ป้อมฮวาซ็อง
ป้อมฮวาซ็อง[1] (เกาหลี: 수원 화성; อังกฤษ: Hwaseong Fortress) ตั้งอยู่ที่เมืองซูว็อน ทางตอนใต้ของกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ สร้างขึ้นในช่วง ค.ศ. 1794–1796 โดยพระเจ้าช็องโจ พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 22 แห่งราชอาณาจักรโชซ็อน เพื่อใช้เป็นที่ประทับและเป็นที่ฝังพระศพของเจ้าชายรัชทายาทชังฮ็อน (เจ้าชายซาโด) ที่ถูกพระอัยกาของพระองค์ (พระเจ้าย็องโจ) ลงโทษโดยการขังองค์ชายไว้ในถังข้าวและให้อดข้าวอดน้ำ พอผ่านไป 7 วันจึงสิ้นพระชนม์ภายในถังข้าว
ป้อมฮวาซ็อง * | |
---|---|
![]() | |
![]() ป้อมฮวาซ็อง | |
พิกัด | 37°16′20″N 127°0′30″E / 37.27222°N 127.00833°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 37°16′20″N 127°0′30″E / 37.27222°N 127.00833°E |
ประเทศ | เมืองซูว็อน ![]() |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (ii) (iii) |
อ้างอิง | 817 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1997 (คณะกรรมการสมัยที่ 21) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
มรดกโลกแก้ไข
ป้อมฮวาซ็องได้รับจดทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 21 เมื่อ พ.ศ. 2528 ที่เมืองเนเปิลส์ ประเทศอิตาลี โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
- (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
- (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
ประวัติการก่อสร้างแก้ไข
ป้อมฮวาซ็องสร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1794 ถึง 1796 ด้วยพระราชดำริของพระเจ้าช็องโจที่จะย้ายเมืองหลวงจากฮันยัง (กรุงโซลในปัจจุบัน) มายังเมืองซูว็อน จึงโปรดให้ ช็อง ยัก-ย็อง ขุนนางผู้นำกลุ่มปฏิรูปชิลฮัก ทำการออกแบบป้อมปราการเป็นกำแพงเมือง โอบล้อมตัวเมืองซูว็อนขึ้น[2][3]
การก่อสร้างป้อมฮวาซ็องนี้ ได้มีการใช้ระบบการจ้างแรงงานก่อสร้างแทนการเกณฑ์แรงงานอย่างที่เคยใช้เป็นครั้งแรกในเกาหลี รวมถึงมีการใช้วัสดุที่ทันสมัยในสมัยนั้นอย่าง อิฐดินเผา หินแกรนิต เป็นต้น ทั้งยังมีการสร้างหอรบและปราการชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้ปกป้องเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในเกาหลีอีกด้วย โดยราชสำนักโชซอนใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 873,517 นยัง[4] แบ่งเป็นค่าวัสดุก่อสร้างประมาณ 320,000 นยัง[5] และค่าจ้างประมาณ 280,000 นยัง[6] และข้าวสารกว่า 1,500 กระสอบ[7]เป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง
ทั้งยังให้มีการเขียนบันทึกการสร้างป้อมอย่างละเอียด ลงรายละเอียดถึงวัสดุก่อสร้าง จำนวน แรงงาน จนถึงแผนผังและขนาดสัดส่วนต่าง ๆ ชื่อว่า Hwaseong Seongyeok Uigwe เผยแพร่ในปี 1801[8]
โครงสร้างป้อมปราการแก้ไข
กำแพงแก้ไข
กำแพงป้อมฮวาซ็อง ก่อสร้างขึ้นจากหินแกรนิตและอิฐดินเผา มีความยาวทั้งสิ้น 5.74 กิโลเมตร สูงระหว่าง 4-6 เมตร ทอดผ่านที่ราบ แม่น้ำซูว็อนซ็อน และภูเขาพัลดัลซัน โอบล้อมพื้นที่ตัวเมืองเก่าซูวอนขนาด 1.3 ตารางกิโลเมตร บนกำแพงมีใบสอสูง 1.2 เมตร มีเชิงเทินบนกำแพงตลอดแนว
ประตูใหญ่แก้ไข
ป้อมฮวาซอง มีประตูใหญ่ 4 ประตู ตั้งอยู่ในทิศทั้ง 4 ทิศ สร้างด้วยหินแกรนิต โดยประตูเหนือและประตูใต้จะมีขนาดใหญ่ เหนือประตูหลักมีอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักทหารและสังเกตการณ์ ด้านหน้าประตูจะมีเชิงเทินอิฐยื่นออกจากตัวประตูเพื่อเสริมการป้องกัน เรียกว่า อ็องซ็อง และมีประตูรองตรงกับช่องประตูหลัก ส่วนประตูตะวันออกและตะวันตกจะมีขนาดย่อมกว่า พร้อมกับมีอาคารไม้ชั้นเดียว และเชิงเทินยื่นออกมาล้อมช่องประตู แต่เปิดทางเข้าขนาดเล็กไว้ต้านข้างแทน
ประตูเล็กแก้ไข
ประตูเล็กหรือประตูลับ (암문) มีทั้งหมด 5 ประตู สร้างขึ้นระหว่างกำแพง เพื่อใช้เป็นทางสัญจรของประชาชน และขนส่งเสบียงอาวุธขณะมีสงคราม โดยจะสามารถถมดินด้านหลังประตูเพื่ออุดทางเข้าออกได้ขณะถูกข้าศึกล้อม
ประตูน้ำแก้ไข
ประตูน้ำ (수문) มี 2 ประตู เป็นปราการที่สร้างคร่อมบนแม่น้ำซูวอนช็อน ใช้เพื่อป้องกันข้าศึกที่โจมตีทางแม่น้ำในขณะที่ยังคงปล่อยให้น้ำไหลเข้าเมือง และภายในใช้เป็นสะพานได้
หอคอยสังเกตการณ์แก้ไข
หอคอยสังเกตการณ์ (공심돈) มีทั้งหมด 3 หอ เป็นหอคอยที่ถูกสร้างขึ้นในเกาหลีครั้งแรกที่ป้อมฮวาซอง
ป้อมปืนแก้ไข
ป้อมปืน (포루) เขียนด้วยอักษรฮันจาได้ว่า 砲樓 เป็นป้อมก่ออิฐยื่นออกจากกำแพง มีความสูง 3 ชั้นจากพื้นดิน สร้างขึ้นเพื่อใช้ยิงปืนสกัดข้าศึกที่โจมตีกำแพง ด้านบนมีหลังคาไม้ หร้อมหน้าต่างเจาะช่องธนูปิดระหว่างใบสอ[9] โดยป้อมปืนจะใช้อักษรฮันกึลแบบเดียวกับแท่นรักษาการณ์ (포루) มีทั้งสิ้น 5 ป้อม
แท่นรักษาการณ์แก้ไข
แท่นรักษาการณ์ (포루) เขียนด้วยอักษรฮันจาได้ว่า 鋪樓 เป็นเชิงเทินหอรบที่สร้างยื่นออกจากกำแพง ด้านบนตั้งศาลาไม้ยกพื้น มีทั้งแบบติดตั้งหน้าต่างและเปิดโล่ง สร้างขึ้นเพื่อใช้เฝ้ายามและเป็นแท่นยิงธนูสกัดข้าศึก[10] โดยแท่นรักษาการณ์จะใช้อักษรฮันกึลร่วมกับป้อมปืน (포루) มีทั้งสิ้น 5 แท่น
หอรบแก้ไข
หอรบ (치) เป็นเชิงเทินขนาดเล็กยื่นออกจากกำแพง ก่อด้วยหินแกรนิตเจาะช่องยิง สร้างขึ้นเพื่อใช้เสริมการป้องกันกำแพงและสนับสนุนปราการอื่น มีทั้งสิ้น 10 หอรบ
หอรบติดตั้งปืนใหญ่แก้ไข
