ประเทศไทยใน พ.ศ. 2535
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 211 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 47 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
ผู้นำ
แก้- พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- สยามมกุฎราชกุมาร: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร)
- นายกรัฐมนตรี:
- อานันท์ ปันยารชุน (รัฐประหาร) (จนถึง 7 เมษายน)
- สุจินดา คราประยูร (อิสระ) (7 เมษายน – 24 พฤษภาคม)
- มีชัย ฤชุพันธุ์ (อิสระ, รักษาการ) (24 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน)
- อานันท์ ปันยารชุน (อิสระ) (10 มิถุนายน – 23 กันยายน)
- ชวน หลีกภัย (ประชาธิปัตย์) (ตั้งแต่ 23 กันยายน)
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง: คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ถึง 21 เมษายน)
- หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ: สุนทร คงสมพงษ์ (จนถึง 7 เมษายน)
- รัฐสภา: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ถึง 21 มีนาคม)
- ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ: อุกฤษ มงคลนาวิน (แต่งตั้ง) (จนถึง 21 มีนาคม)
- สภาผู้แทนราษฎร:
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- อาทิตย์ อุไรรัตน์ (สามัคคีธรรม) (3 เมษายน – 30 มิถุนายน)
- มารุต บุนนาค (ประชาธิปัตย์) (ตั้งแต่ 22 กันยายน)
- วุฒิสภา: ชุดที่ 6 (เริ่ม 22 มีนาคม)
- ประธานวุฒิสภา:
- อุกฤษ มงคลนาวิน (แต่งตั้ง) (3 เมษายน – 25 พฤษภาคม)
- มีชัย ฤชุพันธุ์ (แต่งตั้ง) (ตั้งแต่ 28 มิถุนายน)
- ประธานศาลฎีกา:
- สวัสดิ์ โชติพานิช (จนถึง 30 กันยายน)
- ประมาณ ชันซื่อ (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม
- วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ครบ 100 ปี
- ประเทศไทยเริ่มใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
- 25 มกราคม – ภาพยนตร์เรื่องเวลาในขวดแก้วได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในงานประกาศรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 1
มีนาคม
แก้- 8 มีนาคม – เรือโดยสารระหว่างศรีราชา-เกาะสีชัง ชนกับเรือบรรทุกน้ำมันนอกชายฝั่ง มีผู้เสียชีวิตจำนวน 119 ราย[1]
- 15 มีนาคม – ก่อตั้งกรมคุมประพฤติ[2]
- 22 มีนาคม – มีการเลือกตั้งทั่วประเทศไทย ผลการเลือกตั้ง พรรคสามัคคีธรรมของ นายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้คะแนนมาเป็นลำดับหนึ่ง
เมษายน
แก้- 4 เมษายน – ก่อตั้งกรมควบคุมมลพิษ[3] และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม[4] [5]
- 8 เมษายน – ก่อตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์[6]
- 10 เมษายน – ก่อตั้งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข[7]
- 19 เมษายน – การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยาเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง
พฤษภาคม
แก้- 3 พฤษภาคม – ก่อตั้งกรมทรัพย์สินทางปัญญา[8]
- 16 พฤษภาคม – ก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- 17 พฤษภาคม – ทหารและประชาชนผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย เริ่มปะทะกันอย่างรุนแรงบริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเข้าสู่วันที่ 18 พฤษภาคม
- 20 พฤษภาคม – พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าฯ รับพระราชดำรัส ซึ่งนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งของพลเอกสุจินดา
- 24 พฤษภาคม – พลเอกสุจินดา คราประยูร ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากเกิดการเคลื่อนไหว เรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
มิถุนายน
แก้- 26 มิถุนายน – อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดอย่างเป็นทางการ[9]
กรกฎาคม
แก้- 12 - 18 กรกฎาคม – กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 "ดอกคูนเกมส์" ณ จังหวัดขอนแก่น
- 25 กรกฎาคม – ประชาชนจำนวนมากเข้าร่วมงานพิธีพระราชทานเพลิงศพพุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดัง ณ วัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรี[10] [11]
สิงหาคม
แก้- 5 สิงหาคม – ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เปิดทำการบิน
- 12 สิงหาคม – พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม 2535[12]
- 21 สิงหาคม – ก่อตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร (ต่อมาเปลี่ยนเป็นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย)[13]
- 1 กันยายน – คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญของชาติ เรียกว่า "วันที่ระลึกมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"[14]
- 13 กันยายน – มีการเลือกตั้งทั่วประเทศไทย ผลการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนมาเป็นลำดับหนึ่ง
- 23 กันยายน – นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก[15]
ตุลาคม
แก้- 27 ตุลาคม – พายุโซนร้อนแองเจล่าเคลื่อนตัวเข้าสู่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสร้างความเสียหายในเขตภาคใต้ตอนกลาง มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย[16]
ธันวาคม
แก้วันเกิด
แก้มกราคม
แก้- 2 มกราคม – เปาวลี พรพิมล นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 11 มกราคม – เวียง นฤมล นักร้องลูกทุ่ง
- 18 มกราคม – มารีญา พูลเลิศลาภ นางงามและนางแบบชาวไทย
- 22 มกราคม – คิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัส นักแสดงชาวไทย
- 25 มกราคม – วัทธิกร เพิ่มทรัพย์หิรัญ นักแสดงชาวไทย
กุมภาพันธ์
แก้- 6 กุมภาพันธ์ – เวฬุรีย์ ดิษยบุตร นักแสดงและพิธีกรชาวไทย
- 8 กุมภาพันธ์
- วราภัทร์ เพชรสถิตย์ นักแสดงชาวไทย
- ศิลา ชวกิจกาญจน์ นักดนตรี นักร้องชาวไทย
- 12 กุมภาพันธ์ – เกวลิน ศรีวรรณา นักแสดงชาวไทย
- 25 กุมภาพันธ์ – พงศกร เมตตาริกานนท์ นักแสดงชาวไทย
- 28 กุมภาพันธ์
- ลัลณ์ลลิน เตจะสา เวศซ์ นักแสดงชาวไทย
- ศรศิลป์ มณีวรรณ์ นักแสดงชาวไทย
มีนาคม
แก้- 15 มีนาคม – ภูศิลป์ วารินรักษ์ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 20 มีนาคม – จิณภัค เปียกลิ่น นักร้องชาวไทย
- 22 มีนาคม – ชัชชวิศ เตชะรักษ์พงศ์ นักแสดงชาวไทย
- 30 มีนาคม – ธนทัต ชัยอรรถ นักร้องและนักแสดงชาวไทย
เมษายน
แก้- 13 เมษายน – ปรัชญ์ รัตตัญญู นักร้องชาวไทย
พฤษภาคม
แก้- 2 พฤษภาคม – มารี เบรินเนอร์ นักแสดงหญิงชาวไทย
- 8 พฤษภาคม
- หนึ่งธิดา โสภณ นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- กัญญาพัชญ์ ธนันต์ชัยกานต์ นักแสดง และผู้ประกาศแจ้งรายการชาวไทย
- 17 พฤษภาคม
- รุ่งรัฐ ภูมิจันทึก นักฟุตบอลชาวไทย
- ฮาน่า ลีวิส นักแสดงชาวไทย
- 30 พฤษภาคม – สารัช อยู่เย็น นักฟุตบอลชาวไทย
- 31 พฤษภาคม – รังสิมันต์ โรม นักกิจกรรมและนักการเมืองชาวไทย
มิถุนายน
แก้- 3 มิถุนายน – สหรัฐต์ หิรัญญ์ธนภูวดล นักร้องชาวไทย
- 9 มิถุนายน – จุฑาภัทร เหล่าธรรมทัศน์ นักร้องชาวไทย
- 10 มิถุนายน – ฌอร์ลชัญ วรรณปกาสิต นักแสดงและนางงามชาวไทย
- 11 มิถุนายน – ชลวิทย์ มีทองคำ นักแสดงชาวไทย
- 17 มิถุนายน – วรางคนาง วุฑฒยากร นักแสดง นางแบบ และนางงามชาวไทย
- 18 มิถุนายน – ผุสชา โชติวิจิตร นักร้องชาวไทย
- 22 มิถุนายน – จริญญา ศิริมงคลสกุล นักร้องและนักแสดงชาวไทย
กรกฎาคม
แก้- 4 กรกฎาคม – ภิญโญ อินพินิจ นักฟุตบอลชาวไทย
- 19 กรกฎาคม – มณีรัตน์ ศรีจรูญ นักแสดงชาวไทย
สิงหาคม
แก้- 3 สิงหาคม
- ทฤฒมน ธวัลกรภคณัช นักแสดงชาวไทย
- มชณต สุวรรณมาศ นักแสดงและนางแบบชาวไทย
- 13 สิงหาคม – อัครพรรฒ บุนนาค นักแสดงชาวไทย
- 20 สิงหาคม
- กุลมาศ ลิมปวุฒิวรานนท์ นักร้อง นักแสดงชาวไทย
- จิรายุทธ ผโลประการ นักร้องชาวไทย
- 23 สิงหาคม – ณัฐรินทร์ สุวรรณเลิศ นักแสดงชาวไทย
กันยายน
แก้- 5 กันยายน – ศรันยกันต์ เกษมธนพัฒน์ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 8 กันยายน – ธัชพล กู้วงศ์บัณฑิต นักแสดงชาวไทย
- 16 กันยายน – ณัฐชา นวลแจ่ม นักร้อง นักแสดงชาวไทย
- 18 กันยายน – สาธิดา ปิ่นสินชัย นักแสดง พิธีกร ดีเจ โปรโมเตอร์มวย นักร้องชาวไทย
- 24 กันยายน – ณัฐพงษ์ เกษอินทร์ นักกีฬาว่ายน้ำชาวไทย
ตุลาคม
แก้- 8 ตุลาคม – ภากร ธนศรีวนิชชัย นักแสดงชาวไทย
- 10 ตุลาคม – พิมประภา ตั้งประภาพร นักแสดงชาวไทย
- 15 ตุลาคม – เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชค นักแสดงชาวไทย
- 31 ตุลาคม – เบียร์ พร้อมพงษ์ นักร้องชาวไทย
พฤศจิกายน
แก้- 10 พฤศจิกายน – ปาณิสรา ปริญญารักษ์ นักแสดงชาวไทย
- 15 พฤศจิกายน – อาทิตย์ ดาวสว่าง นักฟุตบอลชาวไทย
- 18 พฤศจิกายน – รัญดภา มันตะลัมพะ นักแสดงชาวไทย
- 24 พฤศจิกายน - วิชชาธร กิมขาว นักร้องชาวไทย
- 28 พฤศจิกายน - มิกค์ ทองระย้า นักแสดงชาวไทย
ธันวาคม
แก้- 5 ธันวาคม – ฉัตรดาว สิทธิผล นักแสดงชาวไทย
- 13 ธันวาคม – พิชชาภา พันธุมจินดา นักแสดง และนางแบบชาวไทย
- 14 ธันวาคม – ณัฐกฤต เกษตรภิบาล นักแสดงชาวไทย
- 30 ธันวาคม – วรัทยา ว่องชยาภรณ์ นักแสดง และนางงามชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม – ไถง สุวรรณทัต นักการเมืองชาวไทย (เกิด 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2449)
- 16 มกราคม – พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461)
- 28 มกราคม – ธวัชชัย นามวงศ์พรหม นักการเมืองชาวไทย (เกิด 9 ตุลาคม พ.ศ. 2457)
กุมภาพันธ์
แก้- 9 กุมภาพันธ์ – บุญส่ง เลขะกุล นักอนุรักษ์ธรรมชาติชาวไทย (เกิด 15 ธันวาคม พ.ศ. 2450)
- 19 กุมภาพันธ์ – นิคม แสนเจริญ นักการเมืองชาวไทย (เกิด 7 ตุลาคม พ.ศ. 2485)
- 26 กุมภาพันธ์ – ฮันนี่ ศรีอีสาน นักร้องหมอลำชาวไทย (เกิด 22 ตุลาคม พ.ศ. 2514)
มีนาคม
แก้- 21 มีนาคม – ประจวบ สุนทรางกูร อธิบดีกรมตำรวจคนที่ 19 ของไทย (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2463)
- 27 มีนาคม – ไชยลังกา เครือเสน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) พ.ศ. 2530 (เกิด 15 ธันวาคม พ.ศ. 2447)
พฤษภาคม
แก้- 21 พฤษภาคม – ประเสริฐ บุญสม นักการเมืองชาวไทย (เกิด 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2458)
- 27 พฤษภาคม – ไกรศรี นิมมานเหมินท์ นักประวัติศาสตร์ชาวไทย (เกิด 24 ธันวาคม พ.ศ. 2455)
มิถุนายน
แก้- 13 มิถุนายน – พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องเพลงลูกทุ่งชาวไทย (เกิด 4 สิงหาคม พ.ศ. 2504)
- 15 มิถุนายน – หลวงเสนียุทธกาจ (หม่อมหลวงจวง เสนีวงศ์) ข้าราชการชาวไทย (เกิด 26 เมษายน พ.ศ. 2437)
- 28 มิถุนายน – ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย นักร้องลูกทุ่งชายชาวไทย (เกิด 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
กรกฎาคม
แก้- 10 กรกฎาคม – สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ นักธุรกิจชาวไทย (เกิด 12 ธันวาคม พ.ศ. 2468)
- 12 กรกฎาคม – พร้อมสิน สีบุญเรือง นักแสดงและนักพากษ์ชาวไทย (เกิด 30 เมษายน พ.ศ. 2465)
- 18 กรกฎาคม – บัญชา ล่ำซำ นักธุรกิจชาวไทย (เกิด 12 มกราคม พ.ศ. 2468)
สิงหาคม
แก้- 14 สิงหาคม – พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452)
- 19 สิงหาคม – กำธร พันธุลาภ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454)
กันยายน
แก้- 27 กันยายน – สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต นักแสดงชาวไทย (เกิด 19 ตุลาคม พ.ศ. 2463)
ตุลาคม
แก้- 13 ตุลาคม – พึ่ง ศรีจันทร์ นักการเมืองชาวไทย (เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2440)
- 18 ตุลาคม – ไสว วงษ์งาม ศิลปินพื้นบ้านชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2465)
- 30 ตุลาคม – พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2459)
พฤศจิกายน
แก้- 21 พฤศจิกายน – พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) พระสงฆ์ชาวไทย ราชบัณฑิต สาขาวรรณศิลป์ (เกิด 23 มีนาคม พ.ศ. 2444)
ธันวาคม
แก้- 3 ธันวาคม – ประยูร จรรยาวงษ์ นักเขียนการ์ตูนชาวไทย ผู้ได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาสาขาวารสารศาสตร์ วรรณกรรม และศิลปะการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ พ.ศ. 2514 (เกิด 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458)
