เวลาในขวดแก้ว
เวลาในขวดแก้ว เป็นนวนิยายไทยของ ประภัสสร เสวิกุล มีเนื้อหาสะท้อนชีวิตและปัญหาของวัยรุ่นในด้านต่างๆ ทั้งครอบครัว ความรัก การศึกษา สังคม และการเมือง จัดพิมพ์เป็นพ็อคเก็ตบุ๊คครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2534 ได้มีการสร้างเป็นภาพยนตร์ไทย โดย ประยูร วงศ์ชื่น นำแสดงโดย นฤเบศร์ จินปิ่นเพชร, ปวีณา ชารีฟสกุล และ วาสนา พูนผล
เวลาในขวดแก้ว | |
---|---|
![]() | |
กำกับ | ประยูร วงศ์ชื่น อมรศรี เย็นสำราญ อนุกูล จาโรทก |
เขียนบท | บทประพันธ์ : ประภัสสร เสวิกุล บทภาพยนตร์ : อมรศรี เย็นสำราญ |
อำนวยการสร้าง | ประยูร วงศ์ชื่น (วีเอ็น โปรดักชั่น) |
นักแสดงนำ | นฤเบศร์ จินปิ่นเพชร ปวีณา ชารีฟสกุล วาสนา พูนผล จรัล มโนเพ็ชร มยุรา ธนะบุตร จิตต์โสภิณ ลิมปิสวัสดิ์ |
กำกับภาพ | วิเชียร เรืองวิชญกุล |
ผู้จัดจำหน่าย | เอเพ็กซ์ |
วันฉาย | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 |
ประเทศ | ![]() |
ภาษา | ภาษาไทย |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
เวลาในขวดแก้ว | |
---|---|
ประเภท | ละครโทรทัศน์ |
สร้างโดย | บริษัท เมกเกอร์ กรุ๊ป |
กำกับโดย | อมรศรี เย็นสำราญ |
แสดงนำ | แอน ทองประสม (จ๋อม) สมชาย เข็มกลัด (นัต) จรัล มโนเพ็ชร (พ่อของนัต) ปวีณา ชารีฟสกุล (ป้อม) ชนานา นุตาคม (แม่ของนัต) กานต์ หงษ์ทอง (ชัย) ไพที ศรีสุข (เอก) โชติรส บุรินทร์ (หนิง) |
ผู้ประพันธ์เพลงธีม | เวลาในขวดแก้ว โดย จรัล มโนเพ็ชร |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
จำนวนตอน | 15 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | ประวิทย์ มาลีนนท์ |
ผู้อำนวยการสร้าง | มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช อมรศรี เย็นสำราญ |
ความยาวตอน | 105 นาที/ตอน |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 |
ออกอากาศ | 11 มีนาคม พ.ศ. 2535 – พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พุธ-พฤหัสบดี 20.55-21.55 น. |
ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำนิยม โดยได้รับรางวัลจากสองสถาบันคือ รางวัลสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2534 จำนวน 4 รางวัล[1] และรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2534 อีก 2 รางวัล[2]
ในปี พ.ศ. 2535 มีการสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางไทยทีวีสีช่อง 3 โดย มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช ออกอากาศเดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2535 นำแสดงโดย สมชาย เข็มกลัด, แอน ทองประสม และยังได้นักแสดงจากภาพยนตร์ คือ ปวีณา ชารีฟสกุล และ จรัล มโนเพ็ชร มาร่วมแสดงในบทเดิม ออกอากาศทุกคืนวันพุธ และวันพฤหัสบดี เวลา 20.55-21.55 น.
ต่อมาได้นำเรื่องนี้มาสร้างเป็นละครอีก 2 ครั้ง ออกอากาศในปี พ.ศ. 2543 โดยบริษัทอาร์เอส ทุกเย็นวันเสาร์ และวันอาทิตย์ ทางช่อง 3 นำแสดงโดย ธนา สุทธิกมล, อลิชา ไล่ศัตรูไกล และ ฌัชฌา รุจินานนท์[3] และออกอากาศในปี พ.ศ. 2558 โดยบริษัทดาวินชี โปรดักชั่น กำกับการแสดงและจัดโดย นุติ เขมะโยธิน ออกอากาศทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.00 - 21.00 น. ทางช่องทรูโฟร์ยู
เรื่องย่อแก้ไข
ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ก็เหมือน เวลาในขวดแก้ว ที่ทอดสะพานทอดข้ามให้เราได้รู้จัก คาลิล ยิบราน เหตุการณ์ 14 ตุลา การล้อมปราบนักศึกษา การประท้วงของคนงานในโรงงาน และเพลง Time In A Bottle ของ Jim Croce เพลงหลักที่แทรกอยู่ในชีวิตของตัวละครหลักในเรื่อง และยังเป็นเพลงที่บอกเล่าความหมายของชื่อเรื่อง
แด่นัต หนิง ป้อม และจ๋อม รวมถึงชัยกับเอก ตัวละครหลักทั้ง 6 ที่ก้าวเดินและเผชิญหน้ากับความธรรมดาสามัญของชีวิต ทั้งปัญหาครอบครัว ปัญหาทางสังคม ปัญหาความรัก ปัญหาทางการเมือง เป็นเรื่องราวชีวิตธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้
นัต ชายหนุ่มตัวกลมผู้อ่อนไหว จากครอบครัวที่แสนอบอุ่นในวัยเด็ก กลับแตกร้าว เมื่อพ่อและแม่แยกทางกัน เขากับน้องสาว (หนิง) อยู่กับแม่และพ่อคนใหม่ นัตรักดนตรี (ไวโอลิน) แต่ต้องเรียนนิติฯ เพื่อให้ชีวิตมีทิศทางตามความตั้งใจของแม่ นัตเป็นตัวละครดำเนินเรื่อง ใช้เสียงจากความคิดเล่าเรื่องราวผ่านม่านตาและมุมมองของตัวเอง
ป้อม หญิงสาวบุคลิกทอมบอยแอบหลงรักนัต ป้อมเคยหยิบยื่น 'ปีกหัก' ของคาลิล ยิบราน ให้นัตอ่าน แต่นัตไม่ได้อ่าน
จ๋อม สาวสวย ฐานะดี เป็นเพื่อนผู้หญิงรุ่นพี่ของนัต ที่สนใจไวโอลินและซ้อมดนตรีกับนัตบ่อยๆ และเป็นรักแรกของนัต แม้ภายนอกจ๋อมดูเหมือนจะสมบูรณ์พร้อม สวย รวย เก่ง แต่ความจริงเธอกลับเหมือนแบกโลกทั้งใบไว้คนเดียว เมื่อครอบครัวแตกร้าว พ่อมีภรรยาใหม่และเลี้ยงจ๋อมด้วยเงินมากกว่าความเข้าใจ เธอเลยใฝ่หาความรักที่ขาดหาย...
นักแสดงนำแก้ไข
รูปแบบการนำเสนอ | นัต | ป้อม | จ๋อม |
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2534 | นฤเบศร์ จินปิ่นเพชร | ปวีณา ชารีฟสกุล | วาสนา พูนผล |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2535 | สมชาย เข็มกลัด | แอน ทองประสม | |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2543 | ธนา สุทธิกมล | ฌัชฌา รุจินานนท์ | อลิชา หิรัญพฤกษ์ |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2558 | เศรษฐพงศ์ เพียงพอ | สุนันทา ยูรนิยม | สุวพิชญ์ ไตรพรวรกิจ |
รางวัล (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2534)แก้ไข
- รางวัลสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2534
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ปวีณา ชารีฟสกุล)
- บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (อมรศรี เย็นสำราญ)
- เพลงนำยอดเยี่ยม (บัตเตอร์ฟลาย) [1]
- รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2534
- ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ปวีณา ชารีฟสกุล)
- ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (มยุรา ธนะบุตร) [2]
อ้างอิงแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
ทรูโฟร์ยู: ละครวันจันทร์ - อังคาร 20:00 - 21:00 น. | ||
---|---|---|
ก่อนหน้า | เวลาในขวดแก้ว | ถัดไป |
Kiss Me รักล้นใจนายแกล้งจุ๊บ | เจ้าเวหา |