ธานินทร์ อินทรเทพ

ธานินทร์ อินทรเทพ มีชื่อจริงว่า ธานินทร์ อินทรแจ้ง ชื่อเล่น เล็ก (เกิด 3 มกราคม พ.ศ. 2486) นายกสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นักร้องชายเพลงไทยสากล ประเภทเพลงลูกกรุง มีชื่อเสียงจากเพลง รักเอย หยาดน้ำฝนหยดน้ำตา หยดหนึ่งของกาลเวลา เหมือนคนละฟากฟ้า นกขมิ้น คาวหัวใจ คนอ่อนแอ ผมไปไม่พ้น อย่าเห็นกันดีกว่า ทำบุญด้วยอะไร เพ็ญโสภา จับกระแต ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก น้ำตาร่วงหลังพวงมาลัย และ ทำไมถึงต้องเป็นเรา (โดยเฉพาะเพลงขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก มีชื่อเสียงจนถูกนำไปแต่งเพลงล้อเลียน ชื่อ ขาดฉันแล้วเธอจะเซ้งตึก แปลงเพลงโดย ซูม แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ) [1]

ธานินทร์ อินทรเทพ
ภาพเมื่อครั้งได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ ครั้งที่ 1 ประเภท นักร้องชายรองชนะเลิศจากเพลง "เหมือนคนละฟากฟ้า" เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2507
ภาพเมื่อครั้งได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ ครั้งที่ 1 ประเภท นักร้องชายรองชนะเลิศจากเพลง "เหมือนคนละฟากฟ้า" เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2507
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดธานินทร์ อินทรแจ้ง
เกิด3 มกราคม พ.ศ. 2486 (81 ปี)
สมุทรสาคร จังหวัดธนบุรี ประเทศไทย
คู่สมรสจิตราภรณ์ บุญญขันธ์
อาชีพนักร้อง, นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2505 - ปัจจุบัน
สังกัดห้างแผ่นเสียงกมลสุโกศล
ห้างแผ่นเสียงคาเธ่ย์
กรุงไทย
เมโทร แผ่นเสียง
โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์
อิสระ

ประวัติ แก้

ธานินทร์ อินทรเทพ เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดธนบุรี (อำเภอเมืองสมุทรสาครจังหวัดสมุทรสาคร ในปัจจุบัน) เดิมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดธนบุรีตั้งแต่ พ.ศ. 2486 - 2489 เรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านมหาชัย และโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ชื่นชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก เคยเข้าประกวดการร้องเพลง ได้รับรางวัลชนะเลิศหลายครั้ง โดยชอบร้องเพลงของ สุเทพ วงศ์กำแหง ชรินทร์ นันทนาคร และนริศ อารีย์ เข้าร่วมวงดนตรีของครูพยงค์ มุกดา จากการชนะเลิศการประกวดร้องเพลงของสถานีวิทยุพล.1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 มีผลงานอัดแผ่นเสียงเพลง จูบจันทร์ และ เพ็ญโสภา [2] ต่อมาครูพยงค์ได้นำไปฝากให้อยู่กับวงสุเทพโชว์ ของสุเทพ วงศ์กำแหง ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อในการแสดงให้ว่า ธานินทร์ อินทรเทพ เป็นบิดาของ ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)[3]เคยสมรสกับจิตราภรณ์ บุญญขันธ์นักร้องดาวรุ่งแห่งวงดนตรีสุนทราภรณ์

ผลงานเด่น แก้

  • รางวัลเสาอากาศทองจากเพลง ฝากเพลงถึงเธอ พ.ศ. 2518 ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก และ ทำไมถึงต้องเป็นเรา พ.ศ. 2519 (แต่งโดย ทวีพงศ์ มณีนิล) และ ปั้นดินให้เป็นดาว พ.ศ. 2522
  • แสดงภาพยนตร์ เรื่อง พิมพิลาไลย จำปูน กาเหว่า ชุมทางรัก เป็ดน้อย ระหว่าง พ.ศ. 2507-2511 ร้องเพลงประกอบ เช่น จำปูน (จำปูน ) ,สามคำจากใจ (เป็ดน้อย ) และ ชีวิตละคร (ละครเร่ )
  • ช่วงปี พ.ศ. 2522 - 2530 เดินทางไปใช้ชีวิตร้องเพลงในสหรัฐอเมริกา เมื่อกลับมาได้หยุดร้องประจำตามสถานบันเทิง แต่รับเชิญร้องตามงานพิเศษ และเป็นเลขานุการของสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย ก่อตั้งกองทุนเพื่อศิลปิน
  • มีคอนเสิร์ตของตนเองและรับเชิญเป็นครั้งคราว แฟนเพลงต้อนรับคับคั่ง

คอนเสิร์ต แก้

  • คอนเสิร์ต นี่คือฉันเอง This Is Me! Thanin Live In Concert (2555)
  • คอนเสิร์ต เพชรในเพลง ครั้งที่ 2 (2555)
  • คอนเสิร์ต Master Of Voices 3 ตำนานเพลงรักแห่งสยาม (2557)
  • คอนเสิร์ต กล่อมกรุง (2557)
  • คอนเสิร์ต กล่อมกรุง 2 (2558)
  • คอนเสิร์ต เพื่อลมหายใจ (2558)
  • คอนเสิร์ต รำลึก 100 ปี ชาตกาล ครูแก้ว อัจฉริยะกุล (2558)
  • คอนเสิร์ต ที่สุดที่ดี เพื่อพี่รี่ สวลี ผกาพันธุ์ (2558)
  • คอนเสิร์ต 93 ปี ชาลี อินทรวิจิตร เพลงหนังคู่แผ่นดิน (2559)
  • คอนเสิร์ต มหกรรม แสง สี เสียง ย้อนรอยประวัติศาสตร์ นครีสโตย (2559)
  • คอนเสิร์ต สองวัยใจเดียวกัน (2559)
  • คอนเสิร์ต ธานินทร์ แอนด์ ฮิส ดีว่าส์ (2560)

ผลงานการแสดงภาพยนตร์ แก้

  • ตำหนักเพชร (2507)
  • จำปูน (2507)
  • เป็ดน้อย (2511)
  • แสนทนง (2515)
  • หัวใจมีตีน (2515)
  • คุณครูที่รัก (2517)
  • ชายผ้าเหลือง (2517)
  • วิมานดารา (2517)
  • เหมือนฝัน (2519)
  • ไฟเหนือลมใต้ (2520)
  • ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก (2522)
  • โชคดีที่รัก (2523)
  • ลูกสาวกำนัน (2524)
  • ยอดรักผู้กอง (2524)

อ้างอิง แก้

  • ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-82-3

แหล่งข้อมูลอื่น แก้