พระเจ้าแทจง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระเจ้าแทจง (เกาหลี: 태종; ฮันจา: 太宗; อาร์อาร์: Taejong; เอ็มอาร์: T'aejong; 13 มิถุนายน ค.ศ. 1367 – 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1422) พระนามเดิม อี พังว็อน (เกาหลี: 이방원; ฮันจา: 李芳遠) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์โชซ็อนของประเทศเกาหลี เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าเซจงมหาราช[1] ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์มีพระนามว่า เจ้าชายช็องอัน (เกาหลี: 정안군; ฮันจา: 靖安君)
พระเจ้าแทจงแห่งโชซ็อน 朝鮮太宗 조선 태종 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มกุฎราชกุมารโชซ็อน | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 8 มีนาคม ค.ศ. 1400 – 7 ธันวาคม ค.ศ. 1400 | ||||||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าช็องจง | ||||||||
ถัดไป | เจ้าชายยังนย็อง | ||||||||
พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน | |||||||||
ครองราชย์ | 7 ธันวาคม ค.ศ. 1400 – 19 กันยายน ค.ศ. 1418 | ||||||||
ราชาภิเษก | แคซ็อง อาณาจักรโชซ็อน | ||||||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าช็องจงแห่งโชซ็อน | ||||||||
ถัดไป | พระเจ้าเซจงแห่งโชซ็อน | ||||||||
พระเจ้าหลวงแห่งโชซ็อน | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 19 กันยายน ค.ศ. 1418 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 1422 | ||||||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าช็องจงแห่งโชซ็อน | ||||||||
ถัดไป | พระเจ้าทันจง | ||||||||
พระราชสมภพ | 13 มิถุนายน ค.ศ. 1367 พระตำหนักส่วนพระองค์ Yi Seong-gye, Gwiju-dong, ฮัมฮึง, อาณาจักรโครยอ | ||||||||
สวรรคต | มิถุนายน 8, 1422 หอ Yeonhwabang, พระราชวังชังกย็อง, ฮันซ็อง, อาณาจักรโชซ็อน | (54 ปี)||||||||
ฝังพระศพ | สุสาน Heonneung, ฮ็อนอินลึง, เขต Seocho, โซล, ประเทศเกาหลีใต้ | ||||||||
พระมเหสี | พระราชินีว็อนกย็อง | ||||||||
พระราชบุตร | พระเจ้าเซจงมหาราช | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | สกุลอี ราชวงศ์โชซ็อน | ||||||||
พระราชบิดา | พระเจ้าแทโจแห่งโชซ็อน | ||||||||
พระราชมารดา | พระนางชินอึย | ||||||||
ศาสนา | พุทธแบบเกาหลี ภายหลังนับถือลัทธิขงจื๊อใหม่ | ||||||||
ลายพระอภิไธย |
ชื่อเกาหลี | |
ฮันกึล | |
---|---|
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Taejong |
เอ็มอาร์ | T'aejong |
ชื่อเกิด | |
ฮันกึล | |
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | I Bangwon |
เอ็มอาร์ | Yi Pangwŏn |
ชีวิต
แก้ก่อตั้งโชซ็อน
