ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (อังกฤษ: UEFA Champions League) เป็นการแข่งขันฟุตบอลสโมสรประจำปีจัดโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) โดยแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลจากลีกสูงสุดในยุโรป ตัดสินผู้ชนะเลิศจากการแข่งขันผ่านรอบแบ่งกลุ่มแบบพบกันหมด ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกแบบพบกันเหย้าเยือนสองนัดและรอบชิงชนะเลิศนัดเดียว ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นการแข่งขันระดับสโมสรที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลกและเป็นการแข่งขันฟุตบอลที่มีผู้ชมมากที่สุดเป็นอันดับสามโดยรวม รองจากฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปและฟุตบอลโลก และเป็นหนึ่งในการแข่งขันฟุตบอลที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกและเป็นการแข่งขันระดับสโมสรที่มีชื่อเสียงที่สุดในฟุตบอลยุโรป ซึ่งแข่งขันโดยแชมป์ลีกระดับประเทศ (และรองชนะเลิศอย่างน้อยหรือมากกว่าหนึ่งสโมสรสำหรับบางประเทศ) ของสมาคมระดับชาติของพวกเขา
ผู้จัด | ยูฟ่า |
---|---|
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1955 (เปลี่ยนชื่อในปี ค.ศ. 1992) |
ภูมิภาค | ยุโรป |
จำนวนทีม |
|
ผ่านเข้าไปเล่นใน | |
การแข่งขันที่เกี่ยวข้อง |
|
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | เรอัลมาดริด (15 สมัย) |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | เรอัลมาดริด (15 สมัย) |
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์ | รายชื่อผู้ถ่ายทอดสด |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2024–25 |
การแข่งขันเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 1955 ในชื่อ Coupe des Clubs Champions Européens (ภาษาฝรั่งเศสของยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพ) และเรียกกันทั่วไปว่า ยูโรเปียนคัพ โดยเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออกระหว่างสโมสรที่เป็นแชมป์ลีกในประเทศของยุโรป โดยทีมที่ชนะเลิศถือเป็นแชมป์สโมสรยุโรป การแข่งขันเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบันเมื่อปี ค.ศ. 1992 เพิ่มการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มแบบพบกันหมดเมื่อปี ค.ศ. 1991 และอนุญาตให้มีหลายสโมสรจากบางประเทศเข้าแข่งขันตั้งแต่ฤดูกาล 1997–1998[1] นับตั้งแต่นั้นมาก็มีการขยายให้มีหลายสโมสรเข้ามาแข่งขันมากขึ้น และในขณะที่ลีกระดับชาติของยุโรปส่วนใหญ่ยังสามารถเข้าผ่านตำแหน่งแชมป์ได้เท่านั้น แต่ลีกที่แข็งแกร่งที่สุดตอนนี้สามารถเข้าแข่งขันได้ถึงสี่ทีม[2][3] สโมสรที่จบอันดับรองลงมาจากลีกระดับชาติของพวกเขาและไม่ได้ผ่านเข้าไปแข่งขันในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก มีสิทธิ์เข้าแข่งขันใน ยูฟ่ายูโรปาลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลยุโรประดับที่สอง และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2021 สโมสรที่ไม่ได้ผ่านเข้าไปแข่งขันในยูฟ่ายูโรปาลีก จะมีสิทธิ์เข้าแข่งขันใน ยูฟ่าคอนเฟอเรนซ์ลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลยุโรประดับที่สาม[4]
