จักรวรรดิเกาหลี
จักรวรรดิเกาหลี (อังกฤษ: Korean Empire) (เกาหลี: 대한제국; ฮันจา: 大韓帝國; อาร์อาร์: Daehan Jeguk; เอ็มอาร์: Taehan Jeguk; แปล มหาจักรวรรดิเกาหลี) คือราชอาณาจักรโชซ็อนที่ประกาศยกสถานะของรัฐจากราชอาณาจักรเป็นจักรวรรดิ ตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าโกจง พร้อมกับการเปลี่ยนพระบรมราชอิสริยยศจาก พระมหากษัตริย์ เป็น จักรพรรดิ โดยพระองค์มีพระนามว่า จักรพรรดิควางมูแห่งเกาหลี เพื่อให้ประเทศเอกราชจากจักรวรรดิชิง และยกสถานะของประเทศมีความเท่าเทียมกับจักรวรรดิชิง และ จักรวรรดิญี่ปุ่น แม้ว่าโดยพฤติการณ์แล้วสถานะของเกาหลีไม่ได้เข้าข่ายการเป็นจักรวรรดิเลยก็ตาม จนกระทั่งถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองใน ค.ศ. 1910
มหาจักรวรรดิเกาหลี 대한제국 大韓帝國 Daehan Jeguk | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1897–1910 | |||||||||
ดินแดนจักรวรรดิเกาหลีใน ค.ศ. 1903–1905 ดินแดนพิพาทกันโดอยู่ในสีเขียวอ่อน | |||||||||
สถานะ | รัฐเอกราช (1897–1905) รัฐในอารักขาของญี่ปุ่น (1905–1910) | ||||||||
เมืองหลวง | ฮันซ็อง (ปัจจุบันคือโซล) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | เกาหลี | ||||||||
ศาสนา | ลัทธิขงจื๊อ พุทธ เชมัน ลัทธิเต๋า คริสต์ ลัทธิช็อนโด (ยอมรับใน ค.ศ. 1907) | ||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (1897-1899) รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (โดยนิตินัย) รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยกึ่งรัฐธรรมนูญ (โดยพฤตินัย) (1899-1910) | ||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||
• 1897–1907 | โคจง | ||||||||
• 1907–1910 | ซุนจง | ||||||||
นายกรัฐมนตรี[a] | |||||||||
• 1896–1898 (คนแรก) | Yun Yong Seon | ||||||||
• 1907–1910 (คนสุดท้าย) | เย วัน-ยง | ||||||||
สภานิติบัญญัติ | Jungchuwon (중추원, 中樞院) (จนถึง ค.ศ. 1907) ไม่มี (ปกครองโดยพระราชกฤษฎีกา; ตั้งแต่ ค.ศ. 1907) | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | จักรวรรดินิยมใหม่ | ||||||||
• สถาปนาจักรวรรดิ | 13 ตุลาคม ค.ศ. 1897 | ||||||||
17 สิงหาคม ค.ศ. 1899 | |||||||||
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 | |||||||||
1907 | |||||||||
29 สิงหาคม 1910 | |||||||||
ประชากร | |||||||||
• ค.ศ. 1900[1] | 17,082,000 | ||||||||
สกุลเงิน | Yang (1897–1902) วอน (1902–1910) | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ |
จักรวรรดิเกาหลี | |
ฮันกึล | |
---|---|
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Daehanjeguk |
เอ็มอาร์ | Taehanjeguk |
IPA | /tɛ.ɦan.dʑe.ɡuk̚/ |
ประวัติศาสตร์
แก้การสถาปนาจักรวรรดิ
แก้ราชอาณาจักรโชซ็อนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของราชวงศ์ชิงและญี่ปุ่น
กำลังพัฒนาประเทศให้ทันสมัยตามแบบชาวตะวันตก ขณะที่เกาหลียึดมั่นในความสันโดษอย่างแข็งกร้าว ในปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) เป็นปีแห่งความวุ่นวายของเกาหลี ไม่ว่าจะเป็นการยึดอำนาจปีคัปชิน ทำให้ฝ่ายหัวก้าวหน้ามีอำนาจ หรือกบฏทงฮัก ซึ่งทั้งจีน (ตามคำขอของพระมเหสีมินจายอง) และญี่ปุ่นต่างส่งทัพมาปราบ และทำสงครามกัน ผลลงเอยด้วยญี่ปุ่นได้ชัยชนะเกิดสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ซึ่งจักรวรรดิชิงรับรองว่าโชซ็อนเป็นประเทศเอกราชตามสนธิสัญญาดังกล่าว
แต่จักรวรรดิรัสเซียเห็นว่าการขยายอำนาจในตะวันออกไกลของญี่ปุ่นจะเป็นภัย ด้วยความช่วยเหลือของเยอรมนีและฝรั่งเศส การบังคับยึดเอาพอร์ตอาเธอร์ในคาบสมุทรเหลียวตงมาจากจีนกลายเป็นภัยโดยตรงต่อญี่ปุ่น พระมเหสีมินจายองทรงเป็นผู้นำในการต่อต้านอิทธิพลของญี่ปุ่นในโชซ็อน จึงทรงถูกทหารญี่ปุ่นลอบสังหารในปี พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) ทำให้พระเจ้าโกจงทรงหลบหนีไปสถานกงสุลรัสเซีย ญี่ปุ่นเข้าควบคุมการปกครองโชซ็อน ทำการปรับปรุงประเทศต่างๆ ยกเลิกประเพณีเก่าแก่ เช่น ยกเลิกการใช้นามปีนับศักราชแบบจีน และให้ใช้ปฏิทินเกรกอเรียนแทน รวมทั้งการตัดจุกของผู้ชาย ซึ่งขัดกับหลักขงจื้อที่ห้ามตัดผมตลอดชีวิต ทำให้ประชาชนเล็งเห็นถึงภัยจากต่างชาติที่กำลังคุกคามโชซ็อน อย่างหนัก จึงรวมตัวกันเป็นสมาคมเอกราช รบเร้าให้พระเจ้าโกจงทรงกลับมาต่อต้านอิทธิพลของญี่ปุ่น
ในปี พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) พระเจ้าโกจงทรงกลับมาประทับที่พระราชวังต๊อกซูกุง ประกาศเปลี่ยนให้อาณาจักรโชซ็อนเป็นจักรวรรดิเกาหลี และพระองค์เองทรงเลื่อนสถานะเป็นสมเด็จจักรพรรดิควางมู (광무제; 光武帝) (รวมทั้งเลื่อนสถานะพระมเหสีมินจายองเป็นสมเด็จจักรพรรดินีเมียงซอง) ทรงเลือกใช้คำว่า"ฮัน"มาเป็นชื่อประเทศจากอาณาจักรสามฮันในสมัยโบราณ
การแทรกแซงของรัสเซีย
แก้หลังจากที่จีนสิ้นอำนาจไปแล้วจักรวรรดิรัสเซียก็เริ่มที่จะมีอิทธิพลในตะวันออกไกลแทน รัสเซียสร้างทางรถไฟในแมนจูเรียจากฮาร์บินผ่านมุกเดนมาถึงพอร์ตอาเธอร์ แต่กบฏนักมวยได้เผาทางรถไฟของรัสเซียในแมนจูเรียในพ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899)ทำให้รัสเซียยกทัพเข้ายึดครองแมนจูเรีย อ้างว่าเพื่อปกป้องทางรถไฟของตน และบรรลุข้อตกลงกับญี่ปุ่น ว่ารัสเซียจะไม่ยุ่งกับโชซ็อน และญี่ปุ่นจะไม่ยุ่งกับแมนจูเรีย แต่ทั้งสองประเทศต่างก็รู้ดีว่าอีกฝ่ายจ้องจะยึดครองอาณานิคมของอีกฝ่ายอยู่
จนญี่ปุ่นทำข้อตกลงพันธมิตรกับอังกฤษในพ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) ทำให้รัสเซียไม่อาจดึงชาติตะวันตกอื่นๆมาร่วมได้ เพราะจะต้องเป็นปฏิปักษ์กับอังกฤษ ขณะเดียวกันรัสเซียก็เริ่มเคลื่อนไหวที่ริมฝั่งแม่น้ำยาลูฝั่งแมนจูเรีย ในพ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ทูตญี่ปุ่นที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้พยายามเจรจาอีกครั้ง แต่ไม่ประสบผล ในพ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นจึงเริ่มขึ้น โดยรบกันที่พอร์ตอาเธอร์และแม่น้ำยาลูเป็นส่วนใหญ่ ญี่ปุ่นนำกองทัพเคลื่อนผ่านโชซ็อนไปมาโดยที่ขุนนางโชซ็อนไม่สามารถทำอะไรได้เลย เพราะแม้พระเจ้าโกจงทรงอุตสาหะเลื่อนสถานะของประเทศเป็นจักรวรรดิ แต่ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นอยู่ดี
การเข้ายึดครองของญี่ปุ่น
แก้ญี่ปุ่นยึดพอร์ตอาเธอร์ได้ในที่สุดในพ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) การชนะสงครามกับรัสเซียในครั้งนี้ ทำให้ญี่ปุ่นเป็นเจ้าแห่งเอเชียบูรพา และสามารถขอการสนับสนุนจากชาติตะวันตกในการยึดครองโชซ็อนได้ เช่น สหรัฐอเมริกายินยอมให้ญี่ปุ่นแผ่อิทธิพลสู่เกาหลีในข้อตกลงทาฟต์-คะสึระ จนบังคับโชซ็อนลงนามใน สนธิสัญญาอึลซา ให้โชซ็อนตกเป็นรัฐในอารักขาของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยมีเพียงรัฐมนตรีโชซ็อนบางคนเท่านั้นที่ลงนามยอมรับ แต่ตัวจักรพรรดิควางมูเองมิได้ทรงลงนามด้วย แต่อย่างไรก็ตาม โชซ็อนก็ได้หมดสภาพในการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ และการค้ากับต่างประเทศผ่านท่าเรือทุกแห่งญี่ปุ่นจะเข้าควบคุมดูแล รวมทั้งเข้ายึดครองระบบขนส่งและสื่อสารทั้งหมดของประเทศ
