ทศพล หิมพานต์

นักร้องชายชาวไทย

ทศพล หิมพานต์ เป็นนักร้องเพลงแหล่ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ด้วยการแหล่ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมีเพลงที่สร้างชื่อให้กับเขาอย่าง อาลัยเมรี ที่ได้รับการกล่าวขานมานานกว่าทศวรรษ จวบจนถึงปัจจุบัน[1] นอกจากนี้ เขายังเคยร่วมงานแสดงในภาพยนตร์ มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม.[2] และเป็นหนึ่งในศิลปินรับเชิญของละครชุด พ่อ ซึ่งเป็นละครเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงเคยออกผลงานเพลงร่วมกับนักร้องที่มีชื่อเสียงอย่างไวพจน์ เพชรสุพรรณ รวมถึงยุ้ย ญาติเยอะ มาแล้วครั้งหนึ่ง[3]

ทศพล หิมพานต์
ชื่อเกิดสมบูรณ์ จุลมุสิก
เกิด18 มิถุนายน พ.ศ. 2508 (58 ปี)
ที่เกิดอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี
แนวเพลงเพลงแหล่, ลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง นักแสดง หมอทำขวัญนาค
ช่วงปีพ.ศ. 2538 – ปัจจุบัน
ค่ายเพลงโฟร์เอส

ประวัติ แก้

ทศพล หิมพานต์ มีชื่อจริงคือสมบูรณ์ จุลมุสิก เกิดที่อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ต่อมาเขาได้ย้ายตามครอบครัวมาทำไร่ทำนาและเรียนจบ ป.3 ที่อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร แล้วได้ย้ายมาอยู่ที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี เรียนจบ ป.4 ที่นั่น[4] ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่ อำเภอคลองลาน แล้วหนีไปบวชเป็นสามเณร ที่วัดหนองน้ำขุ่นฯ อำเภอคลองลาน 3 เดือน ย้ายมาอยู่ที่วัดประดู่ลาย อำเภอเมืองกำแพงเพชร 2 ปี ได้เริ่มหัดเทศน์เริ่มหัดแหล่จากการเป็นสามเณร แล้วได้เจอกับพระครูบุญเหลือ นักแหล่ชื่อดังของจังหวัดนครสวรรค์ ท่านพระครูได้เห็นแววของสามเณรสมบูรณ์ จึงขอสามเณรไปอยู่ด้วยที่วัดสุบรรณาราม ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองนครสวรรค์ เพื่อสอนวิธีการแหล่ที่ถูกต้องให้ หลังจากจบนักธรรมตรีแล้ว สามเณรก็ได้ย้ายไปอยู่กับ พระครูบุญเหลือ และฝึกหัดแหล่แบบจริงจัง ส่งผลให้มีงานนิมนต์ เทศน์แหล่ มิเคยว่างเว้น ทำให้ชื่อเสียงของสามเณรสมบูรณ์ เป็นที่รู้จักไปทั่วจังหวัดนครสวรรค์รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง[5]

ภายหลังจากอายุครบบวช สามเณรก็ได้บวชเป็นพระต่ออีก 1 ปีก่อนที่จะร่วมการเกณฑ์ทหารเป็นระยะเวลา 2 ปี เมื่อปลดประจำการแล้วไปทำงานร้องเพลงที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดจันทบุรี เป็นระยะเวลาประมาณ 4 ปี แต่การทำงานค่อนข้างยากลำบากได้เงินแค่พอใช้ไปวันๆไม่ประสบความสำเร็จ หลวงพ่อบุญเหลือ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนแหล่ ท่านรู้ว่าเขาบวชมาตั้งแต่เด็ก ๆ ไม่เคยใช้ชีวิตทางโลกไม่มีทักษะทางโลกเลย ไม่ไหวแน่ๆ ท่านจึงตัดสินใจมารับกลับนครสวรรค์ เพื่อไปบวชเป็นพระต่อ เขาจึงกลับไปที่จังหวัดนครสวรรค์อีกครั้ง แต่ไม่ได้บวชในทันที เพราะเป็นช่วงเข้าพรรษา ในระหว่างที่รอบวชอยู่นั้น หลวงพ่อได้ฝากงานร้องเพลงที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมืองนครสวรรค์ และให้พักอาศัยอยู่ที่วัดไปก่อน