- 4 ธันวาคม – ชูศรี มีสมมนต์ นักแสดงตลกชาวไทย (เกิด 26 มกราคม พ.ศ. 2472)
- 10 ธันวาคม – พานิช สัมภวคุปต์ นักการเมืองชาวไทย (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2458)
- 17 ธันวาคม – พระพุทธวรญาณ (ทองย้อย กิตฺติทินฺโน) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2448)
- 22 ธันวาคม – มาลี เวชประเสริฐ นักแสดงชาวไทย (เกิด 22 มกราคม พ.ศ. 2453)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ข่าวดังข้ามเวลา : สีชัง…นาวาวิโยค". youtube.com. สำนักข่าวไทย. 2016-11-14. สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.
- ↑ "ความเป็นมา (กรมคุมประพฤติ)". probation.go.th. กรมคุมประพฤติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-30. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "เกี่ยวกับ คพ". pcd.go.th. กรมควบคุมมลพิษ. 2022-06-01. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.
- ↑ "เกี่ยวกับกรม (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม)". deqp.go.th. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-04. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๕ [ยุบสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และจัดตั้ง กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ขึ้นแทน เปลี่ยนชื่อ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน เป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม]" (PDF). ratchakitcha.soc.go.th. ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.
- ↑ "8 เมษายน วันสถาปนาองค์การสวนพฤกษศาสตร์". mnre.go.th. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2022-04-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-30. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.
- ↑ "พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕" (PDF). ratchakitcha.soc.go.th. ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 2022-08-06.
- ↑ "ประวัติกรมทรัพย์สินทางปัญญา". ipthailand.go.th. กรมทรัพย์สินทางปัญญา. สืบค้นเมื่อ 2023-05-31.
- ↑ "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท". finearts.go.th. กรมศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 2022-08-06.
- ↑ "28 ปีที่จากไป พุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีแห่งวงการเพลงลูกทุ่งไทย". springnews.co.th. สปริงนิวส์. 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
- ↑ "งานพระราชทานเพลิงศพ พุ่มพวง ดวงจันทร์ 25 กรกฎาคม 2535 วัดทับกระดาน". youtube.com. 2022-06-08. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
- ↑ "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม 2535". youtube.com. 2021-08-15. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
- ↑ "ประวัติความเป็นมาและการจัดตั้ง รฟม". mrta.co.th. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-30. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "31 มีนาคมของทุกปี เป็นวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า". khohongcity.go.th. เทศบาลเมืองคอหงส์. สืบค้นเมื่อ 2022-08-06.
- ↑ "ทำเนียบนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย)". thaigov.go.th. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.
- ↑ กองบรรณาธิการมติชน. "พายุ "แองเจล่า" ถล่มภาคใต้". 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน, หน้า 202
- ↑ "อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว". thai.tourismthailand.org. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-08-06.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "อุทยานแห่งชาติหาดวนกร". thai.tourismthailand.org. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-08-06.
- ↑ "รายชื่ออุทยานแห่งชาติและวนอุทยาน". สำนักอุทยานแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 2022-08-06.