โซล (เกาหลี서울; อาร์อาร์Seoul; เอ็มอาร์Sŏul; การออกเสียงภาษาเกาหลี [sʌ.ul]( ฟังเสียง) ซออุล) ชื่ออย่างเป็นทางการ นครพิเศษโซล เป็นเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน และยังเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองหลวงและปริมณฑล โดยมีประชากรประมาณ 25 ล้านคน[4] ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยมหานครอินช็อนและจังหวัดคย็องกี เกือบหนึ่งในสี่ของประชากรชาวเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในโซลและชาวต่างชาติอีกประมาณ 275,000 คน[5] โซลได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองเศรษฐกิจอันดับสี่ของโลกรองจาก โตเกียว นิวยอร์ก และ ลอสแอนเจลิส

โซล

서울
นครพิเศษโซล
서울특별시
การถอดเสียงภาษาเกาหลี
 • ฮันกึล
 • ฮันจา[1]
 • การถอดเป็นอักษรโรมันฉบับปรับปรุงSeoul Teukbyeolsi
 • แมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์Sŏul T'ŭkpyŏlsi
ธงของโซล
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของโซล
ตรา
แผนที่ของประเทศเกาหลีใต้เน้นโซล
แผนที่ของประเทศเกาหลีใต้เน้นโซล
พิกัด: 37°33′N 126°59′E / 37.550°N 126.983°E / 37.550; 126.983
ประเทศ เกาหลีใต้
ภูมิภาคซูโดกว็อน (เขตเมืองหลวงและปริมณฑล)
เขต
การปกครอง
 • ประเภทรัฐบาลนครพิเศษโซล
 • นายกเทศมนตรีโอ เซ-ฮุน
พื้นที่[2]
 • นครพิเศษ605.25 ตร.กม. (233.69 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • นครพิเศษ10,006,968 คน
 • ความหนาแน่น16,492 คน/ตร.กม. (42,710 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล25,425,184 คน
 • ภาษาถิ่นโซล
เดมะนิมโซลไลต์, ซออุล ซี-มิน
ดอกไม้ฟอร์ซิเทีย
ต้นไม้แปะก๊วย
นกนกกางเขน
เว็บไซต์seoul.go.kr

โซลมีสถานะเป็นเมืองหลวงมาตั้งแต่สมัยโบราณในยุคของ อาณาจักรแพ็กเจ ราชวงศ์โชซ็อน จักรวรรดิเกาหลี และ โครยอ (ในฐานะเมืองหลวงอันดับสอง) กรุงโซลมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าสองพันปี ก่อตั้งเมื่อ 18 ปีก่อนคริสตกาลโดยอาณาจักรแพ็กเจ หนึ่งในสามราชอาณาจักรเกาหลี ต่อมา เมืองนี้ถูกกำหนดให้เป็นเมืองหลวงของเกาหลีโดยราชวงศ์โชซ็อน กรุงโซลตั้งอยู่บริเวณภูมิประเทศที่เป็นภูเขาและเนินเขา โดยมีภูเขาพุกฮันซานตั้งอยู่ทางตอนเหนือ เขตเมืองหลวงและปริมณฑลเป็นที่ตั้งของแหล่งมรดกโลกจำนวนห้าแห่ง ได้แก่ พระราชวังชังด็อก ป้อมฮวาซ็อง ศาลเจ้าชงมโย นัมฮันซันซ็อง และ สุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อน[6] กรุงโซลยังเป็นที่ตั้งของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น หอคอยเอ็นโซล อาคาร 63 ลอตเตเวิลด์ทาวเวอร์ ทงแดมุนดีไซน์พลาซา และ ลอตเต้เวิลด์

