เอกชัย ศรีวิชัย

เอกชัย ศรีวิชัย ชื่อเล่น เอก , รอบ , แคว็ด เป็นนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับหนัง ชาวไทย เป็นชาวอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเจ้าของเพลง "หมากัด" และ ''พี่มีแต่ให้'' อันโด่งดัง นอกจากนี้เขายังมีผลงานแสดงภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง รวมถึงเป็นผู้กำกับหนัง และเป็นผู้ก่อตั้งวงศรีวิชัยโชว์

เอกชัย ศรีวิชัย
เกิด10 กันยายน พ.ศ. 2505 (61 ปี) อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
บุญรอบ ศรีวิชัย
บิดาลั่น ศรีวิชัย
มารดาเรียง ศรีวิชัย
อาชีพนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับหนัง นายหนังตะลุง มโนราห์ พิธีกร
สังกัดบ๊อกซิ่งซาวด์
M Star
พีจีเอ็ม.ท็อปไลน์มิวสิคบ้านเพลงเอก
ชมรมวิจารณ์บันเทิงนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2559 - เทริด
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ประวัติ แก้

เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 10 กันยายน 2505 เมื่อตอนที่แม่ตั้งท้องอยู่ นำโชคสู่ครอบครัว ถูกหวยบ่อย จึงมีชื่อว่า "บุญรอบ" ชีวิตในวัยเด็กมีความลำบาก รับจ้างกรีดยาง ถางหญ้า รับจ้างทำนา ปลูกพริก เก็บข้าว ไม่มีเงินซื้อแม้แต่ชุดลูกเสือ เลยไม่ได้ศึกษาต่อระดับมัธยม จึงเอาวัดเป็นที่พึ่งเลยไปอาศัยกับพระครูบรรจบ ขันฺติพโล ณ วัดกุฎิแคสูง ต.ท่าเรือ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และท่านพระได้เห็นว่าตัวของเอกชัยเด็กคนนี้ว่าชอบหนังตะลุงในคืนหนึ่งทางวัดจัดงานได้มีมหรสพมากมายและมีหนังตะลุงคณะ ครวญ แสงแก้ว มาแสดงในวัดจึงได้นำเอกชัยไปฝากตัวเป็นศิษย์กับหนังครวญแสงแก้วเมื่อได้ตามดูและเป็นทั้งลูกคู่ให้อาจารย์พอเริ่มคิดว่าแสดงได้เลยจึงขอลาอาจารย์ครวญมาตั้งคณะเป็นของตัวเองโดยใช้ชื่อ "หนังกวี ศิษย์ครวญแสงแก้ว" แต่แสดงได้ไม่นานนักต้องหยุดตัวลงเพราะยุคนั้นเศรษฐกิจย่ำแย่และหนังตะลุงเสื่อมสุดขีด และจึง

เข้ามาเป็นบ๋อยในตัวเมือง และสมัครเป็นภารโรง แล้วเรียนต่อจนจบ ม.ศ.5 จาก ร.ร.การศึกษาผู้ใหญ่เสมาเมืองนครศรีธรรมราชแต่ด้วยที่ความอยากเป็นนักร้อง จึงหัดร้องเพลงด้วยตัวเอง จากนั้นเข้ากรุงเทพฯ ทำงานเป็นบ๋อยและร้องเพลงเป็นอาชีพเสริมตามร้านอาหาร ส่งเสียตัวเองเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง จนจบปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต

เอกชัยเริ่มอาชีพนักร้อง โดยการร้องเพลงที่ห้องอาหารปูเป้ แต่ประมาณปี 2527 ขณะที่เขาร้องเพลงที่ปาลาติโน่ ย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ ครูชวนชัย ฉิมพะวงศ์ ครูเพลงชื่อดังได้เข้ามาทำธุระที่ร้านอาหาร เกิดติดใจน้ำเสียง เห็นว่าเขามีเสียงแปลก จึงได้เรียกทำความรู้จัก โดยต่อมาได้ร่วมทำงานกับครูชวนชัย ฉิมพะวงศ์ ทำมาสเตอร์เพลง แต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าใด แต่เมื่อมีบริษัทหนึ่งสนใจ รับมาสเตอร์ไปแต่อีก 4-5 วันบริษัทก็ปิด มาสเตอร์จึงตกอยู่กับบริษัทดังกล่าว ทั้ง 2 คนจึงต้องมาทำมาสเตอร์ใหม่ โดยมีเพลง “พี่นี้มีแต่ให้” รวมอยู่ด้วย จนได้ห้างเมโทรของนายห้างวรชัย ธรรมสังคีติมารับมาสเตอร์ไป ออกผลงานชุด พี่นี้มีแต่ให้ ในชื่อตอนนั้นว่า "เอกชัย ฉิมพะวงศ์" ก็ประสบความสำเร็จดี หลังจากนั้นคุณพ่อได้มาเสียชีวิตลงอย่างกระทันหันและจึงกลับมาอยู่เป็นเพื่อนคุณแม่ที่ท่าศาลางานร้องเพลงเลยหยุดลง หลังจากนั้นกลับมาร้องเพลงจึงได้ออกผลงานอัลบั้มชุดที่ 2 ต่อมาเอกชัยแยกออกมาอยู่กับห้างสรรเสริญ รุ่งเสรีชัย และร่วมเดินสายทำวงไปกับอาภาพร นครสวรรค์ , จันทรา ธีรวรรณ , ยิ่งยง ยอดบัวงามและเด่นชัย สายสุพรรณ โดยเปลี่ยนชื่อมาเป็นเอกชัย ศรีวิชัย และผลิตผลงานออกมา

ปี พ.ศ. 2537 ถือเป็นช่วงชีวิตที่ตกต่ำของเอกชัย ต้องกลับไปร้องเพลงที่บ้าน เอกชัยได้แนวคิดนำตัวหนังตะลุงมาร้องเพลงจึงได้นำตัวตลก "ตาหนูนุ้ย" มาร้องผลงานเพลงชุดแรกที่ทำให้ประสบผลสำเร็จคือ ชุด ผัวน้องพร ใช้ชื่อหนูนุ้ย ศรีวิชัย และชุดที่สอง ชาลาล่าขวัดด้องเปลา ชุดที่สาม พกมีด ได้สวมวิญญาณตาหนูนุ้ยโดยเอกชัยศรีวิชัยและเกิดวงดนตรีใช้ชื่อว่าหนูนุ้ยศรีวิชัย หลังจากนั้นได้นำเพลงพื้นบ้านมาทำเป็นเพลง "หมากัด" ในผลงานชื่อชุดลายไทยขึ้นมา เป็นเพลงที่มาจากเพลงฉ่อย-เพลงอีแซว ทำให้เอกชัยโด่งดังมาจากเพลงนี้ ในช่วงปี 2538 จนถึงปี 2539 ขายได้ถึง 2 ล้านชุด จากนั้นได้เกิดวงศรีวิชัยโชว์ เป็นวงดนตรีแนวส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมภาคใต้ เอกชัย ศรีวิชัย ยังเป็นบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนักร้องลูกทุ่งดังจากภาคใต้หลายคน เช่น ดวงจันทร์ สุวรรณี หลวงไก่ และเจี๊ยบ เบญจพร[1]

ผลงานการแสดง แก้

ละครโทรทัศน์ แก้

ปี พ.ศ. เรื่อง บทบาท ออกอากาศ
2532 โกมินทร์ ช่อง 7
2535 โม่งป่า
2537 มิติมหัศจรรย์ เจษฎา
2538 เกราะเพชรเจ็ดสี สุริยวงศ์เทวัญ (ง่อย)
มนต์รักลูกทุ่ง
2544 อะเมซิ่งโคกเจริญ ช่อง 3
2552 กำนันอี๊ด ช่อง 7
2553 มนต์รักลูกทุ่ง ช่อง 3
2557 ลิเก๊ ลิเก กำจาย ช่อง 5
หมัดเด็ดเสียงทอง ช่อง 9
2558 มือปราบกุ๊กกุ๊กกู๋ (รับเชิญ) ช่องวัน 31
2559 สาวน้อยร้อยล้าน (รับเชิญ) ช่อง 3
มนต์รักสองฝั่งคลอง เสี่ยสุชาติ พีพีทีวี
2560 ที่หนี้มีรัก คำ ช่อง 3
เงาอาถรรพ์ โพน / พระ ช่อง 8
2566 ไมโครโฟนม่วนป่วนรัก อดิศร วันละ (ศร) ช่องวัน 31

ภาพยนตร์ แก้

  • แว่วเสียงแคน (2537)
  • อำแดงเหมือนกับนายริด (2537)
  • มนต์เพลงนักเลงบ้านนอก (2537)
  • เพลงรักเกมส์ชีวิต (2537)
  • เพลงรักพิณ แคน ซอ (2537)
  • เพลงรักบ้านนาสัญญารัก (2541)
  • อะเมซซิ่งโคกเจริญ (2544)
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (2545)
  • ฟอร์มาลินแมน รักเธอเท่าฟ้า (2547)
  • หอแต๋วแตก (2550)
  • เหยิน เป๋ เหล่ เซมากูเตะ (2550)
  • หอแต๋วแตก แหกกระเจิง (2552)
  • หอแต๋วแตกแหวกชิมิ (2554)
  • หอแต๋วแตกแหกมว๊ากก (2555)
  • รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน (2556)
  • สัญญาคิมหันต์ (2557)
  • หอแต๋วแตกแหกนะคะ (2558)
  • เทริด (2559)
  • นายไข่เจียวเสี่ยวตอร์ปิโด (2560)
  • ฮักแพง (2561) (รับเชิญ)
  • โนราห์ (2561)
  • หอแต๋วแตก แหกต่อไม่รอแล้วนะ (2561)
  • ขุนบันลือ (2561)
  • บอดี้การ์ดหน้าหัก (2562)
  • พจมาน สว่างคาตา (2563)
  • มนต์รักดอกผักบุ้ง เลิกคุยทั้งอำเภอ (2563)
  • สีดา ตำนานรักโลงคู่ (2564)
  • อีหล่าเอ๋ย
  • มนต์รักวัวชน
  • สะพานรักสารสิน (2565)
  • เหมรฺย(2567)

ผลงานกำกับการแสดง แก้

  • เทริด (2559)
  • โนราห์ (2561)
  • มนต์รักดอกผักบุ้ง เลิกคุยทั้งอำเภอ (2563)
  • สีดา ตำนานรักโลงคู่ (2564)
  • อีหล่าเอ๋ย (2564)
  • มนต์รักวัวชน (2565)
  • สะพานรักสารสิน (2565)
  • เหมรุย บน บาน สาป แช่ง (2567)

คอนเสิร์ต แก้

คอนเสิร์ตศรีวิชัยโชว์ แก้

  • หนูนุ้ยศรีวิชัย 2539 (2539)
  • สาวผมแดง (2540)
  • ลูกทุ่งลายไทย (2541)
  • ศรีวิชัยโชว์ 2542 (2542)
  • จิตลีลา ลังกาสุกะ (2542)
  • จินตภาพ กำเนิดมโนราห์ (2542)
  • วัฒนธรรมไทย 4 ภาค (2543)
  • วัฒนธรรมไทย 4 ภาค ตอน 2 (2544)
  • สี่แผ่นดิน (2545)
  • เอกชัยล้อเลียนคนดัง (2545)
  • คนเชิดหนัง (2546)
  • เอกชัยไทยแลนด์ แดนวัฒนธรรม (2547)
  • รักคุณเท่าฟ้า (2548)
  • มนต์รักปักษ์ใต้ (2549)
  • พี่นักร้อง น้องโนราห์ (2549)
  • แผ่นดินแม่ ภาค1 (2550)
  • แผ่นดินแม่ ภาค2 (2550)
  • 7 อัศจรรย์โชว์ (2551)
  • อลังการล้าน 7 (2552)
  • พาพี่คนดีมาฝากแม่ (2552)
  • 7 ตำนานอลังการโชว์ (2553)
  • อลังการงานช้าง (2553)
  • เอกชัยท้ากัด หรอยจังอลังการงานช้าง (2553)
  • ล้านเจ็ด 11 แสน (2554)
  • โจ๊ะพรึมพรึม (2555)
  • สวรรค์ชั้น 7 (2556)
  • สวัสดีไทยแลนด์ (2557)
  • แผ่นดินพ่อ (2558)
  • เอกชัยยกทัพวัฒนธรรม (2559)
  • วันดวลฮา (2561)
  • 25ปีศรีวิชัยโชว์ (2562)
  • มนต์รักบ้านนา เฮฮาบ้านทุ่ง (2565)