หอรบติดตั้งปืนใหญ่ (적대) มี 4 หอ เป็นหอรบขนาดใหญ่สร้างด้วยหินแกรนิต ก่อเชิงเทินอิฐสีดำ ติดตั้งปืนใหญ่ 1 กระบอก สร้างขึ้นขนาบข้างประตูใหญ่ทิศเหนือและใต้ เพื่อเสริมการป้องกันประตู
ศาลาบัญชาการแก้ไข
ศาลาบัญชาการ (장대) มี 2 จุด ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกและตะวันตก เป็นศูนย์บัญชาการของแม่ทัพ ที่ฝึกซ้อมทหาร และที่พักทหาร
ศาลาแก้ไข
ศาลา (각루) มี 4 จุด ตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ 4 ทิศ ใช้เป็นที่สังเกตการณ์และที่พักทหาร หากถูกปิดล้อมเมืองสามารถใช้เป็นหอบัญชาการย่อยได้
แท่นธนูแก้ไข
แท่นธนู (노대) มี 2 แท่น ใช้เป็นแท่นยิงธนูเพื่อสนับสนุนการป้องกันบริเวณจุดสำคัญ
หอสัญญาณควันแก้ไข
หอสัญญาณควัน (봉돈) มีเพียง 1 หอ เป็นหอส่งสัญญาณในระบบเครือข่ายป้อมปราการของเกาหลี ใช้ส่งสัญญาณระหว่างเมืองและป้อมต่างๆ เพื่อแจ้งข่าวภัยพิบัติหรือสงคราม
ปราการบนกำแพงแก้ไข
ป้อมฮวาซอง มีสิ่งก่อสร้างบนกำแพง 48 สิ่ง เป็นประตูใหญ่ ประตูเล็ก ประตูน้ำ หอรบต่างๆ เรียงตามลำดับแบบตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากประตูทิศใต้ได้ดังนี้
นัมดงจ็อกแดแก้ไข
นัมดงจ็อกแด (남동적대) เป็นหอรบติดตั้งปืนใหญ่ สร้างยื่นออกจากกำแพงทางทิศตะวันออกของประตูพัลดัลมุน สร้างขึ้นเพื่อเสริมการคุ้มกันประตูพัลดัลมุน
ประตูพัลดัลมุนแก้ไข
พัลดัลมุน (팔달문) เป็นประตูใหญ่ทางทิศใต้ของป้อมฮวาซอง ตัวประตูก่อขึ้นจากหินแกรนิตเหนือประตูเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ด้านหน้าโอบล้อมด้วยกำแพงม่าน (อ็องซ็อง) เป็นเชิงเทินก่อด้วยอิฐสีดำ ใช้สำหรับเสริมการป้องกันประตู มีช่องประตูเล็กด้านหน้าพร้อมศาลาไม้ด้านบน
นัมซอจ็อกแดแก้ไข
นัมซอจ็อกแด (남서적대) เป็นหอรบติดตั้งปืนใหญ่ สร้างยื่นออกจากกำแพงทางทิศตะวันตกของประตูพัลดัลมุน สร้างขึ้นเพื่อเสริมการคุ้มกันประตูพัลดัลมุน
นัมชิแก้ไข
นัมชิ (남치) เป็นหอรบประจำทิศใต้ สร้างยื่นออกจากกำแพง อยู่บริเวณลาดเชิงเขาพัลดัลซาน
นัมโพรูแก้ไข
นัมโพรู (남포루) เป็นป้อมปืนประจำทิศใต้ สร้างด้วยอิฐดินเผาสีดำสูง 3 ชั้น ยื่นออกจากกำแพง ชั้นบนมีหลังคาและหน้าต่างมีช่องธนู ใช้เป็นหอยิงปืนและธนู ป้องกันข้าศึกที่เข้าตีกำแพง
ประตูซอนัมอัมมุนแก้ไข
ซอนัมอัมมุน (서남암문) เป็นประตูเล็กที่เปิดออกสู่ย็องโด (용도) ซึ่งเป็นเชิงเทินบนสันเขาพัลดัลซานทางทิศใต้ ประตูก่อด้วยอิฐสีดำ เหนือประตูมีอาคารพร้อมหน้าต่างไม้เจาะช่องธนู ใช้ในการส่งสัญญาณให้กับทหารที่ประจำอยู่ในจุดต่าง ๆ
ย็องโดแก้ไข
ย็องโด (용도) เป็นเชิงเทินที่ยื่นออกนอกตัวกำแพงหลัก ทอดอยู่บนสันเขาพัลดัลซานบนทิศใต้ เพื่อเสริมการป้องกันตัวเมือง และเป็นจุดสังเกตการณ์ข้าศึกจากทิศใต้