โซลได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในทวีปเอเชียในแง่คุณภาพชีวิตประชากร ด้วยอัตราจีดีพีเฉลี่ยต่อคนสูงถึง 40,000 ดอลลาร์ โซลเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีที่สำคัญในประเทศโดยเป็นที่ตั้งของเขตคังนัมและเมืองแห่งสื่อดิจิทัล[7] รวมถึงสำนักงานใหญ่ของบริษัทชั้นนำกว่า 15 แห่งโดยฟอร์จูนโกลบอล 500 (บริษัทชั้นนำ 500 อันดับแรกของโลก) รวมถึง ซัมซุง แอลจี และ ฮุนได กรุงโซลอยู่ในอันดับที่เจ็ดตามดัชนีเมืองมหาอำนาจระดับโลก (Global Power City Index) และ ดัชนีการแข่งขันทางด้านการเงิน (Global Financial Centers Index) โซลเป็นเมืองที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อกิจการระดับโลกในฐานะที่เป็นหนึ่งในห้าสถานที่จัดการประชุมชั้นนำระดับโลก โซลเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 1986, โอลิมปิกฤดูร้อน 1988, ฟุตบอลโลก 2002 และการประชุมสุดยอด จี-20 2010 โซลได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบในปี 2010 โดยสมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาติ และเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมประชานิยมสมัยใหม่ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกระแสเกาหลีในศตวรรษที่ 21

สถานีรถไฟโซลเป็นสถานีปลายทางหลักของรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ๊กซ์และสถานีรถไฟใต้ดินโซลยังเป็นสถานีที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอับดับที่สองของโลกโดยมีลักษณะเป็นสายวงรอบที่ยาวที่สุดและและมีเส้นทางรถไฟไต้ดินจนสุดสายที่ยาวเป็นอับดับที่สองของโลก โซลนั้นได้รวมระบบขนส่งมวลชนเข้ากับเมืองอินช็อนและจังหวัดคย็องกี โดยสามารถให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟไต้ดินได้อย่างอิสระโดยใช้บัตรที-มันนี่และเชื่อมต่อโดยทางเอเร็กซ์เพื่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ซึ่งถูกจัดเป็นสนามบินยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2005 โดยสภาการท่าอากาศยานนานาชาติ

ชื่อเมือง

แก้

ในอดีตโซลเป็นที่รู้จักในชื่อ วีรเย-ซ็อง (위례성; 慰禮城, สมัยแพ็กเจ) ฮันจู (한주; 漢州, สมัยชิลลา) นัมกย็อง (남경; 南京, สมัยโครยอ) ฮันซ็อง (한성; 漢城, สมัยแพ็กเจและโชซ็อน) ฮันยัง (한양; 漢陽, สมัยโชซ็อน) และ คย็องซ็อง หรือ เคโจ (경성; 京城, ระหว่างตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น)[8] ชื่อโซลในปัจจุบันมีที่มาจากคำในภาษาเกาหลีที่มีความหมายว่า "เมืองหลวง" ซึ่งเชื่อว่ามาจากคำว่า ซอราบอล (서라벌; 徐羅伐) ซึ่งดั้งเดิมใช้อ้างถึง คย็องจู เมืองหลวงของอาณาจักรชิลลา[9]

ไม่เหมือนพื้นที่ส่วนใหญ่ในเกาหลีใต้ "โซล" ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในภาษาเกาหลี) วันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2005 รัฐบาลนครพิเศษโซลได้เปลี่ยนชื่อภาษาจีนอย่างเป็นทางการเป็น Shou'er (จีนตัวย่อ: 首尔; จีนตัวเต็ม: 首爾; พินอิน: shǒu'ěr) จากชื่อในทางประวัติศาสตร์ ฮันซอง (จีนตัวย่อ: 汉城; จีนตัวเต็ม: 漢城; พินอิน: hànchéng)[10][11][12]

