เก็ตสึโนวา
เก็ตสึโนวา (อังกฤษ: Getsunova) เป็นวงดนตรีสัญชาติไทย สังกัดค่ายไวท์มิวสิก ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ สมาชิกของวงประกอบด้วย ปราการ ไรวา, นาฑี โอสถานุเคราะห์, ปณต คุณประเสริฐ และคมฆเดช แสงวัฒนาโรจน์[1][2] วงดนตรีมีเพลงสร้างชื่อและเป็นที่รู้จักคือ "ไกลแค่ไหนคือใกล้" (2555) , "คำถามซึ่งไร้คนตอบ", "อยู่ตรงนี้ นานกว่านี้" (2557) และ "พระเอกจำลอง" (2562) โดยมีแนวเพลงป็อปร็อก ที่ผสมผสานแนวดนตรีโพสต์พังก์และบริตป็อปด้วย[3]
เก็ตสึโนวา | |
---|---|
เก็ตสึโนวาขณะแสดงที่เวรี่ทีวี พ.ศ. 2556 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | |
ช่วงปี | พ.ศ. 2551–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | |
สมาชิก |
|
ประวัติของวง
แก้ปราการ ไรวา บุตรชายของเจ้าของธุรกิจร้านอาหาร เอส แอนด์ พี[4] และอดีตศิลปินเดี่ยวของค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ชักชวนเพื่อน ๆ ที่ศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษคือ นาฑี โอสถานุเคราะห์ และปณต คุณประเสริฐ ซึ่งเป็นบุตรชายของมหาเศรษฐีมาก่อตั้งวง และต่อมา ปณตได้ชักชวนเพื่อนของเขา คมฆเดช แสงวัฒนาโรจน์ มาร่วมวงในตำแหน่งมือกลอง จึงเกิดเป็นวงเก็ตสึโนวาขึ้นมา คำว่า "เก็ตสึโนวา" มาจากคำสองภาษา "เก็ตสึ" (月; getsu หรือ tsuki) เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่าดวงจันทร์ ส่วน "โนวา" (nova) เป็นภาษาอังกฤษ แปลว่า การระเบิด รวมกันเป็นพระจันทร์ระเบิด ซึ่งทางวงเห็นว่าเป็นชื่อที่แปลกดีจึงนำมาตั้งเป็นชื่อวง[5][6][7]
หลังจากตั้งวงได้แล้วพวกเขาก็เริ่มซ้อมเพลงกันทั้งที่ประเทศอังกฤษ และประเทศไทย โดยมีปนตเป็นผู้แต่งคำร้อง ทำนอง จังหวะ และผู้เรียบเรียงดนตรี ถึงแม้สมาชิกบางคนจะอยู่ไกลกันคนละประเทศแต่พวกเขาก็เดินหน้าทำดนตรีด้วยกันได้โดยผ่านอินเทอร์เน็ต
จนกระทั่งพวกเขาส่งผลงานไปที่ค่ายสนามหลวงการดนตรี และเป็นที่ชื่นชมของยุทธนา บุญอ้อม ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการค่าย จึงรับพวกเขาเป็นสมาชิกของค่าย และออกผลงานแรกของวงออกมา คือ อีพี เก็ตสึโนวาเดอะเฟิสต์ซิงเกิล ซึ่งมี 3 เพลง โดยปล่อยซิงเกิลเพลง "กล่อม" ออกมาเป็นซิงเกิลแรก
สมาชิก
แก้สมาชิก | |||||
---|---|---|---|---|---|
# | รายชื่อสมาชิกในวง | ชื่อเล่น | ตำแหน่ง | ||
1 | ปราการ ไรวา | (เนม) | ร้องนำ | ||
2 | นาฑี โอสถานุเคราะห์ | (นาฑี) | มือกีตาร์ | ||
3 | ปณต คุณประเสริฐ | (ณต) | คอรัส มือกีตาร์ ซินธิไซเซอร์ และนักแต่งเพลง | ||
4 | คมฆเดช แสงวัฒนาโรจน์ | (ไปรท์) | มือกลอง |
ผลงาน
แก้สตูดิโออัลบั้ม
แก้ชื่ออัลบั้ม | รายละเอียด | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
เดอะเฟิสต์อัลบั้ม |
|
รายชื่อเพลง
Limited Edition - CD 2
Limited Edition - CD 3
|
ทำมะดา |
|
รายชื่อเพลง
|
อีพี
แก้ชื่ออัลบั้ม | รายละเอียด | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
Electric Ballroom |
|
รายชื่อเพลง
|
2.5 |
|
รายชื่อเพลง