ย็องโดดงชิแก้ไข
ย็องโดดงชิ (용도동치) เป็นหอรบขนาดเล็กที่ยื่นออกจากทิศตะวันออกของย็องโด (용도)
ศาลาซอนัมกังนูแก้ไข
ซอนัมกังนู (서남각루) หรือศาลาฮวายังนู (화양루) เป็นศาลาประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นหอบัญชาการย่อย ที่สังเกตการณ์ และเป็นที่พักของทหารที่ประจำการในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณปลายสุดของย็องโด (용도) เดิมติดตั้งประตูและหน้าต่างเจาะช่องธนู[11]
ย็องโดซอชิแก้ไข
ย็องโดซอชิ (용도서치) เป็นหอรบขนาดเล็กที่ยื่นออกจากทิศตะวันตกของย็องโด (용도)
ซอซัมชิแก้ไข
ซอซัมชิ (서삼치) เป็นหอรบที่ 3 ของทิศตะวันตก สร้างยื่นออกจากตัวกำแพงบนสันเขาพัลดัลซาน
ซอโพรูแก้ไข
ซอโพรู (서포루) เป็นแท่นรักษาการณ์ประจำทิศตะวันตก สร้างยื่นออกจากกำแพง ตั้งศาลายกพื้นมีหน้าต่างเจาะช่องธนู ใช้เป็นหอรักษาการณ์และเป็นหอธนู
ประตูซออัมมุนแก้ไข
ซออัมมุน (서암문) เป็นประตูเล็กทิศตะวันตก ตั้งอยู่บนสันเขาพัลดัลซาน ใช้เป็นทางเข้าออกลับและใช้ขนส่งเสบียงอาวุธ ลักษณะประตูสร้างขึ้นด้วยอิฐสีดำ โดยมีกำแพงอิฐสีดำมีเชิงเทิน สร้างยื่นออกไปเพื่อบดบังทางเข้า พร้อมกับตัวประตูซ่อนอยู่ด้านใน ในกรณีที่ถูกปิดล้อมเมือง สามารถนำดินถมปิดประตูได้
ศาลาบัญชาการซอจังแดแก้ไข
ซอจังแด (서장대) หรือศาลาฮวาซองจังแด (화성장대) เป็นศาลาบัญชาการฝั่งตะวันตก มีลักษณะเป็นศาลาไม้ 2 ชั้น เป็น 1 ใน 2 ที่ประจำการของแม่ทัพในป้อมฮวาซอง เดิมด้านข้างเคยมีอาคารที่พักสำหรับทหาร ติดกับแท่นธนูซอโนแด (서노대)
แท่นธนูซอโนแดแก้ไข
ซอโนแด (서노대) เป็นหอแท่นธนูทิศตะวันตก เป็นแท่นยกสูงรูปแปดเหลี่ยมสร้างด้วยอิฐสีดำ เพื่อให้พลธนูใช้ยิงข้าศึกและสังเกตการณ์รอบบริเวณทิศตะวันตกของเมือง[12] โดยแท่นนี้ตั้งอยู่ริมกำแพงติดกับศาลาบัญชาการซอจังแด (서장대)
ซออีชิแก้ไข
ซออีชิ (서이치) เป็นหอรบที่ 2 ของทิศตะวันตก สร้างยื่นออกจากตัวกำแพงบนสันเขาพัลดัลซาน ฝั่งลาดลงทิศเหนือ
ซอโพรูแก้ไข
ซอโพรู (서포루) เป็นป้อมปืนประจำทิศตะวันตก สร้างด้วยอิฐดินเผาสีดำสูง 3 ชั้น ยื่นออกจากกำแพง บริเวณเชิงเขาพัลดัลซานฝั่งเหนือ ชั้นบนมีหลังคามีหน้าต่างเจาะช่องธนู ใช้เป็นหอยิงปืนและธนู ป้องกันข้าศึกที่เข้าตีกำแพง
ซออิลชิแก้ไข
ซออิลชิ (서일치) เป็นหอรบที่ 1 ของทิศตะวันตก สร้างยื่นออกจากตัวกำแพงบริเวณเขาพัลดัลซาน ฝั่งเหนือ
ศาลาซอบักกังนูแก้ไข
ซอบักกังนู (서북각루) เป็นศาลาประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สร้างขึ้นเพื่อเป็นหอบัญชาการย่อย ที่พักทหาร และที่สังเกตการณ์บริเวณทุ่งหน้าภูเขาซุกจิซาน นอกเมืองซูวอน และประตูฮวาซอมุน มีพื้นทำความร้อนและเดิมติดตั้งหน้าต่างเจาะช่องธนู