ประวัติศาสตร์

แก้
 
ดงควอนโด, ภาพวาดทิวทัศน์ของพระราชวังชางด๊อกกุง

โซลเริ่มมีผู้ตั้งรกรากอยู่ตั้งแต่สมัยอาณาจักรแพ็กเจ ตั้งแต่ 18 ปีก่อนคริสตกาล ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณเขตแดนของโซลในปัจจุบัน โดยยังมีหลักฐานคงอยู่เช่น พุงนับโทซ็อง หรือ มงช็อนโทซ็อง และต่อมากลายมาเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์โชซ็อนใน ค.ศ. 1394 และมีความพยายามที่จะทำให้เป็นเมืองที่ทันสมัยในปลายศตวรรษที่ 19 และโซลเป็นเมืองแรกในเอเชียตะวันออกที่มีไฟฟ้า รถราง น้ำประปา โทรศัพท์ และระบบโทรเลขในเวลาเดียวกัน[13] ระหว่างที่เป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โซลมีชื่อว่า คย็องซ็อง (경성, ความหมาย "เมืองหลวง"; ญี่ปุ่น: 京城โรมาจิKeijō) ภายหลังจากที่ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1945 เกาหลีได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "โซล" (ซึ่งมีความหมายว่า "เมืองหลวง" ในภาษาเกาหลี) ใน ค.ศ. 1949 โซลได้แยกออกจากจังหวัดคย็องกี และมีฐานะเป็น "นครพิเศษโซล" ต่อมาใน ค.ศ. 1950 ระหว่างสงครามเกาหลี โซลถูกยึดครองโดยทหารเกาหลีเหนือ และเมืองก็ได้ถูกทำลายเสียหายเกือบทั้งหมด และเมืองก็สามารถยึดกลับคืนมาได้โดยกำลังของสหประชาชาติในวันที่ 14 มีนาคม ึค.ศ. 1951 ตั้งแต่ตอนนั้น ขอบเขตของเมืองก็ขยายไปยังพื้นที่เขตการปกครองรอบข้างของกิมโป, โกยัง, ควันจู, ซิฮึง, และเมืองชนบทยังจู และขอบเขตเมืองในปัจจุบันได้กำหนดขึ้นใน ค.ศ. 1995

ภูมิศาสตร์

แก้
 
คลองช็องกเยช็อน

โซลอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเกาหลีใต้ ครอบคลุมพื้นที่ 605.25 กม.²[2] มีรัศมีประมาณ 15 กิโลเมตร โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนอย่างคราว ๆ เป็นฝั่งเหนือและฝั่งใต้ โดยใช้แม่น้ำฮันเป็นตัวแบ่ง แม่น้ำฮันและบริเวณรอบ ๆ มีส่วนสำคัญต่อประวัติศาสตร์เกาหลี ในยุคราชอาณาจักรทั้งสามของเกาหลีก็มีการต่อสู้กันและมีความพยายามอย่างหนักที่จะควบคุมพื้นที่นี้ ที่ซึ่งแม่น้ำสามารถใช้เป็นเส้นทางในการค้าขายกับจีน (ผ่านทะเลเหลือง) แม่น้ำฮันไม่สามารถที่จะใช้เดินเรือได้อีกต่อไป เพราะว่าชะวากทะเลตั้งอยู่บนพรมแดนระหว่างสองเกาหลี พร้อมด้วยการระงับพลเรือนไม่ให้เข้าไปในเขตนั้น โซลถูกกั้นขอบเขตด้วยภูเขา 8 ลูก ตลอดจนบริเวณพื้นที่สูงกว่าบริเวณที่ราบแม่น้ำฮันและพื้นที่ตะวันตก

สภาพอากาศ

แก้

โซลมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตอากาศของคอปเปน Dwa) ฤดูร้อนโดยปกติจะมีอากาศร้อนและชื้น ฤดูมรสุมเอเชียตะวันออกจะอยู่ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม โดยในเดือนสิงหาคมจะมีอากาศร้อนมากที่สุด ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 22.4 ถึง 29.6 °C (72 ถึง 85 °F) หรืออาจจะสูงมากขึ้นกว่านี้อีก ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวโดยเฉลี่ยอุณหภูมิในเดือนมกราคมจะอยู่ที่ -5.9 ถึง 1.5 °C (21.4 ถึง 34.7 °F) และอากาศจะแห้งกว่าในฤดูร้อน โซลมีหิมะตกเฉลี่ยปีละ 28 วัน

ข้อมูลภูมิอากาศของโซล (1981−2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.5
(34.7)
4.7
(40.5)
10.4
(50.7)
17.8
(64)
23.0
(73.4)
27.1
(80.8)
28.6
(83.5)
29.6
(85.3)
25.8
(78.4)
19.8
(67.6)
11.6
(52.9)
4.3
(39.7)
17.0
(62.6)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) −2.4
(27.7)
0.4
(32.7)
5.7
(42.3)
12.5
(54.5)
17.8
(64)
22.2
(72)
24.9
(76.8)
25.7
(78.3)
21.2
(70.2)
14.8
(58.6)
7.2
(45)
0.4
(32.7)
12.5
(54.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) −5.9
(21.4)
−3.4
(25.9)
1.6
(34.9)
7.8
(46)
13.2
(55.8)
18.2
(64.8)
21.9
(71.4)
22.4
(72.3)
17.2
(63)
10.3
(50.5)
3.2
(37.8)
−3.2
(26.2)
8.6
(47.5)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 20.8
(0.819)
25.0
(0.984)
47.2
(1.858)
64.5
(2.539)
105.9
(4.169)
133.2
(5.244)
394.7
(15.539)
364.2
(14.339)
169.3
(6.665)
51.8
(2.039)
52.5
(2.067)
21.5
(0.846)
1,450.5
(57.106)
ความชื้นร้อยละ 59.8 57.9 57.8 56.2 62.7 68.1 78.3 75.6 69.2 64.0 62.0 60.6 64.4
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 6.5 5.8 7.4 7.8 9.0 9.9 16.3 14.6 9.1 6.3 8.7 7.4 108.8
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 160.3 163.3 189.0 205.0 213.0 182.0 120.0 152.5 176.2 198.8 153.2 152.6 2,066.0
แหล่งที่มา: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาเกาหลี [14]


เขตการปกครอง

แก้

โซลแบ่งออกเป็น คู (구; 區) (เขต)[15] แต่ละคูก็มีขนาดพื้นที่แตกต่างกันออกไป (ตั้งแต่ 10 จนถึง 47 กม.²) และมีประชากร (ตั้งแต่น้อยกว่า 140, 000 จนถึง 630, 000 คน) ซงพาเป็นเขตที่มีประชากรเยอะที่สุด ขณะที่ซอโช เป็นเขตที่มีพื้นที่มากที่สุด รัฐบาลของแต่ละคูดูแลหลากหลายหน้าที่ และรัฐบาลนครพิเศษจะดูแลในเขตอำนาจอื่น ๆ ในแต่ละคูก็จะแบ่งการปกครองออกเป็นทง (dong; 동; 洞) หรือแขวง บางคูอาจมีเพียงไม่กี่ทง ในขณะที่คูอื่น ๆ เช่น ชงโน จะมีจำนวนแขวงอย่างมากมาย คูทั้งหมดในโซลประกอบไปด้วย 522 ทง (행정동)[15] ทง (dong) นั้นยังสามารถแบ่งการปกครองย่อยลงไปอีกเป็น ทง (tong; 통; 統) ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 13,787 แห่ง และทง (tong) ก็สามารถแบ่งย่อยออกไปเป็น พัน มีจำนวนทั้งหมด 102, 796 พัน

 
เขตในโซล

เศรษฐกิจ

แก้

ในฐานะที่เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของซัมซุง, แอลจี, ฮุนได, เกีย มอเตอร์ และเอสเค กรุ๊ป ทำให้โซลกลายเป็นศูนย์กลางทางด้านธุรกิจหลัก ถึงแม้ว่าโซลจะมีพื้นที่เพียง 0.6 เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศ แต่ว่าโซลนั้นมีจีดีพีถึง 21 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีทั้งประเทศ[16]

ชอปปิ้ง

แก้

ตลาดทงแดมุน เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีตั้งอยู่ที่โซล มยองดง (หรือที่คนไทยเรียกว่าเมียงดง) เป็นแหล่งชอปปิ้งและแหล่งเพื่อความบันเทิงบริเวณใจกลางโซลโดยมีร้านค้าตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงระดับสูงมีร้านแฟชั่นบูติก และมีร้านขายสินค้าแบรนด์ดังระดับโลก ตลาดนัมแดมุน ซึ่งมีชื่อมาจากประตูนัมแดมุนซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน เป็นตลาดที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดอยู่ในโซล ซินชอนพื้นที่ชอปปิ้ง โดยเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยวัยรุ่นและนักศึกษามหาวิทยาลัย