ในรูปแบบปัจจุบัน แชมเปียนส์ลีกจะเริ่มขึ้นในปลายเดือนมิถุนายนโดยมีรอบเบื้องต้น, รอบคัดเลือกสามรอบและรอบเพลย์ออฟ โดยทั้งหมดเล่นแบบสองนัด หกทีมที่ชนะจะเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่ม โดยเข้าร่วมกับ 26 ทีมที่ผ่านเข้ารอบล่วงหน้า 32 ทีมจะจับสลากเพื่อแบ่งเป็นแปดกลุ่ม กลุ่มละสี่ทีมและแข่งขันโดยการพบกันหมดเหย้าเยือน ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศของแต่ละกลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก ซึ่งจะสิ้นสุดด้วยนัดชิงชนะเลิศในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายน[5] ผู้ชนะเลิศแชมเปียนส์ลีกจะได้แข่งขันในแชมเปียนส์ลีกฤดูกาลถัดไป, ยูฟ่าซูเปอร์คัพและฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ[6][7]
สโมสรจากสเปนเป็นผู้ชนะเลิศมากที่สุด (20 ครั้ง) ตามมาด้วยอังกฤษ (15 ครั้ง) และ อิตาลี (12 ครั้ง) อังกฤษมีจำนวนสโมสรที่ชนะเลิศมากที่สุด (6 สโมสร) การแข่งขันมี 23 สโมสรเป็นผู้ชนะเลิศ โดย 13 สโมสรชนะเลิศมากกว่าหนึ่งครั้ง และ 8 สโมสรสามารถป้องกันตำแหน่งได้สำเร็จ[8] เรอัลมาดริด เป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของการแข่งขัน โดยชนะเลิศ 15 ครั้งและเป็นสโมสรเดียวที่ชนะเลิศห้าครั้งติดต่อกัน (ในห้าฤดูกาลแรกของการแข่งขัน) และห้าครั้งจากสิบครั้งล่าสุด[9] ไบเอิร์นมิวนิก เป็นสโมสรเดียวที่ชนะทุกนัดของการแข่งขันจนถึงนัดชิงชนะเลิศในฤดูกาล 2019–20[10] เรอัลมาดริดเป็นผู้ชนะเลิศแชมเปียนส์ลีกปัจจุบัน หลังชนะ โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 2–0 ในนัดชิงชนะเลิศ 2024 ชนะเลิศเป็นสมัยที่สิบห้า
ประวัติ
แก้ครั้งแรกที่แชมป์ลีกยุโรปทั้งสองพบกันคือ เวิลด์แชมเปียนชิป 1895 เมื่อ ซันเดอร์แลนด์ แชมป์ลีกอังกฤษชนะ ฮาร์ต แชมป์ลีกสกอตแลนด์ 5–3[11] การแข่งขันทั่วยุโรปครั้งแรกคือ แชลลินจ์คัพ การแข่งขันระหว่างสโมสรจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี[12] สามปีต่อมาใน ค.ศ. 1900 แชมป์ลีกจากเบลเยียม, เนเธอร์แลนด์และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีการแข่งขันลีกอยู่ในทวีปยุโรปในขณะนั้น เข้าร่วมใน คูเป ฟาน เดอร์ สเตรเทน ปอนโทซ ถูกหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นขนานนามว่าเป็น "แชมป์สโมสรแห่งทวีป"[13][14]
มิโตรปาคัพ สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1927 โดย ฮูโก ไมเซิล ชาวออสเตรีย โดยนำรูปแบบการแข่งขันมาจากแชลลินจ์คัพ และแข่งขันระหว่างสโมสรยุโรปกลาง[15] เซอร์เวตต์ จัดการแข่งขันและลงเล่นใน คูเป เด เนชันส์ ใน ค.ศ. 1930 คือความพยายามครั้งแรกในการสร้างการแข่งขันชิงถ้วยชนะเลิศให้กับสโมสรแชมป์ระดับชาติของยุโรป[16] จัดขึ้นในเจนีวา เป็นรวบรวมแชมป์สิบสโมสรจากทั่วทั้งทวีปมารวมกัน อูจเปสต์ จากฮังการี เป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขัน[16] ประเทศลาตินยุโรปรวมตัวกันเพื่อก่อตั้ง ลาตินคัพ ใน ค.ศ. 1949[17]