ประตูฮวาซอมุนแก้ไข
ฮวาซอมุน (화서문) เป็นประตูใหญ่ทิศตะวันตกของป้อมฮวาซอง เหนือประตูมีอาคารไม้ชั้นเดียว ด้านหน้ามีแท่นกำแพงม่าน (อ็องซ็อง) ก่อด้วยอิฐสีดำมีเชิงเทินเจาะช่องยิงโอบปิดด้านหน้าประตู โดยเปิดเป็นช่องขนาดเล็กทางใต้สำหรับผ่านเข้าออก
หอคอยซอบักกงซิมด็อนแก้ไข
ซอบักกงซิมด็อน (서북공심돈) เป็นหอคอยสูงสังเกตการณ์ประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อด้วยอิฐสีดำสูง 3 ชั้น สร้างเสมอแนวกำแพง ส่วนที่ยื่นออกมา เจาะช่องยิงรอบหอ ชั้นบนสุดมีศาลาไม้ติดตั้งหน้าต่างเจาะช่องธนู โดยหอคอยซอบักกงซิมด็อนนี้ ถือเป็นหอคอยกงซิมด็อนแห่งแรกในเกาหลี และเป็น 1 ใน 3 หอคอยของป้อมฮวาซอง[13]
บักโพรูแก้ไข
บักโพรู (북포루) เป็นแท่นรักษาการณ์ประจำทิศเหนือ สร้างยื่นออกจากกำแพง ตั้งศาลายกพื้นมีหน้าต่างเจาะช่องธนู ใช้เป็นหอรักษาการณ์และเป็นหอธนู
บักซอโพรูแก้ไข
บักซอโพรู (북서포루) เป็นป้อมปืนประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สร้างด้วยอิฐดินเผาสีดำสูง 3 ชั้น ยื่นออกจากกำแพง บริเวณกึ่งกลางระหว่างประตูฮวาซอมุนและประตูจางอันมุน ชั้นบนมีหลังคามีหน้าต่างเจาะช่องธนู ใช้เป็นหอยิงปืนและธนู ป้องกันข้าศึกที่เข้าตีกำแพง
บักซอจ็อกแดแก้ไข
บักซอจ็อกแด (북서적대) เป็นหอรบติดตั้งปืนใหญ่ สร้างยื่นออกจากกำแพงทางทิศตะวันตกของประตูจางอันมุน สร้างขึ้นเพื่อเสริมการคุ้มกันประตูจางอันมุน
ประตูจางอันมุนแก้ไข
จางอันมุน (장안문) เป็นประตูใหญ่ทางทิศเหนือของป้อมฮวาซอง เป็นประตูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองซูวอน เพราะเป็นทางเสด็จของพระเจ้าจองโจขณะเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับยังเมืองซูวอน ตัวประตูก่อขึ้นจากหินแกรนิตเหนือประตูเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ด้านหน้าโอบล้อมด้วยกำแพงม่าน (อ็องซ็อง) เป็นเชิงเทินก่อด้วยอิฐสีดำ ใช้สำหรับเสริมการป้องกันประตู มีช่องประตูเล็กด้านหน้าพร้อมศาลาไม้ด้านบน
บักดงจ็อกแดแก้ไข
บักดงจ็อกแด (북동적대) เป็นหอรบติดตั้งปืนใหญ่ สร้างยื่นออกจากกำแพงทางทิศตะวันออกของประตูจางอันมุน สร้างขึ้นเพื่อเสริมการคุ้มกันประตูจางอันมุน
บักดงชิแก้ไข
บักดงชิ (북동치) เป็นหอรบด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างยื่นออกจากตัวกำแพง เข้ามุมติดกับบักดงจ็อกแด
บักดงโพรูแก้ไข
บักดงโพรู (북동포루) เป็นป้อมปืนประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างด้วยอิฐดินเผาสีดำสูง 3 ชั้น ยื่นออกจากกำแพง บริเวณกึ่งกลางระหว่างประตูจางอันมุนและประตูน้ำบักซูมุน ชั้นบนมีหลังคาแต่ไม่มีหน้าต่าง ใช้เป็นหอยิงปืนและธนู ป้องกันข้าศึกที่เข้าตีกำแพง
