กะลา (วงดนตรี)
กะลา เป็นวงดนตรีแนวซอฟต์ร็อก จากโรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ โดยวงเป็นที่รู้จักจากการเข้าประกวดวงดนตรีมัธยม ฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2540 แต่ตกรอบ 30 วงสุดท้ายจากวงเข้าประกวดทั่วประเทศกว่า200วง ต่อมากะลาได้กลับมาประกวดอีกครั้งกับฮอตเวฟมิวสิคอวอร์ดส์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2541 โดยครั้งนี้ได้เปลี่ยนสมาชิกสองตำแหน่งคือกลองกับเบส และเข้ารอบ 10 วงสุดท้าย จนได้รับการชักชวนจากทางแกรมมี่ค่ายจีนี่เร็คคอร์ด
กะลา | |
---|---|
วงกะลาในงานพัทยาเคาน์ดาวน์ พ.ศ. 2556 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย |
แนวเพลง | ป็อปร็อก ซอฟต์ร็อก ออลเทอร์นาทิฟร็อก |
ช่วงปี | พ.ศ. 2542–2557 |
ค่ายเพลง | จีนี่เรคอร์ดส (พ.ศ. 2542–2557) |
สมาชิก | ยุทธพงษ์ แสงสุวรรณ[1](พ.ศ. 2542–2557) ธีระศักดิ์ อุ่มมล (พ.ศ. 2542–2557) ดารุส ปัญญา (พ.ศ. 2542–2557) มาโนช พิมพ์จันทร์ (พ.ศ. 2542–2557) พงศภัค ทองเจริญ (พ.ศ. 2542–2549) ปัญญา โกเมนไปรรินทร์ (พ.ศ. 2542–2557) สมพร ยูโซะ (พ.ศ. 2549–2557) |
พวกเขาได้ออกอัลบั้มชุดแรก "กะลา" ในปี พ.ศ. 2542 มีเพลงดังอย่าง "แม่ครับ" "ไม่มาก็คิดถึง" และ "รอ"
ปี พ.ศ. 2544 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 "นอกคอก" มีเพลงดังอย่าง "ขอเป็นตัวเลือก" "อยากเกิดเป็นคนหลายใจ" และ "สัญญา"
ปี พ.ศ. 2546 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 3 "My Name Is Kala" มีเพลงดังอย่าง "My Name Is Kala" "เธอเป็นแฟนฉันแล้ว" และ "บอกสักคำ"
ปี พ.ศ. 2548 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 "สามัญ" มีเพลงดังอย่าง "เจ็บนี้มันลึก" "ปิดตา" และ "ถ้าเธอหลายใจ"
ปี พ.ศ. 2549 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 "Inside" มีเพลงดังอย่าง "ใช่ฉันหรือเปล่า" และ "กะลา (ใช่ไหม)"
ปี พ.ศ. 2551 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 6 "Minute" ซึ่งอัลบั้มชุดนี้เป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายของวงกะลายุคก่อตั้ง ซึ่งมีสมาชิกอย่าง นุ (มือเบส) ,โต (มือกีตาร์) และ รุส (มือกลอง) อัลบั้มชุดนี้มีเพลงดังอย่าง "4 นาที"
ปี พ.ศ. 2553 วงกะลาได้ฟอร์มวงใหม่อีกครั้งประกอบไปด้วยสมาชิกของวงรุ่นใหม่มากประสบการณ์อย่าง เพชร พงศภัค (อดีตมือกีตาร์วงไอแซ็ค) , เขต ปัญญา (มือเบสและนักแต่งเพลง) , สมพร ยูโซะ (อดีตมือกลองวงลาบานูน) และอัลบั้มชุดที่ 7 "4 share" มีเพลงดังอย่าง "หมดเวลาแอบรัก" "หนาวกว่าทุกคืน" "หยุด...เพราะเธอ" "ทำใจให้ชิน" และ "ไม่เห็นฝุ่น"
ปี พ.ศ. 2555 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 8 "Love Infinity" อัลบั้มชุดนี้ถือว่าเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายของวงกะลา อัลบั้มชุดนี้มีเพลงฮิตอย่าง "นาฬิกาของคนรักกัน" "ใจเรายังคงตรงกันอยู่ไหม" "รักจะกอดเราไว้" "ทุกคืนได้ไหม" และ "เหตุผลข้อเดียว"
วงกะลาถึงจุดแตกหักในปี พ.ศ. 2557 ด้วยเหตุผลคือ "การทำงานไม่ตรงกัน" โดยยุทธพงษ์ได้แยกออกมาเป็นศิลปินเดี่ยว อีกทั้งสมาชิกอันประกอบไปด้วย เพชร พงศภัค ทองเจริญ อดีตมือกีตาร์ของวงไอแซ็กซ์ , เขต ปัญญา โกเมนไปรรรินทร์ มือเบสและนักแต่งเพลง และ สมพร ยูโซะ อดีตมือกลองวง ลาบานูน ได้ไปก่อตั้งวงอโศกขึ้นมา ในสังกัดค่ายเพลงของพวกเขาเอง โรดสตาร์ (Road stars)
ประวัติ
แก้การก่อตั้งวง ; เข้าประกวดแข่งขันฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดสครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2540)
แก้เริ่มต้นจาก หนุ่ม นักเรียนชั้น ม.5 จากโรงเรียนวัดทรงธรรม ที่ได้รวบรวมเพื่อน ๆ อีก 3 คนเพื่อเข้าแข่งขัน ฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2540 แต่ก็ตกรอบ 30 วงสุดท้ายซึ่งวง ลาบานูน ก็ได้ผ่านเข้ารอบสิบวงสุดท้ายแต่ก็ไม่ได้รับรางวัลใดๆ แต่ด้วยสไตล์ของวงทำให้ ลาบานูนก็ได้ออกอัลบั้มจากการชักชวนของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์[2]
ลาบานูนออกอัลบั้มเพลง ; กะลาประกวดแข่งขันฮอตเวฟมิวสิกอีกครั้ง (พ.ศ. 2541)
แก้โดยหนุ่มไม่มีกำลังใจในการที่จะประกวดอีกครั้ง แต่เมื่อเขาได้เห็นลาบานูน เพื่อนร่วมรุ่นได้ออกอัลบั้มเพลงเป็นของตัวเองจึงทำให้เขามีกำลังใจอีกครั้งและในปีต่อมาคือ พ.ศ. 2541 กะลาก็ได้กลับมาแข่ง ฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ ครั้งที่ 3 โดยในครั้งนี้พวกเขาได้เปลี่ยนสมาชิก 2 ตำแหน่งคือกลองและเบส (โดยมีสมาชิกโตและหนุ่มเป็นสองสมาชิกก่อตั้ง)โดยหลุดเข้าไปในรอบ 10 วงสุดท้ายโดยไม่ได้รับรางวัลใดๆทั้งสิน
การชักชวนจากแกรมมี่ (พ.ศ. 2541 - 2542)
แก้และหลังจากนั้นอีก 2-3 เดือนทางแกรมมี่ก็ติดต่อมาว่าให้มาที่บริษัทแกรมมี่เพื่อจะได้สกรีนเทสต์ และเมื่อพวกเขาได้สกรีนเทสต์เสร็จแกรมมี่ก็มิได้ติดต่อมาจนทำให้พวกเขาแทบหมดกำลังใจ แต่แล้วหลังจากนั้นอีก 4-5 เดือนแกรมมี่ก็ติดต่อมาว่าให้มาที่บริษัทอีกครั้งเพื่อเซ็นสัญญาเป็นนักร้อง และในที่สุดพวกเขาก็ได้เป็นนักร้องนักดนตรีอาชีพสมใจ
อัลบั้มกะลา ; อัลบั้มกะลานอกคอก (พ.ศ. 2542- 2544)
แก้ในอัลบั้มกะลามีเนื้อเพลงที่เป็นสไต์ร็อคที่ฟังง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ซ้อนความคมคาย ด้วยเนื้อหาของเพลง ที่พูดจาตรงไปตรงมา ตามประสาวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นเพลงน่ารักอย่าง “ไม่มาก็คิดถึง” และเพลงจังหวะสนุก อารมณ์กวนอย่าง “แม่ครับ” ที่ทำให้หลายคน ต้องถามถึงพวกเขา เรียกได้ว่าพวกเขาเป็นวงร็อคมัธยม ที่มีฝีมือเกินตัว[3]
อัลบั้ม “กะลานอกคอก” อัลบั้มที่สองของกะลา ที่มาแรงเกินคาด ในอัลบั้มนี้ฝีมือของกะลาจัดจ้านขึ้น และได้รับการต้อนรับที่ดีมากจากเหล่าแฟนคลับ
ประสบความสำเร็จในวงกว้าง ; โปรเจกต์พิเศษ (พ.ศ. 2545)
แก้หลังจากที่ประสบความสำเร็จและได้เสียงต้อนรับจากแฟนคลับ พวกเขามีโปรเจกต์พิเศษ "กะลาหัวกะทิ" เพื่อเป็นการขอบคุณแฟนๆที่ให้การสนับสนุน ด้วยดีมาตลอด อัลบั้มนี้เป็นการคัดเอาบทเพลงหัวกะทิจากทั้ง 2 อัลบั้มกลับมาเรียบเรียง ทำดนตรี และนำมาขับร้องใหม่"
ฟอร์มวงใหม่; อัลบั้มชุดที่สาม (พ.ศ. 2545 - 2557) - แยกวงและยุทธพงษ์เป็นศิลปินเดี่ยว
แก้หลังจากปล่อยอัลบั้มหัวกะทิไป กะลาก็ไม่ได้ปล่อยอัลบั้มออก 1-2 ปี โดยในปี พ.ศ. 2546 กะลากลับมาตอกย้ำความเป็นร็อคเข้มข้นในชื่อ KALA รวมทั้งมากับอัลบั้มชุดที่ 3 "My Name Is Kala" และยุทธพงษ์ก็ได้ฟอร์มวงใหม่ โดยมี พงศภัค ทองเจริญ (มือกีตาร์จากวงไอ-แซ็ค) ปัญญา โกเมน ไปรรินทร์ (มือเบสและนักแต่งเพลงมืออาชีพที่แต่งเพลงออกมาเหมือนวง Green Day มาก) และ สมพร ยูโซ๊ะ (อดีตมือกลองวงลาบานูน) มาฟอร์มวงใหม่อีกครั้ง โดยในอัลบั้มนี้มีซาวนด์ที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์แบบเฉพาะตัว ที่ไร้ขีดจำกัดความมันส์ และเนื้อหาที่มีความหลากหลายมากขึ้น หนักแน่นขึ้น ทั้งด้านการใช้ภาษาที่แรงแต่ตรงไปตรงมา รวมทั้งหลายเพลงในอัลบั้มชุดนี้ ยังแทรกกลิ่นอายดนตรีร็อกแอนด์โรลล์ ที่พวกเขาหลงใหล นำมาผสมผสานเข้ากับงานดนตรีร็อก โดยยุทธพงษ์ นักร้องนำได้แต่งเพลงและทำนองเอง ถึง 3 เพลงด้วยกันคือ เพลง "MY NAME IS KALA", "บอกสักคำ" และ "ศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย" ซึ่งทั้ง 3 เพลงได้กระแสตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก โดยสมาชิกเก่า ๆ ของวงกะลาก็ได้แยกย้ายกันออกไป และมีผลงานต่อมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2557 วงกะลาจึงแตกในที่สุด ด้วยเหตุผลคือ "การทำงานไม่ตรงกัน" โดยยุทธพงษ์ได้แยกออกมาเป็นศิลปินเดี่ยว[4][5] พร้อมด้วยสมาชิก พงศภัค ทองเจริญ อดีตมือกีตาร์ของวงไอแซ็กซ์ , ปัญญา โกเมนไปรรรินทร์ มือเบสและนักแต่งเพลง และ สมพร ยูโซะ อดีตมือกลองวง ลาบานูน ได้ไปก่อตั้งวงอโศกขึ้นมา ในสังกัดค่ายเพลงของพวกเขาเอง โรดสตาร์ (Road stars) [6] ปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 แชแนลยูทูบของค่ายเพลงจีนี่เรคอร์ดส ได้โพสต์คลิป Pre Launch "NUM KALA" ซึ่งเป็นความในใจของยุทธพงษ์ในการเป็นนักร้องเดี่ยว[7][8][9]
สมาชิก
แก้- ยุทธพงษ์ แสงสุวรรณ (หนุ่ม) – ร้องนำ เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 (ปี พ.ศ. 2542 - 2557)
- มาโนช พิมพ์จันทร์ (โต) – กีตาร์ เกิด 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 (ปี พ.ศ. 2542 - 2557
- ธีระศักดิ์ อุ่มมล (นุ) – เบส เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2523 (ปี พ.ศ. 2542 - 2557)
- ดารุส ปัญญา (รุส) – กลอง เกิด 12 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ปี พ.ศ. 2542 - 2557)
- พงศภัค ทองเจริญ (เพชร) – กีตาร์ (อดีตมือกีตาร์วงไอ-แซ็กซ์) เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2529 (ปี พ.ศ. 2542 - 2545)
- ปัญญา โกเมนไปรรินทร์ (เขต) – เบส (มือเบสและนักแต่งเพลงมืออาชีพ) เกิด 23 ธันวาคม พ.ศ. 2525 (ปี พ.ศ. 2542 - 2557)
- สมพร ยูโซะ (สมพร) – กลอง เกิด 12 กันยายน พ.ศ. 2528 (อดีตมือกลองวงลาบานูน) (ปี พ.ศ. 2545 - 2557)
ผลงานเพลง
แก้ชื่ออัลบั้ม | วางแผง/สังกัด | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
กะลา | 17 มิถุนายน 2542 จีนี่เรคอร์ดส |
|
นอกคอก | 12 มิถุนายน 2544 จีนี่เรคอร์ดส |
|
หัวกะทิ | 9 ตุลาคม 2545 จีนี่เรคอร์ดส |
|
มายเนมอิสกะลา
(My Name is KALA) |
18 กรกฏาคม 2546 จีนี่เรคอร์ดส |
|
สามัญ | 28 มิถุนายน 2548 จีนี่เรคอร์ดส |
|
อินไซด์
(Inside) |
29 สิงหาคม 2549 จีนี่เรคอร์ดส |
|
มินิต
(Minute) |
13 พฤษภาคม 2551 จีนี่เรคอร์ดส |
|
โฟร์แชร์
(4share) |
11 พฤศจิกายน 2553 จีนี่เรคอร์ดส |
|
เลิฟอินฟินิตี้
(LOVE INFINITY) |
23 กุมภาพันธ์ 2555 จีนี่เรคอร์ดส |
|
ซิงเกิลใหม่ | 2556 จีนี่เรคอร์ดส |
|
ซิงเกิลใหม่ | 2557 จีนี่เรคอร์ดส |
|
ผลงานการแสดง
แก้- ภาพยนตร์เรื่อง พันธุ์เอ็กซ์เด็กสุดขั้ว (2547) (หนุ่ม รับบท หนุ่ม)
- เข้าเล่นเกมส์ในรายการ หัวท้ายตายก่อน (2564) (หนุ่ม)
รางวัล
แก้- สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 25 ประจำปี พ.ศ. 2555 สาขาเพลงร็อคยอดเยี่ยม จากเพลง แน่นอนคือไม่แน่นอน
- เพชรในเพลง ประจำปี พ.ศ. 2564 สาขาการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล,ขับร้องเพลงไทยสากลชาย (หนุ่ม) จากเพลง ลม
อ้างอิง
แก้- ↑ KALA คัมแบ็ค!! หนุ่ม หัวหอกรวมสุดยอดฝีมือฟอร์มวงใหม่
- ↑ "ประวัติ KALA (กะลา) วงดนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-10-28.
- ↑ กะลา (Kala)[ลิงก์เสีย]
- ↑ 'กะลา' วงแตก! 'หนุ่ม' เผยทางตัน-คิดต่าง-ย่ำอยู่กับที่ จาก ไทยรัฐ
- ↑ “หนุ่ม” รับวงกะลาแตกแล้ว
- ↑ วงอโศก
- ↑ ความในใจของ "หนุ่ม KALA" ตอนที่ 1
- ↑ ความในใจของ "หนุ่ม KALA" ตอนที่ 2
- ↑ "'อโศก' ร็อกน้องใหม่อดีตสมาชิก 'กะลา' ปล่อยซิงเกิ้ลแรก 'น้ำตาไม่ไหลย้อนกลับ'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.