กาเบรียล ฮาโนต์ บรรณาธิการของ เลกิป เริ่มเสนอให้มีการจัดการแข่งขันทั่วทั้งทวีป หลังจากได้รับรายงานจากนักข่าวเกี่ยวกับความสำเร็จอย่างสูงของ แชมเปียนชิปออฟแชมเปียนส์แห่งอเมริกาใต้ ใน ค.ศ. 1948[18] ในการสัมภาษณ์ ฌาคส์ เฟอร์ราน (หนึ่งในผู้ก่อตั้งยูโรเปียนแชมเปียนคัพร่วมกับกาเบรียล ฮาโนต์)[19] กล่าวว่าแชมเปียนชิปออฟแชมเปียนส์แห่งอเมริกาใต้เป็นแรงบันดาลใจให้กับยูโรเปียนแชมเปียนคัพ[20] หลัง สแตน คัลลิส ประกาศว่า วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ เป็น "แชมเปียนส์ของโลก" หลังจากประสบความสำเร็จในการแข่งขันกระชับมิตรในทศวรรษ 1950 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนัดที่ชนะบูดาเปสต์ฮอนเวด 3–2 ในที่สุด ฮาโนต์ก็สามารถโน้มน้าวให้ยูฟ่านำการแข่งขันดังกล่าวไปใช้จริง ได้รับการออกแบบในปารีสใน ค.ศ. 1955 โดยใช้ชื่อว่า ยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพ[1]
1955–1967: จุดเริ่มต้น
แก้การแข่งขันยูโรเปียนคัพครั้งแรกจัดขึ้นในฤดูกาล 1955–56[21][22] โดยมีสโมสรเข้าร่วมสิบหกสโมสร (บางสโมสรได้รับเชิญ) ได้แก่ เอซี มิลาน (อิตาลี), เอจีเอฟ ออร์ฮุส (เดนมาร์ก), อันเดอร์เลคต์ (เบลเยียม), เยอร์กอร์เดน (สวีเดน), กวาร์เดียวอร์ซาวา (โปแลนด์), ฮิเบอร์เนียน (สกอตแลนด์), ปาร์ติซาน (ยูโกสลาเวีย), เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน (เนเธอร์แลนด์), ราพีทวีน (ออสเตรีย), เรอัลมาดริด (สเปน), ร็อต-ไวส์ เอสเซน (เยอรมนีตะวันตก), ซาร์บรึคเคิน (ซาร์), เซอร์เวตต์ (สวิตเซอร์แลนด์), สปอร์ติงลิสบอน (โปรตุเกส), แร็งส์ (ฝรั่งเศส) และ โวโรส โลโบโก (ฮังการี)[21][22]
การแข่งขันยูโรเปียนคัพนัดแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1955 และจบลงด้วยการเสมอ 3–3 ระหว่างสปอร์ติงลิสบอนและปาร์ติซาน[21][22] ประตูแรกในประวัติศาสตร์การแข่งขันยูโรเปียนคัพทำโดย ฌูเวา บัพติสตา มาร์ตินส์ ให้กับสปอร์ติงลิสบอน[21][22] นัดชิงชนะเลิศครั้งแรกจัดขึ้นที่ ปาร์กเดแพร็งส์ ระหว่างสตาดเดอแร็งส์และเรอัลมาดริดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1956[21][22][23] ทีมจากสเปนตามหลังแต่สามารถกลับมาชนะได้ด้วยผลประตู 4–3 โดย อัลเฟรโด ดิ เอสเตฟาโน, มาร์กีโตส และสองประตูจาก เฮกตอร์ รีอัล[21][22][23] เรอัลมาดริดป้องกันแชมป์ได้สำเร็จในฤดูกาลถัดไปในสนามเหย้าของพวกเขา ซานเตียโก เบร์นาเบว โดยชนะฟีออเรนตีนา[24][25] หลังในครึ่งแรกไม่มีประตู เรอัลมาดริดทำสองประตูในหกนาทีจึงชนะทีมจากอิตาลี[23][24][25] ใน ค.ศ. 1958 มิลานล้มเหลวในการคว้าแชมป์หลังจากขึ้นนำสองประตู แต่เรอัลมาดริดตีเสมอได้[26][27] นัดชิงชนะเลิศจัดขึ้นที่สนามกีฬาเฮย์เซล โดยแข่งขันถึงช่วงต่อเวลาพิเศษ เมื่อ ฟรานซิสโก เกนโต ทำประตูชัยให้กับเรอัลมาดริด ส่งผลให้ชนะเลิศเป็นสมัยที่สามติดต่อกัน[23][26][27]
เรอัลมาดริดพบกับสตาดเดอแร็งส์อีกครั้งใน นัดชิงชนะเลิศ 1959 ที่เนคคาร์สตาดิโอน และชนะ 2–0[23][28][29] ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท จากเยอรมันตะวันตก กลายเป็นทีมแรกที่ไม่ได้แข่งขันในลาตินคัพเพื่อเข้าถึงนัดชิงชนะเลิศยูโรเปียนคัพ[17][30][31] นัดชิงชนะเลิศ 1960 ครองสถิติเป็นนัดที่มีการทำประตูมากที่สุด เรอัลมาดริดชนะไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท 7–3 ที่แฮมป์เดนพาร์ก จากการทำประตูโดย แฟแร็นตส์ ปุชกาช สี่ประตูและแฮตทริกโดย อัลเฟรโด ดิ เอสเตฟาโน[23][30][31] และเป็นการชนะเลิศสมัยที่ห้าติดต่อกันของเรอัลมาดริด และสถิตินี้ยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน[8]