ประตูน้ำบักซูมุนแก้ไข
บักซูมุน (동수문) หรือประตูฮวาฮงมุน (화홍문) เป็นประตูน้ำทิศเหนือของป้อมฮวาซอง สร้างบนแม่น้ำซูวอนช็อน โดยทำเป็นช่องซุ้มโค้ง 7 ช่อง เดิมมีประตูลูกกรงให้น้ำไหลผ่าน ด้านบนสร้างเชิงเทินอิฐสีดำเจาะช่องยิง มีศาลาไม้ติดตั้งประตู-หน้าต่าง พร้อมเชิงเทินไม้มีหน้าต่างเจาะช่องธนู โดยประตูสร้างขึ้นเพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่จะไหลเข้าตัวเมืองและคุ้มกันทางน้ำจากข้าศึก รวมถึงเป็นสะพานสำหรับชาวเมืองด้วย
ศาลาดงบักกังนูแก้ไข
ดงบักกังนู (동북각루) หรือศาลาบังฮวาซูริวจอง (방화수류정) เป็นศาลาประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นศาลาไม้รูปตัว L ตั้งอยู่บนยอดเนินเหนือบึงยงย็อน สร้างขึ้นเพื่อเป็น หอบัญชาการย่อย ที่พักทหาร และที่สังเกตการณ์รวมถึงเป็นที่ชมทัศนียภาพมีพื้นทำความร้อนและเดิมติดตั้งประตูหน้าต่าง พร้อมเชิงเทินหน้าต่างไม้เจาะช่องธนู[14]
ประตูบักอัมมุนแก้ไข
บักอัมมุน (북암문) เป็นประตูเล็กประจำทิศเหนือ ใช้เป็นทางเข้าออกและขนส่งเสบียงอาวุธข้างบึงยงย็อน ด้านหลังประตูสามารถถมดินอุดประตูได้ในกรณีถูกข้าศึกล้อม ลักษณะประตูก่อด้วยอิฐสีดำเป็นซุ้มโค้ง โดยกำแพงสองข้างประตูใช้อิฐสีดำทำโค้งเว้าเข้าไป เพื่อให้เกิดเงาบดบังประตูจากสายตาข้าศึก
ดงบักโพรูแก้ไข
ดงบักโพรู (동북포루) เป็นแท่นรักษาการณ์ประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างยื่นออกจากกำแพง ตั้งศาลายกพื้นมีหน้าต่างเจาะช่องธนู ใช้เป็นหอรักษาการณ์และเป็นหอธนู ตั้งอยู่บนยอดเนินระหว่างประตูบักอัมมุนและประตูดงอัมมุน
ประตูดงอัมมุนแก้ไข
ดงอัมมุน (동암문) เป็นประตูเล็กประจำทิศตะวันออก ใช้เป็นทางเข้าออกและขนส่งเสบียงอาวุธ โดยประตูสร้างด้วยอิฐสีดำทำเป็นซุ้มโค้ง กำแพงในส่วนนี้เว้าลึกเข้าไปเพื่อบดบังประตูจากข้าศึกเช่นเดียวกับประตูบักอัมมุน ด้านหลังประตูสามารถถมดินอุดประตูในกรณีถูกปิดล้อมเมืองได้
ศาลาบัญชาการดงจังแดแก้ไข
ดงจังแด (동장대) หรือศาลายอนมูแด (연무대) เป็นศาลาบัญชาการฝั่งตะวันออก มีลักษณะเป็นศาลาไม้ชั้นเดียว เดิมด้านในติดตั้งประตู-หน้าต่าง รอบบริเวณมีรั้วล้อม พื้นที่ภายในรั้วแบ่งเป็น 3 ชั้น โดยมีศาลาดงจังแดตั้งอยู่ชั้นบนสุดริมกำแพง ชั้นกลางเป็นพื้นที่โล่ง ชั้นล่างใช้เป็นที่ฝึกทหารและมีโรงพักทหาร เป็น 1 ใน 2 ที่ประจำการของแม่ทัพในป้อมฮวาซอง รวมถึงเป็นที่ซึ่งพระเจ้าจองโจใช้เสด็จทอดพระเนตรการฝึกทหารและพระราชทานเลี้ยงนายช่างผู้ร่วมในการก่อสร้างป้อมฮวาซองอีกด้วย[15]
หอคอยดงบักกงซิมด็อนแก้ไข
