พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต)

พระพิมลธรรม นามเดิม ช้อย ฝอยทอง ฉายา ฐานทตฺโต เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายมหานิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ เช่น เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์ เจ้าคณะตรวจการภาค 1 สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การสาธารณูปการ และสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง

พระพิมลธรรม

(ช้อย ฐานทตฺโต)
ส่วนบุคคล
เกิด11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 (56 ปี 65 วัน ปี)
มรณภาพ15 มกราคม พ.ศ. 2491
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 6 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
บรรพชาพ.ศ. 2447
อุปสมบทพ.ศ. 2454
ตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง

ประวัติ แก้

พระพิมลธรรม มีนามเดิม ช้อย ฝอยทอง เกิดเมื่อวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12 ปีเถาะ ตรงกับวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 เวลา 7.05 น. เป็นบุตรนายบุญธรรมกับนางพวง ฝอยทอง ภูมิลำเนาอยู่บ้านใหม่หางกระเบน หมู่ 5 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่ออายุได้ 9 ขวบ ท่านได้เข้าศึกษากับพระอาจารย์น้อย วัดจันทร์ประเทศ จนอายุได้ 11 ปี จึงย้ายไปศึกษากับพระมหาหรุ่น ป.ธ. 5 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

พ.ศ. 2447 ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในปีนั้นพระมหาหรุ่นอาพาธต้องกลับไปรักษาตัวที่บ้านเกิด จึงฝากให้พระมหาเฮง เขมจารี เป็นผู้ปกครองแทน ถึงปี พ.ศ. 2454 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมเจดีย์ (เข้ม ธมฺมสโร) และพระศรีวิสุทธิวงศ์ (เฮง เขมจารี) เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์[1]

ขณะยังเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 17 ปีท่านสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค[2] อายุ 18 ปีสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค[3] และอายุ 20 ปีสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค[4] หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ขณะอายุได้ 21 ปี ท่านสอบได้อีกเป็นเปรียญธรรม 6 ประโยค ได้รับพระราชทานพัดหน้านางพื้นแพรเหลืองประดับเลื่อม มีนิตยภัตราคาเดือนละ 9 บาท[5]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นรองเจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2472[6] ต่อมาจึงตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2474[7] เมื่อมณฑลนครสวรรค์ถูกยุบรวมเข้ากับมณฑลอยุธยา จึงโปรดให้ท่านออกจากตำแหน่งเดิม แล้วตั้งเป็นรองเจ้าคณะมณฑลอยุธยาแทนตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475[8]

สมณศักดิ์ แก้

  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2463 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสมโพธิ์[9]
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชโมลี ศรีปาพจนาภรณ์ธรรมพาที ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธาดา มหากถิกสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
  • 19 กันยายน พ.ศ. 2478 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ปรีชาญาณดิลก ตรีปิฎกคุณาลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี[12]
  • 19 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพิมลธรรมมหันตคุณ วิบุลยปรีชาญาณนายก ตรีปิฎกคุณาลังการภูสิต ยติกิจสาทร มหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[13]

มรณภาพ แก้

พระพิมลธรรม ตรากตรำทำงานอย่างหนักจนเริ่มอาพาธ และเข้าโรงพยาบาลศิริราชในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2491 แพทย์ตรวจพบว่าท่านเป็นโรคปอดบวม แม้จะถวายการรักษาอย่างเต็มที่ อาการของท่านกลับทรุดลงต่อเนื่อง จนถึงเวลา 5.00 น. เศษ ของวันที่ 15 มกราคม ท่านกล่าวเป็นครั้งสุดท้ายว่า

สังขารไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ขออย่ายึดถือเป็นสาระอะไรเลย
ทั้งสัทธิวิหาริก ทั้งอันเตวาสิก ทั้งท่านผู้เคารพนับถือ และทุก ๆ คน ฉันขอให้อโหสิกรรมในที่สุด

จากนั้นท่านก็ไม่กล่าวอะไรอีก จนกระทั่งมรณภาพในเวลา 5.40 น.[14] สิริอายุได้ 56 ปี 65 วัน

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 197
  2. "แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี [เรื่อง การสอบไล่พระปริยัติธรรมประจำ ศก ๑๒๖ กับรายนามพระสงฆ์สามเณรที่สอบไล่ได้]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 2): หน้า 37. 12 เมษายน ร.ศ. 127. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี [เรื่อง รายนามพระภิกษุสามเณรที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 52): หน้า 1489. 28 มีนาคม ร.ศ. 127. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี เรื่อง รายงานการสอบไล่พระปริยัติธรรม ศก ๑๒๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 521. 11 มิถุนายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "รายนามพระสงฆ์สามเณร ที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้ ในรัตนโกสินทร์ ศก ๑๓๐ ที่ได้รับพระราชทานพัดเปรียญและเปลี่ยนพัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 29 (ตอน ง): หน้า 795. 7 กรกฎาคม ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ เรื่อง ตั้งรองเจ้าคณะมณฑล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 46 (ตอน 0 ง): หน้า 1808. 1 กันยายน 2472. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ พระราชาคณะลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะยุบและตั้งเจ้าคณะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 48 (ตอน 0 ง): หน้า 2580. 18 ตุลาคม 2474. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ พระราชาคณะลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะยุบและตั้งเจ้าคณะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 48 (ตอน 0 ง): หน้า 5188. 27 มีนาคม 2474. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "พระราชทานสัญญาบัตรพระสงฆ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 37: หน้า 3391. 9 มกราคม 2463. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "รายนามพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 44 (ตอน 0 ง): หน้า 2526. 13 พฤศจิกายน 2470. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 48 (ตอน 0 ง): หน้า 2920. 8 พฤศจิกายน 2474. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "แจ้งความนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 52 (ตอน 0 ง): หน้า 1892-1893. 22 กันยายน 2478. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 62 (ตอนที่ 72 ก): หน้า 721-723. 25 ธันวาคม 2488. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. นิพนธ์ต่างเรื่อง, หน้า (12)
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 196-201. ISBN 974-417-530-3
  • พระพิมลธรรม ฐานทตฺตเถร. นิพนธ์ต่างเรื่อง. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2491. 400 หน้า. หน้า (1) - (12). [พิมพ์เป็นอนุสาวรีย์ในงานพระราชทานเพลิงศพขององค์ท่าน ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๑]


ก่อนหน้า พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) ถัดไป
สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต)    
สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง
(พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2491)
  พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ)