ประเทศโคลอมเบีย

(เปลี่ยนทางจาก สาธารณรัฐโคลอมเบีย)

4°N 72°W / 4°N 72°W / 4; -72

สาธารณรัฐโคลอมเบีย

República de Colombia (สเปน)
คำขวัญ"Libertad y Orden" (สเปน)
"เสรีภาพและความเป็นระเบียบ"
ที่ตั้งของ ประเทศโคลอมเบีย  (เขียวเข้ม) ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)
ที่ตั้งของ ประเทศโคลอมเบีย  (เขียวเข้ม)

ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
โบโกตา
4°35′N 74°4′W / 4.583°N 74.067°W / 4.583; -74.067
ภาษาราชการสเปน
ภาษาพื้นเมือง68[a]
กลุ่มชาติพันธุ์
(สำมะโน ค.ศ. 2018[1])
ศาสนา
(ค.ศ. 2018)[2]
เดมะนิมชาวโคลอมเบีย
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ
กุสตาโบ เปโตร
ฟรานเซีย มาร์เกซ
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
เอกราชจากสเปน
20 กรกฎาคม ค.ศ. 1810
• ได้รับการรับรอง
7 สิงหาคม ค.ศ. 1819
• การรวมตัวเป็นหนึ่งครั้งสุดท้าย
ค.ศ. 1886
4 กรกฎาคม ค.ศ. 1991
• การแยกตัวของปานามา
ค.ศ. 1903
พื้นที่
• รวม
1,141,748 ตารางกิโลเมตร (440,831 ตารางไมล์) (อันดับที่ 25)
2.1 (ใน ค.ศ. 2015)[3]
ประชากร
• ค.ศ. 2022 ประมาณ
49,059,221[4] (อันดับที่ 29)
42.23 ต่อตารางกิโลเมตร (109.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 173)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 940.589 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 32)
เพิ่มขึ้น 18,225 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 84)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 351.281 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 43)
เพิ่มขึ้น 6,806 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 97)
จีนี (ค.ศ. 2020)Negative increase 54.2[6]
สูง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)ลดลง 0.752[7]
สูง · อันดับที่ 88
สกุลเงินเปโซโคลอมเบีย (COP)
เขตเวลาUTC−5[b] (เวลาในประเทศโคลอมเบีย)
รูปแบบวันที่วว−ดด−ปปปป (ค.ศ.)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+57
โดเมนบนสุด.co
  1. ^ ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญโคลอมเบียประกาศให้ภาษาสเปน (Castellano) เป็นภาษาทางการในดินแดนโคลอมเบีย ก็ยังมีชาติพันธุ์ที่พูดภาษาของตนเอง ประมาณ 68 ภาษา[8] ภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาทางการในจังหวัดซันอันเดรสและโปรบีเดนเซีย[9]
  2. ^ เวลาทางการของโคลอมเบีย[10]ถูกควบคุมและจัดการโดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ[11]

โคลอมเบีย (สเปน: Colombia, ออกเสียง: [koˈlombja] ( ฟังเสียง)) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโคลอมเบีย (สเปน: República de Colombia) เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดต่อกับเวเนซุเอลาและบราซิล ทางทิศใต้ติดต่อกับเอกวาดอร์และเปรู ทางทิศเหนือจรดทะเลแคริบเบียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดต่อกับปานามาและมหาสมุทรแปซิฟิก ครอบคลุมพื้นที่ 1,141,748 ตารางกิโลเมตร (440,831 ตารางไมล์) โคลอมเบียใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ และมีภาษาท้องถิ่นมากกว่า 70 ภาษา[12]

โคลอมเบียเป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองหลายกลุ่มตั้งแต่ 12,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เช่น มุยสกา กิมบายา และไทโรนา ชาวสเปนค้นพบดินแดนแห่งนี้ครั้งแรกที่ลากัวฮิราใน ค.ศ. 1499 และในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 ภูมิภาคนี้ได้กลายเป็นอาณานิคมของสเปน ตามมาด้วยการก่อตั้งอาณาจักรกรานาดาใหม่ โดยมีซานตาเฟเดโบโกตาเป็นเมืองหลวง ก่อนจะได้รับอิสรภาพจากจักรวรรดิสเปนใน ค.ศ. 1819 และได้กลายมาเป็นสหมณฑลแห่งนิวกรานาดา ก่อนจะเป็นสหพันธรัฐในฐานะสมาพันธ์กรานาดา (1858) และจากนั้นได้เป็นสหรัฐโคลอมเบีย (1863) และท้ายที่สุดมาเป็นสาธารณรัฐโคลอมเบียใน ค.ศ. 1886 ถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 ประเทศได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางสงครามและการเมืองซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นในทศวรรษ 1990 นับตั้งแต่ ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา ความมั่นคง เสถียรภาพ และหลักนิติธรรมได้พัฒนาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ[13][14]

โคลอมเบียเป็นหนึ่งในสิบเจ็ดประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก[15][16][17] และมากเป็นอันดับสองของโลก[18] อาณาเขตทั้งหมดของประเทศครอบคลุมป่าดิบชื้นแอมะซอน ที่ราบสูง ทุ่งหญ้า และ ทะเลทราย และเป็นประเทศเดียวในอเมริกาใต้ที่มีแนวชายฝั่งและเกาะต่าง ๆ ทอดยาวตลอดมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก โคลอมเบียเป็นสมาชิกขององค์กรระดับโลกและระดับภูมิภาคที่สำคัญ ได้แก่ สหประชาชาติ, องค์การการค้าโลก, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, องค์การนานารัฐอเมริกัน, พันธมิตรแปซิฟิก, ชุมชนแอนเดียน และเนโท และมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสามในอเมริกาใต้ โดยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมหภาคและแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ

ชื่อประเทศ

แก้

คำว่า "โคลอมเบีย" มาจากชื่อของนักสำรวจคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (กริสโตบัล โกลอน ในภาษาสเปน และ กริสโตโฟโร โกลอมโบ ในภาษาอิตาลี) ถูกนำมาใช้โดยนักปฏิวัติฟรันซิสโก เด มีรันดาซึ่งเขาใช้อ้างอิงถึง "โลกใหม่" โดยเฉพาะดินแดนและอาณานิคมอเมริกันทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การปกครองของสเปนและโปรตุเกส ชื่อนี้ได้มาเป็นชื่อของสาธารณรัฐโคลอมเบียใน พ.ศ. 2362 ซึ่งประกอบด้วยดินแดนของประเทศโคลอมเบีย เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ และปานามาในปัจจุบัน

สถานภาพสาธารณรัฐแห่งนี้สิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2373 เมื่อเวเนซุเอลาและเอกวาดอร์ขอแยกตัวออกไป ส่วนจังหวัดกุนดีนามาร์กา (Cundinamarca) ก็กลายเป็นประเทศใหม่ในชื่อ สาธารณรัฐนิวกรานาดา (República de la Nueva Granada) ต่อมาใน พ.ศ. 2406 นิวกรานาดาเปลี่ยนชื่อทางการของตนเป็น สหรัฐโคลอมเบีย (Estados Unidos de Colombia) และใน พ.ศ. 2429 ก็ได้เปลี่ยนเป็นชื่อที่ใช้ในปัจจุบันคือสาธารณรัฐโคลอมเบีย[19]

ภูมิศาสตร์

แก้

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

พื้นที่ทั้งหมด 1,138,910 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 1,038,700 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 100,210 ตารางกิโลเมตร พรมแดนทั้งหมดยาว 3,208 กิโลเมตร (ฝั่งทะเลแคริบเบียนยาว 1,760 กิโลเมตร ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคยาว 1,448 กิโลเมตร)

ภูมิประเทศ

แก้

เป็นที่ราบแถบชายฝั่ง ภาคกลางเป็นที่ราบสูงบริเวณภูเขาแอนดีส ภาคตะวันออกเป็นที่ราบต่ำ

ภูมิอากาศ

แก้
 
ประเทศโคลอมเบียมีลักษณะภูมิอากาศแบบเทือกเขาสูง

ภูมิอากาศของโคลอมเบียได้รับอิทธิพลมาจากการเป็นประเทศเขตร้อน[20] โดยพบความแปรปรวนในแต่ละภูมิภาคแตกต่างกันไป และขึ้นอยู่กับระดับความสูง อุณหภูมิ ความชื้น ลม และปริมาณน้ำฝน โคลอมเบียมีเขตภูมิอากาศที่หลากหลาย รวมทั้งป่าฝนเขตร้อน ทุ่งหญ้าสะวันนา สเตปป์ ทะเลทราย และภูมิอากาศแบบภูเขา[21]

ภูมิอากาศแบบเทือกเขาสูงเป็นลักษณะภูมิอากาศที่พบได้มากที่สุดใปนระเทศ โดยที่สภาพอากาศถูกกำหนดโดยระดับความสูง บริเวณระดับความสูงที่ต่ำกว่า 1,000 เมตร (3,281 ฟุต) และเป็นเขตอบอุ่นซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 24 °C (75.2 °F) ประมาณ 82.5% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศโคลอมเบียตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สูงที่อบอุ่น เขตระดับความสูงของภูมิอากาศแบบอบอุ่นซึ่งอยู่ระหว่าง 1,001 ถึง 2,000 เมตร (3,284 และ 6,562 ฟุต) มีลักษณะเฉพาะสำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 17 ถึง 24 °C (62.6 ถึง 75.2 °F) สภาพอากาศหนาวเย็นอยู่ระหว่าง 2,001 ถึง 3,000 เมตร (6,565 และ 9,843 ฟุต) และอุณหภูมิจะแตกต่างกันระหว่าง 12 ถึง 17 °C (53.6 และ 62.6 °F)[22]

ประวัติศาสตร์

แก้

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

แก้

เนื่องจากสถานที่ตั้งของดินแดนที่ปัจจุบันของโคลอมเบียเป็นทางเดินของการย้ายถิ่นของมนุษย์จากต้นเมโสและแคริบเบียนกับแอนดีสและลุ่มน้ำอเมซอน แหล่งโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดจาก Pubenza และ El Totumo ใน Magdalena Valley ห่างจาก Bogotá ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 100 กม. พบร่องรอยจากสมัยโบราณ ประมาณ 8000-2000 ก่อนคริสต์ศักราช ร่องรอยยังระบุด้วยว่ามีการยึดครองในภูมิภาค El Abra และ Tequendama ในเมือง Cundinamarca ด้วย เครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบในอเมริกาพบที่ซานจาคิน 5000-4000 ก่อนคริสต์ศักราช

การเมืองการปกครอง

แก้

สาธารณรัฐโคลอมเบียปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐแบบประธานาธิบดี มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร

บริหาร

แก้
 
ประธานาธิบดี อิบัน ดูเก มาร์เกซ (ซ้ายมือ) ใน ค.ศ. 2018

ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐและหัวหน้าคณะรัฐบาล นอกจากนี้ยังเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี (ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ กุสตาโบ เปโตร รับตำแหน่งตั้งแต่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 2022

นิติบัญญัติ

แก้

ระบบ 2 สภา (Bicameral Congress หรือ Congreso) ประกอบด้วย (1) Senate หรือ Senado จำนวน 102 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และ (2) Chamber of Representatives หรือ Camera de Representantes จำนวน 166 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในเดือนมีนาคม 2014

ตุลาการ

แก้

ประกอบด้วยศาลสูงสุดที่มีอำนาจในระดับเดียวกัน 4 ศาล ได้แก่ (1) Supreme Court of Justice หรือ Corte Suprema de Justicia เป็นศาลสูงสุดด้านคดีอาชญากรรม (2) Council of State ซึ่งเป็นศาลสูงสุดด้านกฎหมายปกครอง (court of administrative law) (3) ศาลรัฐธรรมนูญ (Constitutional Court) และ (4) คณะกรรมการกฤษฎีกา หรือ Superior Judicial Council

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 

โคลอมเบียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 32 จังหวัด (departments) ชื่อเมืองหลวงอยู่ในวงเล็บ

1. อามาโซนัส (เลตีเซีย)
2. อันติโอเกีย (เมเดยิน)
3. อาเรากา (อาเรากา)
4. อัตลันตีโก (บาร์รังกิยา)
5. โบลิบาร์ (การ์ตาเฮนา)
6. โบยากา (ตุงคา)
7. กัลดัส (มานีซาเลส)
8. กาเกตา (โฟลเรนเซีย)
9. กาซานาเร (โยปัล)
10. เกากา (โปปายัง)
11. เซซาร์ (บาเยดูปาร์)
12. โชโก (กิบโด)
13. กอร์โดบา (มอนเตรีอา)
14. กุนดีนามาร์กา (โบโกตา)
15. ไกวย์นีอา (ปวยร์โตอีนีรีดา)
16. กวาเบียเร (ซังโฮเซเดลกวาเบียเร)
17. วีลา (เนย์บา)

18. ลากัวฮิรา (ริโออาชา)
19. มักดาเลนา (ซานตามาร์ตา)
20. เมตา (บิยาบิเซนซิโอ)
21. นาริญโญ (ปัสโต)
22. นอร์เตเดซันตันเดร์ (กูกูตา)
23. ปูตูมาโย (โมโกอา)
24. กินดีโอ (อาร์เมเนีย)
25. รีซารัลดา (เปเรย์รา)
26. ซานอันเดรสและโปรบิเดนเซีย (ซานอันเดรส)
27. ซันตันเดร์ (บูการามังกา)
28. ซูเกร (ซินเซเลโฮ)
29. โตลีมา (อีบาเก)
30. บาเยเดลเกากา (กาลี)
31. เบาเปส (มีตู)
32. บีชาดา (ปวยร์โตกาเลโญ)

นอกจากนี้ ยังมีเขตนครหลวง (Distrito Capital) อีก 1 แห่ง คือ 33. โบโกตาดิสตรีโตกาปีตัล (Bogotá, Distrito Capital)

เมืองสำคัญ

แก้

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้

นโยบายด้านการต่างประเทศของโคลอมเบียอยู่ในความดูแลของประธานาธิบดี ในฐานะประมุข และบริหารจัดการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โคลอมเบียมีคณะทูตประจำการอยู่ในทุกทวีป โคลอมเบียเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของ Pacific Alliance ซึ่งเป็นกลไกการรวมกลุ่มทางการเมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือที่ส่งเสริมการหมุนเวียนสินค้า บริการ ทุน และบุคคลระหว่างสมาชิกอย่างเสรี ตลอดจนตลาดหลักทรัพย์ และสถานทูตในหลายประเทศ โคลอมเบียยังเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา องค์การรัฐอเมริกัน องค์การรัฐไอเบโร-อเมริกัน และประชาคมแอนเดียน[24][25] และเป็นพันธมิตรของเนโท

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

แก้

สาธารณรัฐโคลอมเบียกับราชอาณาจักรไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2522 โดยโคลอมเบียมีสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่กรุงเทพมหานคร และมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ จังหวัดเชียงราย ปัจจุบัน สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลิมา ประเทศเปรู มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศโคลอมเบีย โดยโคลอมเบียเป็นคู่ค้าอันดับ 6 ของไทยในลาตินอเมริกาและภูมิภาคแคริบเบียน

ในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวชาวโคลอมเบียเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 14,644 คน และมีชาวโคลอมเบียอาศัยอยู่ในประเทศไทยประมาณ 250 คน

มวยไทยเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในโคลอมเบีย และมีชาวโคลอมเบียเดินทางมาฝึกหัดมวยไทย ที่ประเทศไทยจำนวนมาก[26]

วันที่ 4 กันยายน 2562 ปวีณสุดา ดรูอิ้น มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2562 กล่าวในงานฉลองครบรอบ 40 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย และโคลอมเบีย โดยยกย่องความก้าวหน้าในการสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ และการส่งเสริมบทบาทของสตรี ในสังคมของทั้งสองประเทศ[27]

กองทัพ

แก้
 
เครื่อง ยูเอช-60 แบล็กฮอว์ก ของกองทัพอากาศโคลอมเบีย

ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการการป้องกันประเทศโคลอมเบีย โดยมีประธานาธิบดีผู้บัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหมใช้การควบคุมประจำวันของกองทัพและตำรวจแห่งชาติโคลอมเบีย โคลอมเบียมีทหารประจำการ 455,461 นาย ในปี 2016 3.4% ของจีดีพีในประเทศถูกใช้ไปกับด้านการทหาร มากเป็นอันดับที่ 24 ของโลก กองกำลังติดอาวุธของโคลอมเบียเป็นกองกำลังที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา[28] และเป็นกำลังทหารที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากบราซิล[29] ในปี 2018 โคลอมเบียได้ลงนามในสนธิสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการห้ามครอบครองอาวุธนิวเคลียร์[30]

กองทัพโคลอมเบียแบ่งออกเป็นสามประเภทหลัก ได้แก่: กองทัพแห่งชาติโคลอมเบีย (กองทัพบก), กองทัพอากาศโคลอมเบีย; และกองทัพเรือโคลอมเบีย สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วยทหารที่ปฏิบัติการโดยอิสระจากกองทัพในฐานะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสำหรับทั้งประเทศ และแยกจากคณะกรรมการข่าวกรองแห่งชาติ

เศรษฐกิจ

แก้
 
ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศโคลอมเบีย

โครงสร้างเศรษฐกิจ

แก้

เศรษฐกิจของโคลอมเบียมีอัตราการเจริญเติบโตในอัตราสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นโยบายเศรษฐกิจหลัก ได้แก่: การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การเร่งการสร้างงาน การสนับสนุนการค้าเสรี และการลดอุปสรรคทางการค้า แต่ยังคงมีการอุดหนุนภาคเกษตรกรรมและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นโยบายดังกล่าวสามารถลดอัตราการว่างงานลงได้ และทำให้โคลอมเบียมีเศรษฐกิจค่อนข้างดีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน[31] เช่น เอกวาดอร์ และเปรู รัฐบาลมุ่งเน้นการส่งเสริมความเท่าเทียมด้านเศรษฐกิจให้แก่ประชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการสาธารณะ ตลอดจนส่งเสริมให้โคลอมเบียเป็นแหล่งการศึกษาและความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการลงทุนของโคลอมเบีย ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นชอบที่เรื่องการสร้างความเป็นเอกภาพในทวีปอเมริกา (Unity of the Americas) แสดงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกา ยังให้ความช่วยเหลือในการส่งเสริมภาคเกษตรและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของโคลอมเบีย และผลักดันให้มีการลงทุนเพิ่มเติมจากสหรัฐอเมริกาในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันและพลังงาน[32][33]

รายจ่ายของรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 27.9 ของเศรษฐกิจภายในประเทศ[34] หนี้ต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 39.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ประชากรส่วนมากยังเผชิญปัญหากับภาวะหนี้สิ้นนอกระบบ[35] โคลอมเบียอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อเพลิงแร่ น้ำมัน ผลิตภัณฑ์กลั่น ผลไม้และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ น้ำตาลและขนมหวาน ผลิตภัณฑ์อาหาร พลาสติก อัญมณี โลหะ ผลิตภัณฑ์จากป่า เคมีภัณฑ์ ยารักษาโรค ยานพาหนะ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำหอมและเครื่องสำอาง เครื่องจักร สินค้าที่ผลิต สิ่งทอและผ้า เสื้อผ้าและรองเท้า แก้วและเครื่องแก้ว เฟอร์นิเจอร์ อาคารสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทางการทหาร เครื่องใช้ในบ้านและสำนักงาน อุปกรณ์ก่อสร้าง ซอฟต์แวร์ และอื่น ๆ โดยมีประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป และบางประเทศในลาตินอเมริกา

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

ทรัพยากรธรรมชาติ

แก้

ความมั่งคั่งธรรมชาติเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความอุดมสมบูรณ์ของโคลอมเบีย ประเทศนี้อุดมไปด้วยทรัพยากร ทองแดง และเหล็กนิกเกิลทอง (เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในละตินอเมริกา) และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงการมีถ่านหินและน้ำมัน โคลอมเบียปัจจุบันมียอดการค้าเชิงลบ ซึ่งหมายความว่าเป็นประเทศที่มีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก บางส่วนของสินค้าส่งออกหลักของประเทศได้แก่ กาแฟ, ถ่านหิน, นิกเกิล กล้วยและน้ำมัน คู่ค้าหลักของประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (30% ของตลาดส่งออก) ตามมาด้วยเวเนซุเอลาและเอกวาดอร์ซึ่งมีการซื้อขาย แต่ยอดสิ้นส่งออกที่สูงที่สุดในแต่ละปีคือโคเคน การส่งออกโคเคนเพิ่มขึ้น 1,000% ระหว่างปี 1991 และปี 2001 ซึ่งนำไปสู่ปัญหายาเสพติดซึ่งเป็นปัฐหาหลักมาถึงปัจจุบัน[36][37]

สินค้านำเข้าหลักของประเทศมักเป็นสินค้าที่โคลอมเบียไม่สามารถผลิตตัวเอง นอกจากนี้ยังนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์กระดาษและไฟฟ้า

 
มหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงโบโกตา

การศึกษา

แก้

ระบบการศึกษาของโคลอมเบียเริ่มต้นจากการเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล (Educación preescolar) การศึกษาขั้นพื้นฐาน (Educación básica) เป็นกฎหมายบังคับ แบ่งออกเป็นสองระดับได้แก่: การศึกษาขั้นพื้นฐานขั้นพื้นฐาน (Educación básica primaria) ซึ่งเริ่มจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - เด็กอายุตั้งแต่ 6-10 ปีและการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา (Educación básica secundaria) ซึ่งเริ่มจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 9 การศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาด้วยอาชีวศึกษาระดับกลาง (Educación media vocacional) ซึ่งประกอบด้วยเกรดที่สิบและสิบเอ็ด อาจมีรูปแบบการฝึกอาชีพหรือความชำนาญพิเศษที่แตกต่างกัน (วิชาการ เทคนิค ธุรกิจ และอื่น ๆ) ตามหลักสูตรที่แต่ละโรงเรียนนำมาใช้[38]

หลังจากสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานและมัธยมศึกษาเรียบร้อยแล้ว จะได้รับประกาศนียบัตรมัธยมปลาย ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายเรียกว่า bachiller เนื่องจากโรงเรียนพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นได้รับการพิจารณาร่วมกันว่าเป็นหน่วยที่เรียกว่า bachillerato (เกรดหกถึงสิบเอ็ด) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีสุดท้ายต้องทำการทดสอบ ICFES (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Saber 11) เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา (Educación superior) การศึกษาระดับอุดมศึกษานี้รวมถึงการศึกษาระดับมืออาชีพในระดับปริญญาตรี การศึกษาทางวิชาชีพด้านเทคนิค เทคโนโลยี และระดับกลาง และการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันวิชาชีพด้านเทคนิคของการศึกษาระดับอุดมศึกษายังเปิดรับนักศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาด้านศิลปศาสตร์และธุรกิจ และมักจะเป็นหลักสูตรสองปี[39]

การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อการศึกษาตามสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปี 2015 อยู่ที่ 4.49% คิดเป็น 15.05% ของรายจ่ายทั้งหมด อายุเฉลี่ยของเด็กในโรงเรียนเท่ากับ 14.42 ปี และ 94.58% ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้รู้หนังสือ ซึ่งคิดเป็น 98.66% ของผู้ที่มีอายุ 15-24 ปี

สาธารณสุข

แก้
 
โรงพยาบาลนานาชาติโคลอมเบียตั้งอยู่ในเมือง บูการามังกา

อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรคือ 79.3 ปี (76.7 ปีสำหรับผู้ชายและ 81.9 ปีสำหรับผู้หญิง) การปฏิรูปการดูแลสุขภาพในหลายรัฐบาลที่ผ่านมาได้นำไปสู่การปรับปรุงครั้งใหญ่ในระบบการดูแลสุขภาพของประเทศ โดยมาตรฐานด้านสุขภาพในโคลอมเบียมีการปรับปรุงอย่างมากตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 ระบบใหม่ได้ขยายความครอบคลุมของประชากรโดยระบบประกันสังคมและสุขภาพจาก 21% (ก่อนปี 1993) โคลอมเบียมีโรงพยาบาล 26 แห่ง (ภาครัฐและเอกชน) ใน 63 อันดับที่ดีที่สุดในการจัดอันดับ 2020 ของละตินอเมริกาเป็นประเทศในละตินอเมริกาที่มีโรงพยาบาลจำนวนมากที่สุด[40]

ประชากรศาสตร์

แก้

ชาติพันธุ์และถิ่นที่อยู่

แก้
 
แอนทานาส มอกคุส อดีตนายกเทศมนตรีเมืองโบโกตา

สังคมโคลอมเบียได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์หลายคนว่าเป็นหนึ่งในสังคมที่มีความหลากหลายที่สุดในโลก เป็นผลมาจากประวัติศาสตร์ซึ่งมีการอพยพของผู้คนมากมายจากทั่วทุกมุมโลก ส่งผลให้ชาวโคลอมเบียที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันประกอบด้วยหลากหลายเชื้อชาติ แต่มีความจงรักภักดีต่อโคลอมเบีย ประชากรโคลอมเบียส่วนใหญ่ประกอบด้วยผู้อพยพจากดินแดนโลกเก่า (ยุโรปแอฟริกาและเอเชีย)

ด้วยประชากรประมาณ 50 ล้านคนในปี 2020 ทำให้โคลอมเบียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามในละตินอเมริกา รองจากบราซิลและเม็กซิโก ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ประชากรของโคลอมเบียมีเพียง 4 ล้านคน ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 โคลอมเบียประสบปัญหาการเจริญพันธุ์ การตาย และอัตราการเติบโตของประชากรที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราการเติบโตของประชากรในปี 2016 อยู่ที่ 0.9%[41] ประมาณ 26.8% ของประชากรอายุ 15 ปีหรือน้อยกว่านั้น 65.7% ของประชากรมีอายุระหว่าง 15 ถึง 64 ปี และ 7.4% มีอายุมากกว่า 65 ปี สัดส่วนผู้สูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดแพิ่มขึ้นอย่างมากตลอดหลายทศวรรษ และรัฐบาลโคลอมเบียคาดว่าจะมีประชากร 55.3 ล้านคนในประเทศภายในปี 2050[42]

โคลอมเบียเป็นประเทศที่มีสภาพความเป็นอยู่เป็นสังคมเมืองมากที่สุดแห่งหนึ่งในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา ประชากรในเมืองเพิ่มขึ้นจาก 31% ของประชากรทั้งประเทศในปี 1938 เป็นเกือบ 60% ในปี 1973 และในปี 2020 ตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่ 80.4%[43] ของประชากรทั้งประเทศ โดยประชากรในเมืองโบโกตาเพียงแห่งเดียวได้เพิ่มขึ้นจากเพียง 300,000 คนในปี 1938 เป็น 8 ล้านคนในปัจจุบัน

จากการสำรวจสำมะโนประชากรพบว่า 87% ของชาวโคลอมเบียไม่ได้ระบุกลุ่มชาติพันธุ์ใด ๆ. และมักจะเป็นคนผิวขาวหรือกลุ่มชาติพันธุ์ผสมที่เรียกว่า Mestizo (ลูกผสมสีขาวกับชาวอินเดีย)[44]

โดยเฉลี่ยแล้วโคลอมเบียแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในละตินอเมริกาส่วนใหญ่ โคลัมเบียมีบรรพบุรุษชาวยุโรปสูงสุดในภูมิภาค ร่วมกับอาร์เจนติน่า บราซิล และอุรุกวัย แม้ว่าบนชายฝั่งทะเลแคริบเบียนและแปซิฟิกจะมีบรรพบุรุษแอฟริกันสูง ประเทศนี้มีแนวโน้มที่จะมีประชากรคล้ายกับสหรัฐอเมริกา[45]

การศึกษาทางพันธุกรรมบางส่วนประมาณการ(บรรพบุรุษเฉลี่ย)[46]:

  คนผิวขาว (62.5%)
  อเมรินเดียน (27.4%)
  แอฟโร-โคลอมเบีย (9.2%)
  เอเชีย (0.9%)

การสำรวจสำมะโนประชากร 2018

คนผิวขาว และ Mestizo (ลูกผสมอเมอริเดียน กับคนผิวขาว) 87% ลูกผสมระหว่างผิวขาวกับผิวสี 4% อเมอรินเดียน 4% ผิวสี 3% และอื่น ๆ 2%[44]

การย้ายถิ่นฐาน

แก้

ชาวโคลอมเบียส่วนใหญ่มีเชื้อสายสเปนซึ่งมีที่มาในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 เมื่อโคลอมเบียเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิสเปน ต่อมา ในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 พลเมืองยุโรปและตะวันออกกลางได้อพยพไปยังโคลอมเบียโดยเฉพาะเลบานอนและอิตาลี รวมถึงเยอรมัน, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, โปรตุเกส, โปแลนด์, ลิทัวเนีย, ลัตเวีย, กรีก, เบลเยียม, สวิส, ดัตช์, เช็ก, อาร์เมเนีย, รัสเซีย, ชาวยูเครน, โครเอเชีย, ชาวปาเลสไตน์, ซีเรีย, จอร์แดน, อิรักและอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่สำคัญในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ชาวยิปซี และชาวยิว[47][48][49] รวมถึงผู้คนจากจากอินเดีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย และนับตั้งแต่ปี 2010 มีแนวโน้มการย้ายถิ่นฐานที่สำคัญของชาวเวเนซุเอลาเพิ่มขึ้นในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ[50]

ศาสนา

แก้
 
มหาวิหารแห่งชาติของโคลอมเบีย

จากการศึกษาและการสำรวจต่าง ๆ ประมาณ 90% ของประชากรนับถือศาสนาคริสต์ โดยกว่า 70.9 – 79% เป็นนิกายโรมันคาทอลิก ในขณะที่ชนกลุ่มน้อย (16.7%) นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ ประมาณ 4.7% ของประชากรไม่เชื่อในพระเจ้า ในขณะที่ 3.5% อ้างว่าเชื่อในพระเจ้าแต่ไม่นับถือศาสนาใดโดยเฉพาะ 1.8% ของชาวโคลอมเบียยึดมั่นในพระยะโฮวาและการถือกำเนิด และน้อยกว่า 1% นับถือศาสนาอื่น เช่น ศาสนาบาไฮ อิสลาม ยูดาย พุทธศาสนา มอร์มอน ฮินดู ศาสนาพื้นเมือง ขบวนการฮาเร กฤษณะ ขบวนการราสตาฟารี นิกายออร์โธดอกซ์คาทอลิก และการศึกษาจิตวิญญาณ[51][52]

ภาษา

แก้

ชาวโคลอมเบียมากกว่า 99.2% พูดภาษาสเปนหรือที่เรียกว่า Castilian; นอกจากนี้ยังมีภาษาท้องถื่นอีกกว่า 65 ภาษาอังกฤษมีสถานะเป็นภาษาราชการในหมู่เกาะซาน อันเดรส โพรวิเดนเซีย และซานตา กาตาลีนา

กีฬา

แก้

ฟุตบอล

แก้
 
ฮาเมส โรดริเกซ หนึ่งในนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของทีมชาติโคลอมเบีย
 
ราดาเมล ฟัลกาโอ การ์ซิอา กองหน้าชาวโคลอมเบีย

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูง จากการที่โคลอมเบียเป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ส่งผลให้ชาวโคลอมเบียมีความสนใจในกีฬาชนิดนี้อย่างแพร่หลาย ฟุตบอลทีมชาติโคลอมเบียเป็นหนึ่งในทีมชั้นนำของลาตินอเมริกา โดยเข้าร่วมการแข่งขันระดับภูมิภาคและระดับโลกหลายครั้ง พวกเขาร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 6 ครั้ง มีผลงานที่ดีที่สุดคือรอบ 8 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก 2014 เข้าร่วมโกปาอเมริกา 23 ครั้ง ชนะเลิศ 1 ครั้งในปี 2001 ซึ่งในครั้งนั้นโคลอมเบียในฐานะเจ้าภาพทำสถิติเป็นชาติแรกที่ชนะเลิศการแข่งขันโดยไม่แพ้ทีมใดตลอดรายการ และทีมชาติโคลอมเบียยังมีส่วนร่วมในรายการ ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ และ คอนคาแคฟโกลด์คัพ นักเตะที่มีชื่อเสียงของโคลอมเบียในปัจจุบันได้แก่ ฮวน กัวดราโด, ราดาเมล ฟัลกาโอ, ฮาเมส โรดริเกซ และ การ์โลส บักกา

วัฒนธรรม

แก้

ศิลปะ

แก้
 
จิตรกรรมฝาผนัง วาดโดย ซานติอาโก้ มาร์ติเนซ เดลกาโด

ศิลปะโคลอมเบียมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี ศิลปินชาวโคลอมเบียได้นำเหตุการณ์ทางการเมืองและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศในหลายยุคสมัยมาถ่ายทอดในงานของตน โดยใช้รูปแบบและสื่อที่หลากหลาย มีหลักฐานทางโบราณคดีว่าเครื่องปั้นดินเผาถูกผลิตขึ้นในโคลอมเบียเร็วกว่าที่อื่นในอเมริกา โดยมีอายุตั้งแต่ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตัวอย่างแรกสุดของงานหัตถศิลป์ทองคำมีต้นกำเนิดมาจากชาวทูมาโกแห่งชายฝั่งแปซิฟิก และมีอายุประมาณ 325 ปีก่อนคริสต์ศักราช ประมาณระหว่าง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง 800 ซีอี วัฒนธรรมซานอากุสติน ผู้เชี่ยวชาญด้านการแกะสลักหินได้เข้าสู่ "ยุคคลาสสิก" พวกเขาสร้างโลงศพ และเสาหินขนาดใหญ่ที่แสดงรูปแบบมนุษย์และสัตว์ซูมอร์ฟิกจากหิน

ศิลปะโคลอมเบียเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของเวลา ในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 18 นิกายโรมันคาทอลิกในสเปนมีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะของโคลอมเบีย และรูปแบบศิลปะบาโรกที่เป็นที่นิยมก็ถูกแทนที่ด้วยศิลปะของโรโกโกเมื่อชาวบูร์บงขึ้นครองราชย์ของสเปน หลังจากนั้นไม่นาน ศิลปินที่มีชื่อเสียงชาวโคลอมเบียได้แก่ เปโดร เนล โกเมซ และซานติอาโก มาร์ติเนซ เดลกาโด ได้เริ่มการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังโคลอมเบียในทศวรรษที่ 1940 โดยมีคุณลักษณะแบบนีโอคลาสสิก ซึ่งเดลกาโดยังได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดคนหนึ่งในรอบศตวรรษ[53][54][55]

สถาปัตยกรรม

แก้
 
mompox street หนึ่งในสถานที่ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลก

หมู่บ้านโบราณ ลานปลูกพืช ถนนอินคา สุสานไฮโปเจียม และป่าช้า ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางสถาปัตยกรรมของชนเผ่าพื้นเมืองโคลอมเบีย สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียง อื่น ๆ ได้แก่ โบราณสถานยุคพรีเซรามิกและเซรามิกแห่งเตเควนดามา Tierradentro (สวนสาธารณะที่มีสุสานปล่องอนุสาวรีย์ก่อนยุคโคลัมบัสอยู่หนาแน่นที่สุดพร้อมห้องด้านข้าง) แหล่งรวมอนุสาวรีย์ทางศาสนาและประติมากรรมหินขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งอยู่ในซาน อากุสติน ฮูลา รวมทั้ง เมืองที่สาบสูญ (โบราณสถานที่มีเฉลียงแกะสลักอยู่บนไหล่เขา ตาข่ายเป็นถนนกระเบื้อง และลานทรงกลมหลายแห่ง) และหมู่บ้านขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ที่สร้างด้วยหิน ไม้ อ้อย และโคลน เป็นสิ่งปลูกสร้างที่สร้างชื่อเสียงและดึงดูดนักท่องเที่ยวมายาวนาน

เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในลาตินอเมริกา สถาปัตยกรรมของคอลอมเบียยุคโบราณได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของชาวสเปนและโปรตุเกส สืบเนื่องจากการเคยเป็นอาณานิคมของสเปนในอดีต โดยชาวสเปนได้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานสิ่งปลูกสร้าง การออกแบบ และการตกแต่ง[56]

อาหาร

แก้
 
Sancocho de gallina หรือ "ซุปไก่ใส่ผัก" ถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมสูงในทวีปอเมริกาใต้

จากการที่โคลอมเบียเป็นประเทศที่มีความหลากหายทางชีวภาพ ส่งผลให้อาหารของพวกเขามีความหลากหลายทั้งทางรสชาติและวัตถุดิบ[57] รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ อาหารโคลอมเบียและวัตถุดิบจะแตกต่างกันไปตามภูมิภาค วัตถุดิบที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ ซีเรียล เช่น ข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หัวเช่นมันฝรั่งและมันสำปะหลัง พืชตระกูลถั่วนานาชนิด เนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อวัว ไก่ หมูและแพะ ปลา; และอาหารทะเล อาหารโคลอมเบียยังมีผลไม้เมืองร้อนหลากหลายชนิด เช่น มะยมแหลม เฟยโจว อาราซา แก้วมังกร มังคุด กรานาดิลลา มะละกอ ฝรั่ง โมรา (แบล็กเบอร์รี่) ลูโล ทุเรียนเทศ และเสาวรส ชาวโคลอมเบียเป็นหนึ่งในผู้บริโภคน้ำผลไม้รายใหญ่ที่สุดของโลก อาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ Sancocho de gallina (ซุปไก่ใส่รากผัก)[58]

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "visibilización estadística de los grupos étnicos". Censo General 2018. Departamento Administrativo Nacional de Estadistica (DANE). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-16. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  2. "Religion affiliations in Colombia 2018". Statista.
  3. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  4. "Colombia". The World Factbook (2024 ed.). Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022. (Archived 2022 edition)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "World Economic Outlook Database: Colombia". International Monetary Fund. April 2022. สืบค้นเมื่อ 21 April 2022.
  6. "GINI index (World Bank estimate) – Colombia". World Bank. สืบค้นเมื่อ 19 June 2021.
  7. "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
  8. Colombian Constitution of 1991 (Title I – Concerning Fundamental Principles – Article 10)
  9. "LEY 47 DE 1993" (ภาษาสเปน). alcaldiabogota.gov.co. สืบค้นเมื่อ 23 February 2014.
  10. "The official Colombian time" (ภาษาสเปน). horalegal.inm.gov.co. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-09. สืบค้นเมื่อ 23 February 2014.
  11. "Decreto 4175 de 2011, artículo 6, numeral 14" (ภาษาสเปน). Presidencia de la República de Colombia. สืบค้นเมื่อ 14 March 2016.
  12. "A country that celebrates its ethnic diversity". Colombia Country Brand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-10-30.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-11. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  14. "GDP growth (annual %) | Data". data.worldbank.org.
  15. Bell, Chris. "Here's Why Colombia is One of the Most Biodiverse Countries on Earth". Culture Trip.
  16. Unit, Biosafety. "Main Details". www.cbd.int (ภาษาอังกฤษ).
  17. "Colombia, One Of The 17 Megadiverse Countries | Marca País Colombia". Colombia Country Brand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2013-07-16.
  18. "Megadiversidad". web.archive.org. 2013-10-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  19. Carlos Restrepo Piedrahita (กุมภาพันธ์ 1992). "EL NOMBRE "COLOMBIA", El único país que lleva el nombre del Descubrimiento". Revista Credencial (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-05. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  20. "Columbia Weather on WLTX in Columbia". wltx.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  21. Systems, Columbia Weather. "Professional Weather Stations, Professional Weather Monitoring". columbiaweather.com (ภาษาอังกฤษ).
  22. "Columbia, SC 10-Day Weather Forecast - The Weather Channel | Weather.com". The Weather Channel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  23. "Largest cities" (PDF). Departamento Administrativo Nacional de Estadistica (DANE). สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  24. "Mecanismos de Concertación e Integración Regionales". Cancillería (ภาษาสเปน).
  25. "Organismos multilaterales". Cancillería (ภาษาสเปน).
  26. "ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐโคลอมเบีย". กระทรวงการต่างประเทศ. 23 มกราคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-28. สืบค้นเมื่อ 2021-09-25.
  27. "งานฉลองครบรอบ 40 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย และโคลอมเบีย". กระทรวงการต่างประเทศ. 4 กันยายน 2562.
  28. https://www.sipri.org/sites/default/files/Milex-share-of-GDP.pdf
  29. https://www.sipri.org/sites/default/files/Milex-constant-2015-USD.pdf
  30. "United Nations Treaty Collection". treaties.un.org (ภาษาอังกฤษ).
  31. "Mercado Integrado Latinoamericano (MILA) - Quienes somos". web.archive.org. 2014-03-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  32. "World Economic Outlook Databases". IMF (ภาษาอังกฤษ).
  33. "Índice de precios al consumidor (IPC) | Banco de la República (banco central de Colombia)". web.archive.org. 2018-01-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  34. "Free Trade Zones". Invest in Colombia (ภาษาอังกฤษ).
  35. "Ingresos de trabajadores informales en Colombia | Economía | Portafolio.co". web.archive.org. 2013-12-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  36. "Subscribe to read | Financial Times". www.ft.com. {{cite web}}: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help)
  37. "Colombia". United Nations : Office on Drugs and Crime (ภาษาอังกฤษ).
  38. "Wayback Machine". web.archive.org. 2007-06-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  39. "Colombia Education System". www.scholaro.com.
  40. "Conozca los resultados del Ranking de Clínicas y Hospitales 2020". www.americaeconomia.com (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  41. "Population growth (annual %) - Colombia | Data". data.worldbank.org.
  42. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2017-04-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-04-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  43. "Colombia Population (2022) - Worldometer". www.worldometers.info (ภาษาอังกฤษ).
  44. 44.0 44.1 https://www.dane.gov.co/index.php/estadisticas-por-tema/demografia-y-poblacion/censo-nacional-de-poblacion-y-vivenda-2018
  45. Mooney, Jazlyn A.; Huber, Christian D.; Service, Susan; Sul, Jae Hoon; Marsden, Clare D.; Zhang, Zhongyang; Sabatti, Chiara; Ruiz-Linares, Andrés; Bedoya, Gabriel; Freimer, Nelson; Lohmueller, Kirk E. (2018-11-01). "Understanding the Hidden Complexity of Latin American Population Isolates". American Journal of Human Genetics. 103 (5): 707–726. doi:10.1016/j.ajhg.2018.09.013. ISSN 0002-9297. PMC 6218714. PMID 30401458.
  46. "Genomic Insights into the Ancestry and Demographic History of South America". สืบค้นเมื่อ 5 February 2022.
  47. Semana (2018-10-25). "Así llegaron los primeros migrantes japoneses a Colombia". Semana.com Últimas Noticias de Colombia y el Mundo (ภาษาสเปน).
  48. Redacción. "Las culturas asiáticas escondidas en Colombia". PanoramaCultural.com.co (ภาษาอังกฤษ).
  49. "LegisComex. Sistema de Inteligencia Comercial". www.legiscomex.com.
  50. "Características de los migrantes de Venezuela a Colombia" (PDF). labourosario.com (ภาษาสเปน). 2017-08-14.
  51. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2016-03-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  52. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2014-03-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  53. "Santiago Martinez Delgado - Biography". www.askart.com.
  54. "Santiago Martínez Delgado, artista polifacético · ICAA Documents Project · ICAA/MFAH". icaa.mfah.org.
  55. "Santiago Martinez Delgado Artist Page". digitalconsciousness.com.
  56. "Home". Columbia GSAPP (ภาษาอังกฤษ).
  57. Amigofoods (2019-03-02). "17 Best Colombian Food Dishes You Should Try Right Now". The Best Latin & Spanish Food Articles & Recipes - Amigofoods (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  58. "Food In Colombia - What To Know & Eat | Backroads". www.backroads.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

ข้อมูลทั่วไป

แก้

รัฐบาล

แก้

วัฒนธรรม

แก้

ภูมิศาสตร์

แก้