พรู วงดนตรีสังกัดเบเกอรี่มิวสิก เกิดจากการรวมตัวกันของน้อย สุกี้ และคณิน ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมเล่นดนตรีกันตั้งแต่เด็ก ๆ โดยเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวงพรูคือความอิสระทางความคิด ที่สมาชิกแต่ละคนจะมีวิธีในการสื่อสารความคิดของตัวเองสู่สาธารณะอย่างอิสรเสรี เอกลักษณ์ที่สำคัญของพรูอีกประการหนึ่งคือ ลีลาการแสดงสดของวงพรูบนเวทีเป็นที่กล่าวขวัญมาก โดยเฉพาะกับนักร้องนำอย่างกฤษดา ที่มักจะประยุกต์การเต้นประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแจ๊สหรือบัลเลต์เข้ามาใส่ไว้ในบทเพลง ทำให้การแสดงโชว์ของพรูในแต่ละครั้งมีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก

พรู (Pru)
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงป็อป, ร็อก, ออลเทอร์นาทิฟร็อก, อะคูสติก
ช่วงปี2544 - 2549 [1]
ค่ายเพลงเบเกอรี่มิวสิก
โซนี่ บีเอ็มจี
เลิฟอีส
สมาชิกกฤษดา สุโกศล แคลปป์
กมล สุโกศล แคลปป์
ยอดเถา ยอดยิ่ง
คณิณญาน จันทรสมา

สมาชิก

แก้

ผลงาน

แก้

อัลบัม

แก้

วงพรูออกอัลบัมชุดแรกในปี พ.ศ. 2544 โดยใช้ชื่อว่า Pru โดยได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี เพลงเปิดตัวของทางอัลบั้มได้แก่ แค่ และ ทุกสิ่ง พุ่งทะยานขึ้นติดชาร์จวิทยุจำนวนมาก[2]

อัลบั้ม รายชื่อเพลง
PRU (พ.ศ. 2544)
  1. เลือกแบบไหน
  2. Romeo & Juliet
  3. พรู
  4. ขอสักวัน
  5. วันดวงซวย (อาจจะ)
  6. แค่
  7. ยังรอคอยเธอเสมอ
  8. เท่าไหร่เท่านั้น
  9. Go Away
  10. ทุกสิ่ง (Love Theme)
  11. ทุกสิ่ง
  12. เพลงสัญญา
PRU S.E. (พ.ศ. 2544)
  1. นางฟ้า
  2. รักเธอจนจบชีวิต
  3. กระทู้
  4. เลือกแบบไหน
  5. Romeo & Juliet
  6. พรู
  7. ขอสักวัน
  8. วันดวงซวย (อาจจะ)
  9. แค่
  10. ยังรอคอยเธอเสมอ
  11. เท่าไหร่เท่านั้น
  12. Go Away
  13. ทุกสิ่ง (Love Theme)
  14. ทุกสิ่ง
  15. เพลงสัญญา
  16. ทุกสิ่ง (Acoustic Version)
Zero (พ.ศ. 2548) Part I
  1. Prologue
  2. ตอบ
  3. Passage : ควายสุพรรณ
  4. Jeans
  5. โปรด Ft. Ornaree
  6. เพื่อนเอ๋ย
  7. Passage : albino shootout
  8. คนเผือก
  9. Passage : stage whispers
  10. บิน

Part II

  1. Passage : ชีวิตไม่เคยเปลี่ยน
  2. Whales
  3. World War IV (จุดเดิม)
  4. Passage : song 4 patient O
  5. ฉัน...
  6. Passage : การให้อภัย
  7. ...รักคุณ
  8. เรา
  9. 50 ชั้น
  10. เมื่อฉันรู้
  11. Epilogue
  12. 0

อีพีและซิงเกิล

แก้


บันทึกการแสดงสด

แก้

ที่มาของชื่อวง

แก้

ชื่อของวงพรูมาจากเด็กขายพวงมาลัยในบริเวณทางแยกพระรามที่ 4 ซึ่งกฤษดามักจะพบอยู่เสมอ เขาตั้งชื่อเด็กขายพวงมาลัยที่มีแววตาเศร้าคนนั้นว่า "พรู" โดยได้แรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์เรื่อง "From here to eternity" ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี 1953 โดยเด็กขายพวงมาลัยที่เขาเจอนั้น มีแววตาเศร้าหมองเช่นเดียวกับแววตาของตัวเอกในภาพยนตร์

อ้างอิง

แก้
  1. อวสานวงพรู "สุกี้" ยอมรับเห็นแก่ตัว[ลิงก์เสีย]
  2. "ประวัติวงพรู". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-25. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
  3. [http://www.siamzone.com/music/news-429-น้อย-วงพรู-แต่งเพลง-รักเธอจนจบชีวิต-มอบแด่ผู้ที่จากไป น้อย วงพรูแต่งเพลงรักเธอจนจบชีวิต มอบแด่ผู้จากไป
  4. [www.siamzone.com/music/news-814-pru-raw-velvet-ผลงานปิดอัลบั้ม-เผยตัวตนจริงของพรู PRU RAW VELVET ผลงานปิดอัลบั้ม เผยตัวตนจริงของพรู]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้