อีโบลา (วงดนตรี)

(เปลี่ยนทางจาก อีโบล่า)

อีโบลา (อังกฤษ: Ebola) วงดนตรีแนวเมทัล รวมตัวโดย กอล์ฟ - วรรณิต ปุณฑริกาภา และ โอ๋ - สุรพงษ์ บัวพันธุ์ ได้คิดจะทำวงดนตรีขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง และได้ชวน พัน- พงษ์พันธุ์ โพธินิมิตร กับ เอ๋ - กิตติศักดิ์ บัวพันธุ์ เข้ามาร่วมในวง ซึ่งทั้งหมดได้เรียนอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี หลังจากนั้นได้ - เชาวลิต ประสงค์สิน ได้เข้ามาร่วมวง ทางวงเริ่มใช้ชื่ออีโบล่าอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี 2538 ขึ้นสำหรับการแสดงคอนเสิร์ต โดยอีโบล่าเป็นที่รู้จักแวดวงใต้ดินอย่างมาก และเป็นที่ยอมรับในกลุ่มคนฟัง ปีถัดมา 2539 ทางวงได้ทำการแสดงคอนเสิร์ตต่อเนื่อง วงอีโบล่าเริ่มอัดเพลงในค่ายจัสติคมิวสิคสำหรับเทปเดโม ในชื่อชุดว่า E.P.90 ออกวางแผงในปี 2540 เพื่อจำหน่ายให้กับแฟนเพลงที่มาดูการแสดงคอนเสิร์ตจากนั้นก็เริ่มทำงานดนตรีอย่างจริงจังหลังจากนั้นอีโบล่าก็ได้ปล่อยอัลบั้มชุดที่หนึ่งในปี 2542 In My hate และอัลบั้มชุดที่สอง Satisfy ซึ่งอัลบั้มทั้งสองอยู่ในสังกัดจัสติคมิวสิคอีกทั้งยังได้รับกระแสตอบรับในแวดวงใต้ดิน

อีโบลา(Ebola)
ที่เกิดประเทศไทย
แนวเพลงนูเมทัล
ออลเทอร์นาทิฟเมทัล
ฮาร์ดคอร์
เมทัลคอร์
ช่วงปีพ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงWarner Music Thailand (2545 - 2551, 2554 - 2557)
จัสติค มิวสิก (2542 - 2545)
จีนี่เรคอร์ดส (2552 - 2554)[1]
มีเรคคอร์ดส (2560 - ปัจจุบัน)
สมาชิกเอ๋ กิตติศักดิ์ บัวพันธุ์ (ร้องนำ)
กอล์ฟ วรรณิต ปุณฑริกาภา (กีต้าร์)
โอ๋ สุรพงษ์ บัวพันธุ์ (กีต้าร์)
เอ เชาวลิต ประสงค์สิน (เบส)
พัน พงษ์พันธุ์ โพธินิมิตร (กลอง)

ในปี 2545 ทางวงก็ได้เซ็นสัญญากับค่ายวอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ อีกทั้งทางวงได้ปล่อยบันทึกการแสดงสดในปีเดียวกันนี้หลังจากนั้นก็ได้ปล่อยอัลบั้มชุดที่สาม Pole ในต้นปี 2547 ในสังกัดของวอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ และยังมีโอกาสร่วมงานกับศิลปินระดับโลกอาทิ สลิปน็อต, ลิงคินพาร์ก เป็นต้น ในปี 2548 ทางวงได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในอัลบั้มชุดที่สี่ Enlighten ในปีต่อมาทางวงได้จัดคอนเสิร์ตฉลองครบรอบสิบปีของทางวงในนธันเดอร์ โดม เมืองทองธานีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2549 ซึ่งได้รับความสนใจจากแฟนเพลงอย่างมาก

หลังจากนั้นทางวงก็ได้ปล่อยอัลบั้มชุดที่ 5 The Way ในปี 2550 เปิดตัวด้วยเพลง วิถีทาง และซิงเกิ้ลที่สอง การจากลา อัลบั้มชุดนี้อีโบล่ามีการใช้เครื่องสายผสมกับดนตรีร็อกที่หนักแน่นในสองซิงเกิ้ลแรก พร้อมกับได้ร่วมงานกับ Rivermaya วงร็อกอันดับหนึ่งจาก ฟิลิปปินส์ ในเพลง "ทางเลือก" อัลบั้มนี้อีโบล่าได้ให้ความสำคัญกับด้านเสียง จึงได้ให้ Dave Collins มือ mastering ชั้นนำของวงการเพลง ที่เคยได้ร่วมงานกับศิลปินระดับโลก รวมถึงอัลบั้ม Minutes To Midnight อัลบั้มล่าสุดของ ลินคิน พาร์ค มามาสเตอร์ให้

2 ปีถัดมา พ.ศ. 2552 ทางวงได้ย้ายอยู่ในสังกัด จีนี่เรคอร์ดส ในเครือของ แกรมมี่ และปล่อยซิงเกิ้ลเพลงในอัลบั้มชุดที่หก 05:59 (five fifty nine) ได้แก่เพลง ฉุดฉันขึ้นไป และเพลง วันที่ไม่มีจริง ต่อมา อีโบลา ได้ย้ายสังกัดกลับมาอยู่ในค่ายวอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ อีกครั้ง และทำอัลบั้มอีพีชื่อ Still Alive วางแผงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ซึ่งทางวงอีโบล่าทำหน้าที่ดูแลเองทั้งอัลบั้ม โดยในอัลบั้มนี้ยังได้นักร้องรับเชิญ 2 ศิลปินอย่าง ไทยเทเนี่ยม ในเพลง คนพันธุ์เรา และ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ มาร่วมร้องในเพลง ฝ่า และในอัลบั้ม Still Alive ยังเป็นการร่วมงานกับ ฟองเบียร์ เป็นครั้งแรก และในอัลบั้มนี้ยังมีเพลง เบื้องบน เพลงรักจากอัลบั้มชุดนี้ที่มีคำว่ารักมากเพลงหนึ่งของอีโบล่า[2][3] ในวันที่ 18 ธันวาคม 2557 ทางวงได้ ปล่อยซิงเกิ้ล สายแข็ง บนแชแนลยูทูบของวง EbolaTv[4] ในปี 2559 อัลบั้ม In My hate ครบรอบ 17 ปี ทางวงได้จัดคอนเสิร์ต Ebola "17th Anniversary - In My Hate" Part#1 ในวันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 ที่ Rockademy ซื้อบัตรได้แล้วที่ Zeus Entertainment Thailand[5] และในปี 2560 พวกเขาได้กลับมาในค่ายใหม่อย่าง Me Records พร้อมกับซิงเกิ้ลชุดแรกอย่าง "หักคอเทวดา" เมื่อวันที่ 17 มีนาคม โดยปล่อยผ่านทางแอพสตรีมเพลงแอปเปิ้ลมิวสิค และปล่อยเอ็มวีมิวสิคเมื่อวันที่ 3 เมษายน[6]

สมาชิก

แก้
  • เอ๋ กิตติศักดิ์ บัวพันธุ์ (ร้องนำ)
  • กอล์ฟ วรรณิต ปุณฑริกาภา (กีต้าร์)
  • โอ๋ สุรพงษ์ บัวพันธุ์ (กีต้าร์)
  • เอ เชาวลิต ประสงค์สิน (เบส)
  • พัน พงษ์พันธุ์ โพธินิมิตร (กลอง)

ประวัติ

แก้
ก่อตั้งวง (2538 - 2539)

วงอีโบล่ารวมตัวก่อตั้งวงขึ้นโดย [7] กอล์ฟ - วรรณิต ปุณฑริกาภา และ โอ๋ - สุรพงษ์ บัวพันธุ์ ได้คิดจะทำวงดนตรีขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง และได้ชวน พัน- พงษ์พันธุ์ โพธินิมิตร กับ เอ๋ - กิตติศักดิ์ บัวพันธุ์ เข้ามาร่วมในวง ซึ่งทั้งหมดได้เรียนอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี หลังจากนั้นได้ - เชาวลิต ประสงค์สิน ได้เข้ามาร่วมวง ทางวงเริ่มใช้ชื่ออีโบล่าอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี 2538 ขึ้นสำหรับการแสดงคอนเสิร์ต โดยอีโบล่าเป็นที่รู้จักแวดวงใต้ดินอย่างมากและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มคนฟัง ปีถัดมา 2539 ทางวงได้ทำการแสดงคอนเสิร์ตต่อเนื่อง วงอีโบล่าเริ่มอัดเพลงสำหรับเทปเดโม ในชื่อชุดว่า E.P.90 ออกวางแผงในปี 2540 เพื่อจำหน่ายให้กับแฟนเพลงที่มาดูการแสดงคอนเสิร์ตจากนั้นก็เริ่มทำงานดนตรีอย่างจริงจัง

อัลบั้มเต็มชุดแรกและปล่อยอัลบั้มชุดที่สอง (2542 - 2544)

ต้นปี 2542 อีโบล่าเปิดตัวอัลบั้มเต็มชุดแรก IN MY HATE มีกระแสตอบรับในวดวงเพลงใต้ดินเป็นอย่างใด เพลงที่โดดเด่นในชุดนี้ได้แก่ IN MY HATE, สักวัน, PUPPET SPELL, MY WAY พร้อมทั้งปล่อยอัลบั้มชุดที่ 2 SATISFY ออก ในกลางปี 2544 เป็นผลงานที่ได้รับการยอมรับมากขึ้นในทุกๆ ด้านและทำให้วงเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยมี เหตุเพราะ, ฝุ่น, SATISFY, MOUTH DOG, WHERE IS THE TRUTH และ เอียน เป็นเพลงเด่นในอัลบั้ม

อัลบั้มชุดพิเศษ (2545)

กลางปี 2545 อีโบล่าออกงานอัลบั้มพิเศษ EBOLA LIVE เป็นงานการบันทึกการแสดงสดและงานชุดนี้ได้เผยแผร่ผลงานออกไปไดกว้างขวางมากขึ้นทำให้อีโบล่าโดดเด่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด และมีกระแสตอบรับที่ดีเกินคาดจากแฟนเพลง ทำให้ทางต้นสังกัดได้จัดทำ VCD ชุด LIVE TO PLAY ขึ้นเป็นภาพการแสดงสดและบทสัมภาษณ์ของวงซึ่งเป็นการเปิดมิติใหม่ให้กับแวดวงวงดนตรีร็อคของเมืองไทย

อัลบั้มชุดที่สาม และร่วมงานกับศิลปินระดับโลก (2547)

ต้นปี 2547 อีโบล่าออกอัลบั้มชุดที่สาม POLE ด้วยประสบการณ์และมุมมองที่มากขึ้น บวกกับความเข้าใจและความเป็นตัวเอง ทำให้ทางวงได้เพิ่มเติมกลิ่นไอของร็อคเข้าไปและเพิ่มความดุดันในฉบับของอีโบล่า ในอัลบั้มชุดนี้อีโบล่ายังได้เป็นที่รู้จักของผู้ฟังจำนวนมาก ได้แก่เพลงความเป็นไป ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตรืเรื่อง อุกกาบาต (ภาพยนตร์) และยังมีเพลงเด่นๆ อย่าง จำ, ในความเป็นคน, และเพลง GET OUT ประกอบโฆษณาเครื่องดื่ม MMAX และอีโบล่ายังได้เล่นคอนเสิร์ตเป็นวงเปิดให้กับศิลปินร็อคระดับโลกอย่างมาก อาทิ ลิงคินพาร์ก และ สลิปน็อต

ประสบความสำเร็จอย่างสูง (2548)

ในปี 2548 นี้ EBOLA ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับอัลบั้ม ENLIGHTEN ซึ่งหมายถึงแสงสว่างทางความคิดโดยงานในอัลบั้มยังคงความหนักแน่นในแนวทางของตัวเองรวมกับการได้รับมุมมองใหม่ๆของพวกเขาก่อนที่เพลง แสงสว่าง จะได้รับความนิยมกว้างขว้างในกลุ่มสาวกเพลงร็อกตามมาด้วยเพลง กลับสู่จุดเริ่มต้น เพลงที่ได้รับกระแสความดังมากที่สุดเพลงหนึ่งด้วย Chart อันดับ 1 MTV Thailand Top 40 และ Top 5 ในหลายๆคลื่นทั่วประเทศ

สิบปีอีโบล่า (2549)

วงอีโบล่าเข้าสู่ปีที่ 10 "SURVIVOR CONCERT" ในปี 2549 ถือได้ว่าเป็นคอนเสิร์ตที่ยิ่งใหญ่ที่ของวงโดยทางวงจัดคอนเสิร์ตในธันเดอร์ โดม เมืองทองธานีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2549

อัลบั้มชุดที่ห้า และการร่วมงานกับศิลปินระดับโลก (2550)

ปี พ.ศ. 2550 กับ THE WAY สตูดิโออัลบั้มชุดที่ 5 เปิดตัวอัลบั้มด้วยเพลง “วิถีทาง” และซิงเกิ้ลที่สอง "การจากลา" อัลบั้มชุดนี้อีโบล่ามีการใช้เครื่องสายผสมกับดนตรีร็อกที่หนักแน่นในสองซิงเกิ้ลแรก พร้อมกับได้ร่วมงานกับ Rivermaya วงร็อกอันดับหนึ่งจาก ฟิลิปปินส์ ในเพลง "ทางเลือก" อัลบั้มนี้อีโบล่าได้ให้ความสำคัญกับด้านเสียง จึงได้ให้ Dave Collins มือ mastering ชั้นนำของวงการเพลง ที่เคยได้ร่วมงานกับศิลปินระดับโลก รวมถึงอัลบั้ม Minutes To Midnight อัลบั้มล่าสุดของ ลินคิน พาร์ค มามาสเตอร์ให้

ย้ายกลับไปยังวอร์นเนอร์ มิวสิค (2554)

วงอีโบล่าได้ย้ายกลับไปยังวอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ อีกครั้งในช่วงปี 2554 และได้จำหน่ายอัลบั้มอีพี Stil Alive ในวันที่ 27 มิถุนายน 2556

ผลงาน

แก้

อัลบั้ม

แก้
อัลบั้มใต้ดิน
ปกอัลบั้ม ข้อมูล ชื่อเพลง
  In My Hate
  • Format: เทป
  • Released: พ.ศ. 2542
  • Label: จัสติค มิวสิก
  1. Suck วัน
  2. IN MY HATE
  3. Shade
  4. NOR BAD
  5. 1997
  6. สู่นิพพาน
  7. Pupet Spell
  8. I Am Evil
  9. $ God
  10. My Way (What A Fuck)
  Satisfy
  • Format: เทป
  • Released: พ.ศ. 2544
  • Label: จัสติค มิวสิก
  1. เหตุเพราะ
  2. แตกต่าง (New)
  3. เอียน (New)
  4. SATISFY
  5. ผุน
  6. MOUTH DOG
  7. WHERE ‘S THE TRUTH
  8. เซ็ง (ทำไม)
  9. BOT
  10. PREPETUAL
  11. เลือก
อัลบั้มในสังกัดค่ายเพลง
  • Pole (2547)
  • Enlighten (2548)
  • The Way (2550)
  • 05:59 (five fifty nine) (2553)
  • Still Alive (2556)[8]

อัลบั้มรวมเพลง

แก้
  • HISTORY (GREATEST HITS) (2551)

หมายเหตุ : เป็นอัลบั้มที่รวมผลงานที่ดีของอีโบล่า

  • The Underground (2553)

หมายเหตุ : อัลบั้มชุดอันเดอร์กราวนด์เป็นการนำเอาอัลบั้มสองชุดแรก In my hate และอัลบั้ม Satisfy มาวางจำหน่ายในรูปแบบซีดี[9]

บันทึกการแสดงสด

แก้
  • EBOLA LIVE (2545)
  • Survivor Concert (2549)

มินิอัลบั้ม

แก้
EP
  • E.P. 97 (เทปเดโม) (2540)[10]

ซิงเกิ้ล

แก้
  • สายแข็ง[11]
  • หักคอเทวดา
  • คนที่ไร้ข้อแม้
  • Down to the Wire (ร่วมกับ BOTCASH)
  • เอาให้ตาย
  • วันที่ไม่มีจริง
  • จดหมายถึงพระเจ้า
  • War song
  • คนตายพูดไม่ได้

เพลงประกอบภาพยนตร์/ละครและเพลงอื่น ๆ

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "'ฉุดฉันขึ้นไป' Single ใหม่ล่าสุดจาก EBOLA วงร็อกที่ได้รับการซูฮกให้เป็น 'ฮีโร่' ศิลปินรุ่นใหม่!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-24.
  2. สตูดิโออัลบั้มชุดที่ 7 ของ Ebola วงร็อกแถวหน้าของเมืองไทย กับพัฒนาการทางด้านดนตรีที่ไม่มีวันสิ้นสุด[ลิงก์เสีย]
  3. ""ฝ่า" ซิงเกิ้ลใหม่จาก"อีโบล่า" เพลงที่ให้กำลังใจสุดแรงส่ง เขียนโดยลายปากกา "ปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2015-04-02.
  4. สายแข็ง อีโบล่า
  5. "การกลับมาของเชื้อร้ายแห่งดนตรีร็อก Ebola – 17 Years In My Hate Concert". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-19. สืบค้นเมื่อ 2016-05-21.
  6. หักคอเทวดา - EBOLA [Coming Soon!]
  7. อีโบล่า จีนี่เรดคอร์ดส
  8. สัมภาษณ์เปิดใจวง Ebola กับอัลบั้มใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม[ลิงก์เสีย]
  9. ย้อนอดีต “Ebola” กับงานเพลงสองชุดแรกยุคใต้ดิน ที่รวมอยู่ในอัลบั้ม “Ebola : The Underground”[ลิงก์เสีย]
  10. ภาพหน้าปก E.P. 97
  11. Ebola-สายแข็ง
  12. "'RS Music' จับมือพันธมิตรค่ายเพลงชั้นนำ ร่วมสร้างมิติใหม่ให้วงการเพลงไทย ในโปรเจกต์ใหญ่ 'RS Music Uprising EP.1: RS Music X'". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 2023-09-14. สืบค้นเมื่อ 2023-09-15.