ฟองน้ำ (Fong-Naam) เป็นวงดนตรีที่ผสมผสานดนตรีไทยและดนตรีตะวันตก โดยเฉพาะเทคนิคการประพันธ์ดนตรีในแบบศตวรรษที่ 20 ก่อตั้งโดย บุญยงค์ เกตุคง และ บรูซ แกสตัน เมื่อ พ.ศ. 2522 โดยมีสมาชิกที่สำคัญในช่วงแรกนอกเหนือจากสองท่านที่กล่าวไปแล้วประกอบด้วย บุญยัง เกตุคง, จำเนียร ศรีไทยพันธ์, จิรพรรณ อังศวานนท์, เทวัญ ทรัพย์แสนยากร, พิณ เรืองนนท์

ชื่อของวงฟองน้ำ มาจากชื่อของเพลงไทยโบราณเพลงหนึ่ง ชื่อว่าเพลง "ฟองน้ำ"

ลักษณะของดนตรี

แก้

ลักษณะดนตรีของวงฟองน้ำมีการผสมผสานที่หลากหลายรูปแบบ นอกเหนือจากแนวคิดทางดนตรีไทยและพุทธศาสนาแล้ว มีอิทธิพลทางความคิดของนักดนตรีหลัก ๆ ทางตะวันตกอยู่มากโดยเฉพาะแนวคิดของ ชาร์ลส์ ไอฟ์ (Charles Ives (1874-1954)) โอลิวิเยร์ เมสสิออง (Olivier Messiaen (1908-1992)) จอห์น เคจ (John Cage (1912-1992)) และ แฟรงค์ แซปปา (Frank Zappa) เป็นต้น ในราวปี ค.ศ. 1993 เป็นต้นมาฟองน้ำเริ่มสนใจในดนตรีร็อคแบบที่เรียกว่าอัลเทอร์เนทีฟ และได้นำแนวคิดบางประการของดนตรีประเภทนี้ผสมผสานกับแนวคิดดั้งเดิมจนเป็นผลงานในชุด "รีเจ็ค"

สมาชิกที่เคยร่วมงานท่านอื่น ๆ ที่ยังมีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับวงดนตรีหรือวงการดนตรีก็คือ สมชาญ บุญเกิด, สุวิทย์ แก้วกมล, วรยศ ศุขสายชล, อานันท์ นาคคง, ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์, ไกวัล กุลวัฒโนทัย, จิรเดช เสตะพันธุ, ดำริห์ บรรณวิทยกิจ, ชัยภัคร ภัทรจินดา, เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี, บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ และแมนรัตน์ อรุณรุ่ง ฯลฯ

วงฟองน้ำยังมีกิจกรรมทางดนตรีอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเล่นประจำอยู่ที่โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดงสาขาพระรามสาม

ผลงานดนตรีของวงฟองน้ำ

แก้

(รายชื่ออาจยังไม่สมบูรณ์)

วางแผงในประเทศไทย

แก้

ต้นวรเชษฐ์ (1.3 58)

แก้
  1. ต้นวรเชษฐ์
  2. ชเวดากอง (บุญยงค์ เกตุคง)
  3. ฟองน้ำ

โหมโรงจอมสุรางค์

แก้
  1. โหมโรงจอมสุรางค์
    • จอมสุรางค์
    • สะบัดสะบิ้ง
  2. ตับนก
    • นกโพระดก
    • นกกาเหว่า
    • นกกางเขน
    • ไก่
  3. ลาวแพน
    • ลาวแพน
    • ซุ้ม
  4. เทพทอง
    • เทพทองสองชั้น
    • เทพทองชั้นเดียว

สุดถนนคอนกรีต

แก้
  1. โหมโรงสาวน้อยเล่นน้ำ (บุญยงค์ เกตุคง)
  2. ครวญฝั่งโขง (ไกวัล ติโลกะวิชัย)
  3. หิมะรำลึก (ละมูล เผือกทองคำ)
  4. สุดถนนคอนกรีต (บรูซ แกสตัน, คมทวน คันธนู)