อัลบั้ม แก้

  • พี่มีแต่ให้ (2527) สังกัด เมโทร
  • วันนี้พี่ขอ (2528) สังกัด เมโทร
  • คิดแล้วช้ำ (2530) สังกัด เมโทร
  • รักเก่าที่บ้านเกิด (2530) สังกัด โรต้า
  • สุดซิ้ง ชุดที่ 1 - 9 (2535-2540) สังกัด บ๊อกซิ่งซาวด์
  • สุดรัก ชุดที่ 1 - 2 สังกัด ท็อปไลน์มิวสิค
  • ท็อปฮิตอมตะเสียงสวรรค์ สังกัด ท็อปไลน์มิวสิค
  • จ.ม.รักจากบ้านนอก (2538) สังกัด พีจีเอ็ม
  • ผัวน้องพร (2539) สังกัด เซ้าท์โฟร์แทรค จำกัด
  • พกมีด (2540) สังกัด เซ้าท์โฟร์แทรค จำกัด
  • เอกชัยลายไทย (2540) สังกัด มีเดียมิวสิค กรุ๊ป/มีเดีย ออฟ มีเดีย
  • เอกชัยลายไทย 2 (2541) สังกัด มีเดียมิวสิค กรุ๊ป/มีเดีย ออฟ มีเดีย
  • ไม่อยากพกเมีย (2542) สังกัด มาสเตอร์เทป/จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • อย่าตีหม้อ (2542) สังกัด เซ้าท์โฟร์แทรค จำกัด
  • น้องน้ำผึ้ง (2543) สังกัด บ้านเพลงเอก
  • เสียงจากพี่หลวง (2543) บ้านเพลงเอก
  • เอกชัยเต็มร้อย ชุด1 ชุด2 (2543) สังกัด เอ.ซี.เวิร์ล เอ็นเตอร์เทนเมนต์
  • แม่ของเรา (2543) สังกัด เอ.ซี.เวิร์ล เอ็นเตอร์เทนเมนต์
  • ตกใจตื่น (2543) สังกัด เอ.ซี.เวิร์ล เอ็นเตอร์เทนเมนต์
  • คู่รัก คู่หวาน (ร่วมกับ ดาว มยุรี) (2542) สังกัด อาร์เอส/อาร์สยาม
  • จุดเทียนรักษ์ไทย (2542) สังกัด สไมล์เอ็นเตอร์เทนเมนต์
  • อกหักจากปักษ์ใต้ (2543) สังกัด อาร์เอส/อาร์สยาม
  • มนต์ขลังลังกาวี (2544) สังกัด อาร์เอส/อาร์สยาม
  • ชวนน้องทำบุญ (2544) สังกัด อาร์เอส/อาร์สยาม
  • พันธุ์ไทยแท้ ๑ (2544) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • จ้างก็ไม่ตาย (2545) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • เสียความรู้สึก (2545) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • แม่ดุเมียด่า (2545) สังกัด อาร์เอส/อาร์สยาม
  • ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน โครงการใหม่ ชุดที่ 1-4 (2545) สังกัด อาร์สยาม/อาร์เอส
  • แหล่แบบเอกชัย (2545) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • สากลปนใต้ (2546) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • สตริงสะตอ (2546) สังกัด อาร์สยาม/อาร์เอส
  • เอกชัยหลายรส (2546) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • รักสาวนุ้ย (2546) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • ฉันรักเธอ (2547) สังกัด อาร์สยาม/อาร์เอส
  • อย่าลืมค่าดอง (2547) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • เสียงปี่เรียกนาง (2547) สังกัด ตลุงโปรโมชั่น
  • เอกชัยลาบวช (2548) สังกัด อาร์สยาม/อาร์เอส
  • เสือสะอื้น (2548) สังกัด เอสเอสเอส เอ็นเตอร์เทนเมนต์
  • สวยกว่า..เมียที่บ้าน (2548) สังกัด ตลุงโปรโมชั่น
  • เมียจับติด (2548) สังกัด ตลุงโปรโมชั่น
  • คานทองห้องเช่า (2548) สังกัด กรุงไทย ออดิโอ
  • ยอมให้เด็กหลอก (2549) สังกัด ท็อปไลน์มิวสิค
  • พี่นักร้อง น้องโนราห์ (2549) สังกัด ท็อปไลน์มิวสิค
  • เพลงฉ่อย อีแซว เพลงเรือ (ร่วมกับ เพ็ญนภา มุกดามาตร) (2549) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • เอกชัยตามแฟน (2550) สังกัด ตะลุงโปรโมชั่น
  • 7 ดาวศรีวิชัย (2550) สังกัด ท็อปไลน์มิวสิค
  • อย่างนี้มันต้องโกน (2552) สังกัด ท็อปไลน์มิวสิค
  • สุดสวิงลิงโลด โคตรมันส์ (2553) สังกัด บ้านเพลงเอก
  • ยามชายแดน (ไม่ทราบปี) สังกัด บ้านเพลงเอก
  • หมอลำใต้ (2553) สังกัด บ้านเพลงเอก
  • หมอลำใต้ 2+1 (2555) สังกัด บ้านเพลงเอก

กรรมการ แก้

พิธีกร แก้

ชีวิตส่วนตัว แก้

เคยมีแฟนสาวนอกวงการ มีลูกสาวสองคน เกิดจากแฟนคนละคนกัน โดยไม่ได้จดทะเบียนกัน และในปัจจุบันเอกชัยมีบุตรบุญธรรมชื่อ ไพศาล ขุนหนู

อ้างอิง แก้

  1. "เอกชัย ศรีวิชัย จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net". oknation.nationtv.tv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-19. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.