กล้วย เชิญยิ้ม

กล้วย เชิญยิ้ม นักแสดงตลกชาวไทยชื่อดังในคณะเชิญยิ้ม มีชื่อจริงว่า ฐานุพงศธร ศักดิ์ธนาวัฒนสกุลไชยมไหศวรรย์ [1]

กล้วย เชิญยิ้ม
เกิด1 สิงหาคม พ.ศ. 2499 (66 ปี)
ฐานุพงศธร ศักดิ์ธนาวัฒนสกุลไชยมไหศวรรย์
อำเภอทองแสนขัน
จังหวัดอุตรดิตถ์
คู่สมรสธัญญพัทธ์ ศักดิ์ธนาวัฒนสกุลไชยมไหศวรรย์, เห็ดเผาะ เชิญยิ้ม
บุตร2 คน
อาชีพนักแสดง,นักร้อง,นักการเมือง, พิธีกรรายการโทรทัศน์
ผลงานเด่นอาฮวด-เฮง เฮง เฮง ซิตคอมทางช่อง 3
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ประวัติแก้ไข

กล้วยเกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ที่อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นบุตรของนายบุญจันทร์ และนางบุญธรรม ศักดิ์ธนาวัฒนสกุลไชยมไหศวรรย์ บิดาเป็นหัวหน้าคณะลิเก "สวรรค์ถาวร" และได้ย้ายไปอยู่กับบิดาที่จังหวัดสุโขทัยหลังจบชั้นประถม 5 ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ และเริ่มหัดเล่นลิเก และออกตระเวนเล่นไปกับคณะ จนเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงเมื่ออายุ 26 ปี ร่วมคณะเชิญยิ้ม [2]

กล้วย เชิญยิ้ม เริ่มศึกษาต่อการศึกษานอกโรงเรียนเมื่ออายุ 30 ปี ที่โรงเรียนนนทรีวิทยา และศึกษาต่อปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยปทุมธานี และมหาวิทยาลัยเกริก และจบปริญญาโท นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก

ชีวิตส่วนตัวแต่งงานกับธัญญพัทธ์ ศักดิ์ธนาวัฒนสกุลไชยมไหศวรรย์ (ชื่อเล่น อี๊ด)และเห็ดเผาะ เชิญยิ้ม มีบุตรด้วยกัน 2 คน ได้แก่

  • 1.อัญพัชร์ ศักดิ์ธนาวัฒนสกุลไชยมไหศวรรย์ (ชื่อเล่น แอม)
  • 2.ธนัชพงศ์ ศักดิ์ธนาวัฒนสกุลไชยมไหศวรรย์(ชื่อเล่น นูโน่)

งานการเมืองแก้ไข

กล้วยได้หันมาเล่นการเมืองท้องถิ่นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ บ้านเกิด เคยเป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ และเป็นหนึ่งในคณะทำงานของนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี และได้ประกาศตัวเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุตรดิตถ์ ในนามพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ พ.ศ. 2553[3] และเป็นผู้สมัครในเขต 3 จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งประกอบด้วย อำเภอตรอน อำเภอลับแล และอำเภอพิชัย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554 [4] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้คะแนน 12,800 คะแนน แพ้ให้กับนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย จากพรรคเพื่อไทย[5]

ในวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 กล้วยได้ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และย้ายมาสมัครเป็นสมาชิก พรรครวมแผ่นดิน

ผลงานภาพยนตร์แก้ไข

  • 2533 หนุก
  • 2537 กองร้อยน๊อตหลุด รับบท กองร้อยทหาร
  • 2538 นักเรียนวัยรุ่น รุ่น 95
  • 2538 กอง100 501 ตอน ถึงใจจะแตกแต่ไม่แตกแถว รับบท กองร้อยทหาร
  • 2538 ผีไม่มีหลุม
  • 2538 ภูตพิศวาส
  • 2539 กลิ่นสีและทีแปรง รับบท สุริน
  • 2539 กองพันทหารเกณฑ์+12 ตอน แนวรักริมฟุตบาท รับบท ทหาร
  • 2549 ลูกตลกตกไม่ไกลต้น รับบท คนขับรถตู้
  • 2549 มากับพระ รับบท พระหลับ
  • 2550 ครอบครัวตัวดำ รับบท เจ้าหน้าที่ธนาคาร
  • 2550 อีส้ม สมหวัง รับบท โฆษกวัด
  • 2551 บ้านผีปอบ 2008 รับบท ตาแหยม
  • 2553 กองพันครึกครื้น ท.ทหารคึกคัก
  • 2553 โยมผีพ่อ รับบท เจ้าอาวาสวัดในกรุงเทพฯ
  • 2555 ต้มยำรำวง รับบท สมหวัง
  • 2556 แหนมยโสธร รับบท ไส้ติ่ง
  • 2556 แม่ รับบท แป๊ะฮ้อ

ละครโทรทัศน์แก้ไข

ละครชุดแก้ไข

ละครเทิดพระเกียรติแก้ไข

ละครซิทคอมแก้ไข

พิธีกรรายการโทรทัศน์แก้ไข

อื่น ๆแก้ไข

คอนเสิร์ตแก้ไข

  • คอนเสิร์ต ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน ในฝัน...อัศจรรย์แห่งรัก (2546)
  • คอนเสิร์ต ฅ อารมณ์ดีกับ 8 ปี ก่อนบ่ายคลายเครียด (2547)
  • คอนเสิร์ต ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน เดียวดาย...ในทะเลดาว (2547)
  • คอนเสิร์ต ร้อง เต้น เล่นละคร (19 พฤษภาคม 2550)
  • คอนเสิร์ต 1 ทศวรรษ ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน กล่อมแผ่นดิน (7 - 8 มีนาคม 2552)
  • คอนเสิร์ต ดวงจันทร์...กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ (7 มิถุนายน 2552)
  • คอนเสิร์ต ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 11 เพชรพร่างกลางกรุง (13 - 14 มีนาคม 2553)
  • คอนเสิร์ต ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 12 ปาฏิหาริย์รัก (20 - 21 สิงหาคม 2554)
  • คอนเสิร์ต ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 13 โลกนี้คือละคร (26 - 27 ตุลาคม 2556)
  • คอนเสิร์ต ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 14 ขอบฟ้าขลิบทอง (4 - 5 กรกฎาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 15 คืนจันทร์กระจ่างฟ้า (2-3 กรกฎาคม 2559)
  • คอนเสิร์ต ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 16 จากฟากฟ้าสุราลัย...สู่แดนดิน (24-25 มิถุนายน 2560)
  • คอนเสิร์ต 39 ปี เชิญยิ้ม (1-3 มีนาคม 2562)
  • คอนเสิร์ต ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 20 มหากาพย์แห่งบทเพลง (11-12 มิถุนายน 2565)
  • คอนเสิร์ต ครบรอบ 1 ปี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (12 มกราคม 2566)

สมาชิกในคณะ กล้วย เชิญยิ้มแก้ไข

  • ต๋อง ชวนชื่น (พ.ศ. 2538 - 2540)
  • เนงบา เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2536 - 2544) (เสียชีวิต)
  • หน่อง เชิญยิ้ม หรือ นิ้งหน่อง เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2536 - 2544)
  • อรชร เชิญยิ้ม (พ.ศ. 2542)
  • จิ้งจก เชิญยิ้ม หรือ เฮียหมู ในปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2536 - 2542)

เชิงอรรถแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข