พระเจ้าช็องโจแห่งโชซ็อน

พระเจ้าช็องโจ (정조; 28 ตุลาคม ค.ศ. 1752 – 18 สิงหาคม ค.ศ. 1800) บางครั้งออกพระนามว่า ช็องโจมหาราช (เกาหลี정조대왕; ฮันจา正祖大王) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 22 แห่งราชวงศ์โชซ็อน ตั้งแต่ ค.ศ. 1775 ถึง ค.ศ. 1776 พระองค์ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของพระอัยกา (ปู่) ของพระองค์คือพระเจ้าย็องโจและครองราชย์เป็นกษัตริย์ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1776 ถึง 18 สิงหาคม ค.ศ. 1800

พระเจ้าช็องโจ
朝鮮正祖
조선 정조
พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน
ครองราชย์27 เมษายน ค.ศ. 1776 – 18 สิงหาคม ค.ศ. 1800
รัชสมัย24 ปี 113 วัน
ราชาภิเษก27 เมษายน ค.ศ. 1776
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าย็องโจ
รัชกาลถัดไปพระเจ้าซุนโจ
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ระหว่างค.ศ. 1775 – 27 เมษายน ค.ศ. 1776
กษัตริย์พระเจ้าย็องโจ
พระราชนัดดารัชทายาทแห่งโชซ็อน
สถาปนา12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1759 – 27 เมษายน ค.ศ. 1776
ก่อนหน้าองค์ชายรัชทายาทอึยโซ
ถัดไปองค์ชายอีฮวาน
กษัตริย์พระเจ้าย็องโจ
พระราชสมภพ28 ตุลาคม ค.ศ. 1752(1752-10-28)
พระราชวังชังกย็อง อาณาจักรโชซ็อน
อี ซัน (이산, 李祘)
สวรรคต18 สิงหาคม ค.ศ. 1800(1800-08-18) (47 ปี)
พระราชวังชังกย็อง อาณาจักรโชซ็อน
ฝังพระศพสุสานหลวงก็อนลึง เมืองฮวาซ็อง จังหวัดคย็องกี
พระมเหสีพระนางฮโยอึย
พระสนม
พระราชบุตร
พระสมัญญานาม
  • โชซ็อน: King Munseong Muyeol Seongin Janghyo the Great
    • 문성무열성인장효대왕
    • 文成武烈聖仁莊孝大王
  • จักรวรรดิเกาหลี: Emperor Gyeongcheon Myeongdo Hongdeok Hyeonmo Munseong Muyeol Seongin Janghyo Seon[1]
    • 경천명도홍덕현모문성무열성인장효선황제
    • 敬天明道洪德顯謨文成武烈聖仁莊孝宣皇帝
วัดประจำรัชกาล
  • พระเจ้าช็องจง (정종, 正宗) (1800)
  • พระเจ้าช็องโจ (정조, 正祖) (1899)
ราชวงศ์โชซ็อน
ราชสกุลอี
พระราชบิดาเจ้าชายรัชทายาทซาโด
พระราชมารดาพระนางฮเยกย็อง
ศาสนาลัทธิขงจื๊อ (ลัทธิขงจื๊อใหม่)
ลายพระอภิไธย
ช่วงเวลา
เหตุการณ์สำคัญ
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
, later
ฮันจา
, later
อาร์อาร์Jeongjong, later Jeongjo
เอ็มอาร์Chŏngjong, later Chŏngjo
ชื่อเกิด
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์I San / I Seong
เอ็มอาร์Yi San / Yi Sŏng
ชื่อสุภาพ
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Hyeongun
เอ็มอาร์Hyŏngun
นามปากกา
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Hongjae
เอ็มอาร์Hongchae
พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อน
พระเจ้าแทโจ
พระเจ้าจองจง
พระเจ้าแทจง
พระเจ้าเซจงมหาราช
พระเจ้ามุนจง
พระเจ้าทันจง
พระเจ้าเซโจ
พระเจ้าเยจง
พระเจ้าซองจง
องค์ชายยอนซัน
พระเจ้าจุงจง
พระเจ้าอินจง
พระเจ้ามยองจง
พระเจ้าซอนโจ
องค์ชายควังแฮ
พระเจ้าอินโจ
พระเจ้าฮโยจง
พระเจ้าฮยอนจง
พระเจ้าซุกจง
พระเจ้าคยองจง
พระเจ้ายองโจ
พระเจ้าจองโจ
พระเจ้าซุนโจ
พระเจ้าฮอนจง
พระเจ้าชอลจง
จักรพรรดิโคจง
จักรพรรดิซุนจง

ต้นพระชนม์

แก้

พระองค์เป็นพระโอรสของเจ้าชายรัชทายาทซาโด (사도) กับพระนางฮเยกย็อง (헌경) มีพระนามแรกประสูติว่า อี ซัน (이산)

ใน ค.ศ. 1762 มกุฎราชกุมารซาโด พระบิดา ถูกประหารชีวิตด้วยข้อหาต่าง ๆ ส่วนพระนางฮเยกย็อง พระมารดา ถูกจองจำไว้ ณ พระราชวังชังกย็อง จึงเขียนอัตชีวประวัติเรียก ฮันจุงนก (한중록) พรรณนาพระชนมชีพระหว่างจองจำ

ตำแหน่งพระรัชทายาทนั้น อี ซัน ได้สืบทอด ระหว่างอยู่ในตำแหน่ง ได้พบฮง กุก-ย็อง (홍국영) ข้าราชการผู้ซึ่งต่อมาสนับสนุนให้พระองค์ขึ้นครองราชย์ และตรากตรำทำงานเพื่อเพิ่มพูนพระบารมี แต่ภายหลังถูกเนรเทศด้วยข้อกล่าวหาว่า กระหายอำนาจ[2]

เสวยราชย์

แก้

พระราชนัดดารัชทายาทอี ซัน ขึ้นสู่ราชบัลลังก์โชซ็อนเมื่อ ค.ศ. 1776 เมื่อพระเจ้าย็องโจ พระอัยกาเสด็จสวรรคต ในวันราชาภิเษกนั้น อี ซัน ทรงประกาศว่า เป็นราชโอรสของมกุฎราชกุมารซาโดผู้ล่วงลับ ทำให้เหล่าผู้สมรู้ในการวางแผนให้องค์ชายซาโดถึงจุดจบเกิดประหวั่นพรั่นพรึง

หลังขึ้นครองราชย์ อี ซัน ใช้พระนามว่า ช็องโจ (이산) มีพระบรมราชโองการให้ตั้งพระราชมารดาขึ้นเป็นพระพันปี และพยายามลบล้างมลทินของพระบิดามาเสมอ พระองค์ให้ย้ายราชสำนักไปยังเมืองซูว็อน (수원) เพื่อให้ใกล้พระราชสุสานพระราชบิดา ทั้งยังให้สร้างป้อมฮวาซ็อง (화성) เพื่อคุ้มกันสุสานนั้น ปัจจุบัน ป้อมดังกล่าวเป็นมรดกโลกของยูเนสโก

รัชกาลของพระเจ้าช็องโจนั้นสับสนอลหม่านเพราะปัญหาการเมือง แต่พระองค์ก็ผ่านพ้นมาได้ด้วยความช่วยเหลือของฮง กุก-ย็อง[2]

ปฏิรูปประเทศ

แก้

พระเจ้าช็องโจทรงปรับปรุงบ้านเมืองในหลาย ๆ ด้าน แม้แรกเริ่มจะเป็นไปได้ยาก เพราะนโยบายแท-พย็อง (탕평; "สุขสวัสดิ์) ที่ดำเนินสืบเนื่องมาแต่รัชกาลพระอัยกา พระองค์จึงพยายามรวบอำนาจการเมืองไว้เพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นผล