ต่อมายังไม่ทันจะได้บวช มีนักร้องชื่อวันชนะ เกิดดี ได้มาขอให้เขาร้องเพลงพร้อมกับขอภาพถ่ายเพื่อนำไปเสนอค่ายเพลง เขาก็ได้ร้องเพลงแหล่รวมถึงเพลงลูกทุ่งอัดเทปไปเสนอบริษัท โฟร์เอส มีคุณชิน โฟร์เอส คุณมานิต ศรีเลี้ยง ผู้เป็นเจ้าของค่ายเพลง พิจารณาฟังดูแล้วมาสะดุดหูตรง เทคนิคการเอื้อนแหล่แบบไม่เหมือนใคร จึงได้รับเขาร่วมงาน โดยตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "ทศพล หิมพานต์"[6]

ทศพล หิมพานต์ เริ่มอัดเทปชุดแรกในช่วงปลาย พ.ศ. 2538 โดยใช้ชื่ออัลบั้ม อาลัยเมรี จากผลงานชุดแรกนี้เอง ที่ได้ส่งผลให้ชื่อเสียงของทศพล หิมพานต์ เป็นที่รู้จักไปทั้งประเทศไทยและอเมริกา ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์รวมถึงการแหล่ที่โดดเด่น ทำให้เขามีผลงานเพลงร่วม 100 กว่าอัลบั้ม[7] จนถึงปัจจุบัน[1]

ผลงานเพลง แก้

อัลบั้มเดี่ยว แก้

อัลบั้มที่ร่วมร้องกับศิลปินอื่น แก้

ผลงานการแสดง แก้

ละครโทรทัศน์ แก้

ปี เรื่อง รับบท ช่อง
2542 พ่อ ตอนเพลงของพ่อ (2542) รับเชิญ ช่อง 5
2545 มนต์รักแม่น้ำมูล ครูตะวัน
2562 จันทร์กระจ่างที่กลางทุ่ง มหาสมบูรณ์ ช่อง 7 HD

คอนเสิร์ต แก้

  • คอนเสิร์ต งานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต วัดพัฒนา (2557)
  • คอนเสิร์ต งานปิดทองฝังลูกนิมิต วัดหนองโกสูง (2557)
  • คอนเสิร์ต งานเทศกาลนมัสการปิดทอง หลวงพ่อวัดไร่ขิง (2559)
  • คอนเสิร์ต งานประจำปี อำเภอตะพานหิน (2560)
  • คอนเสิร์ต งานประจำปี วัดไร่ขิง (2561)

ภาพยนตร์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ทศพล หิมพานต์ - Box Office
  2. รวมตัวนักร้องลูกทุ่งเปิดกล้อง มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม
  3. “ชิน ​โฟร์​เอส” จับมือ​เซ็นสัญญา “บี​เคพี” มอบลิขสิทธิ์​เพลงดังอมตะ ของศิลปินกว่า 1,000 ​เพลง
  4. ตามติดชีวิตลูกทุ่ง : 'ทศพล หิมพานต์' จากนักบวชสู่นักแหล่ 19 ก.ค. 57 (1/4), สืบค้นเมื่อ 2021-03-14
  5. ตามติดชีวิตลูกทุ่ง : 'ทศพล หิมพานต์' จากนักบวชสู่นักแหล่ 19 ก.ค. 57 (2/4), สืบค้นเมื่อ 2021-03-14
  6. ตามติดชีวิตลูกทุ่ง : 'ทศพล หิมพานต์' จากนักบวชสู่นักแหล่ 19 ก.ค. 57 (4/4), สืบค้นเมื่อ 2021-03-14
  7. ตามติดชีวิตลูกทุ่ง : 'ทศพล หิมพานต์' จากนักบวชสู่นักแหล่ 19 ก.ค. 57 (4/4), สืบค้นเมื่อ 2021-03-14

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้