สำหรับชื่อสารเคมีดูที่ ไทเทเนียม

ไทยเทเนี่ยม (อังกฤษ: Thaitanium) เป็นกลุ่มศิลปินแนวฮิปฮอป สไตล์อเมริกันฮิปฮอป ประกอบด้วยสมาชิก 3 คน คือ ขัน, เดย์ และ เวย์

ไทยเทเนี่ยม
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงHip Hop
ช่วงปีพ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงสนามหลวง
Thaitanium Entertainment
สมาชิก“K.H.” King of da Hustle (ขัน)
“S.D.” Sunny Day (เดย์)
“P. Cess” (เวย์)
เว็บไซต์http://www.thaitanium.biz/

สมาชิก

แก้

ประวัติ

แก้

ก่อนจะแจ้งเกิดในนามไทเทเนียม ซัน เดย์ เวย์ จูเนียร์ และโจอี้บอย ได้ก่อตั้งวง AA CREW ในช่วงปี 2543-2545 โดนก่อนหน้านั้นเวย์เคยทำโปรเจกต์ ทีน เอต เกรด เอของ แกรมมี่ และขันเคยทำเพลงในนาม Khan-T มาก่อน [1][2]

 
งานครบรอบ 5 ปี เอ็มทีวีไทยแลนด์

ขันและเดย์ถือสัญชาติไทยโดยกำเนิด ขันเกิดที่กรุงเทพฯ เดย์เกิดที่เชียงใหม่ ในขณะที่สมาชิกคนที่สามผู้มีอายุน้อยที่สุดในกลุ่ม คือเวย์ เกิดและโตในตัวเมือง นิวยอร์ก ส่วนผสมจากถิ่นกำเนิดอันแตกต่างนี้สามารถเห็นได้ในงานเพลงที่ผ่านๆมา

ขันและเดย์รู้จักและสนิทกันในขณะที่ไปศึกษาต่อ ทั้งคู่ชอบในดนตรีเหมือนกัน พวกเขาค้นพบตัวเองและมุ่งมั่นที่จะเป็นนักดนตรีอาชีพ ทั้งสองได้มาเป็นคู่หู DJ/MC ซึ่งจัดรายการให้กับงานปาร์ตี้สังสรรค์ทั้งหลาย (Jump-Off House Party) ในย่าน Hip-Hop ที่ซานฟรานซิสโก

หลังจากเรียนจบขันมีแรงดลใจให้กลับมายังประเทศไทย ขัน ได้ออกอัลบั้มในนาม ขัน-ที เป็นศิลปินแนวฮิปฮอป ขันได้ทำความรู้จักกับเวย์ ที่กำลังมีผลงานเพลงและภาพยนตร์ขณะนั้น หลังจากนั้นไม่นานพวกเขาที่เป็นเสมือนพี่น้องก็ได้กลับไปนิวยอร์ก

ดังนั้นในปี 2000 ที่ New York นี้เอง ไทยเทเนียมจึงได้ถือกำเนิดขึ้น 2 อัลบั้มแรกของพวกเขาคือ “AA” และ “Thai Riders” 2 อัลบั้มถัดมาคือ “O77” และ “R.A.S.” นอกจากงานอัลบั้มของวง สมาชิกแต่ละคนของไทเทเนียมก็มีงานอิสระทำอีกหลายอย่างแตกต่างกันไป เช่น งานแสดง งานเดินแบบ งานหนังสือ และงานภาพยนตร์ นอกจากนั้นพวกเขายังร่วมงานกับศิลปินมากมายอาทิ J.R.O.C., Djay Buddah, Big Calo เป็นต้น

GMM Grammy ในนาม สนามหลวง ได้จับมือร่วมงานกับไทยเทเนียม และ Thaitanium Ent. Inc ในผลงานชุดล่าสุด คือ Thailand's Most Wanted มีเพลงดังอย่างเพลง "โดน" ต่อมาไทยเทเนี่ยมได้ร่วมร้องกับนักร้องสาว ทาทา ยังในเพลง "Dangerous" ในปี 2005 และไทยเทเนี่ยมยังได้ร่วมแสดงเพลง "No Worries (Remix)/ทะลึ่ง" ร่วมกับไซมอน เว็บบ์ ในงานเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดสที่จัดที่กรุงเทพในเดือนพฤษภาคม ปี 2006 อีกด้วย ซึ่งพวกเขาก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสาขาศิลปินไทยยอดนิยม ในงานเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส นี้ด้วย

ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2006 ไทยเทเนี่ยมมีคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรก ชื่อคอนเสิร์ตว่า "MTV LIVE – Thaitanium Uncensored" ที่ BEC-TERO Hall

มีนาคม 2008 ไทยเทเนี้ยม ออกอัลบั้ม Flipside ที่เป็นอัลบั้มรวมเพลงที่ไม่เคยบรรจุอยู่ที่ไหน อย่างเช่น เพลงประกอบโฆษณา, เพลงประกอบภาพยนตร์, เพลงจากคอนเสิร์ต, เพลงรีมิกซ์ และเพลงจากโปรเจกต์พิเศษ มีซิงเกิ้ลแรกคือ เลยตามเคย[3]

ไทยเทเนี่ยมยังร่วมใน Project East Asian Revolution หรือ Project E.A.R. ร่วมกับศิลปินเอเชียชาติอื่นอย่าง ต้อยหมวกแดง Pop Shuvit, Slapshock, Ahli Fiqir, Silksounds และ Saint Loco โดยได้ร่วมแสดงในงานเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส 2008 ที่ประเทศมาเลเซีย[4] ต่อมาเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ไทยเทเนี่ยมเป็นต้นแนวความคิดในการจัดงาน เอเชียนฮิปฮอปเฟสติวัล ที่มีศิลปินต่างชาติมากมายอย่าง Zeebra จากญี่ปุ่น, Master Plan จากเกาหลี, MC Hot Dog จากไต้หวัน, 24Herbs จากฮ่องกง, Joe Flizzow จากมาเลเซีย, Beatmathics จากฟิลิปปินส์, Nas จากอเมริกา[5]

ในปี 2553 ไทยเทเนี่ยม ออกผลงาน สตูดิโออัลบั้ม ลำดับที่ 4 อัลบั้มฉลองครบรอบ 10 ปี ชุด Still Resisting เป็นอัลบั้มคู่มีเพลง 22 เพลง มีซิงเกิ้ลแรกคือ เพลง สุดขอบฟ้า โดยได้แอ็ด คาราบาว มาร่วมร้องเพลงนี้ด้วยกัน

งานอื่น

แก้

ทางด้านงานพรีเซนเตอร์โฆษณา ไทยเทเนี่ยม เป็น พรีเซ็นเตอร์ให้โทรศัพท์มือถือโนเกีย รุ่น 3310[6] และ เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์โตโยต้า ยาริส “Yaris Me[7] และยังเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับโตโยต้า ยาริส

และยังเคยแต่งเพลงประกอบโฆษณาให้กับทาง โค้ก (Coca Cola) ถึง 2 เพลง คือ "สงกรานต์" (Song Kran) กับ 2 AA ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในอัลบั้ม Back At It : The Compilation Vol.2 ในเวลาต่อมา

ขันและเดย์มีแบรนด์เสื้อผ้าร่วมกันชื่อ 9 Face ส่วนเวย์ กับดีเจ บุดด้า มีแบรนด์ชื่อ Never Say และ Reven นอกจากนี้ยังมีร้านตัดผมที่ชื่อ Never Say Cutz[8]

ผลงานอัลบั้ม

แก้

สตูดิโออัลบั้ม

แก้
  • AA (2000)
  • Thai Riders (2002)
  • OST. P77 (2003)
  • R.A.S. (Resisting Against da System) (2004)
  • Thailand's Most Wanted (2005)
  • EP. Thaitanium Limited Edition (2008)
  • Still Resisting (2010)

อัลบั้มรวม

แก้
  • Thaitanium Mix Tape Volume 1
  • Thaitanium Mix Tape Volume 2
  • Thaitanium Mix Tape Volume 3
  • Thaitanium Mix Tape Volume 4
  • Thaitanium Mix Tape Volume 5
  • Thaitanium Special Delivery Mix Tape
  • Mix Tape: The Collectiondd
  • Flipside
  • Thaitanium Ent. Compilation Vol.1 Da Beginning
  • Thaitanium Ent. Compilation Vol.2 Back At It

แขกรับเชิญ

แก้
  • เพลง "Dangerous" ทาทา ยัง, อัลบั้ม Dangerous Tata (2005)
  • เพลง "วอน (Remix)" The Peach Band
  • เพลง "No.1 Lady" ปนัดดา เรืองวุฒิ
  • เพลง "สำเร็จเอง" Kidnapper
  • เพลง "Knock Knock" Gift-Monotone
  • เพลง "เสียงที่ตามหา" Sleeping Sheep
  • เพลง "Hey Lover" นภ พรชำนิ
  • เพลง "Let's Get Down" กอล์ฟ-ไมค์ Feat. ขัน ไทยเทเนี่ยม, อัลบั้ม Get Ready (2008)
  • เพลง "จ๋า" เสก โลโซ Feat. ขัน ไทยเทเนี่ยม (2010)
  • เพลง "Love Me, Hate The Game" m-flo, อัลบั้ม Cosmicolor (2007)
  • เพลง "Hey Sexy" CASH, อัลบั้ม CASH (2008)
  • เพลง "เรื่องธรรมดา" Super Strings feat. เวย์ ไทยเทเนี่ยม, อัลบั้ม กลาวิทัศน์ (2008)
  • เพลง "Marabahaya" E.A.R. Project
  • เพลง "Southeast A" E.A.R. Project
  • เพลง "My Lady" Suburbian, อัลบั้ม ONE
  • เพลง "จะจีบก็บอกน่ะ" แนนนี่ เบลล์ เกิร์ลลี่ เบอร์รี่
  • เพลง "หลงเลย" แบงค์ วงแคลช (2010)
  • เพลง "มหานคร" (Mahanakorn Bangkok City) Thaitanium Ft.Da Endorphine ( December 2010)
  • เพลง "Cruising" - BKK REMIX - feat. mai (produced by DJ PMX)
  • เพลง "ไปให้สุดขอบฟ้า" ยืนยง โอภากุล
  • เพลง “Wake Up” Snoop Dogg

ซิงเกิ้ล

แก้
2558

LALALA

2565

พ่อมึง

เพลงประกอบละคร

แก้
  • เพลง "มหานคร" (Mahanakorn Bangkok City) Thaitanium Ft.Da Endorphine (ประกอบละคร กรุงเทพ...มหานครซ้อนรัก)

รางวัล

แก้
  • เข้าชิง เอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส 2006 - สาขาศิลปินยอดนิยมประเทศไทย
  • แฟตอวอร์ดส - Best Group of The Year
  • Seed Awards - Best Group of The Year
  • สีสันอวอร์ดส - Best Hip Hop Album of The Year
  • AVIMA 2009 - Best Hip Hop Group ร่วมกับ Dice & Koy9 (Mobb-star) (จากฟิลิปปินส์)[9]

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้