อรทัย ดาบคำ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
นางสาวอรทัย ดาบคำ (เกิดวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2523) ชื่อเล่น ต่าย มีชื่อในการแสดงว่า ต่าย อรทัย[1][2] เป็นนักร้องลูกทุ่งชาวไทย เจ้าของฉายา "ราชินีสาวดอกหญ้า"[3]
นางสาวอรทัย ดาบคำ | |
---|---|
![]() ภาพถ่ายเมื่อพ.ศ. 2552 | |
เกิด | อรทัย ดาบคำ 27 มีนาคม พ.ศ. 2523 ![]() |
ชื่ออื่น | สาวดอกหญ้า |
ศิษย์เก่า | คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
อาชีพ |
|
ผลงานเด่น | ดอกหญ้าในป่าปูน (2545) สิเทน้อง ให้บอกแน (2560) ซังได้ซังแล้ว (2561) สิมาฮักหยังตอนนี้ (2563) |
บิดามารดา | นิตยา แก้วทอง สาง ดาบคำ |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2543–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | แกรมมี่โกลด์ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ |
ต่าย อรทัย ถือเป็นนักร้องลูกทุ่งคนแรกที่สร้างสถิติยอดขายไว้สูงสุดติดต่อกัน ถึง 3 อัลบั้มรวด และยังสร้างสถิติยอดดาวน์โหลดเพลงสูงสุดในเพลง "เจ้าชายของชีวิต" ตลอดจนมีผลงานเพลงที่ทะลุ 100 ล้านวิว บนยูทูปอีกมากมายหลายผลงานเพลง เช่น เพลงสิเทน้องให้บอกแน เพลงซังได้ซังแล้ว เป็นต้น
หญิงลีเล่นคอนเสิร์ตสดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ที่ฮิลลารี Hillary 1 คลับ ในตัวเมืองกรุงเทพฯ ประเทศไทย YingLee และนักเต้นของเธอมีการแสดงที่ยอดเยี่ยมและเต็มไปด้วยพลังเพื่อความสุขของแฟนๆ
ประวัติแก้ไข
ต่าย อรทัย มีชื่อจริง อรทัย ดาบคำ เกิดวันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2523 ที่บ้านคุ้มแสนชะนี ตำบลพรสวรรค์ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายสาง ดาบคำ และนางนิตยา แก้วทอง เป็นบุตรสาวคนโต และมีน้องชายอีก 3 คน ในวัยเด็กเธออาศัยอยู่กับยายตั้งแต่บิดามารดาแยกทางกัน[4] มีฐานะค่อนข้างขัดสน พออายุได้ 11 ขวบ เธอไปร้องเพลงที่วงนิวฟ้าอีสานเพื่อหารายได้จุนเจือเพื่อครอบครัว
เธอสมัครการประกวด "รายการลูกทุ่งมุ่งสู่ดาว" และได้รางวัลชนะเลิศ เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เธอสมัครเข้าศึกษา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี แต่ติดขัดที่ฐานะทางการเงิน จึงเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครมาช่วยมารดารับจ้างซักเสื้อผ้าและต่อมาสมัครเข้าทำงานที่เขตอุตสาหกรรมบางปูเป็นบริษัทผลิตยาส่งออก[ต้องการอ้างอิง] ในระหว่างนั้น เธอเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศใน รายการ "ชุมทางเสียงทอง" แต่ไม่ได้รับรางวัลชนะเลิศ[4] อย่างไรก็ดี เธอยังคงสานฝันในอาชีพนักร้องต่อไป จนกระทั่งมาพบกับสลา คุณวุฒิ เธอจึงได้ทดสอบเสียงที่บริษัทแกรมมี่โกลด์จนผ่านและเข้าเป็นศิลปิน[4] และใน พ.ศ. 2545 เธอประสบความสำเร็จจากผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดแรก "ดอกหญ้าในป่าปูน"[5]