ดนตรีแก้ว

แก้
  1. สร้อยลำปาง (บุญยงค์ เกตุคง)
  2. CONTRAPUNCTUS VIII (J.S. BACH)
  3. สี่บท (ของเก่า)
  4. ขอมดำดิน (เรียบเรียงโดย สมาน ทองสุโชติ)

ประตูสู่โลกกว้าง

แก้
  1. เพลงเร็ว (Presto)
  2. กระต่ายเต้น (The Jumping Rabbit in Burmese style)
  3. Thailand... The Golden Paradise
  4. ลิงกับเสือ (The Monkey and the Tiger)
  5. เพลงเงาะยิ้ม (The Pygmy smiles)
  6. ชุดเพลงเขมร 2 ชั้น (A Suite of songs in Cambodian style)

เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ช้าง"

แก้
  1. เพลงฉิ่งเรื่องช้างประสา
  2. ปฐมกาล
  3. เสียงขวาน
  4. มนตรา
  5. ป่า
  6. ช้างกินใบไผ่
  7. เชิดจีน-เชิดพม่า
  8. ฤๅษีหลงถ้ำ
  9. ลิงกับเสือ
  10. กราวแขกเงาะ
  11. กราวนอก
  12. เชิดใน
  13. Fongnale

คอนเสิร์ท ฟองน้ำ 10 ปี

แก้
  1. ลิงกับเสือ (The Monkey and the Tiger)
  2. ฟองน้ำ (Bubbles)
  3. แสนสุดสวาท (My Beloved)
  4. หิมะรำลึก (Snowy Reflections)
  5. ชเวดากอง (Shewedagong)
  6. เต่ากินผักบุ้ง (The Turtle eats Spinach)
  7. กราวแขกเงาะ (Pygmy Music)
  8. Improvisation on Happy Birthday

แบงcock bangกอก

แก้
  1. เขมรคราม (Blue Khmer)
  2. ลูกโป่งแตก (Busted Balloon)
  3. เต้ยไก่บ่เขียว (The Chicken isn't green)
  4. บาง Cock (Rap around the cock)
  5. ระบำชาวไร่ (Farmer Dance)
  6. เขมรคราม (Blue Khmer (Jingle))
  1. พี่ขา..อย่าทับหนู (2539)
  2. ขุด (EARTH DANCE) (2539)
  3. ระบำอัคคี (EVI LANUS) (2538))
  4. เพชรในตม a) NIVEA
  5. เพชรในตม b) CHEQ
  6. เพชรในตม c) รักคุณเท่าฟ้า
  7. ช้างประสานงา (2532)
  8. คืนหนึ่ง (2538)
  9. BOTTLE DANCE (ขวดข้าใครอย่าแตะ) (2537)
  10. หญิงม่าย (2536)
  11. DANSE DE L'ONDINE (เงือกเริงวารี) (2538)
  12. SONG FOR NATURE (เพลงไพร) (2538)
  13. ครูบุญยงค์ เกตุคง (Bonus Track)

คอนเสิร์ทการกุศล สื่อสารผสานไทย

แก้
  1. ราชาแห่งการสื่อสาร
  2. สื่อสารผสานไทย
  3. ตาบอดคลำช้าง
  4. สานเสียงสัตว์
  5. สรภัญญะ
  6. พม่าห้าท่อน

วางแผงนานาชาติ

แก้


ผลงานอื่นๆ

แก้
  • พรีเซนเตอร์และทำเพลงประกอบโฆษณา เครื่องดื่มโซดา ตรา "คาร์ลสเบิร์ก" (Carlsberg) ประเทศไทย

เรื่องที่เกี่ยวเนื่อง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้
  1. ฝรั่งกับดนตรีไทยผลได้ผลเสียที่ควรพิจารณากันบ้าง [[1]]
  2. เสียงสะท้อนเมื่อฝรั่งสอนดนตรีไทย [[2]]