นัมฮันซันซ็อง (เกาหลี: 남한산성; อักษรโรมัน: Namhansanseong) คือ แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมของประเทศเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ในจังหวัดคย็องกี เป็นเมืองที่ออกแบบเพื่อใช้เป็นเมืองหลวงสำหรับกรณีฉุกเฉินของราชวงศ์โชซอน (ค.ศ. 1392–1910) ตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขาห่างจากโซลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 25 กิโลเมตร มันถูกสร้างขึ้นและได้รับการปกป้องโดยพระสงฆ์ สามารถรองรับคนได้ถึง 4,000 คนและสามารถใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดการบริหารบ้านเมืองและการทหารในเรื่องที่สำคัญได้ นัมฮันซันซองมีส่วนที่หลงเหลือมาจากยุคศตวรรษที่ 7 แต่ถูกสร้างขึ้นใหม่หลายต่อหลายครั้งโดยเฉพาะในศตวรรษที่ 17 ในช่วงการบุกโจมตีของราชวงศ์แมนจูของจีน

นัมฮันซันซ็อง *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
Sueojangdae (command post)
ประเทศ เกาหลีใต้
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii) (iv)
อ้างอิง1439
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2557 (คณะกรรมการสมัยที่ 38)
พื้นที่409.06 ha (1,010.8 เอเคอร์)
พื้นที่กันชน853.71 ha (2,109.6 เอเคอร์)
นัมฮันซันซ็องตั้งอยู่ในเกาหลีใต้
นัมฮันซันซ็อง
ที่ตั้งของนัมฮันซันซ็องในเกาหลีใต้
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เมืองนี้เป็นการรวมแนวคิดด้านวิศวกรรมของกองทัพในยุคนั้นเข้าด้วยกัน โดยได้รับอิทธิพลจากทั้งจีนและญี่ปุ่น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในศิลปะของการสร้างป้อมปราการ จากการเข้ามาของอาวุธที่ใช้ดินปืนจากชาติตะวันตก นัมฮันซันซองเป็นเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยทุกยุคสมัย และเคยเป็นเมืองเอกมาเป็นระยะเวลานาน จึงมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายอย่างทั้งด้านการทหาร พลเมือง และศาสนา จนกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งอธิปไตยของเกาหลีใต้

มรดกโลก แก้

นัมฮันซันซ็องได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 38 เมื่อปี 2557 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

37°28′N 127°11′E / 37.467°N 127.183°E / 37.467; 127.183