งานสุดท้ายที่เขาทำก่อนพักเบรกคืออัลบั้มชุดที่ 12 ของเขาในปี 2561 ภายใต้สังกัดแกรมมี่ โกลด์ เขาเป็นศิลปินและทำงานเบื้องหลังให้กับศิลปินคนอื่นๆ ที่แกรมมีโกลด์
ธุรกิจส่วนตัวแก้ไข
ต่าย อรทัย มีธุรกิจส่วนตัว ดังต่อไปนี้
- รีสอร์ท Nathai นาต่าย
- ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ออร่า-ทัย
- หมูแผ่นทอดกรอบ ตรา ออเอง
ผลงานเพลงแก้ไข
ผลงานการแสดงแก้ไข
ละคร/ซิทคอมแก้ไข
ปี | เรื่อง | ออกอากาศ | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2549 | ผู้พิทักษ์รักเธอ | ช่อง 5 | ต่าย อรทัย | รับเชิญ |
2558 | หมัดเด็ดเสียงทอง Season 3 | จีเอ็มเอ็ม 25 | มิน | นักแสดงนำ/ คู่กับ อาทิตรา บริสุทธิ์ |
เฮง เฮง เฮง | ช่องวัน 31 | ดอกหญ้า | - | |
2560 | ซีรีส์ The Secret of Grammy Gold ตอน ฝากพรุ่งนี้ไว้กับอ้าย ชัตดาวน์ ดาวชัด เล่าสู่หลานฟัง |
แฟนทีวี | ต่าย อรทัย | รับเชิญ ได้ยุติการออกอากาศทางยูทูบแล้วเนื่องจากมีลิขสิทธิ์ทางแกรมมี่ฯ ไม่มีเสียงประกอบในภาพชั่วคราว |
2561 | ซีรีส์ The Secret of Grammy Gold ตอน ต้นทางคือฮัก ปลายทางคือเฮา | ลูกแก้ว | รับเชิญ | |
ดาวจรัสฟ้า | ช่องวัน 31 | วิลาวัลย์ เพชรมงคล (ฟ้า) | นักแสดงหลัก/ คู่กับ ไผ่ พงศธร | |
2563 | มงกุฎดอกหญ้า | ธิดาวัลย์ จันทร์เพ็ญ / ธิดาวัลย์ นาบุญหลาย (แพงขวัญ) | ||
2565 | ทายาทพันธุ์ข้าวเหนียว | แสงระวี สุขวงศ์ / แสงระวี คำแพงกุล (เจ้ย) |
มิวสิกวีดีโอแก้ไข
นับที่ ต่าย อรทัย เพื่อโปรโมทเป็นอัลบั้มหรือซิงเกิ้ล
- เพลง ดอกหญ้าในป่าปูน
- เพลง ขอใจกันหนาว
- เพลง หอมกลิ่นบ้านเกิด
- เพลง เพื่อนกันโรงงานเก่า
- เพลง จากบ้านนาด้วยรัก
- เพลง ฟ้าสางที่ฝั่งโขง (ต้นฉบับ ชวลิต ผ่องแผ้ว)
- เพลง ถึงดังยังห่วงแม่
- เพลง แรงงานข้าวเหนียว
- เพลง มื้อใด๋สิคิดฮอด (มิวสิกซีรีส์ เพลงฝันยังไกล ใจยังหนาว, สบายดีบ่อ้าย, มื้อใด๋สิคิดฮอด ในอัลบั้มชุดที่ 7 ฝันยังไกล ใจยังหนาว)
- เพลง บั๊ดสะหลบ...อย่าจบแค่พบหน้า
- เพลง ผู้หนีช้ำ
- เพลง เส้นทางสายคิดฮอด
- เพลง รถคันนี้ศรีสะเกษ - ศร สินชัย,เสถียร ทำมือ,ไผ่ พงศธร
- เพลง ย่านอ้ายบ่ฮัก
- เพลง คิดฮอดอ้ายสายไปบ่
- เพลง เชื่อว่ามี(แต่ยังหาบ่เจอ)
- เพลง ความเหงาที่ต้องก้าวผ่าน
- เพลง ฝากพรุ่งนี้ไว้กับอ้าย
- เพลง จากสำคัญ เป็นสำรอง
- เพลง น้ำตาหยดยังกด Like
- เพลง สิเทน้อง ให้บอกแน
- เพลง กลับไปก็เป็นสำรอง
- เพลง กฎแห่งช้ำ
- เพลง กุญแจแห่งความฝัน
- เพลง หยุดเวลาไว้ตรงนี้ได้บ่
- เพลง ผาแดงของน้อง (ร้องแก้ นางไอ่ของอ้าย ของ มนต์แคน แก่นคูน)
คอนเสิร์ตแก้ไข
- คอนเสิร์ต 2 ทศวรรษ สลา คุณวุฒิ (2546)
- คอนเสิร์ต 10 ปี แกรมมี่โกลด์ (2548)
- คอนเสิร์ตของคุณชรินทร์ นันทนาคร
- คอนเสิร์ต พลพล คนกันเอง (2548)
- คอนเสิร์ต ด้วยรักแด่ครูสลา (2550)
- คอนเสิร์ต โลกร้อน...คนละลาย 2 โดยวงคาราวาน (2551)
- คอนเสิร์ต สานสัมพันธ์ไทยกัมพูชา (2553)
- คอนเสิร์ต ดวงจันทร์...กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ (2552)
