ฟลัวร์ (Flure) เป็นวงดนตรีแนวร็อก สังกัดค่ายเบเกอรี่มิวสิค ในเครือโซนี่มิวสิก ประเทศไทย

ฟลัวร์
ที่เกิดกรุงเทพ ประเทศไทย
แนวเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อก
ช่วงปี2545 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงเบเกอรี่มิวสิค
สมาชิกอัศม์เดช ลิมตระการ
รัฐพล ตรีรัตน์
วรรัตน์ พัวไพโรจน์
สุวีระ บุญรอด
ธีรดล ธีโอดอร์ แกสตัน
เว็บไซต์ฟลัวร์ เฟซบุค [1]

ประวัติวง แก้

ธีรดล ธีโอดอร์ แกสตัน (เท็ดดี้), วรรัตน์ พัวไพโรจน์ (วิ) และอัศม์เดช ลิมตระการ (เอิร์ธ) เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกันที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต่อมาเมื่อเติบโตขึ้นก็ได้ร่วมก่อตั้งวงดนตรีด้วยกัน โดยส่วนมากจะเล่นเพลงที่แต่งขึ้นเองมากกว่าที่จะเล่นเพลงที่ดังอยู่แล้ว ในยุคเริ่มต้น เท็ดดี้ ยังไม่ได้เล่นกีตาร์เช่นทุกวันนี้ ณ ขณะนั้นเขารับหน้าที่มือเบสในวง โดยมี วิ เล่นกีตาร์ และ เอิร์ธ ตีกลอง ส่วนนักร้องนำเป็นคนฝรั่งเศสซึ่งเป็นเพื่อนของเท็ดดี้ พวกเขาได้ทำเพลงเป็นภาษาอังกฤษ และได้นำเดโมเพลงที่ทำเองนั้นไปเสนอสุกี้ (กมล สุโกศล แคลปป์)ผู้บริหารค่ายเบเกอรี่มิวสิคในขณะนั้น แต่ในครั้งแรกพวกเขาได้รับการปฏิเสธ ทำให้พวกเขากลับมาทำเพลงกันใหม่อีกครั้ง โดยตั้งใจจะทำเพลงที่มีเนื้อร้องเป็นภาษาไทย จึงได้ชักชวนรัฐพล ตรีรัตน์ (อ้น) ซึ่งเป็นเพื่อนพี่ชายของเอิร์ธเข้ามาเล่นเบส โดยเท็ดดี้ได้เปลี่ยนไปเล่นกีตาร์และทำหน้าที่ร้องนำ แต่ในภายหลังทางสุกี้ได้แนะนำให้ทางวงหานักร้องใหม่ ซึ่งทางวงก็ได้ทำการค้นหาและออดิชั่นนักร้องจำนวนหนึ่ง และในที่สุดทางวงก็ได้สุวีระ บุญรอด (คิว) ซึ่งเป็นเพื่อนของเพื่อนเอิร์ธ มารับหน้าที่ร้องนำ

ความหมายของชื่อวง แก้

ฟลัวร์ (Flure) นั้นแผลงมาจากคำว่า Froid ในภาษาฝรั่งเศสซึ่งหมายความว่า"ความหนาวเย็น" โดยทางวงได้นำมาสะกดใหม่ให้ง่ายขึ้นเป็น Flure ชื่อนี้ วิ มือกีตาร์คนหนึ่งของวง เป็นคนคิดขึ้นโดยการเปิดหาในพจนานุกรมภาษาฝรั่งเศสของน้องสาว อนึ่ง ภายหลัง เท็ดดี้ มือกีตาร์อีกคนของวง ได้พบว่าคำว่า Flure ที่สะกดเช่นนี้ ไปตรงกับคำในภาษาเยอรมันซึ่งแปลว่า "ทางเดิน" ซึ่ง เท็ดดี้ ชอบความหมายในแง่นี้มากกว่า

สมาชิก แก้

ประวัติการทำงาน แก้

ฟลัวร์เปิดตัวกับอัลบัมในปี พ.ศ. 2545 กับสังกัดเบเกอรี่มิวสิคมีเพลงเด่น ๆ อย่าง “เปลี่ยน”, “ปล่อยไปตามหัวใจ” และ “เรื่องเดียว” ตามด้วยอัลบัมพิเศษ “Pop Life” ในปี พ.ศ. 2546 ที่ผลิตและจำหน่ายในวงจำกัด โดยมีเพลงเด่นอย่าง “อะไร”

