คอนเสิร์ตปิดทองหลังพระ
นักร้อง | คาราบาว |
---|---|
รูปแบบ | คอนเสิร์ตใหญ่ |
สถานที่ | อินดอร์สเตเดี้ยม ภายในสนามกีฬาหัวหมาก |
วันเริ่มต้นการแสดง | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 |
ก่อนหน้า |
คนคาราบาว (2530) |
---|---|
ถัดไป |
คอนเสิร์ต 15 ปี เมด อิน ไทยแลนด์ (2539) |
คอนเสิร์ตปิดทองหลังพระ เป็นคอนเสิร์ตใหญ่ของวง คาราบาว จัดขึ้นเพื่อปิดการโปรโมตอัลบั้ม 15 ปี คาราบาว หากหัวใจยังรักควาย ซึ่งเป็นอัลบั้มที่สมาชิกของวงทั้ง 7 คนในยุคคลาสสิกไลน์อัพกลับมารวมตัวกันทำงานเพื่อออกอัลบั้มอีกครั้ง และถือเป็นอัลบั้มพิเศษที่ออกมาพร้อมกันถึง 2 ชุด มีเพลงทั้งหมด 20 เพลง ที่ออกมาในปลายปี พ.ศ. 2538
คอนเสิร์ตครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 ที่ อินดอร์ สเตเดียม ภายในสนามกีฬาหัวหมาก ของการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยก่อนหน้านั้น แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล นักร้องนำและหัวหน้าวงได้เดินทางไปยังวัดบ้านไร่ ตำบล กุดพิมานอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เพื่อนำเงินรายได้จากการจัดคอนเสิร์ตสมทบทุนสร้างโรงพยาบาล มอบให้แด่ พระญาณวิทยาคมเถร (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) (สมณศักดิ์ในขณะนั้น)เจ้าอาวาสวัด ซึ่งก่อนเริ่มการแสดงมีการถ่ายทอดสดการให้พรของพระญาณวิทยาคมเถร (สมณศักดิ์ในขณะนั้น)จากวัดบ้านไร่ผ่านดาวเทียม พร้อมกับมีการโปรยน้ำมนต์ที่ผ่านการปลุกเสกแล้วจากพระญาณวิทยาคมเถร (สมณศักดิ์ในขณะนั้น)ให้แก่ผู้ชม เพื่อเป็นสิริมงคลอีกด้วย
ในคอนเสิร์ตมีพิธีกร คือ วินิจ เลิศรัตนชัย และ สาลินี ปันยารชุน โดยการแสดงแบ่งออกเป็น 2 ช่วงใหญ่ ๆ ช่วงแรกเป็นช่วงของศิลปินรับเชิญมากมาย ที่ออกมาร้องเพลงของคาราบาวในอัลบั้มต่าง ๆ ในสไตล์ของตนเอง อาทิ บิลลี่ โอแกน, ติ๊ก ชีโร่, ทอม ดันดี, กษาปณ์ จำปาดิบ, ออดี้, สไมล์บัฟฟาโล่, สุกัญญา มิเกล, เดอะ มัสต์
ช่วงที่ 2 เป็นการแสดงของคาราบาว ที่เป็นการมาพร้อมครบของสมาชิกในยุคคลาสสิกไลน์อัพทั้ง 7 คน โดยเปิดการแสดงด้วยเพลง หลวงพ่อคูณ ที่อยู่ในอัลบั้ม รุ่นคนสร้างชาติ โดยในช่วงกลางแสดง มีศิลปินรับเชิญ 2 คน คือ นก - สินจัย เปล่งพานิช ซึ่งเป็นผู้เข้าชมขึ้นมาร้องเพลงร่วมกับแอ๊ดในเพลง เดือนเพ็ญ และ แหลม มอริสัน ที่มาโซโล่กีตาร์ ร่วมกับ เล็ก - ปรีชา ชนะภัย ในเพลง กีตาร์คิงส์ ซึ่งเป็นเพลงที่บอกเล่าถึงชีวิตของแหลมเอง ในอัลบั้ม 15 ปี คาราบาว หากหัวใจยังรักควาย
เพลงสุดท้ายในการแสดง คือ การร่วมร้องเพลงของศิลปินรับเชิญทั้งหมดกับคาราบาวและ พยัพ คำพันธุ์ เซียนพระมือหนึ่งของไทยในเพลง หลวงพ่อคูณ ซึ่งเป็นเพลงเดียวกับเพลงที่เริ่มต้นการแสดง พร้อมกับมีการโปรยน้ำมนต์อีกครั้งเพื่อเป็นสิริมงคลก่อนปิดการแสดง
ต่อมาในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2547 ได้มีการผลิตเทปและวีซีดีบันทึกการแสดงสดออกมาจำหน่ายโดยบริษัทกระบือแอนด์โค แต่ทว่ามีข้อผิดพลาดในการผลิต เนื่องจากอักษรตัวนูนที่หน้าปกวีซีดีชุดนี้ ได้ระบุข้อความถึงสถานที่จัดคอนเสิร์ตครั้งนั้นผิดพลาด โดยระบุว่าจัดที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน และในปี พ.ศ. 2553 วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ ต้นสังกัดของวงในปัจจุบัน ได้นำวิดีโอบันทึกการแสดงสดครั้งนี้มาจัดจำหน่ายใหม่อีกครั้งในรูปแบบ วีซีดี และ ดีวีดี ในโอกาสครบรอบ 30 ปี ของวงคาราบาว[1]
สมาชิกวงคาราบาวในคอนเสิร์ตแก้ไข
- ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) : ร้องนำ , กีต้าร์
- กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว) : ร้องนำ , เพอร์คัสชั่น , กีต้าร์
- ปรีชา ชนะภัย (เล็ก) : ร้องนำ , ร้องประสาน , กีต้าร์
- เทียรี่ เมฆวัฒนา : ร้องนำ , กีต้าร์ , ร้องประสาน
- อนุพงษ์ ประถมปัทมะ (อ๊อด) : เบส , ร้องประสาน
- อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี : ขลุ่ย , แซกโซโฟน , คีย์บอร์ด , ร้องประสาน
- อำนาจ ลูกจันทร์ (เป้า) : กลอง
ศิลปินรับเชิญแก้ไข
- อายลายเนอร์
- เดอะ มัสท์
- ออดี้
- ฟอร์ด สบชัย
- สไมล์บัฟฟาโล่
- ฮานส์ คอรัส
- สินจัย เปล่งพานิช
- แหลม มอริสัน
- บุ๋มบิ่ม สามโทน
- ติ๊ก ชีโร่
- กษาปณ์ จำปาดิบ
- ทอม ดันดี
- สุกัญญา มิเกล
- บิลลี่ โอแกน
- พยัพ คำพันธุ์
- เบิร์ดกะฮาร์ท (ไม่ได้อยู่แผ่นคอนเสิร์ต)
รายชื่อเพลงแก้ไข
- ท.ทหารอดทน - อาย ลายเนอร์
- มรดกเฮงซวย - เดอะ มัสท์
- บ้า - ออดี้
- รักคุณเท่าฟ้า - ฟอร์ด สบชัย
- ลูกแก้ว - สไมล์บัฟฟาโล่
- เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ - ฮานส์ คอรัส
- มนต์เพลงคาราบาว - ฮานส์ คอรัส
- หลวงพ่อคูณ - คาราบาว
- ลุงขี้เมา - คาราบาว
- กัญชา - คาราบาว
- เจ้าตาก - คาราบาว
- เรฟูจี - คาราบาว
- แม่สาย - คาราบาว
- บาปบริสุทธิ์ - คาราบาว
- สัญญาหน้าฝน - คาราบาว
- ควายกว่า - คาราบาว
- 40 ปี - คาราบาว
- ขุนเขายะเยือก - คาราบาว
- เดือนเพ็ญ - สินจัย เปล่งพานิช , คาราบาว
- อองซานซูจี - คาราบาว
- ลูกรอ - คาราบาว
- สามช่าคาราบาว - คาราบาว
- กีตาร์คิงส์ - แหลม มอริสัน , คาราบาว
- หลงวัฒน์ - คาราบาว
- คนไทยรักกัน - บุ๋มบิ่ม สามโทน , ติ๊ก ชิโร่
- เมด อิน ไทยแลนด์ - ติ๊ก ชิโร่
- วณิพก - กษาปณ์ จำปาดิบ , ทอม ดันดี
- หำเทียม - สุกัญญา มิเกล
- ราชาเงินผ่อน - บิลลี่ โอแกน
- ส้มตำ - คาราบาว
- เต้าหู้ยี้ - คาราบาว
- คนหนังเหนียว - คาราบาว
- หลวงพ่อคูณ - รวมศิลปิน และ พยัพ คำพันธุ์
หมายเหตุแก้ไข
- คาราบาวยังเคยจัดคอนเสิร์ตอีกครั้งหนึ่ง ใช้ชื่อว่า ปิดทองหลังพระ เช่นเดียวกัน โดยคอนเสิร์ตปิดทองหลังพระครั้งนี้ จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ภายในมหาวิทยาลัยสยาม โดยก่อนการแสดงมีการเทศนาโดย พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ) ซึ่งคอนเสิร์ตครั้งนี้เองที่แอ๊ดได้นำไปเขียนเป็นความในใจที่ปรากฏอยู่ในปกอัลบั้ม นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดที่ 23 ของวง ที่ออกมาในปลายปีเดียวกันด้วย[2]
- หลังจากคอนเสิร์ตปิดทองหลังพระ ติ๊ก ชีโร่, ฟอร์ด สบชัย และ บิลลี่ โอแกน ก็ได้กลับมาร่วมงานกับคาราบาวอีกครั้งในโปรเจกต์พิเศษครบรอบ 25 ปี คาราบาว มนต์เพลงคาราบาว 25 ปี เมื่อ พ.ศ. 2550
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ บันทึกการแสดงสด คอนเสิร์ตปิดทองหลังพระ
- ↑ ปกอัลบั้ม นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545