ดงบักกงซิมด็อน (동북공심돈) เป็นหอคอยสูงสังเกตการณ์ประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบเป็นหอคอยกลมก่อด้วยอิฐสีดำสูง 3 ชั้น สร้างขึ้นบนเชิงเทินหลังกำแพงเพื่อลดจุดบอดในการยิงต่อสู้ข้าศึก[16]เจาะช่องยิงรอบหอ ชั้นบนสุดมีศาลาไม้เปิดโล่งใช้เป็นที่สังเกตการณ์ ภายในเป็นบันไดเวียนวนขึ้นไปบนยอด
แท่นธนูดงบักโนแดแก้ไข
ดงบักโนแด (동북노대) เป็นแท่นยิงธนูฝั่งตะวันออก สร้างยกสูงกว่ากำแพงด้วยอิฐสีดำยื่นออกจากตัวกำแพงเป็นรูปเหลี่ยมมุมโค้ง บนแท่นมีใบสอสูงเจาะช่องยิงสำหรับบังการโจมตีจากข้าศึก [17] สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการป้องกันประตูชางรยองมุนร่วมกับดงบักกงซิมด็อน
ประตูชางรยองมุนแก้ไข
ชางรยองมุน (창룡문) เป็นประตูใหญ่ทิศตะวันออกของป้อมฮวาซอง เหนือประตูมีอาคารไม้ชั้นเดียว ด้านหน้ามีแท่นกำแพงม่าน (อ็องซ็อง) ก่อด้วยอิฐสีดำพร้อมเชิงเทินมีใบสอ โอบปิดด้านหน้าประตู โดยเปิดเป็นช่องขนาดเล็กทางเหนือสำหรับผ่านเข้าออก
ดงอิลโพรูแก้ไข
ดงอิลโพรู (동일포루) เป็นแท่นรักษาการณ์ลำดับที่ 1 ประจำทิศตะวันออก สร้างยื่นออกจากกำแพง ตั้งศาลายกพื้นเปิดโล่ง ใช้เป็นหอรักษาการณ์และเป็นหอธนู โดยเป็นแท่นรักษาการณ์ที่ยื่นออกจากกำแพงมากกว่าแท่นอื่น เพื่อใช้ช่วยคุ้มกันบงด็อน (봉돈)
ดงอิลชิแก้ไข
ดงอิลชิ (동일치) เป็นหอรบที่ 1 ของทิศตะวันออก สร้างยื่นออกจากตัวกำแพง
ดงโพรูแก้ไข
ดงโพรู (동포루) ป้อมปืนประจำทิศตะวันออก สร้างด้วยอิฐดินเผาสีดำสูง 3 ชั้น ยื่นออกจากกำแพง ชั้นบนมีหลังคามีหน้าต่างเจาะช่องธนู ใช้เป็นหอยิงปืนและธนู ป้องกันข้าศึกที่เข้าตีกำแพง
ดงอีชิแก้ไข
ดงอีชิ (동이치) เป็นหอรบที่ 2 ของทิศตะวันออก สร้างยื่นออกจากตัวกำแพง
หอสัญญาณควันบงด็อนแก้ไข
บงด็อน (봉돈) เป็นหอสัญญาณควันประจำป้อมฮวาซอง ใช้รับ-ส่งสัญญาณควันจากป้อมอื่นๆในเกาหลี เพื่อแจ้งข่าวภัยพิบัติหรือสงคราม โดยมีปล่องไฟจำนวน 5 ปล่อง โดนในสภาวะปกติปล่องใต้สุด 1 ปล่องจะปล่อยควันตลอดเวลา และจะเพิ่มจำนวนตามความรุนแรงของภัยพิบัติ[18] สร้างด้วยอิฐสีดำก่อเป็นชั้น ใต้ปล่องควันเจาะช่องยิง มีที่พักทหารเฝ้าปล่องควันและที่เก็บเชื้อเพลิง
ดงอีโพรูแก้ไข
ดงอีโพรู (동이포루) เป็นแท่นรักษาการณ์ลำดับที่ 2 ประจำทิศตะวันออก สร้างยื่นออกจากกำแพง ตั้งศาลายกพื้นเปิดโล่ง ใช้เป็นหอรักษาการณ์และเป็นหอธนู
ดงซัมชิแก้ไข
ดงซัมชิ (동삼치) เป็นหอรบที่ 3 ของทิศตะวันออก สร้างยื่นออกจากตัวกำแพง
ศาลาดงนัมกังนูแก้ไข
ดงนัมกังนู (동남각루) เป็นศาลาประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นหอบัญชาการย่อย รวมถึงเป็นที่พักทหารและสังเกตการณ์บนยอดเนินริมแม่น้ำซูวอนช็อนและประตูน้ำนัมซูมุน มีพื้นทำความร้อนและหน้าต่างเจาะช่องธนู
ประตูน้ำนัมซูมุนแก้ไข