แต่จักรพรรดิควางมูก็ยังไม่ทรงหมดความหวัง โดยแอบส่งทูตไปยังการประชุมอนุสัญญากรุงเฮกในปีพ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมจากการกระทำของญี่ปุ่นในสภาโลก แต่บรรดามหาอำนาจทั้งหลายไม่ยอมรับโชซ็อนเป็นรัฐเอกราช และไม่ยอมให้ผู้แทนโชซ็อนเข้าร่วมการประชุม เมื่อญี่ปุ่นทราบเหตุการณ์จึงกล่าวโทษโชซ็อนว่าละเมิดข้อสัญญาในสนธิสัญญาอึลซา จึงบังคับให้โชซ็อนทำสนธิสัญญาญี่ปุ่น-เกาหลีฉบับที่ 3 ในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) และให้จักรพรรดิควางมูสละบัลลังก์ให้พระโอรสขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิยุงฮึย ชาวญี่ปุ่นได้เข้าเป็นผู้บริหารประเทศ จักรพรรดิควางมูสิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน
จนในพ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) การลงนามในสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น-เกาหลี ทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดครองโชซ็อนอย่างสมบูรณ์ ในสนธิสัญญามีตราตั้งพระราชลัญจกร และมีพระนามของจักรพรรดิยุงฮีที่ลงนามโดยลีวานยง นายกรัฐมนตรีแทน ดังนั้นตลอดเวลาและหลังการยึดครองของญี่ปุ่น จึงมีคำถามโดยเฉพาะกับชาวเกาหลีว่าสนธิสัญญาฉบับนี้มีความถูกต้องมากเพียงใด ซึ่งแน่นอนว่าชาวเกาหลีในปัจจุบันจะต้องไม่ยอมรับสัญญาฉบับนี้ และประกาศให้สัญญาฉบับนี้เป็นโมฆะในพ.ศ. 2548 แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เกาหลีก็ตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นไป 30 กว่าปี จนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง เกาหลีจึงถูกแบ่งเป็นเหนือและใต้
การเมืองการปกครอง
แก้นิติบัญญัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บริหาร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ตุลาการ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นโยบายต่างประเทศ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กองทัพ
แก้กองทัพจักรวรรดิ (대한제국군) เป็นกองทัพของจักรวรรดิเกาหลี[2]
ส่วประกอบ
แก้กองทัพนี้ประกอบด้วกองทัพบกจักรวรรดิเกาหลีและกองทัพเรือจักรวรรดิเกาหลี
ยุบเลิก
แก้กองทัพนี้ถูกยุบเลิกในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1907 ตามสนธิสัญญาญี่ปุ่น-เกาหลี ค.ศ. 1907
เศรษฐกิจ
แก้จักรวรรดิเกาหลีมีจีดีพีต่อหัวใน ค.ศ. 1900 ที่ 850 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 26 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย[3]
รายได้จากภาษีในจักรวรรดิเกาหลีช่วง ค.ศ. 1895-1905:[4]
ปี | 1895 | 1896 | 1897 | 1898 | 1899 | 1900 | 1901 | 1902 | 1903 | 1904 | 1905 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายได้จากภาษีในสกุลเงินวอน | 4,557,587 | 4,809,410 | 4,191,192 | 4,527,476 | 6,473,222 | 6,162,796 | 9,079,456 | 7,586,530 | 10,766,115 | 14,214,573 | 14,960,574 |
รายจ่ายต่อปีในจักรวรรดิเกาหลีช่วง ค.ศ. 1895-1905:[5]
ปี | 1895 | 1896 | 1897 | 1898 | 1899 | 1900 | 1901 | 1902 | 1903 | 1904 | 1905 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายจ่ายต่อปีในสกุลเงินวอน | 3,244,910 | 5,144,531 | 3,967,647 | 4,419,432 | 6,128,229 | 5,558,972 | 8,020,151 | 6,932,037 | 9,697,371 | 12,370,795 | 12,947,624 |
โครงสร้างพื้นฐาน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากรศาสตร์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิ
แก้สถาบันจักรพรรดิแห่งเกาหลีได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยเจ้าหญิงเฮวอน (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงประกาศฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิแห่งเกาหลีอย่างเป็นทางการ โดยพระนางทรงเรียกพระองค์เองว่า จักรพรรดินีแห่งเกาหลี ทำให้เกาหลีมีประมุขแห่งราชวงศ์ลีและสถาบันจักรพรรดิเกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ปิดฉากไปเป็นเวลานานกว่า 97 ปี (พ.ศ. 2453) ด้วยการที่จักรวรรดิญี่ปุ่น (ด้วยความร่วมมือขอพระราชบิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิควางมู หรือพระเจ้าโกจง) บุกยึดเกาหลีและล้มล้างสถาบันจักรพรรดิจนราบคาบ แต่เนื่องจากรัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ยังมิได้ให้การรับรองหรือเข้ามายุ่งเกี่ยวใดๆ จึงทำให้พระนางยังคงขาดสถานะความเป็นประมุขแห่งรัฐ
อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระจักรพรรดินีเฮวอนทรงดำรงพระยศเป็น ประมุขแห่งราชตระกูลจักรพรรดิเกาหลี
รายพระนามจักรพรรดิและผู้อ้างสิทธิแห่งราชบัลลังก์
แก้จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเกาหลี
แก้พระนามจริง | พระนามเต็ม | นามปี | ปีที่ครองราชย์ (ค.ศ.) |
---|---|---|---|
ลี เมียงบก | สมเด็จพระจักรพรรดิควางมู | ควางมู | 1897 - 1907 |
ลี ชอก | สมเด็จพระจักรพรรดิยุงฮี | ยุงฮี | 1907 - 1910 |
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเกาหลี
แก้พระนามจริง | พระนามเต็ม | นามปี | ปีที่อยู่ในตำแหน่ง (ค.ศ.) |
---|---|---|---|
ลี อึน | เจ้าชายอุยมิน มกุฎราชกุมารแห่งเกาหลี | อุยมิน | 1910 - 1970 |
ลี กู | เจ้าชายโฮอุนแห่งเกาหลี | โฮอุน | 1970 - 2005 |
ลี วอน | เจ้าชายวอน รัชทายาทแห่งเกาหลี | - | 2006 - ปัจจุบัน |
ลี เฮวอน | เจ้าหญิงแฮวอนแห่งเกาหลี | - | 2006 - 2020 |
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ Style: Naegak chongri daesin (1894-96); Ui jeong (1896-1905); Ui jeong daesin (1905-07); Chongri daesin (1907-10)
อ้างอิง
แก้- ↑ 권태환 신용하 (1977). 조선왕조시대 인구추정에 관한 일시론 (ภาษาเกาหลี).
- ↑ Seth, Michael J. (2010-10-16). A History of Korea: From Antiquity to the Present (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 978-0-7425-6717-7.
- ↑ "Countries Compared by Economy > GDP per capita in 1900. International Statistics at NationMaster.com". www.nationmaster.com. สืบค้นเมื่อ 2022-01-30.
- ↑ "한국사데이터베이스". db.history.go.kr. สืบค้นเมื่อ 2022-03-12.
- ↑ "한국사데이터베이스". db.history.go.kr. สืบค้นเมื่อ 2022-03-12.
ข้อมูล
แก้- Keltie, J.S., บ.ก. (1900). The Statesman's Year Book: Statistical and Historical Annual of the States of the World for the Year 1900. New York: MacMillan.
- Dong-no Kim, John B. Duncan, Do-hyung Kim (2006), Reform and Modernity in the Taehan Empire (Yonsei Korean Studies Series No. 2), Seoul: Jimoondang Publishing Company
- Jae-gon Cho, The Industrial Promotion Policy and Commercial Structure of the Taehan Empire.
- Kim, Ki-Seok (Summer 2006). "Emperor Gwangmu's Diplomatic Struggles to Protect His Sovereignty before and after 1905". Korea Journal.
- Nahm, Andrew (October 1985). "The impact of the Taft-Katsura Memorandum on Korea: A reassessment". Korea Journal.
- Pratt, Keith L., Richard Rutt, and James Hoare. (1999). Korea: a historical and cultural dictionary, Richmond: Curzon Press. ISBN 9780700704637; ISBN 9780700704644; OCLC 245844259
- The Special Committee for the Virtual Museum of Korean History (2009), Living in Joseon Part 3: The Virtual Museum of Korean History-11, Paju: Sakyejul Publishing Ltd.