อาณาจักรแพ็กเจ (เกาหลี:백제, ฮันจา: 百濟; 18 ปีก่อนค.ศ. - ค.ศ. 660) สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอนจอพระราชโอรสองค์เล็กในจักรพรรดิดงเมียงยองในพุทธศตวรรษที่ 13 เมื่อจักรวรรดิโคกูรยอพยายามจะกลืนอำนาจของอาณาจักรพูยอ พระเจ้าอนจอได้นำกำลังคนกลุ่มหนึ่งแยกตัวออกมาจากจักรวรรดิโคกูรยอลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลอำนาจของอาณาจักรมาฮัน โดยข้ามแม่น้ำฮันมา เลือกชัยภูมิอยู่ใกล้ ๆ กับที่เป็นโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน เพื่อตั้งเมืองใหม่ชื่อ วิเรซอง แล้วสถาปนาเป็นอาณาจักรซิปเจหลังสิ้นรัชกาลของพระองค์มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลายพระองค์ จนถึงกษัตริย์รัชกาลที่ 31 ซึ่งเป็นรัชกาลสุดท้ายคือพระเจ้าอึยจา ก็พ่ายแพ้แก่กองทัพพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยกองทัพชิลลาและกองทัพถังของจีนในปี ค.ศ. 660 (พ.ศ. 1203) ทำให้อาณาจักรแพ็กเจที่ปกครองมานานถึง 678 ปีก็ถึงกาลอวสาน

แพ็กเจ

백제 (百濟)
18 ปีก่อนค.ศ.–ค.ศ. 660
อาณาจักรแพ็กเจในช่วงที่รุ่งเรือง ค.ศ. 375
อาณาจักรแพ็กเจในช่วงที่รุ่งเรือง ค.ศ. 375
เมืองหลวงวีรเยซ็อง
(18 ปีก่อนค.ศ. – ค.ศ. 475)

อุงจิน
(ค.ศ. 476–538)

ซาบี
(ค.ศ. 538–660)
ภาษาทั่วไปภาษาเกาหลีโบราณ
ศาสนา
พระพุทธศาสนา, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, เชมัน
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระมหากษัตริย์ 
• 18 ปีก่อนค.ศ. - ค.ศ. 28
อนจอ
• ค.ศ. 346-375
กึนโชโก
• ค.ศ. 523-554
ซอง
• ค.ศ. 641-660
อึยจา
ยุคประวัติศาสตร์โบราณ
• สถาปนาอาณาจักรแพ็กเจ
18 ปีก่อนค.ศ.
• การรบของพระเจ้ากึนโชโก
ค.ศ. 346-375
• การรับศาสนาพุทธ
ค.ศ. 385
• เสียเมืองซาบี
18 กรกฎาคม ค.ศ. 660
ประชากร
• 
3,800,000[ต้องการอ้างอิง] (ค.ศ. 660)
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรโคกูรยอ
อาณาจักรพูยอ
สมาพันธรัฐมาฮัน
อาณาจักรรวมซิลลา

ประวัติศาสตร์ แก้

สถาปนาอาณาจักร แก้

ในบันทึกประวัติศาสตร์ ซัมกุก ยูซา กล่าวว่า พระเจ้าอนจอนั้นก็คือโอรสพระองค์หนึ่งของจักรพรรดิดงเมียงยอง ที่ขัดแย้งกับพี้น้องสายอื่น แล้วแยกตัวออกมาก่อตั้งอาณาจักรใหม่ชื่อว่า ซิปเจ ต่อมาแคว้นบีริวถูกจักรวรรดิโคกูรยอโจมตี กษัตริย์ของแคว้นบีริวปลิดชีพตนเอง ผู้คนของบีริวก็อพยพเข้ามารวมกันในอาณาจักรซิปเจ จึงทำให้อาณาจักรแห่งนี้ใหญ่ขึ้น ซึ่งต่อมาพระเจ้าอนจอก็เปลี่ยนชื่ออาณาจักรใหม่เป็น แพ็กเจ การเติบโตอย่างรวดเร็วของอาณาจักรแพ็กเจ ทำให้กษัตริย์ของอาณาจักรมาฮันคิดระแวง จึงพยายามกดดันพระเจ้าอนจอจนต้องย้ายเมืองหลวงอยู่หลายครั้ง

การขยายอาณาเขต แก้

ในรัชกาล พระเจ้าโกอี กษัตริย์องค์ที่ 8 ของอาณาจักรแพ็กเจทรงทำให้อาณาจักรขยายตัวอย่างมากและในปี ค.ศ. 249 (พ.ศ. 792) ทรงแผ่ขยายการเป็นสัมพันธมิตรกับ อาณาจักรกายา (ค.ศ. 42-642) อาณาจักรเล็ก ๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแพ็กเจและในรัชกาล พระเจ้ากึนโชโก กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งอาณาจักรแพ็กเจได้ทรงขยายชายแดนออกไปถึงทางเหนือจนติดกับชายแดนของ จักรวรรดิโคกูรยอ

รวมอาณาจักร แก้

กระทั่ง พ.ศ. 675 ในสมัยพระเจ้าแกรูเมืองหลวงก็ถูกย้ายไปอยู่ที่บริเวณภูเขาพุกฮัน ซึ่งปัจจุบันคือเมืองกวางจู ตลอดช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 แลที่ 7 แพ็กเจพยายามขยายอำนาจครอบคลุมเมืองอื่นๆโดยตลอด จนกระทั่งในพุทธศตวรรษที่ 8 ก็สามารถกลืนเขตอิทธิพลทั้งหมดของอาณาจักรมาฮันได้อย่างเบ็ดเสร็จ แล้วตั้งตนเป็นอาณาจักรแพ็กเจที่ยึดครองอำนาจสืบต่อแทนอาณาจักรมาฮัน

ภาษาและวัฒนธรรม แก้

 
รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ที่วัดโฮรีวจิ (Hōryū-ji) เมืองนาระ ศิลปะแพ็กเจ

พุทธศาสนา แก้

ค.ศ. 384 ในรัชสมัยพระเจ้าชิมนยู พระภิกษุมาลานันทา (Mālānanda) จากประเทศอินเดียเดินทางมายังอาณาจักรแพ็กเจเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนา ทำให้พุทธศาสนามาถึงอาณาจักรแพ็กเจเป็นครั้งแรก ต่อมาในค.ศ. 526 ในสมัยพระเจ้าซ็องพระภิกษุชาวแพ็กเจชื่อว่าคย็อม-อิก (겸익, 謙益) เดินทางไปยังประเทศอินเดียเพื่อศึกษาพระธรรม พระภิกษุคย็อม-อิก เดินทางกลับจากอินเดียพร้อมกับพระภิกษุเวทัตตา (Vedatta) มายังแพ็กเจ ก่อตั้งพุทธศาสนานิกาย กเย-ยูล (계율, 戒律) หรือนิกายวินัยศึกษา เน้นการศึกษาพระธรรมวินัยเป็นหลัก ในสมัยพระเจ้าซ็องพุทธศาสนาในแพ็กเจเจริญรุ่งเรือง และยังเผยแพร่พุทธศาสนาต่อไปยังญี่ปุ่นอีกด้วย

ภาษาแพ็กเจ แก้

อเล็กซานเดอร์ โววิน (Alexander Vovin) นักภาษาศาสตร์เสนอทฤษฎีว่า ในยุคซัมฮันนั้นประชากรในคาบสมุทรเกาหลีเดิมพูดภาษาในกลุ่มโปรโต-ญี่ปุ่น (Proto-Japonic)[1] หรือภาษาญี่ปุ่นคาบสมุทร (Peninsular Japonic)[1] โดยอาศัยหลักฐานจากชื่อสถานที่ต่างๆที่ปรากฏในซัมกุกซากีและบันทึกของจีน ต่อมาเมื่ออาณาจักรพูยอและอาณาจักรโคกูรยอซึ่งพูดภาษากลุ่มเกาหลี (Koreanic) เรืองอำนาจขึ้นในทางตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลี ทำให้ภาษากลุ่มเกาหลีจากทางเหนือเข้าแทนที่[1]ภาษากลุ่มญี่ปุ่นทางภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของอาณาจักรแพ็กเจในยุคต้น ซึ่งผู้ก่อตั้งอาณาจักรแพ็กเจนั้นมาจากอาณาจักรโคกูรยอทางเหนือเข้าปกครองประชากรท้องถิ่นในรัฐมาฮัน และการขยายอิทธิพลของกลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มเกาหลีจากทางเหนือยังทำให้ประชากรดังเดิมของคาบสมุทรเกาหลีที่พูดภาษากลุ่มญี่ปุ่นอพยพข้ามทะเลไปสู่หมู่เกาะญี่ปุ่น[1]และหมู่เกาะรีวกีว กลายเป็นชาวยาโยอิในที่สุด อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการเกาหลีใต้

ไม่มีวรรณกรรมในภาษาแพ็กเจตกทอดหลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบัน บันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์เหลียงกล่าวว่า ภาษาของอาณาจักรแพ็กเจนั้นคล้ายคลึงกับภาษาของอาณาจักรโคกูรยอ[2] บันทึกของราชวงศ์โจวเหนือกล่าวว่า ในภาษาของแพ็กเจนั้น ชนชั้นขุนนางเรียกกษัตริย์ของตนเองว่า[3] 於羅瑕 (จีนยุคกลาง: ʔɨʌ lɑ ɦˠa) ในขณะที่ราษฎรแพ็กเจทั่วไปเรียกกษัตริย์ของตนว่า 鞬吉支 (จีนยุคกลาง: kɨɐn kiɪt̚ t͡ɕiᴇ) โคโนะ โรกูโร่ และคิม บัง-ฮัน นักภาษาศาสตร์ตั้งทฤษฎีว่าในอาณาจักรแพ็คเจนั้นประกอบไปด้วยสองภาษาซึ่งชนชั้นปกครองและชนชั้นสามัญชนพูดภาษาที่ต่างกัน[3] โดยที่ชนชั้นปกครองของแพ็คเจนั้นพูดภาษากลุ่มเกาหลี ในขณะที่ชนชั้นสามัญชนพูดภาษากลุ่มญี่ปุ่น นิฮนโชกิ บันทึกประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นบันทึกคำภาษาแพ็กเจไว้จำนวนสี่สิบสองคำ โดยเรียกกษัตริย์ของแพ็กเจว่า "โอริโกเกะ (Orikoke)" ผู้ปกครองแพ็กเจเรียกว่า "กิชิ (Ki1si)"

oinclude>

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Vovin, Alexander. Origins of Japanese Language. Oxford Research Encycloedia in Linguistics. September 2017
  2. Lee, Ki-Moon; Ramsey, S. Robert. A History of the Korean Language. Cambridge University, 2011.
  3. 3.0 3.1 Kōno, Rokurō. The bilingualism of the Paekche language. Memoirs of the research department of the Toyo Bunko, 1987.