แก้พระเจ้าแทจง มีพระนามเดิมว่า “อีบังวอน” (이방원, 李芳遠) พระราชสมภพในปี ค.ศ. 1367 เป็นบุตรชายคนที่ห้าของอี ซ็อง-กเย (태조, 太祖) สอบผ่านเข้ารับราชการในราชวงศ์โครยอในปี ค.ศ. 1382 ในช่วงแรกเขาช่วยบิดาหาการสนับสนุนจากประชาชนและผู้มีอิทธิพลในรัฐบาล และยังมีส่วนช่วยบิดาในการปราบดาภิเษกก่อตั้งราชวงศ์ใหม่โดยลอบสังหารข้าราชการทรงอิทธิพลอย่างจอง มงจู (정몽주, 鄭夢周) ที่ยังคงภักดีกับราชวงศ์โครยอ อีบังวอนก็ได้รับพระยศเป็นเจ้าชายช็องอัน (정안대군, 靖安大君)
สามัคคีเภทของเจ้าชาย
แก้หลังช่วยบิดาโค่นล้มราชวงศ์เก่าและก่อตั้งโชซอนได้แล้ว พระองค์ก็คาดว่าจะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สืบราชสมบัติ ทว่าพระราชบิดาและอัครเสนาบดีช็อง โด-จ็อนกลับเลือกอีบังซอก (이방석, 李芳碩) พระราชโอรสพระองค์ที่ 8 ที่พระราชสมภพแด่พระราชินีชินด็อก (신덕왕후, 神德王后) พระมเหสีพระองค์ที่สองในพระเจ้าแทโจ เป็นมกุฎราชกุมารแทน เหตุผลหลักของความขัดแย้งนี้เป็นเพราะช็อง โด-จ็อน ผู้วางรากฐานทางอุดมการณ์ สถาบันและกฎหมายคนสำคัญของราชวงษ์ใหม่ เห็นควรให้โชซอนเป็นอาณาจักรที่มีเสนาบดีบริหารราชการโดยมีพระมหากษัตริย์แต่งตั้ง ขณะที่อี บังวอนเห็นควรว่าพระมหากษัตริย์ควรปกครองโดยตรงแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ความแตกต่างนี้จึงนำไปสู่บรรยากาศความตึงเครียดทางการเมือง หลังพระราชินีซินด็อกเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหันใน ค.ศ. 1398 อี บังวอนเป็นผู้นำรัฐประหารระหว่างที่พระเจ้าแทโจกำลังไว้ทุกข์ให้กับพระมเหสี เหตุการณ์นี้ทำให้ช็อง โด-จ็อนและผู้สนับสนุนเสียชีวิต รวมทั้งพระโอรสของพระราชินีซินด็อกสองพระองค์กับมกุฎราชกุมาร เหตุการณ์ดังกล่าวมีคำเรียกว่า "สามัคคีเภทของเจ้าชายครั้งที่หนึ่ง" (First Strife of Princes)
พระเจ้าแทโจทรงหวาดกลัวเมื่อพระราชโอรสเข่นฆ่ากันเองเพื่อแย่งชิงบัลลังก์ อีกทั้งยังหน่ายพระทัยหลังพระมเหสีสวรรคต จึงทรงสละราชบัลลังก์และแต่งตั้งพระโอรสพระองค์ที่สอง อี บังกวา (เป็นพระโอรสที่มีพระชนมายุมากที่สุดที่ยังทรงพระชนม์ชีพ) หรือพระเจ้าช็องจง เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อมา พระราชกรณียกิจแรก ๆ ของพระเจ้าช็องจง กคือการย้ายเมืองหลวงกลับไปยังแคซ็อง เพราะทรงเชื่อว่าสะดวกสบายมากกว่า แต่อี บังวอนเป็นผู้กุมอำนาจที่แท้จริง และไม่ช้าก็กลับมาขัดแย้งกับอี บังกัน (이방간, 李芳幹) หรือเจ้าชายฮวีอัน (회안대군, 懷安大君) พระเชษฐาอีกพระองค์หนึ่ง ที่ใฝ่อำนาจเช่นกัน ใน ค.ศ. 1400 แม่ทัพพักโบ ซึ่งผิดหวังที่อี บังวอนไม่มอบบำเหน็จให้แก่เขาจากการกระทำในสามัคคีเภทของเจ้าชายครั้งที่หนึ่ง เข้ากับอี บังกันและก่อกบฏในเหตุการณ์ที่เรียกว่า "สามัคคีเภทของเจ้าชายครั้งที่สอง" อี บังวอนเป็นฝ่ายชนะ จึงประหารชีวิตพักโบ และเนรเทศอี บังกัน ฝ่ายพระเจ้าช็องจงทรงหวาดกลัวพระอนุชาที่มีอำนาจมากมายของพระองค์ จึงทรงตั้งอี บังวอนเป็นมกุฎราชกุมารและสละราชสมบัติในปีเดียวกัน อี บังวอนจึงสืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าแทจง พระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามของราชวงศ์โชซ็อน
การรวบรวมอำนาจ
แก้พระราชกรณียกิจแรก ๆ ของพระเจ้าแทจงคือการยกเลิกอภิสิทธิ์ของขุนนางผู้ใหญ่และชนชั้นอภิชนในการมีกองทัพส่วนตัว ซึ่งเป็นการลดทอนอำนาจของกลุ่มคนเหล่านี้ในการก่อกบฏขนาดใหญ่ และเพิ่มจำนวนทหารในกองทัพประจำชาติอย่างมาก ต่อมาทรงทบทวนกฎหมายภาษีที่ดินและการจดบันทึกคนในบังคับ ผลทำให้ค้นพบที่ดินที่ถูกเบียดบังไว้และรายได้ของอาณาจักรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า[2] นอกจากนี้ยังทรงริเริ่มระบบโฮเป (호패) ซึ่งเป็นแผ่นป้ายระบุชื่อและภูมิลำเนา เพื่อควบคุมการเดินทางของประชาชน[3]
สมบูรณาญาสิทธิราชย์
แก้รัชกาลของพระองค์มีการตั้งระบบราชการรวมศูนย์ที่เข้มแข็งและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ใน ค.ศ. 1399 พระเจ้าแทจงทรงมีบทบาทสำคัญในการยุบเลิกสมัชชาโดพยอง (Dopyeong Assembly) อันเป็นสภาบริหารราชการแผ่นดินแบบเดิมที่มีอำนาจผูกขาดในราชสำนักในช่วงปลายราชวงศ์โครยอ แล้วตั้งสภาอีจอง (의정부, 議政府) เป็นองค์การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลางใหม่ที่พระมหากษัตริย์และพระราชกฤษฎีกามีอำนาจสูงสุด หลังผ่านกฎหมายเกี่ยวกับเอกสารของคนในบังคับและกฎหมายภาษีแล้ว พระเจ้าแทจงยังออกกฤษฎีกาใหม่ให้การตัดสินใจของสภาอีจองต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์เสียก่อนจึงมีผล นับเป็นคราวสิ้นสุดของประเพณีที่เสนาบดีและที่ปรึกษาตัดสินใจโดยถกเถียงและเจรจากันเอง และทำให้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เพิ่มมากขึ้นมาก ต่อมาพระเจ้าแทจงทรงตั้งสำนักงานซินมุนเพื่อรับฟ้องคดีความที่คนในบังคับร้องทุกข์ต่อข้าราชการหรืออภิชนที่ล่วงละเมิดหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
พระเจ้าแทจงยังทรงแบ่งอาณาจักรโจซอนออกเป็นแปดมณฑล รัชสมัยของพระเจ้าแทจงเป็นสมัยแห่งการวางรากฐานของอาณาจักร ในค.ศ. 1401 ทรงนำเงินกระดาษมาใช้เป็นครั้งแรกในเกาหลี พระเจ้าแทจงทรงดำเนินนโยบายส่งเสริมลัทธิขงจื้อใหม่ (Neo-Confucianism) ซึ่งเข้ามาในเกาหลีตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 และกดขี่ศาสนาพุทธ ทรงปิดวัดวาอารามไปหลายร้อยแห่ง ทรงยึดที่ดินและทรัพย์ของสถาบันพระพุทธศาสนามาใช้จ่ายในการบริหารบ้านเมือง[ต้องการอ้างอิง]
สละบัลลังก์
แก้พ.ศ. 1961 พระเจ้าแทจงก็สละบัลลังก์ ให้เจ้าชายชุงนยอง (วังเซจา) ครองราชย์เป็นพระเจ้าเซจงมหาราช แม้ทรงสละบัลลังก์แล้ว แต่ก็ทรงจัดการกิจการบ้านเมืองอยู่ในฐานะพระเจ้าหลวง (太上王 태상왕) คอยตัดสินพระทัยในกิจการสำคัญ ๆ พระองค์ตัดสินประหารชีวิตหรือเนรเทศอดีตผู้สนับสนุนพระองค์ขึ้นสู่อำนาจบางคนที่ต้องการความชอบ เพื่อเสริมสร้างพระราชอำนาจและลดการฉ้อราษฎร์บังหลวง เพื่อจำกัดอิทธิพลของครอบครัวพระมเหสีและตระกูลสำคัญ พระองค์ยังทรงประหารชีวิตพระสัสสุระ (พ่อตา) และญาติพี่น้องของพระมเหสีรวมสี่คน หลังพระเจ้าแทจงทรงพบว่าพระราชินีและตระกูลกำลังแทรกแซงการเมือง
ใน พ.ศ. 1962 สลัดญี่ปุ่นจากเกาะสึชิมะไปบุกปล้นจีน ระหว่างทางไปจีนก็ได้บุกปล้นมณฑลชุงชองและฮวางแฮของโชซ็อน ทำให้พระเจ้าแทจงทรงส่งลีจองมูไปบุกยึดเกาะซึชิมา และล้อมเกาะไว้จนในพ.ศ. 1965 ตระกูลโซเจ้าปกครองเกาะซึชิมาก็ยอมจำนน และใน พ.ศ. 1986 ก็ได้ให้เอกสิทธิ์ในการค้ากับโชซ็อนให้แก่ตระกูลโซ โดยต้องส่งบรรณาการเป็นการแลกเปลี่ยน (แต่เกาะซึชิมานั้นเป็นท่าเรือให้สองชาติเสมอมา ปัจจุบันเป็นของญี่ปุ่น แต่เกาหลีใต้ก็ได้อ้างสิทธิ ปัจจุบันจึงเป็นปัญหาขัดแย้งกันอยู่)
พระเจ้าแทจงทรงเป็นบุคคลที่เป็นที่ถกเถียง เพาะฆ่าคู่แข่งไปหลายคน แต่ทรงปกครองอย่างมีประสิทธิภาพช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎร ทำให้การป้องกันประเทศเข้มแข็งขึ้น และวางรากฐานให้แก่พระเจ้าเซจงสืบต่อมา[4]
พระบรมวงศานุวงศ์
แก้เนื้อหาในบทความนี้ไม่ถูกต้องแม่นยำ โปรดช่วยกันตรวจสอบ และปรับปรุง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพิ่มแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ด้วย |
- พระราชบิดา: พระเจ้าแทโจ (태조)
- พระราชมารดา: พระนางชินอึย ตระกูลฮัน แห่งอันพยอน (신의왕후 한씨, กันยายน ค.ศ.1337 – 21 ตุลาคม ค.ศ.1391)
พระมเหสี พระสนม พระโอรสและพระธิดา
- พระราชินีว็อนกย็อง (원경왕후 민씨, 元敬王后 閔氏, 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1365 – 10 กรกฎาคม ค.ศ.1420)
- เจ้าชายไม่ทราบพระนาม (ค.ศ.1389)
- เจ้าชายไม่ทราบพระนาม (ค.ศ.1390)
- เจ้าชายไม่ทราบพระนาม (ค.ศ.1392)
- อี แจ, เจ้าชายยังนย็อง (ค.ศ.1394)
- อี โบ, เจ้าชายฮโยรย็อง (ค.ศ.1396)
- อี โด, เจ้าชายชุงนยอง - พระเจ้าเซจงมหาราช (ค.ศ.1397)
- อี จง, เจ้าชายซองนยอง (ค.ศ.1405-1418)
- อี ยัง, เจ้าชายอันพยอง - พระโอรสบุญธรรม
- อี ยง, เจ้าชายวอนชอน - พระโอรสบุญธรรม
- เจ้าหญิงจองซุน
- เจ้าหญิงคยองจอง (경정공주, ค.ศ.1387 - ค.ศ.1455)
- เจ้าหญิงคยองอัน (경안공주, ค.ศ.1393 - ค.ศ.1415)
- เจ้าหญิงจองซอน (정선공주, ค.ศ.1404 - 25 มกราคม ค.ศ.1424)
- เจ้าชายไม่ทราบพระนาม (ค.ศ.1412)
- พระสนมเอกฮโยบิน ตระกูลคิม แห่งชองพุง (孝嬪 金氏)
- อี บี, เจ้าชายคยองนยอง (이비, 경녕군, ค.ศ.1395 - ค.ศ.1458)
- พระสนมเอกชินบิน ตระกูลชิน แห่งยองวอล (신빈 신씨 ,信嬪 辛氏, ? - ค.ศ.1435)
- อี อิน, เจ้าชายฮัมนยอง (이인 함녕군, 1402–1467)
- อี จอง, เจ้าชายอนนยอง (이정 온녕군, 1407–1453)
- เจ้าหญิงจองชิน (정신옹주)
- เจ้าหญิงจองจอง (정정옹주)
- เจ้าหญิงซุกจอง (숙정옹주)
- เจ้าหญิงซุกนยอง (숙녕옹주)
- เจ้าหญิงซุกคยอง (숙경옹주)