- คอนเสิร์ต Got Show ตอน คนสำคัญกับวันพิเศษ (2552)
- คอนเสิร์ต Got Show ตอน เพชรตัดเพชร (2554)
- คอนเสิร์ต เฉลิมองค์พระทรงศรี...มหาราชินีแห่งปวงราษฎร์ (2555)
- คอนเสิร์ต x2 ปี M-150 ลูกทุ่งซุปเปอร์โชว์ (2555)
- คอนเสิร์ต Grammy Wonderland มันหยดหมดตึก (2555)
- คอนเสิร์ต สลา คุณวุฒิ คนสร้างเพลง เพลงสร้างคน (2559)
- คอนเสิร์ต 20 ปี M-150 ลูกทุ่งซุปเปอร์โชว์ (2560)
- คอนเสิร์ต 25 ปี ดวงจันทร์ กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ (2560)
- คอนเสิร์ต M-150 ลูกทุ่งซุปเปอร์โชว์ (2561)
- คอนเสิร์ต ดอกหญ้ากลางเมืองใหญ่ คอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของ ต่าย อรทัย 16 ปี ที่รอคอย (2562)
- คอนเสิร์ต ดนตรีบำบัด คืนคนดีสู่สังคม ครั้งที่ 15 (2562)
- คอนเสิร์ต รำลึก 28 ปี ดวงจันทร์...กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ (2563)
- คอนเสิร์ต 25 ปี แกรมมี่ โกลด์ เส้นทางมิตรภาพโรดทัวร์ (2563 / รังสิต & อยุธยา & นครราชสีมา & ขอนแก่น) (2563)
- คอนเสิร์ต 30 ปี ดวงจันทร์...กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ (2565)
โฆษณาแก้ไข
- กล่องรับสัญญาณ GMM. Z รุ่น HD ร่วมด้วย ตั๊กแตน ชลดา,ไผ่ พงศธร,หญิงลี ศรีจุมพล และศิลปิน นักร้อง นักแสดงอีกมากมาย (2556-2557)
- แอพลิเคชั่น KKBOX ร่วมด้วย ตั๊กแตน ชลดา,ไผ่ พงศธร,เปาวลี พรพิมล,หญิงลี ศรีจุมพล และ แช่ม แช่มรัมย์ (2557)
- โครงการพิเศษ ค่านิยม 12 ประการ ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (2558)
- M-150 ร่วมกับ ตูน บอดี้สแลม ,ไมค์ ภิรมย์พร และไผ่ พงศธร (พ.ศ. 2560)
- โยเกิร์ต ดัชชี่ ร่วมกับไผ่ พงศธรและเบลล์ นิภาดา (พ.ศ. 2564)
พรีเซ็นเตอร์แก้ไข
- M-150 ร่วมกับ ตูน บอดี้สแลม ไมค์ ภิรมย์พร และไผ่ พงศธร (พ.ศ. 2560)[6]
- เซรั่มบำรุงผม TIMA (พ.ศ. 2563)[7]
- เอไอเอส AIS มาม่วนกันหน่อย มาจอยกันแน (พ.ศ. 2562)[8]
- ปลาร้าปรุงสุกและเส้นขนมจีน ตราแม่สิริพร (พ.ศ. 2562)[9]
- ออร่า-ทัย (พ.ศ. 2563)[10]
- รีสอร์ต Nathai นาต่าย (พ.ศ. 2565)[11]
- ผลิตภัณฑ์สินค้าจาก บ้านออเอง By Tai Orathai [12]
รางวัลแก้ไข
- รางวัลมาลัยทองครั้งที่ 4 ประจำปี 2546 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยม จากเพลงโทรหาแหน่เด้อ ในอัลบั้มชุดที่ 1 ดอกหญ้าในป่าปูน
- โล่ห์เกียรติยศจากบริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด(มหาชน) เนื่องจากมียอดจำหน่ายอัลบั้มชุดที่ 1 ดอกหญ้าในป่าปูน เกินล้านตลับ
- รางวัลมาลัยทองครั้งที่ 5 ประจำปี 2547 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยม จากเพลงกินข้าวหรือยัง ในอัลบั้มชุดที่ 2 ขอใจกันหนาว
- รางวัลมาลัยทองครั้งที่ 5 ประจำปี 2547 สาขานักร้องดาวรุ่งหญิงยอดนิยม จากเพลงกินข้าวหรือยัง ในอัลบั้มชุดที่ 2 ขอใจกันหนาว
- รางวัลมาลัยทองครั้งที่ 5 ประจำปี 2547 สาขาเพลงลูกทุ่งยอดนิยม จากเพลงกินข้าวหรือยัง ในอัลบั้มชุดที่ 2 ขอใจกันหนาว
- โล่ห์เกียรติยศจากบริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด(มหาชน) เนื่องจากมียอดจำหน่ายอัลบั้มชุดที่ 2 ขอใจกันหนาว เกินล้านตลับ
- รางวัล Topselling New comer Awords หรือรางวัลศิลปินหน้าใหม่ที่มี่ยอดจำหน่ายสูงสุดในช่วง 10 ปี
- รางวัลพระพิฆเนศทองคำพระราชทานครั้งที่ 6 ประจำปี 2547 สาขาผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิงยอดเยี่ยม จากเพลงกินข้าวหรือยัง ในอัลบั้มชุดที่ 2 ขอใจกันหนาว
- รางวัลมาลัยทองครั้งที่ 6 ประจำปี 2548 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยม จากเพลงวันที่บ่มีอ้าย ในอัลบั้มชุดพิเศษอยู่ในใจเสมอ
- โล่ห์เกียรติยศจากบริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด(มหาชน) เนื่องจากมียอดจำหน่ายอัลบั้มชุดพิเศษอยู่ในใจเสมอ เกินล้านตลับ
- รางวัลมาลัยทองครั้งที่ 7 ประจำปี 2549 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยม จากเพลงหน้าจอรอสาย ในอัลบั้มชุดที่ 4 ส่งใจมาใกล้ชิด
- รางวัลเยาวชนดีเด่น ประจำปี 2548 สาขาสื่อสารมวลชนเพื่อเด็ก และเยาวชนที่ป้องกันปัญหาสังคม จากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
- รางวัลลูกกตัญญูดีเด่น ประจำปี 2548 จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
- รางวัลมหานครอวอร์ดสครั้งที่ 3 ประจำปี 2550 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยม จากเพลงหน้าจอรอสาย ในอัลบั้มชุดที่ 4 ส่งใจมาใกล้ชิด
- รางวัลมหานครอวอร์ดสครั้งที่ 3 ประจำปี 2550 สาขาอัลบั้มเพลงลูกทุ่งยอดนิยม จากอัลบั้มชุดที่ 4 ส่งใจมาใกล้ชิด
- รางวัลมหานครอวอร์ดสครั้งที่ 4 ประจำปี 2551 สาขาเพลงลูกทุ่งฮิตเก่าทำใหม่ยอดนิยม จากเพลงแอบรักแอบคิดถึง ในอัลบั้มชุดพิเศษภาษารักจากดอกหญ้า 1
- รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเม้นอวอร์ดส ประจำปี 2551 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยม จากอัลบั้มชุดที่ 6 คนในความคิดฮอด
- รางวัลมหานครอวอร์ดสครั้งที่ 6 ประจำปี 2553 สาขาเพลงลูกทุ่งฮิตเก่าทำใหม่ยอดนิยม จากเพลงอีสานลำเพลิน ในอัลบั้มชุดพิเศษหมอลำดอกหญ้า
- รางวัลเพชรในเพลง สาขาการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทชมเชยผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง จากเพลงไหมแท้ที่แม่ทอ ในอัลบั้มชุดที่ 6 คนในความคิดฮอด เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2552
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำครั้งที่ 24 ประจำปี 2553 สาขามิวสิควิดีโอเพลงลูกทุ่งดีเด่น จากเพลงอีสานลำเพลิน ในอัลบั้มชุดพิเศษหมอลำดอกหญ้า
- รางวัลเพชรในเพลง สาขาการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทชมเชยผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง จากเพลงฝันยังไกล ใจยังหนาว ในอัลบั้มชุดที่ 7 ฝันยังไกล ใจยังหนาว เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2553
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำครั้งที่ 25 ประจำปี 2554 สาขามิวสิควีดีโอเพลงลูกทุ่งดีเด่น จากเพลงมื้อใด๋สิคิดฮอด ในอัลบั้มชุดที่ 7 ฝันยังไกล ใจยังหนาว
- รางวัลมหานครอวอร์ดสครั้งที่ 7 ประจำปี 2554 สาขาอัลบั้มเพลงลูกทุ่งยอดนิยม จากอัลบั้มชุดที่ 7 ฝันยังไกล ใจยังหนาว
- รางวัลสตรีดีเด่น ประจำปี 2554 สาขาผู้ทำคุณประโยชน์และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดอุบลราชธานี
- เข็มที่ระลึก เนื่องในโอกาสที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นพรีเซ็นเตอร์วันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2554 จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
- รางวัลสยามดาราสตาร์อวอร์ดส 2011 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดเยี่ยม จากเพลงคนหนึ่งฝากชีวิต อีกคนคิดไม่ซื่อ ในอัลบั้มชุดที่ 8 ไม่ร้องไห้ ไม่ใช่ไม่เจ็บ
- รางวัลเพชรในเพลง สาขาการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทชมเชยผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง จากเพลงไม่ร้องไห้ ไม่ใช่ไม่เจ็บ ในอัลบั้มชุดที่ 8 ไม่ร้องไห้ ไม่ใช่ไม่เจ็บ เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2554
- รางวัล The GREAT Awards 2011 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงที่สุดแห่งปี จากเพลงคนหนึ่งฝากชีวิต อีกคนคิดไม่ซื่อ ในอัลบั้มชุดที่ 8 ไม่ร้องไห้ ไม่ใช่ไม่เจ็บ
- รางวัลผู้หญิงผู้ทรงคุณค่า สาขา THE GRATITUDE SINGER ประจำปี 2554
- รางวัลมหานครอวอร์ดสครั้งที่ 8 ประจำปี 2555 สาขาอัลบั้มเพลงลูกทุ่งยอดนิยม จากอัลบั้มชุดพิเศษเส้นทางสายคิดฮอด โดยเพลงผู้หนีช้ำ
- รางวัลสยามดาราสตาร์อวอร์ดส 2012 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดเยี่ยม จากเพลงย่านอ้ายบ่ฮัก ในอัลบั้มชุดที่ 9 ปลายก้อยของความฮัก
- รางวัลมหานครอวอร์ดสครั้งที่ 9 ประจำปี 2556 สาขาศิลปินส่งเสริมสังคมและวัฒนธรรมดีเด่น (เป็นรางวัลพิเศษพิจารณามอบโดยกระทรวงวัฒนธรรม)
- รางวัลมหานครอวอร์ดสครั้งที่ 9 ประจำปี 2556 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยม จากอัลบั้มชุดที่ 9 ปลายก้อยของความฮัก
- รางวัลมหานครอวอร์ดสครั้งที่ 9 ประจำปี 2556 สาขาเพลงลูกทุ่งยอดนิยม จากเพลงย่านอ้ายบ่ฮัก ในอัลบั้มชุดที่ 9 ปลายก้อยของความฮัก
- โล่ห์รางวัลจากรายการเพชรรามา ในฐานะนักร้องลูกทุ่งหญิงแถวหน้าของเมืองไทย ที่ยืนหยัดอยู่บนถนนสายลูกทุ่งมาเป็นเวลา 10 ปีเต็ม
- รางวัลสยามดาราสตาร์อวอร์ดส 2013 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยม จากเพลงไร่อ้อยรอยช้ำ ในอัลบั้มชุดพิเศษภาษารักจากดอกหญ้า 2
- รางวัลเพชรราช สาขา The Miracle Give And Share Thailand Award โดยได้รับการยกย่องให้เป็น "บุคคลต้นแบบ" ระดับประเทศ ในฐานะนักร้องลูกทุ่งหญิง
- รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและพระพุทธศาสนา รับประทานจากผู้แทนพระองค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
- รางวัลมหานครอวอร์ดสครั้งที่ 10 ประจำปี 2557 สาขาเพลงลูกทุ่งฮิตเก่าทำใหม่ยอดนิยม จากเพลงเต็มใจให้ ในอัลบั้มชุดพิเศษภาษารักจากดอกหญ้า 2
- รางวัลมหานครอวอร์ดสครั้งที่ 10 ประจำปี 2557 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยม จากอัลบั้มชุดพิเศษภาษารักจากดอกหญ้า 2
- รางวัลลูกทุ่งทองคำ ครั้งที่ 2 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2557 จากเสียงโหวตของคนไทยทั้งประเทศ ที่ติดตามฟังเพลงลูกทุ่งผ่านเครือข่ายลูกทุ่งเน็ตเวิร์ก
- รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 11 สาขาบทเพลงอมตะรังสรรค์หญิงยอดเยี่ยม จากเพลงสาวเลยยังรอ ในอัลบั้มชุดพิเศษตามฮอยอีสาน 3
- รางวัล Gmember Awards 2015 สาขาสุดยอดศิลปินลูกทุ่งหญิงแห่งปี จากอัลบั้มชุดที่ 10 เจ้าชายของชีวิต
- รางวัล Gmember Awards 2015 สาขาสุดยอดเพลงลูกทุ่งแห่งปี จากเพลงเจ้าชายของชีวิต ในอัลบั้มชุดที่ 10 เจ้าชายของชีวิต
- รางวัล Top Downloads 2014 ในฐานะที่ทำสถิติยอดดาวน์โหลดสูงที่สุดของบริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด(มหาชน) ในปี 2557 จากเพลงเจ้าชายของชีวิต ในอัลบั้มชุดที่ 10 เจ้าชายของชีวิต
- รางวัล"เข็มเกียรติคุณกิตติมศักดิ์" ในฐานะผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้มอบ
- รางวัลพระพิฆเนศทอง ครั้งที่ 8 ประเภทนักร้องกลุ่มไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม ได้แก่ เพลงอีสานบ้านเฮา
- รางวัล มหานครอวอร์ดส ครั้งที่ 14 ประจำปี 2560 สาขานักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยม จากเพลง สิเทน้องให้บอกแน ในอัลบั้มชุดที่ 11 ฝากพรุ่งนี้ไว้กับอ้าย
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Luktung - Tai Orathai เก็บถาวร 2010-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Jean Baffie; Thanida Boonwanno (2012). Cosmopole (éditions) (บ.ก.). Dictionnaire insolite de la Thaïlande (ภาษาฝรั่งเศส). p. 27. ISBN 978-2-84630-084-1.
- ↑ "นักร้องสาวดอกหญ้า "ต่าย อรทัย" รับแอบซุ่มคุยหนุ่มนอกวงการ!". อมรินทร์ทีวี. 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2022-11-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 4.2 ต่าย อรทัย - Isangate ประตูสู่อีสานบ้านเฮา
- ↑ "ความงามของระบบการศึกษาไทยในบทเพลง "ดอกหญ้าในป่าปูน"". www.thairath.co.th. 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ 2020-09-20.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ โฆษณา M-150 "พลังฮึดสู้ เพื่อคนไทย"
- ↑ เซรั่มบำรุงผม TIMA
- ↑ AIS มาม่วนกันหน่อย มาจอยกันแหน
- ↑ ปลาร้าปรุงสุกและเส้นขนมจีน ตราแม่สิริพร
- ↑ "ออร่า-ทัย". www.facebook.com.
- ↑ "Nathaiนาต่าย". www.facebook.com.
- ↑ "บ้านออเอง". www.facebook.com.