พระพุทธวรญาณ (ทองย้อย กิตฺติทินฺโน)
พระพุทธวรญาณ นามเดิม ทองย้อย บัวอ่อน ฉายา กิตฺติทินฺโน เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายมหานิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ เช่น เจ้าอาวาสวัดกวิศรารามราชวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี และเจ้าคณะตรวจการภาค 6 ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ จังหวัดลพบุรี
พระพุทธวรญาณ (ทองย้อย กิตฺติทินฺโน) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | พระเดชพระคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2448 ตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี (87 ปี 350 วัน ปี) |
มรณภาพ | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2535 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | เปรียญธรรม 8 ประโยค นักธรรมชั้นเอก |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดกวิศรารามราชวรวิหาร จังหวัดลพบุรี |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดกวิศรารามราชวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี เจ้าคณะตรวจการภาค 6 |
ประวัติ
แก้พระพุทธวรญาณ มีนามเดิมว่า ทองย้อย บัวอ่อน (หลังจากเป็นพระราชาคณะแล้ว ได้เปลี่ยนนามเดิมเป็น กิตติ ตามนโยบายรัฐนิยม)[1] เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2448 เวลา 04.30 น. เป็นบุตรนายทิพย์-นางขาว บัวอ่อน ได้เรียนอักขรวิธีกับบิดาจนอ่านออกเขียนได้ จึงเรียนภาษาบาลีอับพระอาจารย์แถม วัดบัว ถึงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2459 จึงย้ายไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร[2]
เมื่ออายุ 16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร สอบเปรียญธรรม 3 ประโยคได้ในปี พ.ศ. 2465 แล้วอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่ออายุครบ 20 ปี พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เฮง เขมจารี) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณสมโพธิ (สวัสดิ์ กิตฺติสาโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระศรีสมโพธิ (ช้อย ฐานทตฺโต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แล้วศึกษาพระปริยัติธรรมต่อจนสอบได้ตามลำดับดังนี้
- พ.ศ. 2468 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค
- พ.ศ. 2469 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
- พ.ศ. 2471 สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
- พ.ศ. 2472 สอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 7 ประโยค
- พ.ศ. 2473 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค
จากนั้นสมเด็จพระอุปัชฌาย์ได้มอบหมายให้ท่านกลับไปปฏิบัติศาสนกิจที่จังหวัดลพบุรี
ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดกวิศรารามราชวรวิหาร ผู้เป็นกำลังยิ่งใหญ่ในงานทางพระพุทธศาสนา และกิจการของคณะสงฆ์รวมทั้งงานการศึกษาและการสาธารณสุขของสังคม สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาครุศาสตร์) เมื่อปี พ.ศ. 2526
ลำดับสมณศักดิ์
แก้- พ.ศ. 2481 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระกิตติญาณมุนี[3]
- พ.ศ. 2492 เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2498 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2502 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมญาณมุนี ศรีวิสุทธิดิลก ตรีปิฎกคุณาภรณ์ กถิกสุนทรธรรมบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี[4]
- พ.ศ. 2532 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพุทธวรญาณ ไพศาลสุทธิธรรมวรนายก ธรรมสาธกสัทธาปสาทกร บวรสีลาจารวินิฐ ตรีปิฎกวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ เครื่อข่ายกาญจนาภิเษก, ผู้นำทางศาสนา: พระพุทธวรญาณ (กิตฺติ กิตฺติทินฺโน) เก็บถาวร 2016-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ. ๑๐๐ คำสอนหลวงพ่อของเรา พระพุทธวรญาณ (กิตติทินนมหาเถระ). นนทบุรี : อัพทรูยู ครีเอทนิว, 2558. 163 หน้า. หน้า 3-13. ISBN 978-616-92061-3-2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 55, ตอนที่ 0 ง, 13 มีนาคม 2481, หน้า 4164
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 76, ตอนที่ 115 ฉบับพิเศษ, 16 ธันวาคม 2502, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 107, ตอนที่ 138 ฉบับพิเศษ, 6 สิงหาคม 2533, หน้า 10-11