เพชรในเพลง 2553 กระทรวงวัฒนธรรม โดย สำนักงานวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จัดงานมอบรางวัล ในวันที่วันที่ 29 กรกฎาคม 2553 ซึ่งตรงกับวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยมอบรางวัลสำหรับนักร้อง เพลงไทยสากล ลูกทุ่ง ที่ออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขระภาษาไทย เพื่อยกย่องบุคลลในวงการเพลงที่มีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย ทั้งนักประพันธ์เพลงที่มีความสามารถผสมผสานความรู้ด้านภาษา วรรณกรรม และนักร้องที่ร้องเพลงออกเสียงชัดเจน และถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาไทย โดยมอบรางวัล ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ผลรางวัล ดังนี้ [1]

รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต แก้

  • ประเภทเพลงไทยสากล ได้แก่ เพลงลุ่มเจ้าพระยา ผู้ประพันธ์ แก้ว อัจฉริยะกุล
  • ประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ เพลงดาวลูกไก่ ผู้ประพันธ์ พร ภิรมย์
  • ประเภทเพลงสร้างสรรค์สำหรับเด็ก ได้แก่ เพลงใครหนอ ผู้ประพันธ์ สุรพล โทณะวณิก
  • ประเภทเพลงประกอบโฆษณา ได้แก่ เพลงโฆษณาถ่านไฟฉายตรากบ ผู้ประพันธ์ นคร มงคลายน

รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย แก้

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงใจนำทาง ผู้ประพันธ์ สุทธิพงษ์ สมบัติจินดา
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงยังมีประเทศไทย ผู้ประพันธ์ ยืนยง โอภากุล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงควายไทย ผู้ประพันธ์ ประภาส ชลศรานนท์

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงวันว่างที่ตั้งใจ ผู้ประพันธ์ สลา คุณวุฒิ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงต้องใช้สองมือ ผู้ประพันธ์ ไทยใหญ่ – ไทยยิ้ม หรือ นายปิติ ลิ้มเจริญ และนายอาทิตย์ สาระจูฑะ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงปริญญาลูกแม่ค้า ผู้ประพันธ์ สนชัย สมบูรณ์

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงสร้างสรรค์สำหรับเด็ก แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงฉลาดทันคน ผู้ประพันธ์ ช่อผกา คงแจ่ม
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงชีวิตพอเพียง ผู้ประพันธ์ อัคคชัย เจริญศุข
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงโลกสวยด้วยสองมือ ผู้ประพันธ์ ธัชปภา ศรีสังข์

รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย แก้

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงควายไทย ผู้ขับร้อง ยืนยง โอภากุล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงยังรัก ยังเจ็บ ยังรอ ผู้ขับร้อง เอ นรินทร์ ภูวนเจริญ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงความทรงจำในลมหายใจ ผู้ขับร้อง บี้ เดอะสตาร์ (สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว)

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงใจนำทาง ผู้ขับร้อง ปาน ธนพร แวกประยูร
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงรอยเท้าของความรัก ผู้ขับร้อง กนกวรรณ พลค้อ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงรักเธอเหลือเกิน ผู้ขับร้อง นันทิดา แก้วบัวสาย

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงปลาดาวเงาจันทร์ ผู้ขับร้อง หนู มิเตอร์ อาร์สยาม
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเธอคือคำตอบ ผู้ขับร้อง ไมค์ ภิรมย์พร
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงมีเธอจึงมีฝัน ผู้ขับร้อง ไผ่ พงศธร

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง แก้

ประเภทผู้ขับร้องเพลงสร้างสรรค์สำหรับเด็กชาย แก้

รางวัลชนะเลิศ และ รางวัลชมเชย ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล

ประเภทผู้ขับร้องเพลงสร้างสรรค์สำหรับเด็กหญิง แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงฉลาดทันคน ผู้ขับร้อง เด็กหญิง ธันยพร คงแจ่ม
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเนตรนารี ผู้ขับร้อง นางสาวโสภิดา พงศ์โต
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงระวังยาบ้า ผู้ขับร้อง เด็กหญิงถิรพร ทรงดอน

อ้างอิง แก้