|
Thailander |
|
รายชื่อเพลง
|
ซิงเกิล
แก้ปี | ชื่อเพลง | อันดับเพลงสูงสุด | อัลบั้ม |
---|---|---|---|
ไทย IWChart [8] | |||
2550 | "กล่อม" หน้า บี: "คนคนเดียว" / "Too Late" |
— | Electric Ballroom |
2552 | "รอยจูบ" | — | |
"เศษส่วน" (Fraction) | — | ||
2553 | "ดอกไม้ปลอม" (Fake Flower) | — | The First Album |
2555 | "ไกลแค่ไหน คือ ใกล้" | 1 | |
2556 | "คำถามซึ่งไร้คนตอบ" | 1 | |
เขียนคำว่ารัก | 1 | ||
2557 | "สิ่งที่ตามหา" | 15 | |
"อยู่ตรงนี้ นานกว่านี้ " | 2 | ||
2559 | "คนไม่จำเป็น" | 1 | |
2560 | "เหตุผลที่ไม่มีเหตุผล" | 10 | |
"นักเดินทาง" | — | ทำมะดา | |
"พัง..(ลำพัง)" | 1 | ||
2561 | "รู้ดีว่าไม่ดี" (ร่วมกับ ยังโอม) |
2 | |
"ชีวิตที่มีชีวิต" | — | ||
"ความเงียบดังที่สุด" | 1 | ||
"ดวงจันทร์กลางวัน" (ร่วมกับ วิโอเลต วอเทียร์) |
— | ||
"ความรู้สึกที่ไม่เคยรู้สึก" | — | ||
2562 | "ปลาบนฟ้า" | — | |
"พระเอกจำลอง" | — | ||
"ทำ มะ ดา" | — | ||
2563 | "ลืมว่าต้องลืม" | — | 2.5 |
"คนเดิมที่ไม่เหมือนเดิม" | — | ||
"หน้ากาก" | — | ||
"จุดแวะพัก" | — | ||
2564 | "อีกไม่นาน นานแค่ไหน" (ร่วมกับ ทรีแมนดาวน์ และพระมหาไพรวัลย์) |
— | Thailander |
2565 | "หวย" | ||
2567 | "ไม่ต้องมีที่ที่ให้ฉันอยู่ แต่ขอแค่มีฉันอยู่ก็พอ (Spaceless)" | — | |
"—" หมายถึงเพลงนั้นไม่ได้อยู่ในอันดับ / IW Chart เริ่มก่อตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2553 |
เพลงประกอบภาพยนตร์ และละคร
แก้ปี | ชื่อเพลง | อันดับเพลงสูงสุด | ภาพยนตร์ และละคร | อัลบั้ม |
---|---|---|---|---|
ไทย IWChart [9] | ||||
2556 | "ความมืดสีขาว" | — | Arrow (โคตรคนธนูมหากาฬ) | The First Album |
"แตกต่างเหมือนกัน" | 5 | ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น | ||
2558 | "Stay" (ปาล์มมี่ ต้นฉบับ) |
5 | STAY ซากะ..ฉันจะคิดถึงเธอ | |
"โดดเดี่ยวด้วยกัน" (ร่วมกับ แพรวา Yellow fang) |
12 | I Wanna Be Sup'Tar วันหนึ่งจะเป็นซุปตาร์ | ||
2559 | "คนไม่จำเป็น" | 6 | กรุงเทพ..มหานครซ้อนรัก | |
2562 | "ความเงียบดังที่สุด" | — | Theory of Love ทฤษฎีจีบเธอ | ทำมะดา |
"พระเอกจำลอง" | — | |||
"ทำมะดา" | — | พงศธร | ||
2563 | "ลืมว่าต้องลืม" "คนเดิมที่ไม่เหมือนเดิม" |
— | Who Are You เธอคนนั้นคือฉันอีกคน | 2.5 |
2566 | "ความ (ไม่) มั่นใจ" | — | ลมพัดผ่านดาว | |
"—" หมายถึงเพลงนั้นไม่ได้อยู่ในอันดับ / IW Chart เริ่มก่อตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2553 |
เพลงอื่น ๆ
แก้ปี | ชื่อเพลง | อัลบั้ม |
---|---|---|
2553 | "คำถาม" (Question) | ไม่มีอัลบั้ม |
2559 | "ยิ้มสู้" (Live Version) | |
"ความลับในใจ (นั่งเล่น Version)" | นั่งเล่น | |
"กุมภาพันธ์ (นั่งเล่น Version)" | ||
2560 | "พัง...(ลำพัง)" (ร่วมกับ ลิเดีย) |
ทำมะดา |
2561 | "ชีวิตเดี่ยว" (ร่วมกับ ธงไชย แมคอินไตย์) |
Mini Marathon |
2562 | "วันหมดอายุ" | The Love Speech ขอโทษ ขอบคุณ ไม่เป็นไร ทำมะดา |
"คือเธอใช่ไหม" (ร่วมกับ ต่าย อรทัย) |
JOOX Original Album 100x100 ทำมะดา | |
"Fake Protagonist" | ทำมะดา | |
2563 | "อย่างน้อยก็มากพอ" (ร่วมกับ น้อย พรู) |
JOOX Original Album My Hero |
2565 | "Vanida" | ไม่มีอัลบั้ม |
คอนเสิร์ต
แก้ปี | อัลบั้ม | ร่วมกับ |
---|---|---|
2562 | "คอนเสิร์ต ดอกหญ้ากลางเมืองใหญ่ คอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของ ต่าย อรทัย 16 ปี ที่รอคอย" |
ต่าย อรทัย, ไผ่ พงศธร, ตรี ชัยณรงค์ |
รางวัล
แก้- You2Play Awards 2013 สาขามิวสิกวิดีโอเพลงไทยยอดนิยม
- เอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2013 สาขาเพลงที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด (About Song) จากเพลง "ไกลแค่ไหนคือใกล้"
- รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ 2013 สาขาเพลงแห่งปี จากเพลง "ไกลแค่ไหนคือใกล้"
- เมขลามหานิยม 2556 สาขามิวสิกวิดีโอดีเด่นยอดนิยม
- Kazz Awards 2013 สาขาเพลงฮิตยอดนิยม
- Bang Awards 2013 สาขาเพลงแห่งปี
- สยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2013 รางวัล เพลงฮิตโดนใจ สาขาเพลงไทย-สากล จากเพลง "ไกลแค่ไหนคือใกล้"
- Seventeen Choice 2013 สาขา music breakout
- สยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2015 รางวัล เพลงฮิตโดนใจ สาขาเพลงไทย-สากล จากเพลง "อยู่ตรงนี้ นานกว่านี้"
- Mnet Asian Music Awards 2016 สาขา Best Asian Artist Thailand
เข้าชิง
แก้- รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ 2017 สาขา ศิลปินกลุ่มแห่งปี
- รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ 2019 สาขา ศิลปินกลุ่มแห่งปี
อ้างอิง
แก้- ↑ Phungbun Na Ayudhya, Pimchanok (21 July 2016). "Perseverance pays off for Getsunova". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 6 September 2020.
- ↑ Chaiyong, Suwitcha (7 October 2017). "Alone, together". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 6 September 2020.
- ↑ "ประวัติ วงดนตรี getsunova (เกทสึโนวา)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-09. สืบค้นเมื่อ 2014-11-07.
- ↑ "Behind the Scenes with Prakarn "Name" Raiva". prestigeonline.com. Prestige. 9 December 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2020.
- ↑ Getsunova วงดนตรีทายาทตระกูลดัง กว่าจะมีวันนี้
- ↑ หล่อ-ไฮโซ-เก่ง 'เก็ตสึโนวา' บรรเลงชีวิตด้วยเสียงเพลง
- ↑ "คุยกับ เนม-ปราการ ไรวา หนุ่มติดส์เจ้าโปรเจกต์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2014-11-07.
- ↑ IW Music Chart Top 40 เพลงไทยสากล อันดับเพลงที่มีการเปิดมากที่สุดโดยการ monitor ของ IW จากสถานีวิทยุ 40 FM radio station ในกรุงเทพและปริมณฑล)
- ↑ IW Music Chart Top 40 เพลงไทยสากล อันดับเพลงที่มีการเปิดมากที่สุดโดยการ monitor ของ IW จากสถานีวิทยุ 40 FM radio station ในกรุงเทพและปริมณฑล)