบดีได้ 3 สมัยเท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่นานหลังจากเขาทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง เขาได้ทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้เขาสามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้อย่างไม่จำกัดสมัย
ในปี พ.ศ. 2503 อีชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีด้วยคะแนน 90% ชัยชนะของเขาเป็นที่แน่นอนเมื่อ โช บยองอ๊ก คู่แข่งคนสำคัญได้เสียชีวิตไม่นานก่อนวันเลือกตั้ง 15 มีนาคม
อีต้องการคนที่จะมาอุปถัมป์เขา เขาให้อี กิบอง ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งรองประธานาธิบดี ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกเทศภายใต้กฎหมายของเกาหลีใต้ในขณะนั้น เมื่ออี กิบอง ชนะคะแนนชาง มยอง (เอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำสหรัฐอเมริกาช่วงสงครามเกาหลี) ไปได้อย่างขาดลอย โดยฝ่ายค้านอ้างว่าการเลือกตั้งนี้ไม่มีความโปร่งใส สิ่งนี้ทำให้เกิดความโกรธแค้นของประชาชนชาวเกาหลีอย่างมาก เมื่อตำรวจยิงผู้ประท้วงที่มาซาน นักเรียนนักศึกษาเป็นผู้นำการปฏิวัติเดือนเมษายน บังคับให้อี ซึง-มันลาออกในวันที่ 26 เมษายน ยิ่งไปกว่านั้นในขณะที่ยังได้รับความสนใจจากผู้ประท้วง โดยอีถูกกล่าวหาโดย คิม ยองคับ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังว่า อียักยอกเงินเป็นจำนวนมากกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากงบประมาณของรัฐบาล
ในวันที่ 28 เมษายน เครื่องบิน ดักลัส ดีซี-4 ซึ่งเป็นของหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (ซีไอเอ) และได้ปฏิบัติการโดยการบินพลเรือนเพื่อพาอีออกจากเกาหลีใต้ ในขณะที่ผู้ประท้วงล้อมรอบทำเนียบประธานาธิบดี[13] โดยอดีตประธานาธิบดีและฟรันซิสกา ดอเนอร์ (ภรรยาของอี) และบุตรบุญธรรมของเขาได้ลี้ภัยไปยัง โฮโนลูลู รัฐฮาวาย
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้อีเสียถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ในสัปดาห์ถัดมาร่างของลีก็ได้กลับมายังเกาหลีใต้และฝังไว้ที่สุสานแห่งชาติกรุงโซล
อ้างอิง
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "KOREA: The Walnut". TIME. March 9, 1953. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 2010-03-20.
In 1932, while attempting to put Korea's case before an indifferent League of Nations in Geneva, Rhee met Francesca Maria Barbara Donner, 34, the daughter of a family of Viennese iron merchants. Two years later they were married in a Methodist ceremony in New York.
- ↑ "The Walnut". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 2012-04-23.
- ↑ Rhee 2001, p. 1
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Rhee 2001, p. 2
- ↑ 유영익 (1996). 이승만의 삶과 꿈. Seoul, South Korea: Joong Ang Ilbo Press. pp. 40–44. ISBN 8946103450.
- ↑ 6.0 6.1 Rhee 2001, p. 3
- ↑ Coppa, Frank J., บ.ก. (2006). "Rhee, Syngman". Encyclopedia of modern dictators: from Napoleon to the present. Peter Lang. p. 256. ISBN 978-0-8204-5010-0.
- ↑ Jessup, John E. (1998). "Rhee, Syngman". An encyclopedic dictionary of conflict and conflict resolution, 1945-1996. Greenwood Publishing Group. p. 626. ISBN 978-0-313-28112-9.
- ↑ Dillard, James E. "Biographies: Syngman Rhee". Korean War 60th Anniversary: History. US Department of Defense. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ Tirman, John (2011). The Deaths of Others: The Fate of Civilians in America's Wars. Oxford University Press. pp. 93–95. ISBN 978-0-19-538121-4.
- ↑ Müller, Anders Riel (19 April). "One Island Village's Struggle for Life, Land, and Peace". Korea Policy Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2012-04-23.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
และ|year=
/|date=
ไม่ตรงกัน (help) - ↑ Buzo, Adrian (2007). The making of modern Korea. Taylor & Francis. p. 79. ISBN 978-0-415-41482-1.
- ↑ Cyrus Farivar (2011), "The Internet of Elsewhere: The Emergent Effects of a Wired World", Rutgers University Press, p 26.
แหล่งข้อมูล
แก้- Appleman, Roy E. (1998), South to the Naktong, North to the Yalu: United States Army in the Korean War, Washington, D.C.: Department of the Army, ISBN 978-0-16-001918-0, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-18, สืบค้นเมื่อ 2012-04-23
- Rhee, Syngman (2001), The Spirit of Independence: A Primer for Korean Modernization and Reform (translated with an introduction by Han-Kyo Kim), Honolulu, Hawaii: University of Hawaii Press, ISBN 978-0-8248-2349-8