การปฏิรูปสำคัญประการหนึ่งที่จัดการในรัชสมัยพระเจ้าช็องโจ คือ การจัดตั้งหอสมุดคยูจังกัก (규장각) เพื่อปรับปรุงจุดยืนของราชวงศ์ในด้านวัฒนธรรมและการเมือง กับทั้งเพื่อแสวงหาราชเสวกที่ทรงภูมิมาช่วยขับเคลื่อนประเทศ นักปฏิรูปหลายคนที่ถูกเว้นวรรคทางการเมืองก็ได้รับโอกาสให้เข้าพัฒนาประเทศในช่วงนี้

พระองค์ได้รับความสนับสนุนจากซิลฮัก (실학) กลุ่มลัทธิขงจื๊อที่มีสมาชิกเป็นบัณฑิตเลื่องชื่ออย่างช็อง ยัก-ยง (정약용), ยู ทึก-กง (유득공), พัก จี-ว็อน (박지원), และ พัก เจ-กา (박제가) ฉะนั้น รัชกาลของพระองค์จึงมีการเติบโตและพัฒนาด้านวัฒนธรรมสมัยนิยม

สวรรคต

แก้

ใน ค.ศ. 1800 พระเจ้าช็องโจเสด็จสวรรคตโดยไม่ทราบสาเหตุ พระบรมศพฝังไว้กับพระบรมศพพระมเหสีฮโยอึย (효의) ที่สุสานหลวงก็อนลึง (건릉) เมืองฮวาซ็อง พระเจ้าซุนโจ พระโอรส เสวยราชย์สืบต่อมา[3]

พระบรมวงศานุวงศ์

แก้
  • พระราชบิดา: เจ้าชายรัชทายาทซาโด (사도세자, 1735–1762) ภายหลังได้รับการเฉลิมพระยศขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าชังโจ
  • พระราชมารดา: พระนางฮเยกย็อง ตระกูลฮง แห่งพุงซัน (헌경왕후 홍씨, 1735–1815) 惠慶宮 孝康慈禧贞宣徽穆献敬惠嫔 洪氏
  • พระมเหสี: พระนางฮโยอึย ตระกูลคิม แห่งช็องพุง (효의왕후 김씨, 1753–1821) 孝懿王后 金氏
  • พระสนม
    • พระสนมเอกอึยบิน ตระกูลซ็อง แห่งชังนย็อง (의빈 성씨, 1753–1786) 宜嬪 成氏
    • พระสนมเอกว็อนบิน ตระกูลฮง แห่งพงซัน (원빈 홍씨, 1766–1779) 元嬪 洪氏
    • พระสนมเอกฮวาบิน ตระกูลยุน แห่งนัมว็อน (화빈 윤씨, 1765–1824) 和嬪 尹氏
    • พระสนมเอกซูบิน ตระกูลปาร์ค แห่งบันนัม, ภายหลังแต่งตั้งเป็น กาซุนกุง ฮยอนมกซูบี (ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชชนนีที่ไม่เคยเป็นพระเหสีมาก่อน)(현목수비 박씨, 1770–1822) 嘉順宮 顯穆綏嬪 朴氏
  • พระโอรส
  • พระธิดา
    • เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (1784 - 1784) พระราชธิดาของพระสนมอึยบิน ตระกูลซ็อง แห่งชังนย็อง
    • เจ้าหญิงซุกซ็อน (숙선옹주, 1793 - 1836) พระราชธิดาของพระสนมซูบิน ตระกูลพัก แห่งบันนัม

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. After the declaration of the Korean Empire, his honorary title, Gyeongcheon Myeongdo Hongdeok Hyeonmo (경천명도홍덕현모, 敬天明道洪德顯謨), was added to his title.
  2. 2.0 2.1 Digital Korean studies (Korean site) http://www.koreandb.net/koreanking/html/person/pki60022.htm เก็บถาวร 23 มกราคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "National Heritage – Hwaseong". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-30. สืบค้นเมื่อ 2016-11-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า พระเจ้าช็องโจแห่งโชซ็อน ถัดไป
พระเจ้าย็องโจ    
กษัตริย์แห่งโชซ็อน
(ค.ศ. 1776–1800)
  พระเจ้าซุนโจ