นัมซูมุน (남수문) เป็นประตูน้ำทางทิศใต้ของป้อมฮวาซอง สร้างบนแม่น้ำซูวอนช็อน โดยทำเป็นซุ้มโค้ง 9 ช่อง เดิมมีประตูลูกกรงให้น้ำไหลผ่าน เหนือประตูก่อด้วยอิฐสีดำสูง 2 ชั้นเจาะช่องยิง ด้านบนมีเชิงเทินพร้อมใบสอ โดยสร้างขึ้นเพื่อป้องกันข้าศึกและควบคุมน้ำที่ไหลออกจากเมืองซูวอน รวมถึงเป็นสะพานให้ชาวเมือง โดยประตูนัมซูมุนเสียหายโดยน้ำท่วมครั้งใหญ่ในแม่น้ำซูวอนช็อนถึง 2 ครั้ง ก่อนได้รับการบูรณะขึ้นใหม่
หอคอยนัมกงซิมด็อนแก้ไข
นัมกงซิมด็อน (남공심돈) เป็นหอคอยสูงสังเกตการณ์ประจำทิศใต้ ก่อด้วยอิฐสีดำเป็นทรงเหลี่ยมสูง 3 ชั้น สร้างบนเชิงเทินมีใบสอที่ยื่นออกจากกำแพง เจาะช่องยิงรอบหอ ชั้นบนสุดมีศาลาไม้เปิดโล่ง ใช้เป็นหอสังเกตการณ์และคุ้มกันบริเวณทิศใต้ของป้อมฮวาซอง รวมถึงแม่น้ำซูวอนช็อน[19]
ประตูนัมอัมมุนแก้ไข
นัมอัมมุน (남암문) เป็นประตูเล็กทางทิศใต้ ใช้สำหรับสัญจรเข้าออกและขนส่งเสบียงอาวุธ รวมถึงใช้นำร่างของผู้เสียชีวิตในเมืองซูวอนออกจากเมือง บานประตูจึงกว้างกว่าประตูเล็กอื่น ด้านบนเป็นใบสอก่ออิฐสีดำ มีศาลาไม้เปิดโล่ง
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "ป้อมฮวาซ็อง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2012-05-02.
- ↑ UNESCO
- ↑ Roh, 2001, p.186
- ↑ Roh, 2001, p.200
- ↑ Roh, 2001, p.200
- ↑ Roh, 2001, p.200
- ↑ Doo, 2010, p.15
- ↑ Doo, 2010, p.30
- ↑ Doo, 2010, p.142
- ↑ Doo, 2010, p.145-146
- ↑ Doo, 2010, p.139
- ↑ Roh, 2001, p.188
- ↑ Doo, 2010, p.124-125
- ↑ Doo, 2010, p.134-135
- ↑ Roh, 2001, p.202
- ↑ Doo, 2010, p.128-129
- ↑ Roh, 2001, p.188
- ↑ Doo, 2010, p.130-131
- ↑ Doo, 2010, p.127
บรรณานุกรมแก้ไข
- Doo Won Cho (2010). The Korean fortress City Suwon: History; Conservation Heritage; Documentation "Hwaseong Seongyeok Uigwe"; National and International Relations (in German). University of Bamberg, Inaugural Dissertation.
- UNESCO, “Hwaseong Fortress”,เข้าถึงเมื่อ 2020-05-17. https://whc.unesco.org/en/list/817/
- Young Koo Roh. The Construction and Characteristics of Hwaseong Fortress in the Era of King Jeongjo, 한국학중앙연구원 THE ACADEMY OF KOREAN STUDIES, 2001, 41(1), p.166-212.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ป้อมฮวาซ็อง
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 37°17′19″N 127°00′51″E / 37.288611°N 127.014167°E{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ป้อมฮวาซ็อง |
- มูลนิธิวัฒนธรรมซูวอน(เกาหลี)
บทความเกี่ยวกับอาคาร หรือ สถานที่สำคัญนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |