ซัมกุก ซากี
ซัมกุก ซากี (พงศาวดารของสามก๊ก) เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของสามก๊กแห่งเกาหลี (อาณาจักรโคกูรยอ อาณาจักรแพคเจ และอาณาจักรชิลลา) โดยข้อความที่ถูกเขียนโดยภาษาจีน ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโดยความรู้ชาวเกาหลีในขณะนั้น โดยรวบรวมข้อมูลสำคัญจากตำนานและนิทานพื้นบ้านโดยได้รับคำสั่งจากกษัตริย์แห่งราชวงศ์โครยอซึ่งมอบหมายให้ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและนักประวัติศาสตร์
ซัมกุก ซากี | |
---|---|
ผู้ประพันธ์ | Kim Busik |
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | 삼국사기 (三國史記) |
ประเทศ | โครยอ |
ภาษา | จีนคลาสสิก |
หัวเรื่อง | ประวัติศาสตร์เกาหลี |
ประเภท | ประวัติศาสตร์โบราณ |
วันที่พิมพ์ | 1145 |
ซัมกุก ซากี | |
---|---|
ฮันกึล | 삼국사기 |
ฮันจา | 三國史記 |
อักษรโรมันฉบับปรับปรุง | ซัมกุก ซากี |
Kim Busik (김부식, 金富軾) เป็นผู้ทำการเรียบเรียงขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาณาจักรซิลลาให้เป็นอาณาจักรปกครองดั้งเดิมของเกาหลีและถูกต้อง เพื่อสื่อให้เห็นว่า ราชวงศ์โครยอเป็นผู้สืบทอดโดยชอบธรรมของอาณาจักรชิลลา ซึ่งได้เรียบเรียงไว้ทั้งหมดรวม 50 เล่ม ได้แก่ บันทึกเกี่ยวกับอาณาจักรชิลลา จำนวน 16 เล่ม บันทึกเกี่ยวกับอาณาจักรโกคูรยอ จำนวน 10 เล่ม บันทึกเกี่ยวกับอาณาจักรแพคเจ จำนวน 6 เล่ม จดหมายเหตุต่างๆอีกจำนวน 3 เล่ม และยังมีบันทึกรวบรวมเรื่องราวต่างๆจำนวน 9 เล่ม อาทิเรื่องเกี่ยวกับ พิธีกรรม, วรรณกรรม, การคมนาคม, ข้อมูลชุมชน, ภูมิศาสตร์, ระบบชนชั้น และเรื่องราวชีวประวัติของบุคคลสำคัญอีก 10 เล่ม รวบรวมข้อมูลสำคัญจากตำนานและนิทานพื้นบ้านโดยได้รับคำสั่งโดยกษัตริย์
รูปแบบการนำเสนอแก้ไข
มีการนำวิธีการเขียนและรูปแบบการนำเสนอมาจากบันทึกประวัติศาสตร์ของจีนที่เรียบเรียงโดยซือหม่าเฉียน ผู้วางรากฐานในการเขียนบันทึกประวัติศาสตร์ของจีน และหนังสือซานกว๋อจื้อของเฉินโซ่ว ผู้เรียบเรียงประวิติศาสตร์สามก๊กของจีน
ข้อโต้แย้งแก้ไข
แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่วิจารณ์ว่า ซัมกุก ซากี นั้นยกให้ อาณาจักรชิลลาเป็นศูนย์กลางของสามก๊กเกาหลี และเน้นยอมรับความสัมพันธ์ที่ยอมให้จีนเป็นผู้มีอำนาจเหนือกว่า ข้อโต้แย้งนี้มาจากมูลเหตุที่ Kim Busik ผู้เรียบเรียงบันทึกดังกล่าว ระบุว่าอาณาจักรชิลลาให้ความสำคัญต่อลัทธิขงจื๊อ มากกว่า พุทธศาสนา อันเป็นการนำเสนอเพื่อเอาใจจักรพรรดิจีน และยังลดความสำคัญของอาณาจักรโคกูรยอลงจากหน้าประวัติศาสตร์เกาหลี ขณะที่ไปเน้นความสำคัญทางอาณาจักรชิลลาแทนเพื่อป้องกันการขัดแย้งกับประเทศจีน
อ้างอิงแก้ไข
- Gardiner, K.H.J. “Samguk sagi and its Sources.” Papers on Far Eastern History, 2 (September 1970): 1-41.
- Kim, Kichung. "Notes on the Samguk sagi and Samguk yusa". In Kichung Kim, An Introduction to Classical Korean Literature. London: M.E. Sharpe, 1996.
- Lee, Hai-soon. "Kim Pu-sik's View of Women and Confucianism: An Analytic Study of the Lives of Women in the Samguk sagi". Seoul Journal of Korean Studies, Vol. 10 (1997):45-64.
- McBride, Richard D. II. "Hidden Agendas in the Life Writings of Kim Yusin." Acta Koreana, 1 (August 1998): 101-142.
- Shim, Seungja. "Plants and Animals in the Place Names of Samguk Sagi." In Proceedings of the 9th Annual Conference, 10-15 April 1985, Association for Korean Studies in Europe. Le Havre: Association for Korean Studies in Europe, 1985.
- Shultz, Edward J. "An Introduction to the Samguk sagi." Korean Studies, 28 (2004):1–13.
- Soloviov, Alexander V. "Kim Busik's Samguk Sagi: the 12th Century Man Viewpoint on Korean Culture". Major Issues in History of Korean Culture: Proceedings of the 3rd International Conference on Korean Studies, Moscow, December 17-20, 1996. Moscow: International Center for Korean Studies, 1997:71-74.
- Yi, Chong-hang. "On the True Nature of 'Wae' in Samguk sagi." Korea Journal, 17:11 (November 1977): 51-59.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- 삼국사기 The original text of the Samguk Sagi in HTML format.
- The text of the Samguk Sagi, available in PDF format from the Seoul National University.
- University of Hawaii: The Samguk sagi Translation Project
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |