ภูมิจิต (อ่านว่า พูม-จิด) เป็นวงดนตรีอิสระ ที่เล่นดนตรีในแนว อัลเทอร์เนทีฟร็อคมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดย พุฒิยศ (นักร้องนำ) เกษม (มือกีตาร์) ร่วมด้วย ชานนท์ (มือเบส) และ ฉันทวัช (มือกลอง) ตามลำดับ ซึ่งทั้งหมดเป็นเพื่อนนิสิตร่วมสถาบันที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภูมิจิต
ที่เกิดบางเขน, กรุงเทพฯ, ไทย
แนวเพลงอินดี้ร็อก
ออลเทอร์นาทิฟร็อก
โพสต์ร็อก
ช่วงปีพ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงแบล็คชีพ
Music Helps
ตาต้า สตูดิโอ
Lemon Factory
สนามหลวงมิวสิก[1]
สมาชิก"พุฒิ" พุฒิยศ ผลชีวิน (ร้องนำ, กีตาร์)
"กานต์" เกษม จรรยาวรวงศ์ (กีตาร์)
"แมก" อาสนัย อาตม์สกุล (กลอง)
"บอม" ธิตินันท์ จันทร์แต่งผล (เบส)
อดีตสมาชิกนัทธิ์ สู่ความสมบูรณ์ (เบส)
"มิว" ชานนท์ หวังพุชเคน (เบส)
"นัท" ฉันทวัช ทองชัช (กลอง)
เว็บไซต์http://poomjit.tk/
http://www.facebook.com/poomjitband

ประวัติ แก้

ออกแสดงครั้งแรกวันที่ 25 พฤษภาคม 2545 ที่หน้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเพลงแรกของภูมิจิตที่เล่นสดนั้นคือเพลง "เหนื่อยไหมคนดีมีพี่เป็นแฟน" ของไมค์ ภิรมพร

หลังจากตั้งวงได้ไม่นาน วงภูมิจิตส่งเพลงไปในช่วง "แจ้งเกิดดาราลูกทุ่ง" ของคลื่น AM ย่านความถี่ 103 ด้วยเพลงคือ "เอนท์ไม่ติด" (คือเพลง "แอ๊ดมิชชั่นไม่ติด..." ในปัจจุบัน) และ "มากมายก่ายกอง"

ผลงานชิ้นแรกเป็นซิงเกิลชื่อ "มากมายก่ายกอง (Different People)" ผลิตออกมาเป็นจำนวนจำกัด เพียง 30 แผ่นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ในงาน แฟตเฟสติวัล ครั้งที่ 2 -อิมพีเรียล เวิลด์ ลาดพร้าว

และเริ่มมีชื่อเสียงในกลุ่มผู้ฟังจำนวนหนึ่ง เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2546 หลังจากการแสดงคอนเสิร์ต "Live in A Day 1st" จัดโดยนิตยสาร อะเดย์ เป็นงานที่นำศิลปินหน้าใหม่ที่ผ่านการออดิชั่น จากทางนิตยสาร มาเล่นในงานมา

จัดเป็นโชว์ที่มีเวทีพร้อม ซึ่งเป็นเวทีแจ้งเกิดของศิลปินหน้าใหม่จำนวนมาก เช่น Playground, Scrubb, Monotone Group

ไม่กี่เดือนต่อมา พุฒิยศ จึงทำการชักชวนเพื่อนต่างวงที่เล่นในงาน "Live in a day ครั้งที่ 1" มาจัดคอนเสิร์ทที่ชื่อ "โคตรอินดี้" ในวันที่ 16 สิงหาคม 2546 ที่โรงหนังนิวแหลมทอง ถ. เยาวราช และมีเรื่องชกต่อย ตามสไตร์ชาว ROCK กับ นักเลงจีน คาดว่าเป็นจีนแดงจากแผ่นดินใหญ่ สุดท้ายโดนตำรวจซิวไปเปรียบเทียบปรับ หมดไปคนละ 500 บาท ต้องขอบริจาคเงินแฟนเพลงและคนผ่านไปผ่านมาแถวนั้นเพื่อหารถกลับบ้าน

พ.ศ. 2547 มีนักดนตรีเข้ามาร่วมวง แทนที่สองตำแหน่ง คือ อาสนัย ในตำแหน่งมือกลอง จากวง แสงระวี และ นัทธิ์ ตำแหน่งมือเบส จากวง หมอนวด.com เพราะ ฉันทวัช และ ชานนท์ ต้องไปทำงานเป็นวิศวกร

พ.ศ. 2548 กลุ่มดนตรี โคตรอินดี้ ที่พุฒิยศร่วมก่อตั้งขึ้น ได้มีโอกาสออกงานรวมเพลงของทางกลุ่ม ในชุด "โคตรอินดี้" (Code Indy) ซึ่งภูมิจิตได้ส่งเพลง "รอผล Ent'" ออกกับทางสังกัด แบล็คชีพ ในเครือ โซนี่ มิวสิก บีอีซี-เทโร แต่ไม่ได้รับการตอบรับมากนัก ก่อนที่วงจะถูกพัก เนื่องจากไม่มีตังค์ทำอัลบั้ม

ปี พ.ศ. 2549 หลังจากที่ทางวงได้หาสังกัด แต่ไม่ลงตัวเสียที ทางวงจึงตัดสินใจบันทึกเสียงอัลบั้มเอง ที่สตูดิโอซอยลาดพร้าว 87 หลังจากที่บันเสียงเสร็จ ทางวงกลับไม่มีทุนมากพอที่จะมิกซ์ดาว-มาสเตอร์ริงและปั้มแผ่น จึงได้ออกขายเสื้อภูมิจิตรุ่นพิเศษ ใส่แล้วรวย (เทียบเท่าเหรียญหลวงพ่อชื่อดัง วัดจานบิน) เพื่อนำเงินมาทำอัลบั้มที่ค้างคาอยู่ให้เสร็จ พร้อมแนบเอกสารในการอธิบายวัตถุประสงค์ของการทำเสื้อขายอันเป็นวัตถุมงคล แนบมาด้วย

สาสน์ของการขายเสื้อตัวนี้ตกไปถึงอิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา นักร้องนำ/นักแต่งเพลง/มือกีต้าร์ วงพาราด็อกซ์ จึงได้เริ่มทำงานกับสังกัด "ตาต้า สตูดิโอ"

ปีเดียวกัน ทางวงได้ออกผลงานสองซิงเกิ้ลใส่ไว้ในอัลบั้มรวมศิลปินของสังกัด ตาต้า สตูดิโอ ในชื่อว่า "Tata Tomorrow" ซึ่งภูมิจิตได้ส่งเพลง "New World OH YEHHHHH" และ "แฮ๊งแต่เช้า" โดยแรงบันดาลใจมาจากการเสพสมุนไพรจำพวกปอกะบิด

หลังการออกอัลบั้มรวมเพลงชุดนี้ นัทธิ์ มือเบส ได้ลาออกจากวง ทางวงก็ได้ ธิตินันท์ มือเบสจาก วง Peanuty เข้ามาแทนในตำแหน่งนี้ และร่วมบันทึกเสียงในอัลบั้มเต็มของวงอีกด้วย

ภูมิจิต เป็นศิลปินในสังกัด ตาต้า สตูดิโอ ของอิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา นักร้องนำ, นักแต่งเพลง, มือกีต้าร์ วงพาราด็อกซ์ มีผลงานเพลงอัลบั้มแรกชื่อ "found and Lost" วางจำหน่ายวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ซึ่งอัลบั้มนี้ได้รับคำวิจารณ์ในแง่ดีมากมาย แต่ตัวเพลงกลับได้รับความนิยมในวงแคบๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กกลุ่มเล็กๆ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ จนสร้างแฟนเพลงกลุ่มๆ เล็กที่หลายๆ คนสร้างงานศิลปปะต่อยอดจากดนตรีของภูมิจิต เช่นภาพยนตร์สั้น หนังสือ

วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ทางวงได้มีคอนเสิร์ทใหญ่ครั้งแรก ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์, ซอยทองหล่อ กับการแสดงโชว์ความยาว 2 ชั่วโมงเต็ม โดยมีแฟนเพลงจำนวนมากซื้อบัตรคอนเสิร์ตเข้าชม และขายบัตรในระยะเวลา 1 วัน

และอีกสัปดาห์ต่อมา ภูมิจิตได้เล่นเวที แฟตเฟสติวัล ครั้งที่ 8 ซึ่งหลายๆคนยกให้โชว์ของภูมิจิตเป็นโชว์ที่เร้าใจที่สุดในงานแฟตครั้งนั้นด้วยจำนวนคนดู เหยียบ 10,000,000 คน เต็มความจุของเวที โซนด้านนอกอาคาร เรียกว่า วงรุ่นใหญ่ ในเวทีแฟตระดับ ไมเคิล แจกสัน ยังสู้ไม่ได้ OMG

แต่เมื่อถึงช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2552 ความไม่ประสบความสำเร็จในได้ยอดขาย ทำให้วงภูมิจิต หายจากวงการดนตรีไปเงียบๆ พุฒไปเป็นวิศวกร กานต์เป็นผู้ช่วยช่างภาพ แม็ค ไปเล่นดนตรีกับวงซุปเปอร์กลาสเซส ที่กำลังไปได้สวย และบอมกลับไปเป็นอะนิเมเตอร์

เดือนสิงหาคมงาม Fat Radio จัดงานซานมิเกล มิวซิกเฟส ทริบิววงพราว วงดนตรีภูมิจิตได้รับเลือกให้เล่นเปิดให้วงในตำนานอย่างพราว ทำให้วงดนตรีภุมิจิตกลับมารวมตัวกันอีกครั้งพร้อมด้วยเพลงใหม่ๆที่พุฒเริ่มเขียนขณะที่ทำงานประจำ โดยเพลงของพราวที่เลือกมาเล่นคือเพลง "เส้นสลึง" ขณะเดียวกันก็เริ่มทำเพลงใหม่ที่ชื่อ "Uniform" ได้แรงบันดาลใจจาก หนัง AV ญี่ปุ่น เล่นครั้งแรกในงานเดียวกัน

จากนั้นจึงเริ่มวางโครงการจะทำอัลบั้มใหม่โดยแรกๆเรียกอัลบั้มนี้ว่า "sex machine" ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "erotic rock" และ "Bangkok Fever" สนองนโยบายรัฐบาลในเวลาต่อมา โดย พุฒ เป็นคนวางคอนเซปให้เป็นอัลบั้มมหากาพของมนุษย์เงินเดือนที่ปล่าวเปลี่ยวหัวใจ โดยมีดนตรี Rock ยุค 80-00 ผสมกับดนตรีลูกทุ่งหมอลำและดนตรีพื้นบ้าน โดยกานต์ มือกีตาร์วงถึงขั้นไปศึกษาเครื่องดนตรีอีสานที่เรียกว่า "พิน" แล้วนำกลับมาใช้เล่นกับกีตาร์

อัลบั้มเริ่มบันทึกเสียงตั้งแต่ปลายปี 52 โดยได้กัล วงซุปเปอร์ซับมาเป็นวิศวกรเสียง และบันทึกเสียงเสร็จช่วงเดือน ก.ย. 53 และเริ่มทำงานกับ Lemon Factory ในฐานะ PR และ การจัดการ

ช่วงเวลาบันทึกเสียงถือเป็นช่วงเวลาที่ลำบากมาก เพราะพุฒต้องออกจากงานมาเพื่อบันทึกเสียงให้เสร็จ ส่วนกานต์มือกีตาร์ก็วางแผนจะไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษทำให้มีช่วงเวลาที่จำกันในการทำงานมาก แต่สุดท้ายก็สามารถทำอัลบั้มให้เสร็จตามเวลาที่กำหนดได้

ขณะนี้วงดนตรีภูมิจิตได้วางจำหน่ายอัลบั้มชุดที่ 2 ไปแล้วเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ในงาน "แฟตเฟสติวัล ครั้งที่ 10" โดยมีชื่ออัลบั้มว่า "Bangkok Fever"

ในวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2555 วงภูมิจิตได้มีคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งที่สองที่มีชื่อว่า "Live in Bangkok Fever" ณ หอประชุม เอยูเอ ราชดำริ โดยคอนเสิร์ตนี้ทางวงได้นำบทเพลงทุกเพลงของวงไปเล่นทั้งหมด พร้อมแขกรับเชิญพิเศษมากมาย อาทิเช่น ต้า พาราด็อกซ์, วงบลูส์บาร์, วงซูเปอร์ซับ, อ๋อง ไปส่งกู บขส. ดู๊ เป็นต้น โดยภาพยนตร์สารคดีที่ถ่ายทำในช่วงคอนเสิร์ดดังกล่าวที่มีชื่อว่า "Poomjit Life in Bangkok Fever" ได้นำออกฉา ในงาน Happening @ House ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ปีเดียวกัน ณ โรงภาพยนตร์เฮาส์ อาร์ซีเอ และจะเป็นส่วนหนึ่งของดีวีดีคอนเสิร์ตดังกล่าวด้วย

ผลงานของภูมิจิต แก้

ซิงเกิล แก้

ปี ชื่อเพลง อัลบั้ม
2563 "Skywalker"

(ร่วมกับ นิ้วกลม)

ซิงเกิลไม่มีอัลบั้ม
2564 "เห็นถั่วงอกเป็นดอกบัว"
2565 "ขอโทษวัยหนุ่ม"
"ไข่ดาวน์"

อัลบั้มเต็ม แก้

ชื่ออัลบั้ม / ปี รายชื่อเพลง รายละเอียด
Found and Lost / 2551
รายชื่อเพลง
  1. New world order
  2. รอผล...
  3. น้ำตาช้าง
  4. มากมายก่ายกอง
  5. เมฆสีรุ้ง
  6. Before dreams, after dreams
  7. ไม่เป็นดังฝัน
  8. รักคือความทุกข์ สุขคือนิพพาน
  9. อัตวินิบาตกรรม
  10. ทุกวันนั้น
  11. เช้าที่ไม่ต่างไป
รายละเอียด
ภูมิจิต คือ
  • พุฒิยศ ผลชีวิน - ไมโครโฟน, กีตาร์, แทมเบอรีน
  • เกษม จรรยาวรวงศ์ - กีต้าร์
  • ธิตินันท์ จันทร์แต่งผล - เบส
  • อาสนัย อาตม์สกุล - กลอง


  • เนื้อร้องทั้งหมดโดย - พุฒิยศ ผลชีวิน / ดนตรีทั้งหมดโดย - วงดนตรีภูมิจิต
  • โปรดิวเซอร์, วิศวกรเสียง, มิกซ์ และ มาสเตอร์ - อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา
  • บันทึกเสียง, มิกซ์ และ มาสเตอร์ ที่ TATA Studio กรุงเทพมหานคร
  • ช่วยควบคุมโดย - ศุภวิชย์ หงษ์ทอง
  • ภาพถ่าย - Chamni's eye studio
  • ทุกภาพ ถ่ายโดย - ชำนิ ทิพย์มณี (copyright by Chamni's eye studio)
  • ยกเว้นภาพวงภูมิจิต ถ่ายโดย - รวิน มีสวรรค์
  • ออกแบบปก และ กำกับศิลป์โดย - เกษม จรรยาวรวงศ์
Bangkok Fever / 2553
รายชื่อเพลง
  1. Hope & Future
  2. Nobel
  3. Uniform
  4. การประชุมในเช้าวันจันทร์
  5. เหรียญสลึง (ต้นฉบับ โดย พราว)
  6. ด้วยความเคารพ
  7. เงินหมื่น
  8. ลุมพินี
  9. วิหารที่ว่างเปล่า
  10. เรามีความแก่เป็นธรรมดา
  11. ตัวเรา ของเรา
  12. นาคำน้อย
รายละเอียด
ภูมิจิต คือ
  • พุฒิยศ ผลชีวิน - ร้องนำ, กีต้าร์, เปียโน
  • เกษม จรรยาวรวงศ์ - กีต้าร์
  • ธิตินันท์ จันทร์แต่งผล - เบส
  • อาสนัย อาตม์สกุล - กลอง


  • เนื้อร้องทั้งหมด โดย พุฒิยศ ผลชีวิน / ดนตรีทั้งหมด โดย วงดนตรีภูมิจิต
    • ยกเว้นเพลง "ลุมพินี" เนื้อร้องโดย จักรพันธ์ ขวัญมงคล และ พุฒิยศ ผลชีวิน / เพลง "เหรียญสลึง" เนื้อร้องโดย ชัยบัณฑิต พืชผลทรัพย์ / เพลง "นาคำน้อย" ดนตรีโดย พุฒิยศ ผลชีวิน
  • ควบคุมการผลิต โดย พุฒิยศ ผลชีวิน, วงดนตรีภูมิจิต, กัลย์ วงศ์วิทวัส
    • ยกเว้น "uniform" โดย อิทธิพงษ์ กฤดากร ณ อยุธยา และวงดนตรีภูมิจิต
  • บันทึกเสียงที่ กาเนชา สตูดิโอ และซูเปอร์ซับ สตูดิโอ
  • วิศวกรเสียง โดย กัลย์ วงศ์วิทวัส, อิทธิพงษ์ กฤดากร ณ อยุธยา, คเณศ พักตระเกษตริน, สิริ เย็นสุข
  • ผสมเสียง โดย กัลย์ วงศ์วิทวัส ที่ซูเปอร์ซับ สตูดิโอ
  • ผลิตต้นแบบ โดย วีรยุทธ จุนนารัตน์
  • ภาพปก โดย น้าชำนิ ทิพย์มณี
  • ภาพวงดนตรีภูมิจิต โดย สุรัตน์ จริยวัฒนวิจิตร
  • ออกแบบปก โดย เกษม จรรยาวรวงศ์
Midlife / 2561
รายชื่อเพลง
  1. Time - Life
  2. Good Job
  3. ชีพจร
  4. นาฬิกา
  5. Drama Addict
  6. จริงๆ
  7. เจ้าพระยา (อาสนัย อาตม์สกุล - Lead Vocal)
  8. เวลา
  9. Active Income
  10. โลกยังอยู่
  11. ปัจจุบัน
  12. Life - Time (End Credits)
  13. วิกฤตวัยกลางคน (Hidden Track)


รายละเอียด
ภูมิจิต คือ
  • พุฒิยศ ผลชีวิน
  • เกษม จรรยาวรวงศ์
  • ธิตินันท์ จันทร์แต่งผล
  • อาสนัย อาตม์สกุล
Credit
  • Creator พุฒิยศ ผลชีวิน, อาสนัย อาตม์สกุล
  • Producer อาสนัย อาตม์สกุล
  • General Producer ธิตินันท์ จันทร์แต่งผล
  • Art Director เกษม จรรยาวรวงศ์
  • Cover Photo ชำนิ ทิพย์มณี
  • PR, Digital Distributor, Partner สนามหลวงมิวสิก
  • Record Summer Studio และ วันฟ้าใส Studio
  • Engineer อาสนัย อาตม์สกุล, กิดาการ ฉัตรแก้วมณี, ตุลธร จิระวัฒน์พงศา
Musicians
  • Violin โชติ บัวสุวรรณ
  • Cello สมัชชา พ่อค้าเรือ
  • แคน, หวูด และฉิ่ง ต้นตระกูล แก้วหย่อง, อาสนัย อาตม์สกุล
  • ขิม นริศรา ศักดิ์ปัญจโชติ
  • เรียบเรียงเพิ่มเติมเพลง Drama Addict และ Active Income David Robert Reid Williams
คำร้อง/ทำนอง/เรียบเรียง
  • เนื้อร้องทั้งหมดโดย พุฒิยศ ผลชีวิน ทำนองและเรียบเรียงทั้งหมดโดย วงดนตรีภูมิจิต
    • ยกเว้น
      • "Time-Life" เรียบเรียงโดย อาสนัย อาตม์สกุล
      • "Good Job" เรียบเรียงโดย พุฒิยศ ผลชีวิน, อาสนัย อาตม์สกุล
      • "ชีพจร" เนื้อร้องโดย พุฒิยศ ผลชีวิน, เกษม จรรยาวรวงศ์, ประเวธ นพนิราพาธ, ธิติวัฒน์ รองทอง ทำนองโดย วงดนตรีภูมิจิต, อ.ดนู ฮันตระกูล
      • "Drama Addict" ทำนองโดย พุฒิยศ ผลชีวิน, เกษม จรรยาวรวงศ์
      • "จริงๆ" เนื้อร้องโดย พุฒิยศ ผลชีวิน, อาสนัย อาตม์สกุล
      • "เจ้าพระยา" เนื้อร้องโดย อาสนัย อาตม์สกุล, พุฒิยศ ผลชีวิน ทำนองและเรียบเรียงโดย อาสนัย อาตม์สกุล
      • "วิกฤตวัยกลางคน" ทำนองและเรียบเรียงโดย พุฒิยศ ผลชีวิน

อัลบั้มพิเศษ แก้

ชื่ออัลบั้ม / ปี รายชื่อเพลง รายละเอียด
Home Floor / 2555
รายชื่อเพลง
  1. เมฆสีรุ้ง
  2. Nobel
  3. ไม่เป็นดังฝัน
  4. ด้วยความเคารพ
  5. มากมายก่ายกอง
  6. ลุมพินี
  7. Home Floor
  8. รักคือความทุกข์ สุขคือนิพพาน
รายละเอียด
ภูมิจิต คือ
  • พุฒิยศ ผลชีวิน - ร้องนำ, กีตาร์
  • ธิตินันท์ จันทร์แต่งผล - เบส
  • อาสนัย อาตม์สกุล - กลอง


  • เนื้อร้องทั้งหมดโดย - พุฒิยศ ผลชีวิน
    • ยกเว้น ลุมพินี โดย - จักรพันธ์ ขวัญมงคล และ พุฒิยศ ผลชีวิน
  • ดนตรีทั้งหมดโดย - วงดนตรีภูมิจิต
  • ควบคุมการผลิตโดย - อาสนัย อาตม์สกุล และ วงดนตรีภูมิจิต
  • วิศวกรเสียง, ผสมเสียง และ เรียบเรียงเสียงประสานทั้งหมดโดย - อาสนัย อาตม์สกุล
  • ผลิตต้นแบบโดย - อธิรุทธิ์ อรัณยกานนท์
  • บันทึกเสียง และ ผสมเสียงที่ - กากเมะสตูดิโอ อาร์ซีเอ, พระประแดง สตูดิโอ และ เมอร์รี่ โกราว สตูดิโอ สามย่าน (ตุลาคม 2011 - มกราคม 2012)
  • ภาพวงดนตรีภูมิจิตโดย - นิติ ยิ้มสุขไพฑูรย์
  • ออกแบบปกโดย - เกษม จรรยาวรวงศ์


นักดนตรีรับเชิญ
  • ตุล ไวฑูรเกียรติ - ร้องพิเศษในเพลง Nobel
  • อ.ประมวล โรงเรียนราษฎร์สามัคคี สพป. นครพนม เขต 2 - เสียงพูดในเพลง Nobel
  • สกล สุวรรณาพิสิทธิ์ - ขับร้องเพลง ไม่เป็นดังฝัน
  • ผิง ลลิตา เตชะกัมพรสารกิจ - ร้องพิเศษในเพลง เมฆสีรุ้ง
  • วีระยุทธ ผ่องศรี - โซโลกีตาร์ในเพลง ด้วยความเคารพ
  • สมสกุล อาตม์สกุล - เปียโนในเพลง ลุมพินี
  • นวพรรณ อังอินสมบัติ - โซโล่แซ็กโซโฟนในเพลง มากมายก่ายกอง
  • สกล สุวรรณาพิสิทธิ์, สุวาทิน วัฒนวิทูกูร และกากเมะ สตูดิโอ - ร้องประสานในเพลง มากมายก่ายกอง
  • เมอร์รี่ โกราว สตูดิโอ - ร้องประสานในเพลง Home Floor
  • เกษม จรรยาวรวงศ์ - ร่วมเล่นกีตาร์เพลง Home Floor

ผลงานอื่นๆ แก้

  • Single-มากมายก่ายกอง (Different People) (2545)
  • อัลบั้มรวมศิลปิน "โคตรอินดี้" (Code Indy) (เพลง "รอผล Ent') (2548)
  • อัลบั้มรวมศิลปิน "M.A.D.S. 01: What's up M.A.D.S." (เพลง "มากมายก่ายกอง") (2549)
  • อัลบั้มรวมศิลปิน "Tata Tomorrow" (เพลง "New World Order" และ "เช้าที่ไม่ต่างไป") (2549)
  • Single-New World Order (Merchandise CD) (2551)
  • Single-Uniform (Merchandise CD) (2553)
  • จอมโจรคิด - ภูมิจิต (2565) ในโปรเจกต์ ดนตรีเปลี่ยนโลก - Music Brings Relief

รางวัล แก้

  • ได้รางวัล อัลบั้มยอดนิยมงาน Fat awards 2010 จากอัลบั้ม Bangkok Fever
  • เข้าชิงรางวัล อัลบั้มยอดเยี่ยมงาน Fat awards 2010 จากอัลบั้ม Bangkok Fever
  • เข้าชิงรางวัล ศิลปินกลุ่มยอดเยี่มจากงาน Fat awards 2010
  • เข้าชิง ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม Hamberger 2008
  • เข้าชิง ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม Music Express 2008
  • เข้าชิง เพลงยอดเยี่ยมจากเพลง "รอผล..." Music Express 2008
  • เข้าชิง เพลงยอดเยี่ยมจากเพลง "New World Order" คมชัดลึกอวอร์ด 2552(2009)

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้