“Vanilla” (พ.ศ. 2548) อัลบัมที่ 2 กับสังกัด เบเกอรี่มิวสิค ในเครือ โซนี่บีเอ็มจีมิวสิก[1] ผลงานสร้างชื่อที่มีเพลงฮิตอย่าง “ฤดูที่ฉันเหงา”, “คนที่รออยู่” และ “Honeymoon” ซึ่งถือเป็นผลงานคุณภาพตั้งแต่ปกไปจนถึงบทเพลงในอัลบัม จนคว้ารางวัลจากสื่อมวลชนชั้นนำทางดนตรีมาครองมากมายไม่ว่าจะเป็น

แฟตอวอร์ด คม ชัด ลึก อวอร์ด, มิวสิกเอ็กซ์เพรส อวอร์ด และ รางวัลอื่นในระดับประเทศอีกมากมาย

อัลบัมที่สามของวง “Tales” ฟลัวยังคงแต่ง, เรียบเรียง, บันทึกเสียง และดูแลผลงานทุกขั้นตอนเอง ก่อนที่จะส่งผลงานไปมิกซ์และทำมาสเตอร์ที่สหรัฐอเมริกา

หลังจากอัลบั้มชุดที่สาม หลังจากเสร็จสิ้นการทัวร์คอนเสิร์ตอย่างยาวนาน สมาชิกของวงก็แยกย้ายกันไปทำสิ่งต่างๆ, เท็ดดี้ ทำงานร่วมกับ วง Yellow Fang[2] ในฐานะ Producer, วิ และ อ้น ทำงานด้านออกแบบ, เอิร์ธ เป็นอาจารย์

คิว แสดงละครเวที ให้เสียงภาษาไทยเป็นฮานส์ในภาพยนตร์ดิสนี่ย์ที่ฉายในประเทศไทย เรื่อง Frozen[3], ล่าสุดกลับไปร่วมตัวกับเพื่อนสมาชิก วง บีไฟว์ เพื่อจัดคอนเสิร์ตใหญ่

แต่สมาชิกทั้ง 5 ของฟลัวร์ ยังคงพบปะ นัดซ้อมดนตรีด้วยกันอยู่เสมอ ที่สตูดิโอที่บ้านของเอิร์ธ

ในปี พ.ศ. 2560 พวกเขากลับมาอีกครั้ง ด้วยการทัวร์คอนเสิร์ตตามสถานบันเทิง สถานศึกษา ทั้งในต่างจังหวัดและในกรุงเทพมหานคร ตามมาด้วย ซิงเกิ้ลเพลง "บ่ม" และ "ลอง" สองเพลงใหม่เอี่ยมในรอบเกือบ 10 ปี!

และ พ.ศ. 2561 ซิงเกิ้ลที่สาม เพลง "ฝัน" งานคัฟเวอร์ วง "TKO" โดย เพลงเพลงนี้ ประพันธ์ โดย พี่พราย (ปฐมพร ปฐมพร) ศิลปินและนักแต่งเพลงรุ่นใหญ่ในวงการ โดย คิว ได้ฟังเพลงต้นฉบับเพลงนี้แล้วชอบมาก

ทางวง จึงมีการติดต่อไปที่พี่พราย เพื่อขอนำเพลงนี้มาคัฟเวอร์ โดยเรียบเรียงดนตรีใหม่ในแบบฉบับของฟลัวร์

ผลงาน แก้

อัลบัม แก้

ซิงเกิ้ล แก้

(พ.ศ. 2545) แก้

  1. เปลี่ยน Someday (Original Version)
  2. เปลี่ยน Someday (Instrument)
  3. เปลี่ยน Someday (Demo Version)

(พ.ศ. 2560) แก้

  1. บ่ม
  2. ลอง

(พ.ศ. 2561) แก้

  1. ฝัน (TKO คัฟเวอร์)


ผลงานร่วมกับศิลปินอื่น แก้

Fat Code (พ.ศ. 2547) แก้

  1. อ้วน (คัฟเวอร์เพลงของไทรอัมพ์ส คิงดอม)

Fat Code 3 (พ.ศ. 2549) แก้

  1. มีเธอ (ร่วมกับอรอรีย์)

รางวัล แก้

  • คมชัดลึก Awards (2548): ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม
  • Fat Awards (2548): อัลบัมยอดเยี่ยม “Vanilla”
  • Fat Awards (2548): เพลงยอดนิยม “ฤดูที่ฉันเหงา”
  • Music Express Awards (2548): ปกอัลบัมยอดเยี่ยม
  • Hamburger Awards (2548): ปกอัลบัมยอดเยี่ยม

เกร็ดความรู้ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. เทโร มิวสิค
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Yellow_Fang
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/Frozen_(2013_film)