อินซาดง เป็นตลาดทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม มีทั้งงานศิลปะแบบดั้งเดิมและงานสมัยใหม่ของเกาหลี เช่น งานภาพวาด, งานแกะสลักและงานศิลปะในการคัดลายมือวางขายอยู่ ตลาดฮวางฮักดงและตลาดจังอันพย็อง นั้นขะมีโบราณวัตถุขายอยู่ ร้านสำหรับนักออกแบบท้องถิ่นบางร้านก็จะเปิดในซัมชอง-ดง ซึ่งเป็นสถานที่ที่หอศิลป์ ขนาดเล็กตั้งอยู่มากมาย อิแทวอน เป็นย่านหลักสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและทหารอเมริกันที่อยู่ในโซล เขตคังนัมเป็นเขตที่ร่ำรวยมากที่สุดแห่งหนึ่งในโซลและมีชื่อเสียงเรื่องความทันสมัยและอับกูจงดง, ชองดัมดงและโคเอ็กซ์มอลล์ก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่มีรายได้สูง ส่วนตลาดขายส่งก็ประกอบไปด้วย ตลาดขายส่งปลาโนรยังจินและตลาดการัค ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ยงซันเป็นตลาดเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย กาซัน ดิจิทัล คอมเพลกซ์ก็เป็นตลาดที่มีผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภทจำหน่าย

การคมนาคม

แก้
 
โซล เมโทร 3000ซีรีส์ EMU โดย วีวีวีเอฟ คอนโทรล

โซลเป็นเมืองหนึ่งในโลกที่มีโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนในขั้นสูงและมีการขยายระบบอยู่ตลอดเวลา ระบบนี้มีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิเกาหลี เมื่อมีถนนสำหรับรถวิ่งสายแรกและทางรถไฟเชื่อต่อระหว่างโซลกับอินช็อน ถนนสายที่สำคัญที่สุดของโซลคือถนนสายชงโนจนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยระดับรถไฟใต้ดินสายหนึ่งในช่วงต้นทศวรรษที่ 70 ถนนสายอื่นที่มีชื่อเสียงที่อยู่ในใจกลางเมืองโซลประกอบไปด้วยถนนอึลจิโร, เทเฮรันโน, เซชงโน, ชุงมุโร, อูลกงโนและโทกเยโร โซลมีรถไฟไต้ดินสายหลัก 9 สายทอดยาวมากกว่า 250 กิโลเมตร กับอีกหนึ่งสายที่วางแผนการก่อสร้าง

รถโดยสารประจำทาง

แก้
 
บัส 470

ระบบรถโดยสารประจำทางของโซลดำเนินการโดยรัฐบาลนครพิเศษโซล มีรถบัสให้บริการอยู่ 4 ประเภทใหญ่ ๆ โดยบริการทั่วทั้งเมือง โซลมีสถานีรถโดยสารระหว่างเมืองและรถด่วนขนาดใหญ่ โดยจะเชื่อมต่อระหว่างเมืองทั่วทั้งประเทศเกาหลีใต้ สถานีรถด่วนโซล (The Seoul Express Bus Terminal), สถานีกลางเมือง (Central City Terminal)และสถานีโซลนัมบูตั้งอยู่ในเขตซอโช ยิ่งไปกว่านั้น สถานีรถบัสโซลตะวันออกในเขตควังจินและสถานีซังบงในเขตชุงนังก็ดำเนินการอยู่ในฝั่งตะวันออกของเมือง และเพื่อลดภาวะมลพิษทางอากาศภายในเมือง ทางรัฐบาลนครพิเศษก็มีแผนเปลี่ยนรถโดยสารประจำทางที่ใช้น้ำมันดีเซลกว่า 7, 000 คันไปใช้แก๊สธรรมชาติในปี 2010[17]