- เจ้าหญิงซุกกึน (숙근옹주, ? - ค.ศ.1450)
- เจ้าหญิงโซชิน (소신옹주)
- พระสนมเอกซอนบิน ตระกูลอัน (선빈 안씨, 善嬪 安氏 ? - ค.ศ.1468)
- อี จี, เจ้าชายอิกนยอง (이치 익녕군, ค.ศ.1422 - ค.ศ.1464)
- เจ้าหญิงโซซุก (소숙옹주, ? - ค.ศ.1456)
- เจ้าหญิงคยองชิน (경신옹주, ไม่รู้วันที่)
- เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม
- พระสนมเอกอึยบิน ตระกูลควอน แห่งอันดง (의빈 권씨, 懿嬪 權氏)
- เจ้าหญิงจองฮเย (정혜옹주, ? - ค.ศ.1424)
- พระสนมเอกโซบิน ตระกูลโน (소빈 노씨, 昭嬪盧氏, ? - ค.ศ.1479)
- เจ้าหญิงซุกฮเย (숙혜옹주, ? - ค.ศ.1464)
- พระสนมเอกมยองบิน ตระกูลคิม แห่งอันดง (명빈 김씨, 明嬪金氏)
- เจ้าหญิงซุกอัน (숙안옹주, ? - ค.ศ.1464)
- พระสนมซุกอึย ตระกูลแช (숙의 최씨, 淑儀 崔氏)
- อี ทะ, เจ้าชายฮวีรยอง (이타 희령군, ? - ค.ศ.1465)
- เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม
- เจ้าหญิงท็อกซุก ตระกูลลี (덕순옹주 이씨 ,德淑翁主 李氏)
- อี กัน, เจ้าชายฮูรยอง (이간 후령군, ? - ค.ศ.1465)
- องค์หญิงซุกซุน (숙순옹주)
- พระสนามเอกอัน ตระกูลอัน (안씨)
- อี จี, เจ้าชายฮยอรยอง (이지 혜령군, ค.ศ.1407 - ค.ศ.1440)
- พระนางซุกกง ตระกูลคิม (숙공궁주 김씨 , ? - ค.ศ.1421)
- พระนางอึยจอง ตระกูลโจ (의정궁주 조씨 , ? - ค.ศ.1454)
- พระนางฮเยซุน ตระกูลลี (혜순궁주 이씨 , ? - ค.ศ.1438)
- พระนางชินซุน ตระกูลลี (신순궁주 이씨)
- เจ้าหญิงฮเยซอน ตระกูลฮง (혜선옹주 홍씨)
- เจ้าหญิงซุนฮเย ตระกูลจาง (순혜옹주 장씨)
- กึมยอง, เจ้าหญิงซอคยอง ไม่ทราบตระกูล (금영 서경옹주)
- พระสนม ตระกูลโก (정빈 고씨 后宮 高氏 , ? - ค.ศ.1426)
- อี นง, เจ้าชายกึนนยอง (이농 근녕군, ค.ศ.1411 - ค.ศ.1462)
พระปรมาภิไธย
แก้- พระเจ้าแทจง คงจอง ซองด็อก ซินคง คอนชอน เชกุก แทจอง คเยอู มุนมู เยชอล ซองนยอล ควางฮโย
- King Taejong Gongjeong Seongdeok Sin-gong Geoncheon Chegeuk Daejeong Gye-u Munmu Yecheol Seongnyeol Gwanghyo the Great
- 태종공정성덕신공건천체극대정계우문무예철성렬광효대왕
- 太宗恭定聖德神功建天體極大正啓佑文武叡哲成烈光孝大王
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าแทจง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ "탐라 성주시대 413년 ~ 탐라 성주시대 464년". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-11-08.
- ↑ 최양진 (2008-07-04). "한비자의 냉정한 정치로 승부수 띄운 '태종'". 한국경제. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.
- ↑ Grayson, James Huntley (2002). Korea: A Religious History. United Kingdom: Routledge. ISBN 0-7007-1605-X. (p108)
- ↑ 편집부 (1963-01-18). "창경궁(昌慶宮), 문화재정보". 위키트리IT/과학. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-19. สืบค้นเมื่อ 2012-02-10.
ก่อนหน้า | พระเจ้าแทจง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าช็องจง | กษัตริย์แห่งโชซ็อน (พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 1961) |
พระเจ้าเซจง |