ยุคสมัยของเรอัลมาดริดสิ้นสุดลงในฤดูกาล 1960–61 เมื่อ บาร์เซโลนา คู่แข่งที่ขมขื่นกำจัดพวกเขาออกไปในรอบแรก[32][33] บาร์เซโลนาแพ้ ไบฟีกา จากโปรตุเกส 3–2 ในนัดชิงชนะเลิศที่สนามกีฬาวานค์ดอร์ฟ[32][33][34] ไบฟีกาที่มี เอวแซบียู ชนะเรอัลมาดริด 5–3 ที่สนามกีฬาโอลิมปิกในอัมสเตอร์ดัม และรักษาแชมป์สองสมัยติดต่อกัน[34][35][36] ไบฟีกาต้องการทำตามความสำเร็จของเรอัลมาดริดในช่วงทศวรรษ 1950 หลังเข้าถึงนัดชิงชนะเลิศในฤดูกาล 1962–63 แต่จากการทำสองประตูโดย โฌแซ อัลตาฟีนี จากมิลานที่เวมบลีย์ ทำให้ถ้วยรางวัลออกจากคาบสมุทรไอบีเรียเป็นครั้งแรก[37][38][39]
อินเตอร์มิลาน ชนะเรอัลมาดริด 3–1 ที่สนามกีฬาแอ็นสท์ ฮัพเพิล ในฤดูกาล 1963–64 และเลียนแบบความสำเร็จของคู่แข่งในท้องถิ่น[40][41][42] แชมป์อยู่ในมิลานสามปีติดต่อกัน หลังอินเตอร์ชนะไบฟีกา 1–0 ที่ซานซีโร สนามเหย้าของพวกเขา[43][44][45] เซลติก สโมสรจากสกอตแลนด์ ภายใต้การคุมทีมของ จ็อก สไตน์ ชนะอินเตอร์มิลาน 2–1 ในนัดชิงชนะเลิศ 1967 กลายเป็นสโมสรอังกฤษทีมแรกที่คว้าแชมป์ยูโรเปียนคัพ[46][47] ผู้เล่นเซลติกในวันนั้น ซึ่งทุกคนเกิดภายในรัศมี 48 กิโลเมตรจากกลาสโกว์ ต่อมากลายเป็นที่รู้จักในนาม "สิงโตลิสบอน"[48]
รูปแบบ
แก้การคัดเลือก
แก้รอบแบ่งกลุ่มและรอบแพ้คัดออก
แก้การจัดสรร
แก้ตารางต่อไปนี้คือรายการเข้าสู่การแข่งขันเริ่มต้น[49][50]
สโมสรที่เข้ารอบนี้ | สโมสรจากรอบก่อนหน้า | ||
---|---|---|---|
รอบเบื้องต้น (4 สโมสร) |
|
||
รอบคัดเลือกรอบแรก (34 สโมสร) |
|
| |
รอบคัดเลือกรอบสอง | ตัวแทนที่ชนะเลิศจากลีก (20 สโมสร) |
|
|
ตัวแทนจากลีก (6 สโมสร) |
|
||
รอบคัดเลือกรอบสาม | ตัวแทนที่ชนะเลิศจากลีก (12 สโมสร) |
|
|
ตัวแทนจากลีก (8 สโมสร) |
|
| |
รอบเพลย์ออฟ | ตัวแทนที่ชนะเลิศจากลีก (8 สโมสร) |
|
|
ตัวแทนจากลีก (4 สโมสร) |
| ||
รอบแบ่งกลุ่ม (32 สโมสร) |
|
| |
รอบแพ้คัดออก (16 สโมสร) |
|
รางวัล
แก้ถ้วยและเหรียญ
แก้การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ
แก้ทำเนียบผู้ชนะเลิศ
แก้ชนะเลิศ (จำแนกตามสโมสร)
แก้สโมสร | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ปีที่ชนะเลิศ | ปีที่ได้รองชนะเลิศ |
---|---|---|---|---|
เรอัลมาดริด | 15 | 3 | 1956, 1957, 1958, 1959, 1960, 1966, 1998, 2000, 2002, 2014, 2016, 2017, 2018, 2022, 2024 | 1962, 1964, 1981 |
มิลาน | 7 | 4 | 1963, 1969, 1989, 1990, 1994, 2003, 2007 | 1958, 1993, 1995, 2005 |
ไบเอิร์นมิวนิก | 6 | 5 | 1974, 1975, 1976, 2001, 2013, 2020 | 1982, 1987, 1999, 2010, 2012 |
ลิเวอร์พูล | 6 | 4 | 1977, 1978, 1981, 1984, 2005, 2019 | 1985, 2007, 2018, 2022 |
บาร์เซโลนา | 5 | 3 | 1992, 2006, 2009, 2011, 2015 | 1961, 1986, 1994 |
อายักซ์ | 4 | 3 | 1971, 1972, 1973, 1995 | 1969, 1996 |