รถไฟใต้ดิน

แก้

โซลมีโครงข่ายสถานีรถไฟใต้ดินที่ครอบคลุมในทุกเขตของเมืองและพื้นที่รอบโซล มีผู้ใช้บริการมากกว่า 8 ล้านคนต่อวัน ดังนั้นโซลจึงเป็นหนึ่งในโลกที่มีผู้คนใช้บริการรถไฟใต้ดินมากที่สุดในแต่ละวัน สถานีรถไฟโซลมี 12 สายซึ่งให้บริการในโซล, อินช็อน, จังหวัดคย็องกี, จังหวัดคังว็อนทางด้านทิศตะวันตกและทางตอนเหนือของจังหวัดชุงนัม ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อที่จะจัดการกับการขนส่งซึ่งมีหลากหลาย รัฐบาลนครพิเศษโซลได้ว่าจ้างนักคณิตศาสตร์เพื่อประสาน รถไฟใต้ดิน, รถโดยสารประจำทางและกำหนดการจราจรให้เป็นตารางเวลาเดียว รถไฟใต้ดินของโซลดำเนินการโดยหลายบริษัทเช่น โคเรล, รถไฟใต้ดินโซล, องค์การรถไฟฟ้ามหานครโซลคอร์ปอเรชั่น, เอเร็กซ์, เมโทร 9

รถไฟ

แก้

โซลสามารเชื่อต่อเมืองสำคัญต่าง ๆ ทั่วทั้งเกาหลีใต้ได้โดยทางรถไฟ โดยสามารถเชื่อมเมืองหลักของเกาหลีเกือบทุกเมืองด้วยรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ๊กซ์ ซึ่งตามปกติจะวิ่งด้วยความเร็วมากกว่า 300 กม/ชม (186 ไมล์ต่อชั่วโมง) สถานีรถไฟหลักประกอบด้วย

สนามบิน

แก้

โซลมีสนามบินนานาชาติอยู่ 2 แห่ง ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ แต่เดิมอยู่คิมโพแต่ถูกผนวกเข้ามาอยู่กับโซลในปี 1963 โดยเป็นเวลาหลายปี(นับตั้งแต่ตอนก่อสร้างในระหว่างสงครามเกาหลี) ที่คิมโพเป็นสนามบินนานาชาติแห่งเดียวในโซล และสนามบินภายในประเทศแห่งอื่นก็สร้างในช่วงเวลาสงครามเดียวกันด้วยเช่นยอดีโด

เมื่อท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนได้เปิดดำเนินการเมื่อเดือนมีนาคม 2544 ที่เกาะยองจง เมืองอินช็อน ได้เปลี่ยนบทบาทสำคัญของท่าอากาศยานคิมโพไปอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันอินช็อนรับผิดชอบเกี่ยวกับสายการบินระหว่างประเทศเกือบทั้งหมดและการบินภายในประเทศบางส่วน ในขณะที่กิมโปรับผิดชอบสายการบินภายในประเทศเท่านั้นยกเว้นเที่ยวบินที่เดินทางไปท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว (ฮาเนดะ) ในโตเกียว, ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ, ท่าอากาศยานนานาชาติหงเฉียวในเซี่ยงไฮ้และท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งในปักกิ่ง ซึ่งสิ่งนี้นำไปสู่การลดความสำคัญของเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ

ในขณะเดียวกันท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนกับท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงได้กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านการขนส่งในเอเชียตะวันออก

อินช็อนและกิมโปเชื่อมต่อมายังโซลโดยทางหลวง และเชื่อมต่อซึ่งกันและกันโดยเอเร็กซ์ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปยังอินช็อนสาย #1 และกิมโปก็ยังถูกเชื่อมด้วยรถไฟไต้ดิน (สาย 5 และ #9) เอเร๊กซ์เชื่อมต่อโดยตรงระหว่างท่าอากาศยานโดยตรงกับสถานีรถไฟโซลในกลางโซล ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อไม่นานมานี้ รถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กก็ยังขนส่งผู้โดยสารระหว่างคิมโพและโซล