อินเตอร์ | 3 | 3 | 1964, 1965, 2010 | 1967, 1972, 2023 |
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | 3 | 2 | 1968, 1999, 2008 | 2009, 2011 |
ยูเวนตุส | 2 | 7 | 1985, 1996 | 1973, 1983, 1997, 1998, 2003, 2015, 2017 |
ไบฟีกา | 2 | 5 | 1961, 1962 | 1963, 1965, 1968, 1988, 1990 |
เชลซี | 2 | 1 | 2012, 2021 | 2008 |
นอตทิงแฮมฟอเรสต์ | 2 | 0 | 1979, 1980 | — |
โปร์ตู | 2 | 0 | 1987, 2004 | — |
เซลติก | 1 | 1 | 1967 | 1970 |
ฮัมบวร์ค | 1 | 1 | 1983 | 1980 |
สเตอัวบูคูเรสตี | 1 | 1 | 1986 | 1989 |
มาร์แซย์ | 1 | 1 | 1993 | 1991 |
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ | 1 | 2 | 1997 | 2013,2024 |
แมนเชสเตอร์ซิตี | 1 | 1 | 2023 | 2021 |
ไฟเยอโนร์ด | 1 | 0 | 1970 | — |
แอสตันวิลลา | 1 | 0 | 1982 | — |
เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน | 1 | 0 | 1988 | — |
เรดสตาร์เบลเกรด | 1 | 0 | 1991 | — |
อัตเลติโกเดมาดริด | 0 | 3 | — | 1974, 2014, 2016 |
แร็งส์ | 0 | 2 | — | 1956, 1959 |
บาเลนเซีย | 0 | 2 | — | 2000, 2001 |
ฟีออเรนตีนา | 0 | 1 | — | 1957 |
ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟูร์ท | 0 | 1 | — | 1960 |
ปาร์ติซาน | 0 | 1 | — | 1966 |
ปานาซีไนโกส | 0 | 1 | — | 1971 |
ลีดส์ยูไนเต็ด | 0 | 1 | — | 1975 |
แซ็งเตเตียน | 0 | 1 | — | 1976 |
โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค | 0 | 1 | — | 1977 |
กลึบบรึคเคอ | 0 | 1 | — | 1978 |
มัลเมอ | 0 | 1 | — | 1979 |
โรมา | 0 | 1 | — | 1984 |
ซัมป์โดเรีย | 0 | 1 | — | 1992 |
ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน | 0 | 1 | — | 2002 |
มอนาโก | 0 | 1 | — | 2004 |
อาร์เซนอล | 0 | 1 | — | 2006 |
ทอตนัมฮอตสเปอร์ | 0 | 1 | — | 2019 |
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง | 0 | 1 | — | 2020 |
ชนะเลิศ (จำแนกตามชาติ)
แก้นักเตะที่ชนะรางวัลมากที่สุด
แก้- ณ วันที่ 01 สิงหาคม ค.ศ. 2024
จำนวนที่ชนะ | ชื่อ | สโมสร |
---|---|---|
6 | ปาโก เฆนโต | Real Madrid (1956, 1957, 1958, 1959, 1960, 1966) |
โทนี โครส | Bayern Munich (2013),
Real Madrid (2016, 2017, 2018, 2022, 2024) | |
ดานิ การ์บาฆัล | Real Madrid (2014, 2016, 2017, 2018, 2022, 2024) | |
ลูกา มอดริช | ||
Nacho | ||
5 | Juan Alonso | Real Madrid (1956, 1957, 1958, 1959, 1960) |
Rafael Lesmes | ||
Marquitos | ||
Héctor Rial | ||
Alfredo Di Stéfano | ||
José María Zárraga | ||
Alessandro Costacurta | AC Milan (1989, 1990, 1994, 2003, 2007) | |
Paolo Maldini | ||
คริสเตียโน โรนัลโด | Manchester United(2008),
Real Madrid (2014, 2016, 2017, 2018) | |
การีม แบนเซมา | Real Madrid (2014, 2016, 2017, 2018, 2022) | |
แกเร็ท เบล | ||
มาร์เซลู วีเอรา | ||
อิสโก | ||
กาเซมีรู | ||
ลูกัส บัซเกซ |
ลงเล่นสูงสุด
แก้- ณ วันที่ 01 สิงหาคม ค.ศ. 2024
ผู้เล่น | ประเทศ | ลงเล่น | ปี | สโมสร | |
---|---|---|---|---|---|
1 | คริสเตียโน โรนัลโด | โปรตุเกส | 183 | 2003–2022 | Manchester United (59), Real Madrid (101), Juventus (23) |
2 | อีเกร์ กาซียัส | สเปน | 177 | 1999–2019 | Real Madrid (150) , Porto (27) |
3 | ลิโอเนล เมสซิ | อาร์เจนตินา | 163 | 2005–2023 | Barcelona (149), Paris Saint-Germain (14) |
4 | การีม แบนเซมา | ฝรั่งเศส | 152 | 2005-2023 | Lyon (19) , Real Madrid (133) |
5 | โทนี โครส | เยอรมนี | 151 | 2008-2024 | Bayern Munich (41) , Real Madrid (110) |
โทมัส มึลเลอร์ | เยอรมนี | 151 | 2009- | Bayern Munich | |
ชาบี อาร์นันดัส | สเปน | 151 | 1998–2015 | Barcelona | |
8 | ราอุล กอนซาเลซ | สเปน | 142 | 1995–2011 | Real Madrid (130) , Schalke 04 (12) |
เซร์ฆิโอ ราโมส | สเปน | 142 | 2005–2023 | Real Madrid, (129), Paris Saint-Germain (8) ,Sevilla | |
10 | ไรอัน กิกส์ | เวลส์ | 141 | 1993–2014 | Manchester United |
ทำประตูสูงสุด
แก้- ณ วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2024
ผู้เล่น | ประตู | ลงเล่น | อัตราส่วน | ปี | สโมสร
จำนวนประตู/ลงเล่น | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | คริสเตียโน โรนัลโด | 140 | 183 | 0.77 | 2003–2022 | Manchester United (21/59), Real Madrid (105/101), Juventus (14/23) |
2 | ลิโอเนล เมสซิ | 129 | 163 | 0.79 | 2005–2023 | Barcelona (120/149), Paris Saint-Germain (9/14) |
3 | รอแบร์ต แลวันดอฟสกี | 96 | 122 | 0.79 | 2011- | Borussia Dortmund (17/28), Bayern Munich (69/78), Barcelona (10/16) |
4 | การีม แบนเซมา | 90 | 152 | 0.59 | 2005-2023 | Lyon (12/19), Real Madrid (78/133) |
5 | ราอุล กอนซาเลซ | 71 | 142 | 0.5 | 1995-2011 | Real Madrid (66/130), Schalke 04 (5/12) |
6 | รืด ฟัน นิสเติลโรย | 56 | 73 | 0.77 | 1998–2009 | PSV (8/11), Manchester United (35/43), Real Madrid (13/19) |
7 | โทมัส มึลเลอร์ | 54 | 152 | 0.36 | 2009- | Bayern Munich |
8 | ตีแยรี อ็องรี | 50 | 112 | 0.84 | 1997-2012 | AS Monaco (7/9), Arsenal (35/77), Barcelona (8/26) |
9 | อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน | 49 | 58 | 0.84 | 1955–64 | Real Madrid |
10 | กีลียาน อึมบาเป | 49 | 75 | 0.65 | 2016- | AS Monaco (6/9), Paris Saint-Germain (42/64), Real Madrid (1/2) |
ตัวหนา หมายถึง นักเตะที่ยังเล่นฟุตบอลอยู่ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Football's premier club competition". UEFA. 31 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2010. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "Clubs". UEFA. 12 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2020. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
- ↑ "UEFA Europa League further strengthened for 2015–18 cycle" (Press release). UEFA. 24 May 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
- ↑ "UEFA Executive Committee approves new club competition" (Press release). UEFA. 2 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018.
- ↑ "Matches". UEFA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2020. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
- ↑ "Club competition winners do battle". UEFA. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2010. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "FIFA Club World Cup". FIFA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 30 December 2013.
- ↑ 8.0 8.1 "European Champions' Cup". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "Most titles | History". UEFA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2022. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
- ↑ "A perfect 11! Flawless Bayern set new Champions League record with PSG victory". Goal.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2 August 2021.
- ↑ "When Sunderland met Hearts in the first ever 'Champions League' match". Nutmeg Magazine. 2 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2020.
- ↑ García, Javier; Kutschera, Ambrosius; Schöggl, Hans; Stokkermans, Karel (2009). "Austria/Habsburg Monarchy – Challenge Cup 1897–1911". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2022. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
- ↑ "European Cup Origins". europeancuphistory.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2021. สืบค้นเมื่อ 13 July 2022.
- ↑ "Coupe Van der Straeten Ponthoz". RSSSF. 10 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 13 July 2022.
- ↑ Stokkermans, Karel (2009). "Mitropa Cup". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2023. สืบค้นเมื่อ 2 February 2023.
- ↑ 16.0 16.1 Ceulemans, Bart; Michiel, Zandbelt (2009). "Coupe des Nations 1930". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2022. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
- ↑ 17.0 17.1 Stokkermans, Karel; Gorgazzi, Osvaldo José (2006). "Latin Cup". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2017. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
- ↑ "Primeira Libertadores – História (Globo Esporte 09/02/20.l.08)". YouTube. 18 February 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2021. สืบค้นเมื่อ 14 August 2010.
- ↑ "European Cup pioneer Jacques Ferran passes away". UEFA. 8 February 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2021. สืบค้นเมื่อ 1 January 2021.
- ↑ "Globo Esporte TV programme, Brazil, broadcast (in Portuguese) on 10/05/2015: Especial: Liga dos Campeões completa 60 anos, e Neymar ajuda a contar essa história. Accessed on 06/12/2015. Ferran's speech goes from 5:02 to 6:51 in the video". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 "1955/56 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 "European Champions' Cup 1955–56 – Details". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2022. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 "Trofeos de Fútbol". Real Madrid. 31 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2009. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ 24.0 24.1 "1956/57 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ 25.0 25.1 "Champions' Cup 1956–57". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2023. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ 26.0 26.1 "1957/58 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ 27.0 27.1 "Champions' Cup 1957–58". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2022. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "1958/59 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "Champions' Cup 1958–59". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2022. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ 30.0 30.1 "1959/60 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ 31.0 31.1 "Champions' Cup 1959–60". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2023. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ 32.0 32.1 "1960/61 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ 33.0 33.1 "Champions' Cup 1960–61". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2022. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ 34.0 34.1 "Anos 60: A "década de ouro"". Sport Lisboa e Benfica. 31 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2007. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "1961/62 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "Champions' Cup 1961–62". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2023. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "1962/63 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "Champions' Cup 1962–63". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2022. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "Coppa Campioni 1962/63". Associazione Calcio Milan. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "1963/64 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "Champions' Cup 1963–64". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2023. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "Palmares: Prima coppa dei campioni – 1963/64" (ภาษาอิตาลี). FC Internazionale Milano. 31 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2006. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "1964/65 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "Champions' Cup 1964–65". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2022. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "Palmares: Prima coppa dei campioni – 1964/65" (ภาษาอิตาลี). FC Internazionale Milano. 31 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2006. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "A Sporting Nation – Celtic win European Cup 1967". BBC Scotland. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2006. สืบค้นเมื่อ 28 January 2016.
- ↑ "Celtic immersed in history before UEFA Cup final". Sports Illustrated. 20 May 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2012. สืบค้นเมื่อ 15 May 2010.
- ↑ Lennox, Doug (2009). Now You Know Soccer. Dundurn Press. p. 143. ISBN 978-1-55488-416-2.
now you know soccer who were the lisbon lions.
- ↑ "Champions League and Europa League changes next season". UEFA.com (Press release). Union of European Football Associations. 27 February 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2018. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
- ↑ "UEFA club competition access list 2021–24" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2020.