ประชากร

แก้

โซลเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นประชากรอย่างมาก ซึ่งมีความหนาแน่นเกือบสองเท่าของนครนิวยอร์กและเป็นแปดเท่าของโรม แต่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยกว่าปารีสเล็กน้อย ในเขตปริมณฑลของโซลถือเป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นมากที่สุดในพื้นที่ปริมณฑลเมืองขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(กลุ่มประเทศโออีซีดี)[18] ผู้ที่อยู่อาศัยในโซลเกือบทั้งหมดเป็นชาวเกาหลี มีชาวญี่ปุ่นและชาวจีนอาศัยอยู่เล็กน้อย ในปี 2009 โซลมีประชากรประมาณ 10, 208, 302 คน[19] ในปี 2010 มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในโซลประมาณ 255, 501 คน ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการของโซล[20]เมื่อสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2011 ชาวเกาหลี 10.29 ล้านคนอาศัยอยู่ในโซล ซึ่งลดลง .24% จากเมื่อสิ้นสุดปี 2010 ในเดือนมิถุนายน 2011 มีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่อยู่ในโซล 281, 780 คน โดยเป็นชาวจีน 186, 631 คน (66%) ซึ่งถือสัญชาติเกาหลีแล้ว โดยมีอัตราเพิ่มขึ้น 8.84% จากเมื่อสิ้นปี 2010 และเพิ่มขึ้น 12.85% เมื่อนับจากเดือนมิถุนายน 2010 ซึ่งพลเมืองชาวจีนถือเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้ถือสัญชาติเกาหลีชาวเกาหลี โดย 29, 901 คนอาศัยอยู่ในโซล กลุ่มชาวต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้ถือสัญชาติเกาหลีกลุ่มต่อมาเป็นชาวอเมริกันมีจำนวน 9, 999 คน และกลุ่มต่อมาเป็นชาวไต้หวันมีจำนวน 8, 717 คน[21]

ศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธเป็นสองศาสนาหลักที่มีผู้คนนับถือในโซล ส่วนศาสนาอื่นก็ประกอบไปด้วยเชมันและลัทธิขงจื๊อ โดยขงจื้อเป็นที่แพร่หลายในโซลในเรื่องของปรัชญาทางสังคมมากกว่าเป็นเรื่องทางศาสนา

การศึกษา

แก้

มหาวิทยาลัย

แก้
 
มหาวิทยาลัยคยองฮี

มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของประเทศเกาหลีใต้ล้วนตั้งอยู่ในโซล ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา, มหาวิทยาลัยจุงอัง, มหาวิทยาลัยฮันกุกสำหรับนักศึกษาต่างชาติ, มหาวิทยาลัยฮันยัง, มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติเกาหลี, มหาวิทยาลัยเกาหลี, มหาวิทยาลัยกุกมิน, มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล, มหาวิทยาลัยครูแห่งชาติโซล, มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติโซล, มหาวิทยาลัยซอกัง, มหาวิทยาลัยซองคยูนกวัน, มหาวิทยาลัยคยองฮี, มหาวิทยาลัยดงกุกและมหาวิทยาลัยยอนเซ

การศึกษาระดับรอง

แก้

การศึกษาระดับเกรด 1 ถึงเกรด 10 เป็นการศึกษาภาคบังคับ โดยนักเรียนใช้เวลา 6 ปีในโรงเรียนประถมศึกษา และ 3 ปีในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและอีก 3 ปีในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยปกติจะมีการให้นักเรียนสวมใส่เครื่องแบบนักเรียน และไม่มีการสอบเพื่อสำเร็จการศึกษา แต่นักเรียนหลายคนที่ต้องการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยจะต้องทำการสอบข้อสอบที่ใช้วัดระดับความรู้ ความสามารถของนักเรียนเกาหลี (ซูนึง (수능)) ที่จะจัดสอบทุก ๆ เดือนพฤศจิกายน

มีโรงเรียนเฉพาะทางหลายแห่งตั้งอยู่ในโซล ประกอบไปด้วยโรงเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ 3 แห่ง (โรงเรียนมัธยมวิทยาศาสตร์ฮันซอง, โรงเรียนมัธยมวิทยาศาสตร์เซจงและโรงเรียนมัธมวิทยาศาสตร์โซล) และมีโรงเรียนภาษาต่างประเทศอีก 6 แห่ง (โรงเรียนมัธยมภาษาต่างประเทศแดวอน, โรงเรียนมัธยมภาษาต่างประเทศแดอิล, โรงเรียนมัธยมภาษาต่างประเทศอีฮวา, โรงเรียนมัธยมภาษาต่างประเทศฮันยอง, โรงเรียนมัธยมภาษาต่างประเทศมยองด๊อกและโรงเรียนมัธยมภาษาต่างประเทศโซล) สำนักงานการศึกษาของนครพิเศษโซลประกอบไปด้วย โรงเรียนหรือวิทยาลัยในระดับก่อนมหาวิทยาลัย 235 แห่ง, โรงเรียนวิชาชีพ 80 แห่ง, โรงเรียนระดับมัธยมต้น 377 แห่งและโรงเรียนเฉพาะทาง 33 แห่งจากข้อมูลในปี 2009

อ้างอิง

แก้
  1. ชื่อของโซลไม่ได้มาจากอักษรฮันจาโดยตรง, ซึ่งโซลเป็นชื่อที่มาจากอักษรฮันกึลโดยตรง อย่างไรก็ตามรัฐบาลนครพิเศษ ก็ได้กำหนดชื่อเมืองในภาษาจีน ฮั่นจื้อ โดยใช้อักษรจีนว่า (首爾; Su-i ใน RR Romaja และ Shǒu'ěr พินอิน).
  2. 2.0 2.1 "Seoul Statistics (Land Area)". Seoul Metropolitan Government. สืบค้นเมื่อ 24 March 2010.
  3. A Korean Statistical Information Service (Korean) > Population and Household > Census Result (2017) > Population by Administrative district, Sex and Age / Alien by Administrative district and Sex เก็บถาวร 2016-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Retrieved 10 June 2017.
  4. "Current population of the Seoul National Capital Area". Statistics Korea.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-03. สืบค้นเมื่อ 2012-05-12.
  6. Centre, UNESCO World Heritage. "Republic of Korea - UNESCO World Heritage Convention". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ).
  7. Ramachandran, Arjun (2007-06-18). "Tech capitals of the world". The Age (ภาษาอังกฤษ).
  8. "Seoul". Encyclopædia Britannica. 2009. สืบค้นเมื่อ 6 September 2009. ชื่อเมืองนิยมเรียกว่าโซลในเกาหลีระหว่างสมัยโชซ็อน (ราชวงศ์ลี; 1935–2453) และช่วงที่ญี่ปุ่นปกครองเกาหลี (2453–2488), ถึงแม้ว่าชื่อเมืองอย่างเป็นทางการในสมัยเหล่านี้จะเป็น ฮันซ็องและคย็องซ็อง ตามลำดับ..
  9. "yahoo". Uk.holidaysguide.yahoo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-07. สืบค้นเมื่อ 2012-05-12.
  10. "서울표기 ''首爾''로…중국, 곧 정식 사용키로 :: 네이버 뉴스" (ภาษาเกาหลี). News.naver.com. 2005-10-23. สืบค้นเมื่อ 2012-02-10.
  11. "'Seoul' morphs into Chinese 'Shouer'". Chinadaily.com.cn. 2005-01-20. สืบค้นเมื่อ 2012-02-10.
  12. "goodcharacters.com". goodcharacters.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-30. สืบค้นเมื่อ 2012-05-12.
  13. "Summer Institute Summaries". Orias.berkeley.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-12. สืบค้นเมื่อ 2012-02-10.
  14. Climate data in seoul, 1981 ~ 2010(เกาหลี), Korea Meteorological Administration.
  15. 15.0 15.1 "Administrative Districts". Seoul Metropolitan Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-20. สืบค้นเมื่อ 2012-05-12.
  16. "Welcome to KTC". Lmg.go.kr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-27. สืบค้นเมื่อ 2012-05-13.
  17. "Seoul More Enjoyable For a Day". Retrieved 30 July 2008.
  18. [1] Seoul ranks highest in population density among OECD countries-Source-OECD report
  19. "Seoul Statistics (Population)". Seoul Metropolitan Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 24 March 2010.
  20. Park, Chung-a. "Foreign population in Seoul continue to dwindle". Korea Times.
  21. "Korean Chinese account for nearly 70% of foreigners in Seoul." The Korea Times. September 11, 2011. Retrieved on September 19, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • Seoul Metropolitan Government
  •   คู่มือการท่องเที่ยว Seoul จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)